แฟ้มสะสมงาน


Port  folio

แฟ้มสะสมงาน 

                คือการเก็บผลงานของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายชัดเจนที่จะให้ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นว่าได้ใช้ความพยายามในการเรียนรู้ แสดงความก้าวหน้า และสัมฤทธิ์ผลของการเรียนรู้ในด้านต่างๆ  โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกเนื้อหา  เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ และเป็นที่รวบรวมหลักฐานการสะท้อนตนเองของผู้เรียน (Self reflection)

        มีองค์ประกอบได้แก่

       1.การรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับ

                1.1 ประสบการณ์ของผู้เรียน ( Learning process)

                1.2 ผลงานของผู้เรียน (Learning product)

                1.3 ผลการเรียน (Learning outcome)

                1.4 การสะท้อนตนเองของผู้เรียน (Self-reflection)

        2.การออกแบบแฟ้มสะสมงานควร

            2.1 ผู้เรียนมีส่วนร่วมกำหนดเนื้อหาและเกณฑ์การคัดเลือก

            2.2ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าของผู้เรียน

              2.3 มีหลักฐานหลายรูปแบบ

                แฟ้มสะสมงานเป็นกระบวนการที่เสริมให้บุคคลรู้จักตนเอง และมุ่งมั่นพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นความสามารถที่จำเป็นอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่

 

รูปแบบของแฟ้มสะสมงาน

                1.Shopping Troller  สะสมทุกอย่างที่เห็นว่าเหมาะสมและจะช่วยสะท้อนการเรียนรู้ของตน  ไม่มีการวางแผนเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในแฟ้มสะสมงาน

                2.Toast Rack มีการออกแบบช่องหรือประเภทของผลงานที่จะนำมาสะสมไว้ล่วงหน้าตามแผนการเรียน เช่น หัตถการที่ควรทำ วิชาที่ต้องเรียน ซึ่งจะถูกประเมินแยกกัน

                3.Cake mix ส่วนต่างๆของแฟ้มสะสมงานจะถูกนำมารวมกันโดยนักศึกษาเพื่อแสดงหลักฐานว่าตนเองบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ตามที่ตกลงกัน

        4.Spinal colmn มีการระบุความสามารถที่ผู้เรียนควรจะบรรลุไว้แกนกลางของแฟ้มสะสมงาน หน้าที่ของผู้เรียนคือ รวบรวมและแสดงหลักฐานว่าตนเกิดการเรียนรู้สัมฤทธิ์ผลตามที่ระบุไว้ หลักฐานหนึ่งอย่างอาจจะชี้ถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หลายข้อได้

คุณลักษณะของแฟ้มสะสมงาน

  1. รูปแบบ (เน้นพรรณนาประสบการณ์เรียนรู้ หรือ เน้นสะท้อนตนเอง)

  2. โครงสร้าง(ไม่เป็นทางการหรือเป็นทางการ)

  3. ขอบเขต(กว้างหรือแคบ)

  4. จุดมุ่งหมาย(เพื่อการพัฒนาหรือเพื่อการตัดสิน)

  5. การปกปิด(ปกปิดหรือเปิดกว้าง)

  6. เวลา(ไม่ต่อเนื่องหรือต่อเนื่อง)

ตัวอย่างการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประเทศอังกฤษ

                1.บันทึกการสังเกตทักษะหัตถการ (Directly observed skills,DOPS) ผู้เรียนต้องให้แพทย์คนอื่นที่มีประสบการณ์มาสังเกตการณ์ปฏิบัติของตน  และเขียนคำประเมินผ่านระบบออนไลน์ว่าได้ทำแล้ว ทำได้ดีหรือไม่ สามารถทำได้ด้วยตนเองในครั้งต่อไปหรือไม่

                2.การอภิปรายกรณีผู้ป่วย (Case based discussion,CBD) ผู้เรียนสรุปกรณีศึกษาแล้วนำไปอภิปรายกับแพทย์พี่เลี้ยง

            3.การสังเกตขณะให้คำปรึกษาผู้ป่วย(Consultation observation,COT) สามารถใช้ทั้งการบันทึกวีดิทัศน์ หรือขณะให้การบริการผู้ป่วยจริงๆ และนำมาอภิปรายกับครูพี่เลี้ยง เพื่อการชี้แนะปรับปรุง หลังจากนั้นบันทึกผลการประเมินลงในแฟ้มสะสมงาน

                4. เสียงสะท้อนรอบทิศ(Multi-sourse feedback,MSF) เป็นการบันทึกผลการสอบถามบุคคลต่างๆต่อการให้บริการและคุณสมบัติต่างๆของผู้เรียน เช่น ผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน ครูพี่เลี้ยง พนักงาน

                ผู้เรียนจะบันทึกการสะท้อนตนเอง (Self  reflection) ตอนท้ายของทุกหมวด

ประโยชน์ของแฟ้มสะสมงาน

  1. ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น

  2. เพิ่มการตระหนักในการเรียนรู้ตนเอง

  3. เพิ่มการมีส่วนร่วมสะท้อนตนเอง

  4. เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและครูพี่เลี้ยง

จากการเรียนรู้นับว่าการจัดทำแฟ้มสะสมงานมีประโยชน์มาก  มีรูปแบบหลากหลายมุ่งเน้นให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น เพื่อการเรียนรู้ตนเอง  เริ่มทำแฟ้มสะสมงานกันนะคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #tangmo
หมายเลขบันทึก: 300233เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท