ยุทธศาสตร์ของธรรมาภิบาล


เพื่อให้บรรลุตามแนวทางแห่งธรรมาภิบาล รัฐควรจะได้มียุทธศาสตร์ในการบริหารราชการ 17 ยุทธศาสตร์

          เพื่อให้สามารถบรรลุตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 หรือเพื่อให้บรรลุตามแนวทางแห่งธรรมาภิบาล รัฐควรจะได้มียุทธศาสตร์ในการบริหารราชการ 17 ยุทธศาสตร์ คือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช และบูรณ-ภาพแห่งราชอาณาจักร

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา  และศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ยุทธศาสตร์ที่ 4 รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และพึงถือหลักการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค

ยุทธศาสตร์ที่ 5  รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล จัดระบบกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ และอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพา เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 6 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ที่ 7 รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จำทำมาตรฐานทางคุณธรรม และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่

ยุทธศาสตร์ที่ 8  รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น

ยุทธศาสตร์ที่ 9 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน มีส่วนร่วมในกรสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริมบำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกำจัดมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 10 รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน รัฐต้องสงเคราะห์ชนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้

ยุทธศาสตร์ที่ 11 รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง  การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่างๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 12 รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง

ยุทธศาสตร์ที่ 13 รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 14 รัฐต้องจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม จัดหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรอย่างทั่วถึง และรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรกรให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของ

ยุทธศาสตร์ที่  15 เกษตรกรรัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์

ยุทธศาสตร์ที่ 16 รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ การประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรงงานให้เป็นธรรม

ยุทธศาสตร์ที่  17 รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โดยอาศัยกลไกตลาด กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม  รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชนเว้นแต่มีความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค

 

สรุป

          ธรรมาภิบาล  หรือ Good Government ในสังคมไทยปัจจุบัน น่าจะเป็นการบริหารของราชการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 71 ถึงมาตรา 87 ซึ่งระบุรายละเอียดไว้แล้ว ซึ่งจะเป็นการบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งความดีงามเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐและประชาชนอย่างยุติธรรม

 

บรรณานุกรม

 

พรนพ พุกกะพันธุ์. (2545).  จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ ดร.พรนพ.

สุธรรม รัตนโชติ. (2548). สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.  (2546).  กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

หมายเลขบันทึก: 300066เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่ต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท