(ร่าง)โครงการ การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้สำหรับบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป
           จากการเปลี่ยนแปลงและภาวะของการแข่งขันที่สูง   ทำให้องค์กรมีอัตราความเร็วในการเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรที่แตกต่างกัน ในบางองค์กรอาจจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเชิงของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ที่สูงกว่าบางแห่ง โดยเฉพาะองค์กรทางด้านการศึกษาที่เน้นการสร้างความรู้ใหม่ที่เรียกว่าเป็นนวัตกรรม  และแม้แต่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งหนึ่งที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ของบุคลากร เนื่องจากบุคลากรเป็นกำลังสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรนั้นก้าวไปสู่การมีความสามารถทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น บุคลากรของมหาวิทยาลัยเองที่ขาดการเรียนรู้ก็จะมีส่วนทำให้องค์กรถูกฉุดรั้งให้อยู่ในภาวะของความล้าหลังไม่ทันสมัย ความสามารถในการเรียนรู้ของบุคลากรและองค์กรจะก่อให้เกิดความแตกต่างทางความสามารถในการแข่งขันระหว่างองค์กร เนื่องจากการเรียนรู้ดังกล่าวสามารถช่วยให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมเพื่อป้องกันความผิดพลาดหรือในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นก็พร้อมที่จะปรับตัว ปรับกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม
            มหาวิทยาลัยมหิดลมีวิสัยทัศน์จะนำมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย 1 ใน 100 ของโลก ซึ่งการจะนำมหาวิทยาลัยเป็น 1 ใน 100 ของโลกไม่ใช่เรื่องง่าย มหาวิทยาลัยจึงต้องพัฒนาบุคลากรและองค์กรให้มีความรู้ และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเรียนรู้จะนำให้มหาวิทยาลัยไปสู่ 1 ใน 100 ได้   คณะทันตแพทยศาสตร์  เป็นหน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล  มีหน้าที่ในการให้บริการทางการศึกษา  วิชาการ วิจัย  และบริการทางสุขภาพ  โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ “คณะทันตแพทยศาสตร์  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน” (วิสัยทัศน์ คณะทันตแพทยศาสตร์: 2550)  เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีการเรียนรู้ และนำการเรียนรู้มาพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น  แต่การที่จะทำให้คณะทันตแพทยศาสตร์ไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนัก  เพราะปัญหาอยู่ที่บุคลากรในคณะทันต-แพทยศาสตร์ยังไม่ทราบว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้คืออะไร และจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไรที่จะทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
            ดังนั้นจึงมีความสนใจที่จะทำการพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง  องค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อเป็นการ ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากร เกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้  แนวทาง และวิธีการในการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
กิจกรรม
ช่วงเวลาดำเนินการ
1. ศึกษาเนื้อหาจากตำรา เอกสาร พร้อมจัดทำเป็น story board  
ก.ค. 52 – ต.ค. 52
2. จัดทำใบงานกิจกรรมการเรียนรู้    แบบทดสอบท้ายบทเรียน  และทดสอบ pre-test, post-test, แบบสอบถามความคิดเห็น , คู่มือชุดฝึกอบรม
ส.ค. 52 – ต.ค. 52
   จัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ (e-book)
ต.ค. 52 – พ.ย. 52
   ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบ เนื้อหา และแบบทดสอบ
ธ.ค. 52
   ปรับ/แก้ไข ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ 
ม.ค. 53
   ส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหลังปรับแก้ไข
ม.ค. 53
   บันทึกเสียงคำบรรยาย
ก.พ. 53
   ส่ง story board และ คำบรรยาย ให้ผลิตเป็นสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ก.พ. 53
   ตรวจสอบชุดฝึกอบรมที่สมบูรณ์ 
มี.ค. 53
10. ทดลองใช้ชุดฝึกอบรมกับกลุ่มย่อย 5 คน
เม.ย. 53
11. วิเคราะห์แบบประเมินสื่อ/แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์(ก่อนอบรม-หลังอบรม)
เม.ย. 53
12. ปรับปรุงพัฒนาชุดฝึกอบรม
พ.ค. 53
13. นำไปให้ความรู้กับผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คน
มิ.ย. 53
14. วิเคราะห์แบบประเมินสื่อ/แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์(ก่อนอบรม-หลังอบรม)
มิ.ย. 53
15. จัดทำรายงานผล/จัดการความรู้ ผ่าน web site ของคณะฯ
มิ.ย. 53
หมายเลขบันทึก: 299751เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2009 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

สรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

1.1 ยังไม่ค่อยเห็นว่ากิจกรรมนี้จะนำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพในการทำงานได้อย่างไร ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมด้วยสื่อที่จะผลิตขึ้นนี้จะช่วยสร้างสุขให้องค์กรได้อย่างไร

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ (เป็นไปได้ วัดได้ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

2.1 พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์ที่จะทำให้มีการนำความรู้จากการฝึกอบรมผ่านสื่อนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน (สมเหตุสมผล ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

3.1 ผลลัพธ์ของโครงการคือชุดฝึกอบรมฯ ความรู้ ความพึงพอใจของผู้อบรมฯ ไม่น่าจะเพียงพอ ควรคำนึงถึงความยั่งยืนของโครงการฯต่อคณะฯ ดังนั้น จึงเสนอให้เพิ่มตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เสนอไว้ในข้อ 2.1

4. วิธีการดำเนินโครงการ (เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

4.1 ไม่เห็นกระบวนการมีส่วนร่วมในขั้นตอนการพัฒนาสื่อ (participation) (การให้เขาทดสอบคุณภาพของสื่อไม่ได้เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง) และไม่เห็นว่าการอบรมนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม “หาปลา” เองได้ (empowerment) นั่นคือจะทำอย่างไรให้เขาสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้จริง ดังนั้นจึงเสนอให้เพิ่มขั้นตอนการมอบหมายแบบฝึกหัดภายหลังการอบรม เพื่อให้ผู้อบรมได้มีโอกาสทดลองนำความรู้ไปใช้จริงในสถานที่ทำงาน จากนั้นสัก 2-3 เดือนกลับมาพบกันอีกครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาจมีวิทยากรกระบวนการจัดการความรู้มาช่วยเป็น facilitator ด้วย จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้น

(สามารถขอเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้ได้)

5. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้ (ใช้วิจัย KM ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

5.1 โครงการระบุว่าสังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยกระบวนการวิจัย แต่ไม่เห็นระเบียบวิธีวิจัย

5.2 หากทำตามที่เสนอแนะได้ การสังเคราะห์องค์ความรู้สามารถทำได้โดยนำผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายหลังจากทำแบบฝึกหัด มารวบรวม หรือนำขึ้นบล็อก gotoknow.org/blog/ismile เพื่อเผยแพร่ในวงกว้าง

6. งบประมาณ (ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

6.1 ค่าพัฒนาสื่อการสอน หากทำโดยบุคลากรในหน่วยโสตของคณะ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำอยู่แล้ว ควรปรับลดให้เหมาะสม เหลือเพียงส่วนที่เป็นค่าปฏิบัติงานนอกเวลา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท