The Last Lecture


ถ้าคุณรู้ว่าคุณจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงไม่กี่เดือน คุณจะทำอะไรบ้าง....หลายคนคงพยายามจะอยู่และใช้ชีวิตที่เหลืออย่างมีความสุข แต่ผู้ชายคนนี้ Randy Pausch ศาสตราจารย์ แรนดี เพาช์ ที่ได้กล่าวประโยคที่น่าจดจำ และเป็นข้อคิดที่ดีในการดำเนินชีวิตว่า “เราเปลี่ยนไพ่ใบที่จั่วขึ้นมาในมือไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนวิธีการเล่นเกมส์ได้”
วันก่อนได้ไปนั่งเล่นบ้านน้องชาย หันไปหันมาก็เจอหนังสือแปลเล่มนึง The Last Lecture หรือ เลกเชอร์ครั้งสุดท้าย ของ แรนดี เพาช์ ศาสตราจารย์ด้าน Virtual Graphics ของมหาลัย Carnegie Melon จริงๆได้ยินเสียงเล่าของหนังสือเล่มนี้มานานแล้ว แต่ก็ไม่สบโอกาสได้หามาอ่านซะที ทั้งๆที่ควรจะได้อ่านตั้งแต่ปีที่แล้ว ผ่านไป 1 ปีวันนี้พอเจอก็เลยยืมน้องมาอ่านซะเลย เพราะแค่อ่านคำนำของผู้แปล (หนูดี) ก็ทำให้อยากอ่านมากขึ้น
แต่เล่มนี้ยังไม่ได้แปล(เลยไม่อ่านค่ะ)
http://forestdragon.files.wordpress.com/2008/04/the-last-lecture.jpg
อ่านไปได้ไม่กี่หน้าน้ำตาคลอเลยค่ะ ไม่คิดว่าคนเราทำไมจึงได้เข้มแข็งและสามารถยอมรับความจริงได้ดีมาก รับมือกับความตายได้อย่างสง่างามเช่นนี้ หนังสือเล่มนี้กล่าวถึง ดอกเตอร์ แรนดี เพาซ์ ศาสตราจารย์ด้านคอมพิวเตอร์ประจำมหาวิทยาลัย Carnegin Mellon  ซึ่งเป็นคุณพ่อของลูกเล็กๆ 3 คน และเค้าคือคนที่กำลังจะตายเพราะมะเร็งในตับอ่อนระยะสุดท้าย เวลาที่เหลือมีเพียงไม่กี่เดือน สิ่งที่ ศจ.แรนดี เพาช์เป็นห่วง คือลูกเล็กๆ 3 คนของเค้าจะทำยังไง ใครจะสอนให้ลูกเล็กๆ 3 คนนี้ แล้วลูกทั้งสามคนนี้จะจดจำอะไรเกี่ยวกับพ่อได้บ้างเมื่อโตขึ้น ดังนั้นการปาฐกถาLecture คือสิ่งที่เขาเลือกที่จะทำโดยขอร้องให้นักศึกษาบันทึกวีดีโอการปาฐกถานี้ไว้เพื่อที่จะเก็บไว้ให้ครอบครัวเปิดให้ลูกๆ ของเขาดูเมื่อถึงวัยที่สมควร เพื่อดูไว้เพื่อเก็บภาพความประทับใจและเป็นสื่อสุดท้ายระหว่างพ่อกับลูก
สิ่งที่ประทับใจในหนังสือเล่มนี้คือ
1. เมื่อตั้งใจแล้วต้องทำให้ได้ ไม่ว่าจะยากเย็นสักเพียงไหน เพราะการไปถึงความฝัน ถ้าเราได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยาก
2. “เราเปลี่ยนไพ่ใบที่จั่วขึ้นมาในมือไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนวิธีการเล่นเกมส์ได้”
3. “คำขอโทษที่ไม่ดีแย่ยิ่งกว่าการไม่ขอโทษเสียด้วยซ้ำ”
4. ถ้าเรากำลังเบื่อหน่ายกับการมีชีวิต หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณเห็นคุณค่าของการมีชีวิต
และ สุดท้าย 5. การมองโลกในแง่ดี คือ การมอบความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง
ขอบคุณ ศจ. แรนดี เพาช์ที่ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิต และเป็นกำลังใจที่ดีในการใช้ชีวิตต่อไป ขอให้ลูกๆของอาจารย์ได้รับผลบุญที่พ่อเขาได้ทำให้คนทั่วโลกนะคะ
http://www.psychologytoday.com/files/u45/Randy_large.jpg Pausch children
หมายเลขบันทึก: 299523เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท