ferm999999999


เรียนดีไม่มีตก

สถานที่สำคัญแหล่งท่องเที่ยว

อาคารหลังแรกที่ทรงสร้าง

 

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
สถานที่ตั้ง

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ตั่งอยู่ริมทางหลวงสาย สกลนคร-กาฬสินธุ์หมายเลข 213 บริเวณกิโลเมตรที่ 14 ห่าง จากตัวเมืองสกลนครประมาณ16 กิโลเมตร
สิ่งที่ดึงดูดใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถทรงปลูกป่ารอบพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์จังหวัดสกลนคร เป็นพระ ตำหนักที่สร้างขึ้นในบริเวณเทือกเขาภูพาน ใน พ .ศ.25918 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเป็นผู้ทรงเลือกพื้นที่สร้างพระตำหนักด้วย พระองค์เอง ทรงใช้แผนที่ทางอากาศและการ เสด็จสำรวจเส้นทางบริเวณ ป่าเขา น้ำตก เป็นปัจจัย ในการกำหนดเขตพื้นที่ก่อสร้างพระตำหนักและ บริเวณพระตำหนึกซึ่งประกอบด้วยเขตพระราชฐาน ชั้นในและเขตพระราชฐานชั้นนอก
พื้นที่บริเวณพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เมื่อแรกตั้ง พระตำหนักมี 940 ไร่ ในเวลาต่อมาได้ขยาย เขตพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพ ป่าคืนชีวิตสู่ธรรมชาติอีกประมาณ 1,010 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ 1,950 ไร่ นับเป็น พระตำหนักที่สำคัญ ทรงใช้เป็นที่ประทับในช่วง แปรพระราชฐานมาประทับเพื่อทรงติดตามโครง การพระราชดำริในภาคอีสาน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ ประชาชน ข้าราชการเข้าเผ้าเสด็จตามภารกิจ ต่าง ๆ ขณะทรงประทับที่พระตำหนักแห่งนี้ ใน ช่วงที่ไม่มีการเตรียมรับเสด็จ สำนักพระราช วังเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าชมบริเวณพระ ตำหนักชั้นนอก จึงนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่า สนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯกับลูกกวางตัวน้อย สิ่งที่น่า สนใจในด้านการท่องเที่ยว มีสิ่งที่น่า สนใจ 3 ประการคือ
1. หมู่พระตำหนัก
หมู่พระตำหนักประกอบด้วย อาคารหลังพระตำหนักปีกไม้ เป็นพระตำหนักหลังแรก สร้างใน พ.ศ. 2518 เป็นรูปแบบล็อคเดขิน ใช้เป็นเรือน รับรองหลังแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2519 ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างพระตำหนัก ใหญ่เป็นตึกสองชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ บริเวณ เนินหน้าผาห่างจากพระตำหนักปีกไม้ ประมาณ 500 เมตร และยังได้ก่อสร้างพระตำหนักที่มีรูป แบบใกล้เคียงกัน และต่อมาได้มีการสร้าง พระตำหนักหลังหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกัน รวมเป็น พระตำหนัก 4 หลังห่างจากพระตำหนักใหญ่ประมาณ 1,500 เมตร ได้สร้างบ้านพัก พลโทเปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ 2 (ยศ และตำแหน่งขณะนั้น)
นอกจากอาคารพระตำหนัก และบ้านพักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดัง กล่าวแล้ว ยังมีอาคารบ้านพักข้าราชการฝ่าย ในอีก 68 หลังอยู่รายรอบ การปลูกไม้ดอก ได้ประดับอย่างสวยงาม ตามลักษณะภูมิทัศน์ช่วยส่ง เสริมให้พระตำหนักมีความสดชื่น งดงาม ดูเด่น เป็นสง่าน่าประทับใจ
2. งานภูมิทัศน์
งานภูมิทัศน์ถือว่าเป็นส่วนที่ดึงดูดให้ ประชาชนเข้าชมด้วยความประทับใจ การจัดภูมิ ทัศน์อาศัยสภาพพื้นที่เป็นพื้นฐานในการจัด คือ ลักษณะพื้นที่เป็นเชิงเนินชายเทือกเขาภูพาน ตอนลาง และอาศัยสภาพผิวหน้าดินเป็นหลักใน การปลูกไม้ดอกไม้ประดับคือ เป็นภูเขาหิน ทรายปกคลุมด้วยผังดินทรายสลายบนดินลูก รังโดยหลักการดังกล่าว สวนในพระตำหนัก ภูดานอาจจัดสวนได้ 5 รูปแบบคือ
1. สวนรวมพันธุ์ไม้ (Mixed garden)
2. สวนแบบประดิษฐ์ (Formal Style)
3. สวนแบบธรรมชาติ (Informal Style)
4. สวนหินประดับประดา (Rock garden)
5. สวนประดับหิน (Stone garden)
สัญลักษณ์พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ การจัดสวน นับจากเขตพระราชฐานชั้นนอกพระตำหนัก ริมถนนมีสระน้ำขอบตั้งหินทรายแดง ( Red stone) ปลูกบัวสายสีแดง ชมพู ม่วง ประดับ เรียงราย สลับกับต้นตะแบก ส่วนหระดู่ อีกทั้ง ปลูกไม้ทั้งปลูกไม้ดอกและไม้ใบ สลับให้ สวยงาม
หน้ากองรักษาการได้จัดสวนแบบ ประดิษฐ์ มีต้นปกปิดสีเขียว แดง เหลือง ปลูกและ ตัดแต่งเป็นรูปทหารท่าพายปืนดูน่าเกรง ขาม
เขตพระราชฐานชั้นใน ทางสำหรับรับ เสด็จพระราชดำเนินต้องผ่านธารน้ำมีการก่อ สร้างสะพานเหล็กทอดข้าม มุมถนนสามแยกจัดสวน ประดิษฐ์เป็นเครื่องหมายประจำพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นรูปยอดพระธาตุเชิงชุม ล้อมรอบด้วยพระ มหามงกุฎ ปลูกต้นปาล์ม พัดโบก ปาล์มบังสูรย์ ต้นเข็ม และต้นยักเป็ดประดับด้วยหินทราย (Stone garden ) ด้านหลังปลูกต้นปาล์มพัด หรือกล้วยลังกาใน หมู่ไม้หมากผู้เมียสีแดง และหมู่สนมูล คลุมต้นด้วยต้นผักชมแดงเป็นจุดเด่น ฝั่ง ตรงข้ามหมู่หินประดับ จัดเสริมไม้ดอกสีต่าง ๆ ตามฤดูกาลแบบรวบรวมพันธุ์ไม้ (Mixed Garden) ดอกไม้ประดับถูกตกแต่งอย่างสวยงาม
บริเวณที่เป็นสวนประดับทั่วไปริม ถนนภายในเขตพระราชฐาน ปลูกปาล์มพัดคู่ สลับเป็นระยะกับร่องไม้ดอก มีดอกบานเช้ากระดุม ทอง บานชื่น และหมู่ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ข้างพระตำหนักเป็นพรรณไม้พุ่ม เนื่องจากแสงส่อง ถึงน้อยจึงเหมาะที่ใช้ไม้พวกคาลาเธี ย สาวน้อยประแป้ง บอนสี และเฟิร์น มาปลูก ประดับ
สวนหน้าพระตำหนักจัดประดับหิน แทรกต้น หน้าวัว เทียนหยดด่าง หลิวไทเป กล้วยไม้สกุลอีฟิ เดนดัม สีส้ม กุหลาบ อาซาเลีย หรือ กุหลาบพัน ปีของไทยชยาฮาวายสีต่าง ๆ ปลูกเป็นไม้ พุ่มทั่วไป จุดเด่นในบริเวณนี้อยู่ที่ไม้ พันธุ์ต่าง ๆ จะมีดอกออกดอกตลอดปี และ ในที่นี้มีต้นพลองออกดอกสีม่วง เป็นต้น ไม้ป่าซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดมาก
ที่เรือนคำหอมบริเวณนี้ประดับ ด้วยพันธุ์ไม้ดอกจากป่าภูพาน เช่น ดุสิตา มณี เทวา สวิสจันทร์ ทิย์เกสร ดอกสร้ายสุวรรณ รวมทั้งดอก เทียนป่า การปลูกประดับจะปลูกได้ในปลายฤดู หนาว ดอกไม้เหล่านี้เป็นที่ชื่นชมของประชา ชนผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก
3.การคืนชีวิตสู่ป่า
เรือนคำหอมที่ประทับในการทอดพระเนตรการประกวดงานศิลปาชีพ พระบาทสมเด็พระเจ้า อยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ ทรง ฟื้นฟูสภาพป่าที่แห้งแล้ง รอบนอกพระตำหนัก ภูพานด้วยการปลูกต้นไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ เศรษฐกิจเช่น มะศา ไม้แดง เป็นพื้นที่ประมาณ 100, 000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงลูกไม้ ตามธรรรมชาติ พระราชกรณีกิจดังกล่าวทรง ดำเนินมานานถึง 20 ปี ทำให้ป่าซึ่งแต่ เดิมเป็นป่าหญ้าเพ็มีไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ หลัง จากนั้นในปี พ.ศ.2539 ทรงนำ กวางมาเลี้ยงในเขตพระราชฐานชั้นนอกใน พื้นที่ป่า 50 ไร่ ให้กวางปรับตัวเข้ากับ สภาพป่าก่อนปล่อยสู่ป่าอุทยานแห่งชาติภูพาน นอกจากนี้ยังทรงนำช้างสำคัญ (ช้างเผือกจาก พระตำหนักสวนจิตรลดา รวม 4 เชือก) มาเลี้ยงไว้ ที่โรงช้างและให้ออกหาอาหารตามธรรมชาติ การนำช้างสำคัญ (ช้างเผือกมาไว้ที่พระตำหนัก ภูพานราชนิเวศน์ทำให้เกิดโครงการคืนช้าง สู่ธรรมชาติ นับเป็นจุดสนใจที่นักท่อง เที่ยวจะเห็นช่างเผือกกลับจากหาอาหาร เข้าสู่ โลกช้างในเวลาเย็น อ่างเก็บน้ำที่ใช้ในพระตำหนัก
ด้วยเหตุนี้พระตำหนัก ภูพานราชนิเวศน์จึงเป็นสถานที่น่าชมทั้ง พระตำหนักสวนไม้ดอกไม้ประดับและสัตว์ป่าที่ ทรงนำมาเลี้ยงเพื่อคืนชีวิตสู่ป่า
สิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว
พระตำหนักภูพาน ราชนิเวศน์ เป็นแหล่งที่สะดวกต่อการเดินทางไป ท่องเที่ยว ทั้งนี้เพราะอยู่ไม่ห่างจากตัวเมือง สกลนครอยู่ริมถนนหลวงสายสกลนคร - กาฬสินธุ์ นักท่อง เที่ยวสามารถเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทั้งรถ ยนต์ส่วนตัวและการนำพาหนะ สามารถติดต่อเจ้า หน้าที่ที่กองรักษาการเพื่อเข้าชมพระตำหนัก ชั้นนอกได้โดยสะดวก หารต้องการชมพระตำหนักชั้น ในต้องติดต่อทางราชการเพื่อขออนุ๗ าตจากผู้ดูแลพระตำหนักเป็นการล่วงหน้า
ปัจจุบันพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์มีประชาชน เข้าชมอย่างต่อเนื่องแสดงถึงความสนใจใน ความงดงามของพระตำหนักแห่งนี้
เส้นทางเข้าสู่ แหล่งท่องเที่ยว
หมายเลขบันทึก: 298984เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2009 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท