คำสมาสในสามัคคีเภทคำฉันท์


คำสมาสในสามัคคีเภทคำฉันท์

 

 

คำสมาส คือ การสร้างคำใหม่ในภาษาบาลีสันสกฤต  เกิดจากการนำคำบาลีสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันเป็นคำคำเดียวกัน  ในเรื่องสามัคคีเภทมีคำสมาสอยู่เป็นจำนวนมาก  แต่จะขอประมวลคำเหล่านี้พอเป็นตัวอย่างดังนี้

 

 

ตัวอย่างคำสมาสในสามัคคีเภทคำฉันท์ 

 

ยุกติบาฐบูรณ์ =       ยุกติ  +  บาฐ  +  บูรณ์   (เรื่องอันชอบด้วยเหตุผล)

พุทธพจน์       =       พุทธ  +  พจน์  ( คำพูดของพระพุทธเจ้า)                  

ราชวัต           =       ราช  +  วัต   (หน้าที่และความประพฤติแห่งพระราชา) 

ภิทโทษ          =       ภิท  +  โทษ  (โทษของความแตกแยก)

ทศธรรม        =       ทศ  +  ธรรม  (ธรรม ๑๐ ประการ)

สิกขสภา        =       สิกข  +  สภา   (ห้องเรียน )           

พาหิรภาค      =       พาหิร  +  ภาค  (ส่วนภายนอก)

เศวตฉัตร       =       เศวต  +  ฉัตร  (ฉัตรสีขาว)

ศิลปศาสตร์    =       ศิลป  +  ศาสตร์  (วิชาศิลปะ)

ราชบุรุษ        =       ราช  +  บุรุษ  (คนของพระราชา)                  

ราชวัลลภ      =       ราช  +  วัลลภ  (คนสนิทของพระราชา)          

กลบกกร       =       กลบก  +  กร  (ช่างตัดผม)

ทัณฑพิธ       =       ทัณฑ  +  พิธ   (ชนิดของการลงโทษ)

ราชมัล          =       ราช  +  มัล   (เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำโทษคน)

ขรการณ์       =       ขร  +  การณ์  (เหตุร้ายแรง )                 

สภาคาร        =       สภา  +  คาร   (สถานที่ประชุม)

ศุภยาม         =       ศุภ  +  ยาม   (เวลาอันเป็น)

สหัสนัยน์      =       สหัส  +  นัยน์   (ผู้มีพันตา หมายถึงพระอินทร์)

ทินวาร          =       ทิน  +  วาร  (โอกาสในแต่ละวัน)

พิพากษการ   =       พิพากษ  +  การ   (การตัดสิน)

ภีรุกเภทภัย   =     ภีรุก  +  เภท  +  ภัย  (ภัยต่าง ๆ อันเกิดจากความขี้ขลาด)

รัฐชนบท      =       รัฐ  +  ชนบท   (ทั้งแว่นแคว้นอาณาจักร)                  

บุรุษสมัญ     =       บุรุษ  +  สมัญ   ( มีใจเป็นลูกผู้ชาย)

ราชภัฏ        =       ราช  +  ภัฏ  (ข้าราชการ)

จัตุรมุข        =       จัตุร  +  มุข  (มขทั้ง ๔ ด้าน)

บุษปวัลลิ      =       บุปษ  +  วัลลิ  (ดอกไม้เป็นลวดลายเครือเถา)

 

ตัวอย่างคำสมาสที่มีเสียงสนธิ (การกลมกลืนเสียง) ในสามัคคีเภทคำฉันท์

เบญจางค    =       เบญจ  +  องค  (อวัยวะทั้ง ๕ อย่าง)       

อนาวรณญาณ = อน + อาวรณ+ ญาณ (ความรู้อันไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องขัดข้อง)      

รามาวตาร   =       ราม  +  อวตาร   (การแบ่งภาคลงมาเกิดเป็นพระราม)

อัพภันตร    =       อัพภ  +  อันตร   (ภายใน)

วุฒิเสวกากร  =       วุฒิ  +  เสวก  +  อากร  (เหล่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่)

ปุโรหิตาจารย์  =       ปุโรหิต +  อาจารย์  (พราหมณ์ผู้สั่งสอนวิชาความรู้ )     

เสนาธิบดี    =       เสน  +  อธิบดี  ( แม่ทัพ)

นยาธิบาย   =       นย  +  อธิบาย  ( ข้อความชี้แจงอ้างอิง)

สุขาภิมัณฑ์  =       สุข  +  อภิมัณฑ์   (เครื่องประดับอันยิ่งด้วยความสุข)

ธุโรปถัมภ์  =       ธุร  +  อุปถัมภ์  (ผู้ช่วยทำกิจธุระ)

เวทนาการ  =       เวทน  +  อาการ    (อาการอันแสดงถึงความทุกข์ทรมาน)

ทิชาจารย์   =       ทิช  +  อาจารย์   (พราหมณ์ผู้สั่งสอนวิชาความรู้)

วัญจโนบาย    =       วัญจน  +  อุบาย   (อุบายหลอกลวง)

มนารมณ์    =       มน  +  อารมณ์    (อารมณ์แห่งใจ)

วาจกาจารย์=       วาจก  +  อาจารย์   (อาจารย์ผู้สั่งสอนวิชาความรู้)

อัศวาภรณ์  =       อัศว  +  อาภรณ์  (เครื่องประดับม้า)

ศัสตราวุธ   =       ศัสตร  +  อาวุธ  (อาวุธที่มีคม)

พาหนาสน์ =       พาหน  +  อาสน์  (เครื่องนำไป)

พิทยาภรณ์ =       พิทย  +  อาภรณ์   ( เครื่องประดับคือความรู้)

พยุหาธิทัพ =       พยุห  +  อธิ  +  ทัพ  (ทัพอันยิ่งใหญ่ด้วยไพร่พล)   

พุทธาทิบัณฑิต = พุทธ + อาทิ + บัณฑิต ( ผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น)

พโลปการ   =       พล  +  อุปการ  (การอุดหนุนกำลัง)

ภาโรปกรณ์ =       ภาร  +  อุปกรณ์   (ธุระอันหนักที่ต้องกระทำ)

ชเนนทร์    =       ชน  +  อินทร์  (ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน)

สุขาลัย      =       สุข  +  อาลัย  (ที่ซึ่งมีความสุข)

วนันดร      =       วน  +  อันดร   (ระหว่างป่า)

วนารัญ      =       วน  +  อรัญ  (ป่า)

วนาลัย      =       วน  +  อาลัย   (ป่า)

วจนัตถ      =       วจน  +  อัตถ  (เนื้อความของคำพูด)

บุรพัณหัสมัย  =  บุรพ  +  อรุณ  +  หัส  +  สมัย  (เวลาเช้า)  

 

นอกจากคำสมาสในสามัคคีเภทคำฉันท์ยังมีการใช้คำอุปสรรค คำปัจจัย และคำแผลง  ซึ่งจะสามารถดูรายละเอียดได้จากบันทึกคำอุปสรรคและคำปัจจัยในสามัคคีเภทคำฉันท์  และคำแผลงในสามัคคีเภทคำฉันท์ ซึ่งอยู่ในบล็อกเดียวกันนี้         

 

 

หมายเลขบันทึก: 298777เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ช่วยบอกชื่อของสถานที่ที่ตั้งชื่อจากคำสมาสหน่อยนะค่ะ จะขอบคุณมากมากเลยนะค่ะจำเป็นต้องใช้จริงๆค่ะคุณครูให้ส่งพรุ่งนี้ หาไม่ได้เลยค่ะช่วยหน่อยนะค่ะ ถ้าไม่ได้หนูไม่มีงานส่งแน่ๆค่ะT_T

สวัสดีค่ะ หนูนิตยา ภูบัวเพชร

ครูต้องขอโทษอย่างมากที่ตอบช้าไป ทั้งนี้เนื่องจากระบบอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนครูขัดข้อง

ขอตอบวันนี้คงยังไม่สายนะคะ

ชื่อสถานที่ที่เป็นคำสมาสนั้นมีมากมาย ครูขอแยกประเภทเป็นดังนี้นะคะ

1. จังหวัด ชื่อจังหวัดหลายจังหวัดเป็นคำสมาส เช่น กาญจนบุรี (กาญจน+บุรี) กาฬสินธุ์ (กาฬ+สินธุ์) ลองหาต่อไปอีกนะคะ

2. ชื่อวัด ชื่อวัดส่วนใหญ่เป็นคำสมาสค่ะ เช่น วัดสุวรรณาราม (สุวรรณ+อาราม) วัดมหรรณพาราม (มหา+อรรณพ+อาราม)....

3. ชื่อโรงเรียน ชื่อโรงเรียนที่เป็นคำสมาสก็มีมาก เช่น โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ (รัตน+อธิป+อิศร) โรงเรียนนวมินทราชูทิศ(นวม+อินทร+ราช+อุทิศ)...

4. อื่น ๆ เช่น สะพานนพรัตน์ (นพ+รัตน) สะพานเดชาติวงศ์ (เดช+อติ+วงศ์) โรงแรมดุสิตธานี (ดุสิต+ธานี)

ค่อย ๆ คิดไปนะคะ แล้วจะพบว่าการสร้างคำโดยวิธีการสมาสมีใช้อยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก

สวัสดีค่ะ

ดิฉันอยากทราบคุณค่าทางวรรณศิลป์ของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ในตอนสุดท้ายคะ เริ่มตั้งแต่ จอมทัพมาคธราษฏร์ธยาพยุหกรี จนถึง ลุผู้พิจารณ์อ่านฟังฯ

ขอบคุณณล่วงหน้าค่ะ

  สวัสดีค่ะ น้องสาธิดา  แดนโพธิ์

ลงให้แล้วในบันทึกใหม่ "คุณค่าทางวรรณศิลป์ในสามัคคีเภทคำฉันท์"  ลองอ่านดู แล้วนำไปวิเคราะห์ตามหัวข้อต่าง ๆ ในตอนที่ต้องการนะคะ

อยากทราบคำสมาส คำสนธิ คำแผลงของวสันตดิลกฉันท์ เพราะวสันตดิลกฉันท์มันยากมากเลย

ช่วยบอกคำสนธิจากวรรณคดีหน่อยครับ............เยอะๆๆ

สวัสดีค่ะ  ปิยะ รอดวิหก

  ยินดีต้อนรับลูกศิษย์คนใหม่ค่ะ  วรรณคดีไทยมีอยู่มากมาย  ต้องการให้ครูเขียนเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องใด  ต้องบอกรายละเอียดมาให้ชัดเจนสักหน่อยนะคะ 

ช่วยบอกคำสมาสที่เป็นชื่อคน สถานที่ และจังหวัดหน่อยนะคะ ต้องส่งครูพรุ่งนี้แล้วถ้าไม่มีต้องแย่แน่ๆเลยคะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

สวัสดีค่ะ  หนูแต๊ก

  คำสมาสเป็นวิธีการสร้างคำของภาษาบาลีสันสกฤต  มีใช้อยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก  โดยเฉพาะใช้เป็นชื่อของบุคคลและสถานที่ต่างๆ  (ย้อนขึ้นไปอ่านคำตอบของครูที่ตอบหนูนิตยา ภูบัวเพชรนะคะ)

ครูให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ

1.  ชื่อจังหวัดที่ลงท้ายด้วยคำว่า"บุรี" เป็นคำสมาสทั้งนั้น

2.  ชื่อวัดส่วนใหญ่เป็นคำสมาส เช่น  วัดเทพศิรินทร์  วัดราชบพิตร  วัดราชนัดดา  วัดไตรมิตร  วัดราชาธิวาส ฯลฯ

2. ชื่อบุคคลที่ขึ้นต้นด้วย อุปสรรค สุ  อภิ  อติ  อธิ  อนุ  (การลงอุปสรรคใช้วิธีการแบบเดียวกับสมาส)

เพียงแค่นี้ก็ได้คำสมาสมากมายแล้ว  แต่ถ้ายังไม่พอ  ครูแนะนำให้หนูหยิบหนังสือพิมพ์มาสักฉบับหนึ่ง  อ่านไปเรื่อยๆ จะพบคำสมาสเป็นอันมาก 

สวัสดีค่ะ อยากทราบเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์คำว่า พิเฉท,ประหัฐ หมายถึงอะไรหรอคะ ขอบคุณค่ะ^^

ริณวิรุธ ในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ หมายถึงอะไรคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท