5 ส. กับ การประกันคุณภาพการศึกษา


ปลูกจิตสำนึก ฝึกเป็นนิสัย ผึกเป็นนิสัย รักใน 5 ส.

เกร็ดความรู้ 5 ส

 

5ส. คืออะไร

       5ส. คือ การปรับปรุงสภาพพื้นฐานในการปฏิบัติงานประจำวัน เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน  5ส. นี้นำมาจากภาษาญี่ปุ่น 5 คำ คือ

       SEIRI  =  สะสาง

       SEITON  =  สะดวก

       SEISO  =  สะอาด

       SEIKETSU  =  สุขลักษณะ

       SHITSUKE  =  สร้างนิสัย


ความหมายของ 5ส.

       สะสาง   คือ  แยกสิ่งที่ไม่จำเป็นกับสิ่งที่จำเป็น
       สะดวก   คือ  การจัดวางสิ่งที่จำเป็นให้ง่ายต่อการหยิบใช้ รู้ได้ทันทีว่าอยู่ที่ใด
       สะอาด   คือ  การรักษาความสะอาดสถานที่ เครื่องใช้ อุปกรณ์ บริเวณทางเดินให้ปราศจากขยะ ฝุ่นผงและเศษวัสดุ
       สุขลักษณะ  คือ  รักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดตา โดยรักษา 3ส. แรกให้ดีอยู่เสมอ
       สร้างนิสัย   คือ  การปฏิบัติตมกฎระเบียบอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย

 -  กิจกรรม 5 ส. จะเป็นการมุ่งพัฒนาคนในองค์กร คือ มุ่งให้พวกเขาหันกลับมาพัฒนาตนเองก่อนเป็นอันดับแรก โดยคนที่มีอุปนิสัยแบบ 5 ส. คือ “ฝึกให้รู้จักระเบียบให้กับตนเอง” แทนที่จะให้คนอื่นมาควบคุมบังคับ จะสามารถควบคุมตัวเองได้ และเมื่อควบคุมบังคับตัวเองหรือจัดระบบระเบียบให้กับตนเองได้แล้ว การจัดระบบระเบียบให้กับการทำงานก็จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อเป้าหมายในการทำงานหรือผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น

 

ใครควรเริ่มทำ 5 ส. ก่อน

        การทำ 5 ส. เป็นงานที่ทุกคนจำเป็นต้องทำ ไม่แบ่งว่าเป็นระดับไหนก็ตาม และต้องทำไปพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตามสำหรับหน่วยงานที่ไม่เคยทำ 5 ส. มาก่อน อาจจะต้องมีจุดเริ่มต้นมาจากข้างบน เป็นการดำเนินกิจกรรมในลักษณะจากบนลงไปล่าง (Top–Down) โดยต้องเป็นการกระตุ้นจากระดับบริหาร หรือระดับจัดการก่อน โดยเป็นกำหนดนโยบายและส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลเรื่องนี้โดยตรง แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง หน่วยงานแทบจะไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวเลยด้วยซ้ำ เพราะคนที่รู้จุดมุ่งหมายของ 5 ส. จะสามารถดูแลตัวเองในการทำ 5 ส. ได้ตลอดไป และที่สำคัญลักษณะของกิจกรรมจะส่งผลย้อนกลับ คือจะเกิดผลดีกลับขึ้นไปต่อการบริหารและจัดการในภาพรวม เรียกว่าย้อนกลับขึ้นไปจากข้างล่างไปสู่ข้างบน (Bottom–up)


สิ่งสำคัญในการลงมือทำกิจกรรม 5 ส. นั้น คือต้องทำอย่างต่อเนื่อง และทำให้เป็นความเคยชิน ประโยชน์จากการทำ 5 ส. ทั้งจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง และจากส่วนล่างไปสู่ส่วนบน จึงจะปรากฏผลชัดเจน ซึ่งเราสามารถดูผลความสำเร็จของชาวญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับองค์กร หรือระดับประเทศ  โดยกิจกรรม 5 ส. เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการพัฒนาของพวกเขามาโดยตลอด


        ปัจจุบันถ้าเราไปถามคนญี่ปุ่นว่ารู้จักกิจกรรม 5 ส. หรือไม่ ส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้จัก ที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เพราะญี่ปุ่นไม่ได้ทำ 5 ส. แต่เป็นเพราะเขาทำอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัยส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ซึ่งจากการทำ 5 ส. จนกลายเป็นนิสัยของชาวญี่ปุ่นนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศที่เป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างพวกเขา สามารถพัฒนาตนเองจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้


        ที่กล่าวมาไม่ใช่เรื่องล้อเล่น แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง จากอดีตถึงปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นใช้หลัก 5 S (หลักการ 5 ส. ในภาคภาษาญี่ปุ่น) เป็นหลักสำหรับในการวางรากฐานพัฒนาคน พัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน และพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารเกือบทั้งหมด ไม่ลังเลเลยที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำ 5 ส. ให้พนักงานได้เห็น และพนักงานเองก็เชื่อมั่นว่า นี่คือแนวทางที่ดีที่จะช่วยให้การทำงานของตนเองประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น  5 ส.    จึงเปรียบเสมือนจุดร่วมในองค์กร ที่ยึดเหนี่ยวให้ทั้งหมดก้าวหน้าไปในทิศทางเดียวกันในการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิต

 

 การประกันคุณภาพการศึกษา

ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา 

            หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม

 

 

ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา 

            มีความสำคัญ 3 ประการ คือ

1.ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

2.ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

3.ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

            การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น

        

< การประกันคุณภาพการศึกษาเปรียบเสมือนกับการทำ 5 ส. ถ้าเราทำให้ต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัยส่วนหนึ่งของการทำงาน คำว่าองค์กรประสบความสำเร็จก็คงไม่ได้ยากอย่างที่คิด > 

 

 

 แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/General/5s.htm
 
 
                                                                              kanokporn -- joy
หมายเลขบันทึก: 298657เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กิจกรรม 5 ส ได้ ส 6 สร้างสรรค์ และส 7 มีสุข ด้วยจ๊ะ น้องจอย

พี่หนึ่ง แบ่งปัน 5 ส สร้าง(สรรค์)สุขหน่อยค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้เพิ่มเติมนะคะพี่หมวย

ส 6 สร้างสรรค์ ส 7 มีสุข จอยจดจำไว้ในสมองอันน้อยๆ เรียบร้อยแล้วนะจ๊ะ

..อิอิ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท