ทำอย่างไร เมื่อผู้ดูแลหมดไฟ How to manage with caregiver burden


ถามถึงการที่ผู้ดูแลและผู้ป่วยสามารถเดินผ่านมรสุมในชีวิตได้ถึงตอนนี้ เขาทำได้อย่างไร บอกตัวเองอย่างไร ให้กำลังใจอย่างไร อะไรเป็นแรงผลักดันให้ยังต่อสู้ต่อไปได้

กิจกรรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาลศรีนครินทร์  16 ก.ย. 52

        วันนี้ case ที่นำเสนอเป็น case Intracerebral hemorrhage with left hemiplegia , bed ridden S/P craniotomy & tracheostomy นำเสนอโดย พญ.สิริวรรณ 

        ผู้ป่วยรายนี้มีอาการประมาณ 5 ปี  ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย  มีสามีเป็นผู้ดูแลเพียงคนเดียว  โดยที่ญาติและลูกไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลมากนัก

 

        ประเด็นที่พูดมากๆกันก็คือเรื่อง management of caregiver burden  ซึ่งมีข้อเสนอดีๆจากผู้เข้าร่วมดังนี้

  • ควรกลับไปประเมินภาระของผู้ดูแลเพิ่มเติม  ว่าผู้ดูแลมีหน้าที่ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง  งานไหนที่สามารถตัดออกไปได้  งานไหนที่ทางครอบครัวหรือทางสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลจะพอแบ่งเบาภาระได้บ้าง

 

  • ประเมินความสัมพันธระหว่างผู้ดูแลกับลูก  รวมทั้งญาติๆว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลทำให้ผู้ดูแลต้องดูแลเพียงคนเดียวหรือไม่

 

  • ไปเยี่ยมผู้ป่วยเป็นประจำ  แม้ว่าอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้ผู้ป่วยกลับมาดีขึ้นได้  แต่ก็เป็นการให้กำลังใจกับผู้ดูแลและเป็นการแบ่งเบาภาระในการดูแลผู้ป่วยในวันนั้น  และแต่ละครั้งในการเยี่ยม  ควรดึงเจ้าหน้าที่ PCU เข้ามามีส่วนร่วมในการเยี่ยม  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกทักษะในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้  และมอบหน้าที่ในการดูแลเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ PCU ด้วย

 

  • การพูดคุยกับผู้ดูแล  ให้ผู้ดูแลมีโอกาสในการพูดคุย ระบายในสิ่งที่ค้างคาและกังวลใจ  สอบถามในสิ่งที่สงสัย  ขณะเดียวกันการพูดชื่นชมอย่างจริงใจและชี้ให้ผู้ดูแลมองเห็นคุณค่าในตนเองและผู้ป่วย  ถามถึงการที่ผู้ดูแลและผู้ป่วยสามารถเดินผ่านมรสุมในชีวิตได้ถึงตอนนี้  เขาทำได้อย่างไร  บอกตัวเองอย่างไร  ให้กำลังใจอย่างไร  อะไรเป็นแรงผลักดันให้ยังต่อสู้ต่อไปได้

 

  • ถ้าในชุมชนมีผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายๆกัน อาจมีการรวมตัวกัน การแลกเปลี่ยนกันดูแลหรือการพูดคุยระหว่างผู้ดูแลก็เป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน  รวมทั้งยังช่วยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลของแต่ละคน 

 

  • ชุมชนหรือองค์กรท้องถิ่นอาจจะมีส่วนร่วม  โดยอาจจะจ้างเยาวชนหรือผู้ดูแลอื่นๆ  มาช่วยดูแล  เพื่อแบ่งเบาภาระ  รวมถึงการจัดตั้งเครือข่ายจิตอาสามาช่วยดูแล  แต่การที่จะให้ท้องถิ่นหรือชุมชนมามีส่วนร่วมได้  ควรมีการรวบรวมข้อมูลและสะท้อนข้อมูลไปยังชุมชน  แล้วให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและช่วยหาทางแก้ปัญหา

 

        ตอนท้าย อ.ปัตพงษ์ ได้เปิดVCD ชุมชนคอนขนุน ซึ่งมีการรวมตัวกันของผู้พิการเป็นชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการในการทำกิจกรรม  ตั้งแต่การช่วยเหลือผู้พิการที่ด้อยโอกาส รวมทั้งกำหนดนโยบายสาธารณะ

  • การจะทำให้เกิดการรวมตัวของประชาชน  ต้องเชื่อในศักยภาพของประชาชนและไว้วางใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
หมายเลขบันทึก: 298384เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท