บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง
การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบการกำกับดูแลการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิค
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการกำกับดูแลการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่ออินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ
ปัญหาหรือผลกระทบของการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการกำกับดูแลการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศไทย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิค
ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต
ผู้ประกอบการ เว็บมาสเตอร์ (Webmaster)
ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ผลิตในประเทศไทยและโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิค
ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเว็บมาสเตอร์
แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต
แบบสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยผู้เชี่ยวชาญ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อด้วยระบบอินเทอร์เน็ต
ซึ่งสามารถใช้ระบบ World Wide Web ได้
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้แบบวัดที่สร้างขึ้น
และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์
การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แหล่งข้อมูลบุคคล
โดยใช้สถิติพรรณนา ค่าร้อยละ
ข้อมูลจากเนื้อหาสาระของโฆษณาที่ส่งผ่านระบบ World Wide Web
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจำแนกข้อมูลตามหมวดหมู่และหาค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการสื่อสารของประชาชน
ประชาชนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
ใช้ในการรับข่าวสารต่างๆ และใช้เพื่อความบันเทิง (ร้อยละ 22.1 21.9
และ 21.5 ตามลำดับ)
ประชาชนส่วนใหญ่เกือบครึ่งใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยน้อยกว่า 5
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รองลงมาคือ เฉลี่ย 5-10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ร้อยละ
37.5) ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อสีบค้นข้อมูลด้านสุขภาพ
2.
พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่ออินเทอร์เน็ตของประชาชน
ผลการวิจัยพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต
และพบว่าสินค้าและบริการที่เลือกซื้อมากที่สุดคือ
สินค้าประเภทเทคโนโลยีสูง เช่น คอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
3.
ประสบการณ์เกี่ยวกับการรับสื่อการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการรับสื่อโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
บนสื่ออินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 69.5)
แบนเนอร์หรือเนื้อหาเกี่ยวกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สุขภาพบนสื่ออินเทอร์เน็ตที่ประชาชนส่วนใหญ่เคยพบคือ
เครื่องสำอาง
ส่วนใหญ่พอมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ
พรบ.สุขภาพ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค ส่วน พรบ.ธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิค
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจ
4.
ปัญหาและผลกระทบของการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่ออินเทอร์เน็ต
สถานการณ์ปัจจุบันของการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคแพร่หลายมากขึ้น
และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
และมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนบ้าง
ด้านผู้บริโภคพบปัญหาเกี่ยวกับการขาดความมั่นใจในคำโฆษณา
และระบบความปลอดภัยของการชำระเงิน ส่วนผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ
มีความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของการโฆษณาพาณิชย์อิเล็คทรอนิคในเรื่องเดี่ยวกันคือ
ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5.
แนวทางและมาตรการในการกำกับดูแลการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่ออินเทอร์เน็ต
1) ด้านองค์การภาครัฐ
ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่ออินเทอร์เน็ต
แนวทางการกำกับดูแลการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
บนสื่ออินเทอร์ฌน็ตควรให้หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเหล่านี้
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคม องค์กรวิชาชีพ
ให้ติดตามตรวจสอบควบคุมการโฆษณา อีกทั้งสร้างระบบการเฝ้าระวัง
ติดตามเว็บไซต์ที่ละเมิดกฎหมายร่วมกัน
กำหนดมาตรการในการป้องกันมิให้มีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายซ้ำซาก
ตลอดจนดำเนินการต่อผู้ฝ่าฝืนกฎหมายตามแนวทางปฏิบัติหรือกฎดกณฑ์ขององค์กรนั้นๆ
2) ด้านผู้บริโภค
ควรมีการเผยแพร่การสร้างช่องทางให้ผู้บริโภค สามารถตรวจสอบข้อมูล เฃ่น
สถานที่ตั้งของผลิตภัณฑ์ เผยแพร่ข้อมูลที่ประชาชนร้องเรียน
ให้ผู้บริโภคสามารถประเมินเว็บไซต์ได้ว่า
เว็บไซต์ใดควรเชื่อถือหรือไม่เพียงใด
ซึ่งอาจทำได้โดยการรับรองเว็บไซต์ที่ปฏิบัติตามกฎหมายและแนวทางปฏิบัติต่างๆ
โดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เพื่อเป็นหลักปะรกันแก่ผู้บริโภค เช่น
มีเครื่องหมายรับรองในเว็บไซต์ (trust mark)
และจะต้องส่งเสริมรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ผู้บริโภคกระตือรือร้นในการปกป้องสิทธิของตนในอันที่จะได้ข่าวสารที่ถูกต้อง
ตลอดจนสามารถเรียกร้องสิทธิได้ตามกฎหมายหากได้รับความเสียหายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้น
3) ด้านผู้ประกอบการและผู้ผลิตงานโฆษณา
ผู้ประกอบการยังมีความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ
ปัญหาเกี่ยวกับภาษาที่ใช้
ซึ่งเป็นการยากสำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายจะสามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้
และเนื่องจากกฎหมายต้องอาศัยการตีความ
ปัญหาการไม่ให้ความร่วมมือของผู้ประกอบการธุรกิจบางกลุ่ม
ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ โดยให้มีการจัดสัมมนาผู้เกี่ยวข้อง
ทั้งผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ต่างๆ และผุ้ประกอบการทางอินเทอร์เน็ต
ผู้บริโภค NGO สภาหรือสมาคมวิชาชีพ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อกำหนดทิศทางหรือแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณาและพาณิชย์อิเล็คทรอนิคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
4) ด้านกฎหมาย
ควรมีการปรับปรุงมาตรการด้านกฎหมาย แนวทางการแก้ไขปัญหา
คือกฎเกณฑ์เรื่องการขึ้นทะเบียนเว็บไซต์ที่โฆษณาหรือขายโฆษณาหรือขายผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเทอร์เน็ตที่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวด
กฎเกณฑ์เรื่องการจดแจ้งเว็บไซต์ที่โฆษณาหรือขายผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเทอร์เน็ตที่ต้องควบคุมเข้มงวดปานกลาง
กฎเกณฑ์การขายยาระหว่างผู้บระกอบการด้วยกันและธุรกิจกับผู้บระกอบวิชาชีพทางอินเทอร์เน็ตหรือสื่ออิเล็คทรอนิคอื่นๆ
การหาข้อสรุปประเด็นกฎหมายเรื่องการขายตรงต่อผู้บริโภคทางอินเทอร์เน็ต
หรือสื่ออิเล็คทรอนิคอื่นๆ
การออกกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากผลิตภัณฑ์
(Product Liability Law) เพื่อเยียวยาผู้บริโภคที่ได้รับผลเสียหาย
|