การสร้างสุขภาพ


การสร้างสุขภาพและลดพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่อง 3 ต้อง 6 ไม่

ปัจจุบันนี้เรามาถึงจุดที่กำลังเผชิญหน้ากับโรคภัยไข้เจ็บทั้งกายและจิตใจ ในขณะที่การแพทย์แผนปัจจุบันเจริญก้าวหน้าสูงสุด แต่มนุษย์เราไม่ได้มีความสุขเท่าที่ควร โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย โรคที่เกิดจากความเครียด จากการกินมากเกินไป โรคเหล่านี้มิได้มาจากสาเหตุเดียวเหมือนโรคที่ติดเชื้อ แต่เกิดมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ขาดการออกกำลังกาย การงานและการมีทัศนะผิดๆ ที่มุ่งแสวงหาวัตถุอย่างมากเกินจำเป็น ความขัดแย้งและการสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ครอบครัว การอยู่อย่างโดดเดี่ยว ขาดการเอื้ออาทรต่อกันและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ลึกลงไปจะเห็นว่าสาเหตุของโรคต่างๆ เกิดจากขั้นจิตวิญญาณ นั่นคือคุณภาพของจิตใจเป็นเหตุเบื้องลึกของโรคภัยไข้เจ็บของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือกิเลสตัณหาในใจเรา เป็นสาเหตุของโรคทางกายและใจ ดังที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ 2,500 ปีมาแล้ว

       ดังนั้นในการที่เราจะเข้าสู่สภาวะที่มีสุขภาพดีนั้น องค์การอนามัยโลกจึงกำหนดว่า จะต้องมีสุขภาวะทั้งทางกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ คือเป็นภาวะที่เป็นองค์รวม นั่นเอง ดังนั้นผู้รู้ทางสุขภาพทั้งหลายจึงได้นำแนวคิดและวิธีการต่างๆ ทั้งศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก ผสมผสานกันสร้างเป็นวิธีการแพทย์ทางกายและจิตขึ้น (Mind /Body medicine)

++ ในด้านร่างกายเราใช้อาหาร การออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น  โยคะ  จี้กง  หรือการออกกำลังกายต่างๆ ที่ทำอยู่เช่น การเดิน การวิ่ง การว่ายน้ำ กีฬาชนิดต่างๆ ล้วนแล้วแต่ช่วยการเสริมสร้างสมรรถ ภาพทางกายให้แข็งแรง ทำให้ความต้านทานโรคดี ไม่เป็นโรคต่างๆ ง่าย
++ ในด้านจิตใจ ใช้วิธีการสร้างความผ่อนคลายแบบต่างๆ การฝึกการหายใจ การใช้จินตนาการบำบัดการสะกดจิต ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ล้วนแต่สร้างความผ่อนคลาย มีผลต่อการหายของโรค และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นด้วย
++ ในด้านสังคมการใช้กลุ่มบำบัด ความเอื้ออาทรต่อกัน การให้ความรัก ความอบอุ่น ความช่วยเหลือ การมีไมตรีต่อกัน ความเมตตา การให้อภัยต่อกัน การมองผู้อื่นในแง่ดี ครอบครัว ชุมชน ล้วนแล้วแต่สร้างความสุข ความเชื่อมั่นในตนเอง ให้เกิดขึ้น ทำให้โรคที่เป็นอยู่หายได้เร็วขึ้น อัตราการตายต่ำลง ดังมีรายงานวิจัยมากมาย

++ ในด้านจิตวิญญาณ จิตใจที่ดีงาม มีความเห็นแก่ตัวน้อย มีความโลภ / โกรธ / หลง น้อย ความยึดมั่นถือมั่นน้อย จิตใจที่มีสมาธิ และมีปัญญา รู้เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง จิตใจที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย สามารถปรับตัวตามการผันผวนของสถานการณ์ต่างๆ มีความถือตัวน้อย อ่อนน้อมถ่อมตนสูง มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ติดในโลกธรรมทั้งปวง เป็นเหตุให้เรามีสุขภาพดีไม่เป็นโรค ดังนั้นการปฏิบัติธรรม การฝึกสมาธิภาวนา การเจริญสติปัฏฐาน 4 ( กาย , เวทนา , จิต , ธรรม ) จึงมีบทบาทในการดูแลสุขภาพ ดังนั้นโปรแกรมสุขภาพของแพทย์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกจึงมีเรื่องเหล่านี้อยู่มากมาย การดูแลสุขภาพจึงเป็นงานที่สำคัญ เป็นการพัฒนาตนเอง ที่ต้องทำอยู่ตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่ต้องลงมือปฏิบัติเอง (Self – care) เวลาที่เป็นโรค แน่นอนแพทย์ยังคงมีบทบาทสำคัญที่จะรักษาเราให้หายได้ แต่ก็ต้องที่จะพยายามรักษาตนเองด้วยวิธีทางกายและจิตวิญญาณควบคู่กันไปด้วย และการที่เราจะช่วยตนเองได้ ก็จะต้องอาศัยการเรียนรู้ เพราะว่าวิธีการบางอย่างไม่ใช่ง่ายๆ จากการแค่อ่านหนังสือ บางอย่างจะต้องอบรมภาคปฏิบัติ บางอย่างมาจากมุขปาฐะ ( เรื่องเล่า ปากต่อปาก ) โดยเฉพาะด้านสมาธิภาวนาต้องอาศัยการเรียนรู้และมีครูอาจารย์กำกับ และน่าเสียดายที่สิ่งเหล่านี้ไม่มีคำว่าง่ายและรวดเร็วแต่เป็นงานที่ยากและใช้เวลานาน มันจึงเป็นงานเพื่อชีวิต ต้องการพัฒนาตลอดไป เป็นการศึกษาเพื่อชีวิต แต่งานเหล่านี้ เมื่อทำทุกๆ วันของยากก็กลายเป็นของง่าย อาศัยความพากเพียรทำบ่อยๆ จนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ และผลของมันนำพาเราไปสู่หนทางแห่งความสวัสดี

 

หมายเลขบันทึก: 297792เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2009 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอเรื่องราวการรักษา การเยียวยา กายและจิต ครับ เพราะอ่านแล้วได้ประโยชน์มาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท