ศธ.กับการแก้ปัญหาการศึกษาชาติ


ปัญหาการศึกษา

ศธ.ระดมกึ๋นแก้ปัญหาการศึกษาชาติ

โจทย์6ข้อที่อยากได้คำตอบ เบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า การเรียนการสอนในปัจจุบันต้องสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ แต่จะไม่ตัดเรื่องการท่องจำทิ้ง ...

จากการประชุมเชิงนโยบายเพื่อระดมความคิด เรื่อง "การพัฒนาการศึกษาทั้งระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย" ที่ รร.ดุสิตธานี หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว. ศึกษาธิการ กล่าวว่า มีโจทย์ 6 ข้อที่อยากได้คำตอบ ได้แก่

1. การเรียนการสอนให้เด็กท่องจำหรือคิดวิเคราะห์หรือไม่ หลักสูตรและกระบวนการการเรียนการสอนสอดคล้องหรือยัง

2. การออกข้อสอบที่ทำอยู่ทั้งแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) การทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอนหรือไม่

3. เด็กไทยเรียนในห้องเรียนมากไปหรือไม่ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า

4. ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ โดยเฉพาะอุดมศึกษามีความเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะเป็นหรือไม่ ตรงกับความต้องการของสถานศึกษาและลดการออกกลางคันหรือไม่

5. สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิต มีคุณภาพตรงความต้องการของประเทศหรือไม่ และ

6. ระบบการวัดผลประเมินผลการประเมินสถานศึกษา มีความเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ จากการหารือโจทย์

ข้อ 1-3 ได้ข้อสรุปว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ แต่จะไม่ตัดเรื่องการท่องจำทิ้ง และมี 5 เรื่องที่ต้องทำคือ

1. ครู ต้องสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้น

2. หลักสูตร อยากให้ทบทวนสาระที่เกินความจำเป็น

3. ตารางสอนควรปรับเพื่อให้เด็กเรียนนอกห้องมากขึ้น

4. กระบวนการเรียนการสอนต้องผลักดันไปสู่การคิดวิเคราะห์ และ

5. การออกข้อสอบ ผู้ออกข้อสอบมีสัดส่วนที่เหมาะสมหรือไม่ ข้อสอบได้มาตรฐานหรือยัง การสอบถี่ไปหรือไม่

ที่มา ไทยรัฐ 12 กันยายน 2552

ร่วมก๊วน...กวนข่าวกันหน่อย

1.  จากข่าวการระดมกึ๋นเพื่อแก้ปัญหาการศึกษาชาติ 6 ปัญหา บางปัญหาได้มีแนวทางในการแก้ไขแล้ว...  เห็นด้วยมั๊ยค่ะ

2.  จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาที่แท้จริงหรือไม่ เป็นการแก้ปัญหาแบบวัวหายล้อมคอกหรือเปล่า

3.  เป้าหมายหลักของการศึกษาคืออะไร  แล้วทำไมกระบวนการขั้นตอนหยุมหยิมรายทางมากมายจนผู้เดินทางล้า ท้อถอย จนหลุดออกนอกเส้นทางที่จะก้าวไปให้ถึงปลายทาง

4.  ห็นด้วยไหม  ถ้าไม่มีพื้นฐานความรู้จากการจำได้ จนเข้าใจ คือฐานการคิดวิเคราะห์  จะไปวิเคราะห์ได้จริงหรือเมื่อไม่มีความรู้อะไรเลย  โอกาสผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อย

หมายเลขบันทึก: 297582เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท