เล่า
คุณ ชุติมา อินทรประเสริฐ

คนวงนอก "ศาล" กับ "การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของสังคม" ตอนจบ


“เมื่อเราเป็นผู้ทำงาน ย่อมเป็นผู้รู้” และ “มั่นใจที่จะพูด” ในมุมของตัวเอง
ต่อจากตอนที่แล้ว
คำถามข้อแรก คือ    มุมมอง ในกระบวนการยุติธรรมของท่าน เป็นอย่างไร
อาจารย์มองว่า หลายครั้งที่สังคมไทยเวลามองเรื่องใหญ่  มักมองเป็นส่วนๆ  เห็นแค่บางส่วน
ดังนั้นถ้าคิดเรื่องยากๆ   ควรมองให้เห็นภาพรวม (Holistic)
มองอย่างเชื่อมโยงกับชีวิตผู้คนที่มีความหลากหลาย
มองเชิงระบบ   แบบ  The Whole แล้วเราเป็น Part of the Whole
เพราะฉะนั้น บทบาทของสถาบันรพีฯ ต้องทำ “Social Movement” ไปด้วยกัน
 
ข้อที่ 2.    กระบวนการยุติธรรมควรมีการปฏิรูปอย่างไร
อ.วิจารณ์มองว่า   ต้องให้ความสำคัญในเรื่อง “การเรียนรู้”  ต้องออกแบบให้ integrate ในการทำงานของศาลใน       แต่ละระดับให้โยงเสริมกันให้เกิดการเรียนรู้กันภายใน ในทุกระดับ   นอกจากนั้นต้องให้มีการเรียนรู้ออกไปนอกศาล  (หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม)  ศาลดำรงความศักดิ์สิทธิโดย isolate ตัวจากสังคม แต่ แบบนี้การเรียนรู้จะไม่มีพลัง  เพราะฉะนั้นต้องใช้การเรียนรู้แบบข้ามแดน (องค์กร  วิชาชีพ) ซึ่งพูดง่าย แต่ไม่ใช่ทำง่าย 
 
ข้อที่ 3.    ทำไมการพัฒนากระบวนการยุติธรรมจึงยังไม่ประสบผลสำเร็จ
หากตอบแบบกำปั้นทุบดิน  คือ ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จ  เพราะยังไม่ค่อยได้ทำ  หรือ ถ้าพูดให้ชัดยิ่งขึ้น คือ ศาลงานล้น  หมดแรงไปกับงานโดยตรง
 
อ.วิจารณ์ให้ความเห็นว่า  งานใหญ่ๆ ต้องแบ่งการทำงาน ออกเป็น 2 ส่วนให้สมดุล
ส่วนที1. เป็นเรื่องของ Work proper งานประจำ
ส่วนที่ 2. เป็นเรื่อง การพัฒนาหรือการเรียนรู้   หากใช้ Balance Score Cards (BSC) เราไม่ดูเฉพาะผลงาน แต่เราจะมองที่ ผลการเรียนรู้ของบุคคล องค์กร ความพึงพอใจของลูกค้า  ฯลฯ  ต้องระวังเวลาทำงาน  ส่วนใหญ่จะเน้น Single Score Card  ไม่ Balance  ไม่มีวิธีคิดเชิงระบบ  “สู่สมดุล”  งานที่ยุ่งก็จะลดลง
 
การที่ตั้งสถาบันรพีฯ ก็เข้าใจว่าต้องการให้มีการเรียนรู้  ต้องการ move ทั้งศาล  โดยสถาบันเป็นกลไกในการ move  เพื่อให้ศาลเป็นองค์กรทางด้านกระบวนการยุติธรรมที่เรียนรู้ทั้งหมดทุกระดับ 
 
ข้อที่ 4.    ประชาชนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างไร
ถ้าใช้ “KM”   ประชาชนจะเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะเป็น  partner หนึ่งที่จะมาเล่าเรื่องราว 
แต่ต้องระวัง   เรื่องศาลเป็นเรื่องการขัดแย้ง ถ้าไม่ระวังก็จะกลายเป็นการมาคุยกันเรื่อง ปัญหา “จิตจะตก”  ชี้  คนถูก  คนผิด 
 
หากจะลองทำ  (ไม่ทราบว่าจะถูกหรือผิด) 
 
มีประชาชนที่ขึ้นศาล  ผ่านกระบวนการยุติธรรม แล้วได้ประสบการณ์ดีๆ  ประทับใจ  จากดำเนินการของศาล  หาคนเหล่านี้มาเล่าเรื่องราว หาวิธีการ  ให้ได้ของจริง  ที่ไม่ใช่มายกยอ  ผู้พิพากษา หรือ ศาล
 
เวลาเราทำ KM แบบนี้ จะไม่ใช่  แค่ bilateral relationship ระหว่าง ประชาชนกับศาล แต่จะมี ตำรวจ  ทนาย ฯลฯ จะ complex  ประชาชนเขาก็จะเล่าความ complex แล้วเขาก็ผ่านมาได้  ระหว่างทางเราจะเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น จะเห็นความสัมพันธ์ของหลายฝ่ายที่มีความซับซ้อน (พูดแบบคนนอก   ไม่ทราบว่าจะทำได้แค่ไหน)
 
จากนั้น...อ.วิจารณ์ ได้เสริมในประเด็นหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจ นอกเหนือจากประเด็นที่ทำอยู่แล้ว ( “เรื่องสิ่งแวดล้อม”  “หมายค้น” “หมายจับ” ) เพิ่มอีกประเด็นคือ  ประเด็น “รอยต่อ/พลังเสริม” ระหว่าง “กฎหมาย กับ คุณธรรม/จริยธรรม”  ซึ่งงานนี้เน้นผู้นำโดยตรง  คือ ผู้นำ ต้องไม่อาศัยกฎหมาย มาบั่นเซาะคุณธรรม    ผู้นำต้องมีเกณฑ์นี้สูง 
 
ค่ะ  และเช้าวันนั้น ก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้   ในอีกแง่มุมหนึ่งของการมอง  เรื่องบ้านเมือง  สังคม   ซึ่งต้องมีวิธีคิดที่ เชื่อมโยงรอบด้าน เป็นมุมมองที่แตกต่างอย่างมีพลัง 
 
อ.วิจารณ์ ทิ้งท้ายว่า   ในแต่ละแวดวงอาจมีกลไกเรื่องการจัดการความรู้ที่แตกต่างกัน  แนว สคส. นั้น
“เมื่อเราเป็นผู้ทำงาน  ย่อมเป็นผู้รู้”   และ “มั่นใจที่จะพูด” ในมุมของตัวเอง 
และเราจะเป็น “ผู้ไม่รู้” เมี่อเราอยากทำให้ดีกว่าเดิม  
หมายเลขบันทึก: 297540เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ติดตามมาทั้ง 2 ช่วงค่ะ

รู้สึกว่า ศาลจะต้องออกแรงเยอะ ทำให้เยอะ ทำมากกว่า

สำหรับการนำ km ไปใช้ในองค์กรของศาล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท