การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน


แนวคิด หลักการ

MULTIMEDIA หรือสื่อประสมเพื่อการศึกษา

ปัจจุบันวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษาในสังคมไทยท่ากลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้นในแง่ลบอันมีผลกระทบเชื่อมโยงจากบริบทสังคมโลก การพัฒนาคุณภาพคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แม้กรศึกษาจะเป็นกระบวนการสำคัญ ในการพัฒนาคนแต่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่านั้น จึงจะเอื้ออาทรต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถตลอดจนคุณลักษณะต่างๆ ของคนที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาจำเป็นต้องปรับเพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่พึงประสงค์โดยการให้การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในรูปแบบและวิธีการหลากหลาย โดยเน้นการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาการศึกษา ให้โอกาสผู้เรียนมีบทบาทในการพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ความมุ่งหวังดังกล่าว มีผลให้องค์ประกอบหนึ่งของการจัดการศึกษา ที่เรียกว่าเทคโนโลยีทางการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องและพัฒนาตัวเองให้มีประสิทธิภาพตามวิสัยทัศน์ของการพัฒนาการศึกษาในปัจจุบัน

โดยที่เทคโนโลยีทางการศึกษา มีบทบาท ในการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อออกแบบและส่งเสริมกระบวน การเรียนการสอน โดยเน้นวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าจะยึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องโสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาตนเอง

สื่อ (MEDIA) เป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้เหตุการณ์ แนวความคิด สถานการณ์ ฯลฯ ที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับสารสื่อการสอน (INSTRUCTION MEDIA) เป็นตัวกลางที่ช่วยนำ และถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้การเรียน การสอน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์มัลติมีเดียหรือสื่อประสม(MULTIMEDIA) เป็นการนำเอาตัวกลางหลายๆ ชนิดที่ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ มาสัมพันธ์กัน ซึ่งแต่ละชนิดมี คุณค่าส่งเสริมซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ป้องกันการเข้าใจความหมายผิดเป็นการให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันสามารถตอบสนองจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนได้อย่างสมบูรณ์ มีการจัดระเบียบของตัวกลาง(MEDIA) เพื่อใช้ให้เหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาของสื่อแต่ละชนิด เพื่อให้คำตอบที่ชัดเจนเป็นประโยชน์และน่าสนใจแก่ผู้เรียน องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบการจัดระบบสื่อประสมนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแต่การใช้เครื่องมือทางโสตทัศน์มากกว่า 2 ชนิด ขึ้นไปเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการประสานความสัมพันธ์ของสื่อที่ใช้ เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและความสามารถ หรือศักยภาพของสื่อแต่ละชนิดนั้นให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ทำให้สื่อแต่ละชนิดที่ใช้นั้นอำนวยประโยชน์แก่ดันและกัน ทำให้เกิดการ
เรียนรู้ที่ดีได้มากขึ้น

ประเภทของสื่อประสม

อาจจำแนกตามจุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้ได้ดังนี้
1. จำแนกตามจุดมุ่งหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่างสื่อประสมประเภทนี้มักอยู่ในรูปของสื่อหลายชิ้นมาอยู่ร่วมกันแล้วใช้สอนได้หลายเรื่องเรียกว่า "ชุดอุปกรณ์" (Kit) เช่น ชุดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ใช้สอนการแยกน้ำด้วยกระแสไฟฟ้าก็ได้ สอนการผสมสารเคมีบางอย่างเพื่อพิสูจน์สมการเคมีก็ได้
1.2 ใช้เพื่อจุดหมุ่งหมายเฉพาะอย่างประเภทนี้มักจะอยู่ในรูปสื่อหลายชนิดมารวมกันแต่สอนได้เพียงเรื่องเดียว เรียกว่า"ชุดการสอน"  (Learning package)
2. จำแนกตามลักษณะของสื่อและลักษณะการใช้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การสอนโดยใช้สื่อประสม เป็นการสอนที่ใช้สื่อหลายอย่าง ทั้งสื่อที่เป็นวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ
2.2 การเสนอสื่อประสม (Multi-media presentation) เป็นการเสนอสื่อประเภทฉาย เช่นสไลด์ ภาพยนตร์ควบคู่กับสื่อเสียง

ความจำเป็นและบทบาทของสื่อประสม

1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรู้เนื้อหาต่าง ๆ ได้ดีเกือบทุกเรื่องจากแหล่งหลายแหล่ง โดยถือว่าสื่อแต่ละอย่างมีเนื้อหาและรูปแบบแตกต่างกัน
2. ช่วยประหยัดเวลาทั้งผู้สอนและผู้เรียน
3. ช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ ตามความสามารถและความพร้อมของแต่ละบุคคล
4. ช่วยดึงดูดความสนใจ เพราะสื่อประสมจะเป็นการผสมผสานกันของสื่อที่มีการนำเอาเทคนิคการผลิตแบบต่างๆ มาใช้ทำให้
น่าสนใจ

การเลือกสื่อประสม

สื่อที่เรานำมาใช้ในชุดสื่อการสอนแบบสื่อประสมมักจะประกอบด้วย เอกสารการสอน แผนภูมิ หุ่นจำลอง ชุดแผ่นโปร่งใส สไลด์และเทปเสียง บทเรียนสำเร็จรูป ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ ชุดบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งสื่อแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป จะทำให้เกิดการเรียนรู้ตามพัฒนาการเรียนรู้ของกลุ่มหรือของแต่ละบุคคล ที่แน่นอนคือสื่อประสมหลายอย่าง ย่อมช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าสื่อประเภทเดียว

การประยุกต์ใช้สื่อประสม (Multimedia Appllcation)

ปกติการนำเสนอสื่อประสม ถ้าจะบรรจุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะใช้สื่อประเภทเดียว (Conventional Use) แต่เราอาจจะใช้สื่อหลายประเภทก็ได้ (MuttimediaUses) เช่น ใช้ภาพกราฟิกในรูปของสไลด์แสดงถึงหลักการแล้วต่อมาฉายเป็นภาพยนตร์สั้นๆเพื่อแสดงการประยุกต์ของหลักการนั้นๆ โดยบทสรุปอาจจะใช้แผ่นโปร่งใสข้ามศรีษะเหล่านี้เรียกว่าเป็นการนำไปใช้ (Appllcations)

การใช้กับกลุ่มผู้เรียนจำนวนมาก (Group Uses) อาจใช้สื่อหลายแบบผสมกัน ได้แก่สไลด์ แผ่นโปร่งใส ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ เครื่องเล่นเทปเสียง โดยเราจะต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเตรียมการอันหมายถึง การสร้างวัตถุประสงค์ การเลือกเนื้อหา ให้สนองวัตถุประสงค์ การจัดเรียงลำดับภาพและบทสคริปท์ท้ายสุดก็คือ การจัดหาบุคลากรในการช่วยวางแผน และดำเนินการตามโปรแกรมที่วางไว้


การใช้สื่อประสมเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Indivldual Use) การเรียนตามระดับความสามารถหรือความสนใจของผู้เรียน โดยศึกษาจากสื่อประสมภายในกล่อง (Package) ซึ่งประกอบด้วย
1. ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ
2. บอกถึงขึ้นตอนลำดับของการศึกษา หรือบอกถึงเนื้อหาตามลำดับขั้นซึ่งผู้เรียนจะสามารถเลือกหัวข้อที่จะศึกษาเองตามวิธีการเรียนของแต่ละบุคคล
3. ผู้สอนไม่เพียรแต่ต้องตระเตรียมหัวข้อต่าง ๆ แต่ยังรวบรวมเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่เหมาะสมด้วย

เนื่องจากการจัดทำสื่อประสมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบง่ายที่สุดจนไปถึงแบบที่มีความซับซ้อนที่ใช้สื่อประเภทวัสดุ กับประเภทเสียงเพียง 2 อย่าง หรือมากกว่า 2 อย่างขึ้นไป และได้รับการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ในรูปแบบความสามารถหรือศักยภาพองสื่อ และการนำมาประยุกต์ใช้อย่างมากมาย อันเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน รวมทั้งวงการอื่น ๆ ก็ยังสนใจนำไปใช้ประโยชน์อย่างมากมาย เช่นวงการบันเทิง การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ทั้งหมดเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับสื่อมัลติมิเดีย ในยุคเดิมที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาททางการศึกษาไม่มากนัก แต่สามารถช่วยให้การเรียนการสอนประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้สื่อมัลติมีเดียแบบเดิม

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา

ในทางการศึกษายุคปัจจุบัน และอนาคตบทบาทของครูผู้สอนที่ทำหน้าที่สอนในห้องเรียนเหมือนในสมัยก่อนจะลดบทบาทไป แต่จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยคอยให้คำแนะนำกับผู้เรียนในการเรียนรู้ ตลอดจนการแก้ปัญหาให้ผู้เรียนในบางครั้ง การเรียนการสอนแบบเอกัตบุคคล (INDIVEDUALIZAED INSTRUCTION) ที่พึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการฝึกอบรมต่างๆ การจัดโปรแกรมการฝึกอบรมรายกลุ่มแบบปกติ จะลดบทบาทลงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะช่วยสนับสนุนการฝึกอบรมเป็นรายบุคคลที่เน้นถึงความสามารถเฉพาะตัวจะเข้ามาแทนที่โดยเริ่มทีละน้อยๆ จนครบกระบวนการในที่สุด เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากการคิดค้นวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาจึงไม่แปลอะไรที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้กับวงการศึกษาในทุกสาขาวิชาทั้งที่ใช้ในงานวิจัยการพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งการบริการ การจัดการศึกษาและการบริการทางวิชาการ

การใช้คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน สามารถแบ่งออกได้หลายลักษณะ

1. สอนเนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ซึ่งอาจแบ่งเป็นรายวิชาต่างๆ กันตามลักษณะของผู้เรียนที่จะนำไปใช้งาน

2. ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน :CAI (Computer-Assisted Instruction) มีลักษณะเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนสำเร็จรูป เนื้อหาเรื่องราวเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างนักเรียนกับคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการเรียนเป็นรายบุคคลศึกษาด้วยตนเอง

3. ใช้จัดระบบการเรียนการสอน (Computer-Managed Instruction : CMI) เป็นการนำคอมพิวเตอร์เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ โดยจัดโปรแกรมให้สอดคล้องกับผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถและความถนัดของตน

การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน มีประโยชน์สำคัญ ๆ หลายประการ คือ

1. ทำให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้มีความสนใจและกระตือรือร้นมากขึ้นดังจะเห็นได้จากการมีมักจะมีนักศึกษาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่จนมืดค่ำ ในสถานศึกษาต่างๆ

2. ทำให้นักศึกษาสามารถเลือกบทเรียนและวิธีการเรียนได้หลายแบบ ทำให้ไม่เบื่อหน่าย เช่น ถ้าเบื่ออ่านหรือฟังคำบรรยายก็เปลี่ยนเป็นเล่นเกมส์ หรือเล่นโปรแกรมอย่างอื่นได้

3. ทำให้ไม่เหลืองสมองในการสท่องจำสิ่งที่ไม่ควรจะต้องท่องจำ

4. ทำให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับความต้องการของนักศึกษาแต่ละคน

5. ทำให้นักศึกษามีอิสระในการที่จะเรียนไม่ต้องคอยเวียนแวะแนะนัดกับเพื่อนร่วมชั้นและครูอาจารย์จะเรียนกับคอมพิวเตอร์เมื่อไรก็ทำได้อย่างอิสระ

6. ทำให้นักศึกษาสามารถสรุปหลักการ เพื่อหาสาระของบทเรียนแต่ละบทได้สะดวกเร็วขึ้น

7. ทำให้นักศึกษาได้ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองในการเรียนรู้

8. ทำให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากการวิจัยของบริษัท IBM ที่กระทำกับผู้เข้าฝึกอบรมด้วยบทเรียนช่วยสอนด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมการฝึกอบรมแบบปกติ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ในสหรัฐอเมริกา พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกลุ่มที่ใช้บทเรียนช่วยสอนด้วยคอมพิวเตอร์สูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง 10%

ความหมายของ CAI (COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION)

สื่อมัลติเดียที่ถูกสร้างขี้นจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นำมาใช้การเรียนการสอน CAI (CAI,Computer-Assisted Indtruction) แต่ปัจจุบันมีผู้นิยมคำว่า CBT (Computer Based Teaching หรือComputer Based Training) มากกว่า คำใหม่นี้ถ้าแปลตามตัวก็คงหมายถึง การสอนหรือการฝึกอบรมโดย ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนอกจากนี้ในอเมริกาก็ยังมีคำนิยมใช้กันอีกคำหนึ่ง คือCMI (Compuyter Managed Instruction) หมายถึงการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการให้ ส่วนในยุโรปมักจะใช้คำแตกต่างจากในอเมริกันในยุโรปในปัจจุบันคือ CBE (Computer Based Education) หมายถึงการศึกษาโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลักนอกจากนี้ก็มีอีกสองคำที่แพร่หลายเช่นกัน คือ CAL (Computer assisted Learning) และ CML (Computer Manager Learlming) เป็นการเรียน (Learning) สำหรับในประเทศไทยนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องมักนิยมใช้คำว่า CAI มากกว่า CBT หรือคำอื่น ๆ ส่วนในภาษาไทยนั้นจะใช้แตกต่างกันไป เช่น ใช้คำว่าบทเรียน CAI ตรงตัว บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนช่วยสอนด้วยคอมพิวเตอร์ บทเรียนสำเร็จรูปด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์คุณสมบัติของ CAI (COMPUTER-ASSISTED INSTRUCTION) การใช้งานของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่จะหนักไปทางการเรียนด้วยตนเองมากกว่า แม้ว่าจะชื่อบทเรียนช่วยสอนก็ตาม กล่าวคือผู้เรียนจะเป็นผู้ใช้บทเรียน CAI หรือผู้เข้าฝึกอบรมจะใช้เป็นบทเรียน CBT แนวคิดของ CAI เกิดขึ้นจากนักเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ประยุกต์เข้ากับการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาโดยแท้จริงแล้วพื้นฐานของ CAI ก็คือ เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) การมีเครื่องช่วยสอนทำให้ต้องมีโปรแกรมที่เป็นเนื้อหาแบบฝึกหัด และข้อทดสอบ ที่จะใช้กับเครื่องช่วยสอน ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก็มีการใช้บทเรียนสำเร็จรูปต่างๆ เช่น บทเรียนโปรแกรม (Program Instruction) บทเรียนโมดูล (Module Instruction) ชุดการเรียนการสอนสำเร็จรูป(IMP lnstruction package) เป็นต้น โดยเป็นความพยายามที่จะหาวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วนตนเอง ตามความสามารถของตน จะใช้เวลามากน้อยต่างกันอย่างไรไม่ว่าจึงเกิดการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเหล่านี้ขึ้นโดยแทนที่จะใช้เครื่องช่วยสอนเป็นตัวเสนอเนื้อหา ก็ใช้หนังสือ (Programmed Text) เป็นตัวเสนอเนื้อหาโดยออกแบบวิธีการเสนอเนื้อหาให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ใช้เทคนิคของการเสริมแรงและหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้หลาย ๆ อย่างมาประกอบกันอย่างเป็นระบบอย่างไรก็ตามจุดอ่อนของบทเรียนสำเร็จรูปเหล่านี้ก็คือ ความน่าเบื่อหน่ายซึ่งเกิดจากความจำกัดของกิจกรรมความจำกัดของสื่อที่นำมาใช้ ความจำเจ อันเกิดจากการอ่านเพียงอย่างเดียวการต้องเปิดหน้าหนังสือกับไปกลับมา ความจำเจที่สุดได้แก่ ความยากในการสร้างที่จะทำให้เกิดบทเรียนสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะต้องใช้เวลาในการพัฒนา ในด้านของการควบคุมผู้เรียน ขณะใช้งานก็เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบที่ดีจึงจะใช้บทเรียนสำเร็จรูปดังกล่าวได้ผลเมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาขึ้น ทำให้นักการศึกษาหันไปมองหาวิธีการขจัดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวโดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาแทนบทเรียนสำเร็จรูปซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเสนอเนื้อหาทำให้ได้เปรียบบทเรียนสำเร็จรูปในด้านต่าง ๆ เหล่านี้

1. เสนอเนื้อหาได้รวดเร็วฉับไว แทนที่ผู้เรียนจะต้องเปิดหนังสือบทเรียนสำเร็จรูปทีละหน้าหรือทีละหลาย ๆ หน้า ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ก็เพียงแต่กดแป้นพิมพ์ครั้งเดียวเท่านั้น
2. คอมพิวเตอร์สามารถเสนอรูปภาพท่เคลื่อนไหวได้ ซึ่งมีประโยชน์มากในการเรียนสังกัป (Concept) ที่สลับซับซ้อนหรือเหตุการณ์ต่างๆ
3. มีเสียงประกอบได้ ทำให้เกิดความน่าสนใจ และเพิ่มศักยภาพทางด้านการเรียนภาษาได้อีกมาก
4. สามารถเก็บข้อมูลเนื้อหาได้มากว่าหนังสือหลายเท่า
5. ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนอย่างแท้จริง กล่าวคือมีการโต้ตอบระหว่างบทเรียนกับผู้เรียนได้ สิ่งนี้ทำให้ CAI สามารถควบคุมผู้เรียนหรือช่วยเหลือผู้เรียนได้มากในขณะที่บทเรียนโปรแกรม (Program Instruction) ไปได้ แต่ CAI ผู้เรียนจะทำอย่างนั้นไม่ได้
6. CAI สามารถบันทึกผลการเรียน ประเมินผลการเรียน และประเมินผลผู้เรียนได้ ในขณะที่บทเรียนโปรแกรมทำไม่ได้ ผู้เรียนต้องเป็นผู้ประเมินผลตัวเอง
7. สามารถนำติดตัวไปเรียนในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่
8. เหมาะสำหรับการเรียนการสอนผ่านการสื่อสาร เช่น การจัดการศึกษาทางไกล (Distance Leaming) ผ่านทางดาวเทียม หรือการสื่อสารอย่างอื่น

CAI ไม่ใช่บทเรียนโปรแกรมที่นำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์จึงไม่ใช่บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรมใดๆ ที่นำเสนอเนื้อหาออกจอภาพทีละหน้า ๆ จนครบบทเรียน โดยที่ผู้เรียนทำหน้าที่แต่เพียงกดแป้นพิมพ์เพื่อเปลี่ยนเนื้อหาไปที่ละหน้าเท่านั้น แม้ว่าบทเรียน CAI จะได้แนวความคิดมาจาก บทเรียนโปรแกรม (Program Instruction) ก็ตามแต่ CAI สามารถทำในสิ่งที่บทเรียนโปรแกรมทำไม่ได้ในหลาย ๆ ประการ ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนของบทเรียน CAI จึงแตกต่างกับบทเรียนโปรแกรมหรือบทเรียนสำเร็จรูปต่างๆ โดยการออกการเรียนการสอนของ CAI จะพยายามใช้คุณสมบัติพิเศษ (Attribute) ของคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อลักษณะเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ส่วนหนึ่งได้แก่ การเสนอภาพที่เคลื่อนไหวได้ การสร้างเสียงประกอบ และส่วนที่สำคัญได้แก่การโต้ตอบได้ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive)

คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (MULTI MEDIA COMPUTER)

ความสามารถของไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้หลายระบบ ไม่ว่าจะใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องเดียวหรือติดตั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่าวคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเครื่องขนาดใหญ่อย่างมินิหรือเมนเฟรมแล้วการลงทุนด้วยไมโครคอมพิวเตอร์จะมีข้อได้เปรียบมากกว่า ทั้งในแง่ของการลงทุน การนำไปใช้ การบำรุงรักษา และอื่น ๆ ความสามารถในการสื่อต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันสามารถที่จะผสมผสานสื่อต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ กราฟิค ภาพเคลื่อนไหว ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การสื่อความหมายต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ว่าต้องเป็นข้อความ อาจจะมีการสื่อสารด้วยเสียง ภาพยนตร์และข้อความรวมกัน ผลที่ได้คือการสื่อความหมายที่ชัดเจนมากกว่า มัลติมีเดียจึงมีความเป็นไปได้อย่างดียิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงข้อมูล การสื่อสารการฝึกอบรม การเรียนการสอน หรือแม้แต่ในงานที่เกี่ยวกับความบันเทิงหรือการโโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การศึกษาเรื่องมัลติมีเดียจึงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากเนื่องจากแนวโน้มการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องกับฮาร์ดแวร์หรือซอฟแวร์ในอนาคตจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันมัลติมีเดียอย่างเห็นได้ชัดเจน

การที่จะให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนั้น อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้เนื่องจากผู้ให้คำตอบในส่วนที่ตัวเองคุ้นเคย อย่างผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารกับคนที่ทำงานพิมพ์รายงาน อาจให้คำตอบที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม อาจจะมองได้คร่าว ๆ ว่า คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาควบคุมสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกันในลักษณะของการผสมผสานอย่างเป็นระบบ เช่น อาจสร้างโปรแกรมให้มีการนำเสนองานที่เป็นข้อความ มีการเคลื่อนไหวจากวิดีโอประกอบ หรือมีเสียงบรรยายสลับกันไป สี่อที่จะเข้าร่วมในระบบมัลติมีเดียอาจจะเป็นทั้งสัญญาเสียงและสัญญาณภาพโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นอุปกรณ์ที่มีขีดความสามารถสูงสามารถใช้ในงานต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย

มัลติมีเดียสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และผู้ใช้ได้ในหลาย ๆ กรณีถ้าพิจารณาเปรียบเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์แบบเก่าที่เป็ระบบข้อความ สิ่งหนึ่งที่จำกัดการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์คือทุกคนที่ใช้จะต้องใช้คีย์บอร์ดเป็น ไม่เช่นนั้นก็จะใช้ไม่ได้ คนที่พิมพ์ดีดเป็น อาจจะเป็นคนแรกที่ใช้เครื่องได้สะดวกกว่าการออกแบบแอพพลิเคชั่นใช้งาน ผู้ออกแบบจะออกแบบพื้นฐานที่ว่าผู้ใช้มีความสามารถในการใช้คีย์บอร์ดอยู่แล้วซึ่งไม่เป็นจริงเสมอไป ดังนั้นการใช้งานแอพพลิเคชั่นนั้นจะเกิดปัญหาสำหรับคนส่วนหนึ่งซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษาพื้นฐานในการใช้เครื่อง การออกแบบโปรแกรมในลักษณะมัลติมีเดีย สามารถออกแบบให้ใช้สื่อได้หลากหลาย เช่น จอระบบสัมผัสที่ไม่มีความจำเป็นการใช้คีย์บอร์ดอีกต่อไป เพียงแต่สัมผัสบริเวณของจอภาพเพื่อเลือกหัวข้อที่จะทำงานเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามความต้องการใช้คีย์บอร์ดก็ยังคงมีอยู่ แต่คีย์บอร์ดไม่ได้เหมาะสมกับงานบางอย่าง เช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตู้ข่าวสารในศูนย์การค้า เป็นต้น นอกจากนี้ความสามารถในการเอาสื่อไม่ว่า เป็นภาพ เสียง วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวเข้าไปช่วยการให้ข้อมูล ก็เป็นการพัฒนาวิธีการสื่อสารระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง นอกเหนือจากที่เป็นการติดต่อโดยการใช้แต่ข้อความเพียงอย่างเดียวการที่ระบบมัลติมีเดียสามารถที่จะนำสื่อต่าง ๆ มาใช้ร่วมกันได้ ทำให้รูปแบบการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และมนุษย์เป็นไปตามธรรมชาติที่ใช้ในการสื่อสารกันมากที่สุด โดยเป็นการเพิ่มความชัดเจนของข่าวสารและความเข้าใจในการสื่อสารความหมายได้ดียิ่งึ้น การโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นไปอย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ

ถ้าจะพิจารณาภาพรวมจะพบว่า ระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มากขี้น เป็นการขยายความสามารถในการสื่อสารขึ้นอย่างมากมาย ระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจึงมีบทบาทมากไม่ว่าในงานด้านการศึกษา หรือทางธุรกิจ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

1. เทคโนโลยีในการบันทึกข้อมูล
การทำงานของมัลติมีเดียประกอบไปด้วยภาพและเสียง การบันทึกภาพไว้ในคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองหน่วยความจำเป็นอย่างมาก ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการเก็บภาพขนาด 720 + 485 ชุด ด้วยความละเอียดของภาพเป็น 22 บิทต่อจุด หมายความว่าการเก็บภาพเดียวไว้จะต้องใช้เนื้อที่ของฮาร์ดดิสถึง 960,300 ไบท์ แต่ถ้าจะเก็บภาพเคลื่อนไหวประกอบด้วยภาพเป็นแฟรม อาจเป็น 30 แฟรมต่อวินาที หมายความว่าการเก็บภาพวีดีโอเพียรหนึ่งวินาทีลงในฮาร์ดดิสก็ต้องใช้เนื้อที่ฮาร์ดดิสมากกว่า 30 เมกกะไบท์ การบันทึกเสียงลงดิสก์นั้นกินเนื้อที่น้อยกว่า เช่น การบันทึกในระบบสเตอริโอลงดิสก์ในเวลาหนึ่งวินาทีใช้เนื้อที่ดิสก์เพียง 44 กิโลไบท์ แต่อย่างไรก็ตามในการทำงานจริง ผู้สร้างไม่ได้บันทึกภาพหรือเสียงไว้เพียงแต่หนึ่งวินาที ดังนั้นความจุของสื่อเก็บข้อมูลจึงเป็นข้อจำกัดในการพัฒนามัลติมีเดีย เพราะต้องการสื่อที่มีคุณภาพสูงแต่ราคาย่อมสูงตาม การแก้ปัญหาของหน่วยเก็บข้อมูลที่ต้องมีขนาดใหญ่และราคาถูกนั้น ได้แก้ไขด้วยการนำเอาเทคโนโลยีทางการบันทึกข้อมูลด้วยแสงเข้ามาใช้ (Optical Technology) ก็คือพัฒนา CD-ROM ซึ่งกำลังมีบทบาทอย่างมากในระบบมัลติมีเดียในปัจจุบัน

2. เทคโนโลยีการย่อขนาดข้อมูล
การย่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพราะถ้าเก็บภาพจากจอที่มีความละเอียด 1024 + 768 จุด โดยที่ไม่มีการย่อขนาดข้อมูล ก็จะกินเนื้อที่ดิสก็มากกว่า 1 เมกะไบท์ ยิ่งถ้าเป็นการเก็บในลักษณะเป็นวิดีโอในหนึ่งวินาทีที่มีความเร็ว 30 เฟรม อาจใช้เนื้อที่มากกว่า 80 เมกกะไบท์ ดังนั้นการย่อขนาดแฟ้มข้อมูลจึงมีความจำเป็นมากที่จะต้องมีการลดขนาดของข้อมูลให้ลดลงมากที่สุด โดยยังคงความสมบูรณ์ถูกต้องของเนื้อหาไว้ ในระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การใช้มัลติมีเดียอาจไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความจุของหน่วยเก็บข้อมูลเพราะในระบบนี้อาจมีหน่วยเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือความสามารถของระบบ ในการที่จะขนส่งข้อมูลผ่านระบบสายเคเบิล เช่น ระบบสายเคเบิลที่เป็นสาย Coaxial ถ้าต้องใช้การขนส่งข้อมูล 80 เมกกะไบท์ อาจต้องใช้เวลาหลายนาที ดังนั้นถ้าเทคโนโลยีการลดขนาดข้อมูลมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อความหมายของมัลติมีเดียกับคอมพิวเตอร์ระบบใด ๆ ก็จะมี่ประสิทธิภาพตามไปด้วย

3. เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในปริมาณมหาศาลกระบวนการย่อและขยายขนาดข้อมูล จะต้องเกิดอย่างรวดเร็วมากพอที่จะทำให้การติดต่อส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เกิดการหยุดชะงักหรือล่าช้า เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จะทำให้การแสดงผลทั้งภาพและเสียงผิดพลาดไปจากที่เกิดจริง ในขณะเดียวกันการใช้ CD-ROM ก็คือความเร็วซึ่งช้ากว่าฮาร์ดดิสก์มาก จึงมีปัญหาในการที่จะส่งข้อมูลให้กับหน่วยความจำที่ไม่เร็วพอการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงจึงมีความจำเป็นอย่างมาก การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ PENTIUM จึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้การพัฒนาระบบมัลติมีเดียประสบความสำเร็จ

4.เทคโนโลยีภาพ
จอภาพที่เป็นสีจอแรกที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าจอ CGA นั้นให้ความละเอียดในการแสดงผลเพียง 320 + 200 จุด ในปัจจุบันการพัฒนาจอ Super VGA สามารถทำให้ได้ความละเอียดของภาพได้ถึง 1024 + 768 จุด และให้สีได้ถึง 16.7 ล้านสี ระบบมัลติมีเดียจะยิ่งเร้าความสนใจมากขึ้นเป็นทวีคูณ ถ้าเทคโนโลยีจอภาพคอมพิวเตอร์สามารถสร้างภาพได้คมชัดมากขึ้นและเป็น
สีธรรมชาติมากขึ้น ถ้าเทคโนโลยีจอภาพของ HDTV พัฒนาได้สมบูรณ์ถึงระดับและมีการพัฒนาเป็นจอภาพ Monitor ของระบบคอมพิวเตอร์แล้วระบบมัลติมีเดียจะยิ่งน่าสนใจมากขึ้น นอกเหนือจากเทคโนโลยีจอภาพอื่น ๆ ที่ได้พัฒนาในปัจจุบัน เช่น Touch-Screen Monitor

5. เทคโนโลยีอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
การติดต่อกับคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้เดิม ทำได้โดยการป้อนคำสั่งผ่านคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานเพียงอย่างเดียว การพัฒนาเมาส์ จอระบบสัมผัสทำให้การติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างสะดวกและง่ายขึ้น


6. เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย

สิ่งที่ระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเข้าไปมีบทบาทร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย ได้แก่การติดต่อสื่อสาร Electronics Mail ซึ่งเดิมเป็นการติดต่อที่เป็นลักษณะ Text Base เท่านั้นนับว่าเป็นการนำเอาสองเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกันทำให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำได้ทั้งที่เป็นภาพและเสียง การใช้งานระบบมัลติมีเดียจะเข้าหามวลชนมากขึ้น ถ้าเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์พัฒนาถึงระดับเนื่องจากสามารถกระจายได้หลาย ๆ จุดในเวลาเดียวกัน

7. เทคโนโลยีซอฟท์แวร์
สิ่งที่ทำให้โลกของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเป็นจริงขึ้นมาส่วนหนึ่งก็คือ การพัฒนาของซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานได้ง่ายขึ้นและประการสำคัญที่สุดก็คือความเหมาะสมกับเนื่อหาหรือข้อมูลที่จะนำเสนออีกทั้งยังจะต้องมีความอ่อนตัวในการประยุกต์เข้ากับส่วนอื่น ๆ ของระบบ ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้มีการตื่นตัวอย่างสูงในการพัฒนาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างสรรค์งานมัลติมีเดีย เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้เล็กเห็นถึงความเป็นธรรมชาติในการสื่อความหมายของระบบมัลติมีเดียและแนวโน้มของการพัฒนาต่อไป

8. เทคโนโลยีการสื่อความหมาย ข้อมูลนำเสนอและวิธีการ
สิ่งนี้นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในระดับต้นที่จะทำให้ระบบมัลติมีเดียสมบูรณ์ เพราะถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะพัฒนาเทคโนโลยีทุก ๆ ด้านก็ตาม แต่ถ้าขาดข้อมูลนำเสนอที่ดี วิธีการนำเสนอที่ไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายตลอดจนไม่ได้พิจารณาถึงการใช้เทคโนโลยีการสื่อความหมายที่ดีแล้ว ระบบมัลติมีเดียที่ได้พัฒนานั้นก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สร้างสรรค์ระบบมัลติมีเดียจึงควรจะต้องพิจารณาเทคโนโลยีด้านนี้ด้วยเป็นประการแรก

อ้างอิง : http://library.stjohn.ac.th/av/article_2.html

หมายเลขบันทึก: 29752เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ข้อมูลคอมพิวเตอร์น่าสนใจมาก ได้รับความรู้มากมาย นำมาให้เพื่อนร่วมห้องบ้างนะ

ขอบคุณนะคะ ดีมากคะ ถึงจะยาวไปหน่อย แต่เนื้อหาบางส่วนก็ทำให้หนูมีงานส่งอาจารย์คะ หวังว่าคงไม่ว่านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท