ข้อมูลทั้วไปของลำไย


 

 

วันนี้ข้อมูลที่เอามาให้ทุกคนได้ดูเป็น

...ข้อมูลเกี่ยวกับลำไย นะจ๊ะ....

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dimocarpus longan Lour.

    ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ ที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย         

ในปี 2547 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 688,281 ไร่ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 544,575 ตัน โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน

 

 

 

เนื่องจากลำไย เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวาน หอม และมีประโยชน์ทางโภชนาการหลายอย่าง จึงเป็นที่นิยมบริโภคของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สามารถบริโภคได้ทั้งในรูปผลสด และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายชนิด

 

 

     ผลผลิตลำไยนอกจากมีการขายในตลาดในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกไปขายยังตลาดประเทศอีกด้วย ประเทศที่มีการส่งออก ได้แก่


          ลำไยสด : ฮ่องกง อินโดนีเซีย จีน สิงคโปร์
          ลำไยแห้ง : จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์
          ลำไยแช่แข็ง : ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน
          ลำไยกระป๋อง : มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฝรั่งเศส



พันธุ์ลำไย
มีอยู่หลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกมี 3 พันธุ์ คือ


           พันธุ์ดอ เป็นพันธุ์ที่ออกดอกและติดผลง่ายกว่าพันธุ์อื่น ๆ ให้ผลผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอ เก็บผลผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ลักษณะผลค่อนข้างกลม สีน้ำตาลอ่อน บ่าผลยกข้างเดียว รสหวาน จำนวนผลโดยเฉลี่ย 85 – 94 ผลต่อกิโลกรัม นิยมบริโภคสดและแปรรูป


          พันธุ์สีชมพู ออกดอกและติดผลยากกว่าพันธุ์ดอ ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ เก็บผลผลิตได้ในปลายเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ลักษณะผลค่อนข้างกลม สีน้ำตาลอ่อน เนื้อกรอบสีชมพูเล็กน้อย สีเนื้อจะเข้มขึ้นเมื่อผลแก่จัด รสหวานจัด กลิ่นหอม ขนาดผลโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับพันธุ์ดอ นิยมบริโภคสด


          พันธุ์เบี้ยวเขียว ออกดอกและติดผลยากกว่าพันธุ์สีชมพู เก็บผลผลิตได้ในเดือนสิงหาคม – กันยายน ลักษณะผลแบนและเบี้ยว สีน้ำตาลอ่อนออกเขียวเล็กน้อย มีบ่าผลไม่เท่ากัน เนื้อกรอบสีขาวค่อนข้างใส รสหวานจัด กลิ่นหอม นิยมบริโภค

 

 

 

 

ประโยชน์ของลำไย

     เนื้อลำไยสด มีน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด คือ กลูโคส ฟรุกโตส และซูโครส และมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดกลูโคนิค กรดมาลิก กรดซิตริก ฯลฯ รวมทั้งมีกรดอะมิโนอีก 9 ชนิด ส่วนเนื้อลำไยแห้งยังประกอบด้วยเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ทองแดง สังกะสี แมงกานีส เป็นต้น


          ใบ ใช้ต้มน้ำกินแก้โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวาร ไข้หวัด


          ดอก ใช้แก้หนองต่าง ๆ


          เนื้อลำไย เป็นยาบำรุงในคนที่เป็นโรคประสาทอ่อน ๆ นอนไม่หลับ รับประทานขนาด 10 – 15 กรัม บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ


          เมล็ด ตากแห้ง บดเป็นผงใช้ทาภายนอก แก้กลากเกลื้อน แผลฝีหนอง คนจีนใช้สระผมเนื่องจากมีสารซาโนนิน ใช้ห้ามเลือดเนื่องจากมีรสฝาด


          รากสด ต้มกับน้ำตาลกรวด ดื่มแต่น้ำ แก้ช้ำใน
          รากแห้ง ต้มกับน้ำ แก้อาการวิงเวียนศรีษะ อ่อนเพลีย แก้อาการตกขาว  ขับพยาธิเส้นด้าย


ฤดูกาลของลำไย

ผลผลิตลำไยจะมีเกือบตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่มีผลผลิตออกมาก คือ เดือนกรกฎาคม – กันยายน

 

 

การแปรรูปลำไย

     นอกจากจะรับประทานผลสดแล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อีกหลายชนิด เช่น ลำไยทั้งเปลือกอบแห้ง เนื้อลำไยอบแห้ง ลำไยดอง ลำไยกวนปรุงรส ลำไยแช่อิ่ม น้ำลำไยผง น้ำลำไยสดหวานเข้มข้น น้ำลำไยแห้งหวานเข้มข้น ลำไยกวน ลำไยกระป๋องหรือบรรจุขวดในน้ำเชื่อม และลำไยแช่แข็ง เป็นต้น

 

     นอกจากนี้ ลำไยผลสด และเนื้อลำไยอบแห้ง สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารคาว หวานชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ข้าวต้มลำไย ข้าวเหนียวเปียกลำไย บัวลอยผลไม้ คุกกี้ลำไย เค้กลำไย ขนมปังลำไย พายลำไย มัฟฟินลำไย เป็นต้น

 

 

ลำไยกระป๋อง

ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง

ลำไยแช่แข็ง 

 

ที่มา..ข้อมูลจากศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย

 

 

หมดแล้วจ้า....วันนี้

 

 

โอกาสหน้าจะมาอัพเรื่องราวที่น่าสนใจอีกนะคะ

 

บ๊ายบายทุกคน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ลำไย
หมายเลขบันทึก: 297382เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท