บทที่ 7


ความสุข

ความสุขตามแนวพระพุทธศาสนา

 หลักธรรมที่เป็นคุณธรรมของพระพุทธศาสนามีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวคน เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนให้คนเป็นคนดี ซึ่งประกอบด้วยหลักคำสอน ๓ ประการ คือ การเว้นจากการ ทำชั่ว การทำความดี และการทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส หมดจดจากกิเลส

           ๑. การเว้นจากการทำชั่ว คือการเว้นจากการกระทำบาป เว้นจากการประพฤติผิดและทุจริต การเว้นกระทำชั้วอาจจะแยกออกได้เป็นการเว้นจากการทำชั่วทางกาย ทางวาจาและทางใจ

                      ๑.๑ การละเว้นการกระทำชั่วทางกาย ประกอบด้วยการละเว้น ๓ ประการ คือ

                                 ๑) การไม่ฆ่าสัตว์
                                 ๒) การไม่ลักทรัพย์หรือฉ้อโกง
                                 ๓) การไม่ประพฤติผิดในกาม

                      ๑.๒ การละเว้นการกระทำชั่วทางวาจา ประกอบด้วยการละเว้น ๔ ประการ คือ

                                 ๑) การไม่พูดเท็จ
                                 ๒) การไม่พูดส่อเสียด ไม่ยุยงให้แตกความสามัคคี
                                 ๓) การไม่พูดคำหยาบ
                                 ๔) การไม่พูดเพ้อเจ้อ

                      ๑.๓ การละเว้นการกระทำชั่วทางใจ ประกอบด้วยการละเว้น ๓ ประการ คือ

                                 ๑) การไม่คิดอยากได้ของผู้อื่น
                                 ๒) การไม่คิดพยายามปองร้าย
                                 ๓) การไม่คิดกระทำผิดทำนองคลองธรรม

 

           ๒. การกระทำความดี คือ กระทำแต่กุศล ประพฤติแต่ความสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เป็นการละเว้นจากการทำชั่วทางกาย วาจา ใจ โดยการทำให้บริสุทธิ์หมดจากกิเลสโดยมีบุญกิริยาวัตถุ คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ๓ ประการ

                      ๒.๑ ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน คือ การบริจาคทานด้วยความบริสุทธิ์ใจ การทำทานตามแนวของพระพุทธศาสนา อาจทำได้ดังนี้

                                 ๑) อาปรทาน คือ การบริจาคทรัพย์สินให้เป็นปรสพประโยชน์ และสาธารณประโยชน์
                                 ๒) ธรรมทาน คือ การให้ความดีที่จะนำความสุขความเจริญ อันได้แก่ การแนะนำ เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าแก่ผู้อื่น
                                 ๓) อภัยทาน คือ การให้อภัยผู้อื่นที่มาล่วงเกินเรา

                      ๒.๒ สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล คือ การปกติทางกาย และปกติทางวาจา การปกติทางกายคือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติผิดในกาม ส่วนความปกติ ทางวาจาก็คือการไม่พูดเท็จ ตั้งใจสำรวม ประเภทของศีลประกอบด้วย ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ข้อ

                      ๒.๓ ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คือการเจริญภาวนาเพื่อความบริสุทธิ์ของใจ ประกอบด้วยเจริญสมถกรรมฐานการทำจิตใจให้สงบ และวิปัสสนากรรมฐานที่ทำให้เกิดปัญญาที่เต็มรูปแบบความเป็นจริง เช่น ความไม่เที่ยง (อนิจจัง) และความทุกข์ (ทุกขัง) เป็นต้น

           ๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส หมดจดจากกิเลส คือปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลง มีแต่ความร่าเริง และมีสุขภาพจิตดี การมีจิตใจที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และหมดจดจากกิเลสได้จะต้องเป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ๔ ประการ หรือที่เรารู้จักกันว่า “พรหมวิหาร ๔” คือ

                      ๓.๑ การมีจิตที่เมตตา คือมีความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข การเจริญเมตตาอยู่บ่อย ๆ ทำให้มีชีวิตอยู่อย่างไม่มีภัย มีแต่ความสามัคคี ละอกุศลกรรมทั้งหลาย

                      ๓.๒ การมีจิตที่กรุณา คือมีความสงสารคิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

                      ๓.๓ การมีจิตที่มุทิตา คือมีความพลอยยินดีเมื่อเห็นหรือรู้ว่าผู้อื่นได้ดี มีความสุข หรือประสบความสำเร็จ โดยปราศจากความริษยา

                      ๓.๔ การมีจิตที่มีอุเบกขา คือการวางเฉยไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีใจเป็นกลาง เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ เพราะในบางเรื่องเป็นเรื่องที่สุดวิสัยที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ก็จะต้องทำใจ

            การมีจิตใจที่บริสุทธิ์และหมดจดจากกิเลสโดยตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ ควรได้มีมโนสุจริต ๓ ประการ ประกอบด้วย

                      ๑) ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
                      ๒) ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
                      ๓) เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่

ชนะทุกข์ เพื่อสร้างสุขให้ตนเอง

นั้น ถ้าเราต้องการพ้นทุกข์เพื่อพบกับความสุขอย่างแท้จริง สิ่งที่ควรทำก็คือต้องเรียนรู้ให้ได้ว่า สังคมโลกทุกวันนี้มีเงื่อนไขหลายประการที่เป็นเหตุให้คนเราเกิดทุกข์ในการดำรงชีวิตและการดำเนินงานในแต่ละวัน เหตุแห่งทุกข์ในแต่ละคนนั้นมีที่มา 2 ทาง คือ จากภายในจิตใจของตนเอง เพราะคนเรามักจะยึดติดกับความสุขมากเกินไป พอเจอปัญหาไม่มีสุขก็เกิดทุกข์ขึ้นมาแทน และจากเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ดำเนินชีวิตอยู่ เพราะขาดจิตสำนึกที่จะยอมรับในธรรมชาติของเพื่อนมนุษย์ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะนิสัยใจคอและความคิดต้องการที่ผิดแผกแตกต่างกัน เมื่อยอมรับกันไม่ได้จึงเกิดทุกข์ขึ้นทันที เพราะเราปฏิเสธที่จะยอมรับทุกสิ่งของผู้อื่นทั้ง ๆ ที่ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับเรา และขาดการปรับตัวเข้าหาผู้อื่น อันที่จริงแล้ว ในความเป็นมนุษย์นั้น ถ้าเราต้องการพ้นทุกข์เพื่อพบกับความสุขอย่างแท้จริง สิ่งที่ควรทำก็คือต้องเรียนรู้ให้ได้ว่า เหตุแห่งทุกข์คืออะไร จะป้องกันตนเองไม่ให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร และเมื่อทุกข์แล้วจะเอาชนะทุกข์นั้นได้อย่างไรวิธีทำให้ตัวเราสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นสุขมีอยู่ 4 ประการ คือ ฝึกตนให้เป็นคนกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้ทุกสิ่ง ฝึกตนเองให้เป็นผู้ชอบเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทาย ไม่เกลียดกลัวการเปลี่ยนแปลง การสร้างสุขภาวะทางจิตใจ คือวิธีการสร้างสุขให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเอง ด้วยการฝึกตนเองให้เป็นคนคิดบวก เราต้องเป็นคนฉลาดที่จะนึก นึกแต่สิ่งที่มีประโยชน์ ทุกวันนี้เรารู้จักการทำบุญสุนทาน ด้วยการให้ทรัพย์สินเงินตราแก่ผู้อื่น หากว่าเราจะดำเนินชีวิตร่วมกัน โดยการรู้จักแบ่งสรรปันสุขให้แก่กันและกันต้องฝึกตนเองให้เป็นคนมองโลกในแง่ดี คืออย่าคิดไปในทางต่ำหรืออย่ามองโลกในแง่ร้าย ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้มันก็จะสร้างเสน่ห์ให้กับตัวท่านเองบางคนมีความพร้อมในตนเอง แต่ไม่รู้จักนำมาใช้ จึงไม่อาจประสบความสำเร็จ ชีวิตคนเราย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ ถ้าเราเป็นผู้รับอย่างมีความสุข เราต้องรู้จักรับเอาเท่าที่เขาหยิบยื่นให้ ในการรับที่ทำให้จิตใจไม่เป็นทุกข์ ต้องรู้จักคำว่าพอ ไม่เบียดเบียนเพื่อแย่งยื้อของเขามา การรับทางจิตใจเมื่อมีผู้ให้ทางใจมันต้องทำให้เกิดความปิติสุขและอิ่มเอิบเบิกบาน เราต้องรู้จักที่จะรักคนอื่นก่อน ยิ้มให้เขาก่อน แล้วเราก็จะได้รับสิ่งนั้นกลับมา ในสังคมหรือองค์กรเดียวกันหากทุกฝ่ายรู้จักยอมรับกลมกลืนกัน นอกจากจะพบความสุข เรายังสามารถสร้างประโยชน์ร่วมกันกับผู้อื่นได้อีกด้วย และถ้าเราสามารถที่จะยอมรับ รู้จักปรับตัวฝึกตนเองพร้อมที่จะรับการปรับเปลี่ยนตนเองเสมอ การทำเช่นนี้จะทำให้จิตใจของท่านมีความสุข สงบและท่านก็จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข คือ สนุกสนานกับการดำเนินชีวิตไปโดยอัตโนมัติ

 สาระสำคัญของชีวิต

     คำว่าชีวิต หมายถึง ความเป็นอยู่การดำรงอยู่หรือการที่เราสามารถรักษาสภาพความเป็นอยู่ให้ดำรงอยู่ได้ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้น

     ชีวิต หมายถึง ความเป็นไป การดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความสด ตรงกันข้ามกับคำว่า หยุด นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว เหี่ยว แห้งตาย โดยสรุปแล้วชีวิตก็คือ ความเป็นสิ่งมีชีวิต คือ พืช สัตว์ และคน ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงชีวิตจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นอยู่ การดำรงอยู่และการรักษาสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต 3 ชีวิต คือ ทั้งพืช สัตว์ และคนไปด้วยกัน เพราะทุกๆชีวิตที่อาศัยอยู่ในโลกนี้ล้วนแต่มิได้ดำรงอยู่อย่างโดเดี่ยว หากแต่มีสายใยของชีวิตที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันอยู่ทั้งหมดขององค์รวม

      นอกจากชีวิตจะเชื่อมโยงกับชีวิตด้วยกันแล้ว ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ก็ยังมีการดำเนินชีวิตที่จะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ทะเล ท้องฟ้า กรวด หิน ดิน ทราย และสรรพสิ่งรอบๆ ตัวที่เรียกกันว่า สภาพแวดล้อม สรรพสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็เช่นเดียวกันทุกๆส่วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยกันเป็นระบบจักรวาลและเอกภพ ทุกๆสิ่งไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต่างก็มีความสำคํญเหมือน ๆ กัน

      ดังนั้น  ต้นไม้จึงมีความสำคัญเท่ากับก้อนกรวด คนก็มีความสำคัญไม่แตกต่างไปจาก มด ปลวก และสรรพสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ในฐานะที่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบ

     การพัฒนาความสุขในชีวิตและในสังคมของมนุษย์

      แต่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายต่างก็ปรารถนาความสุขและไม่ต้องการความทุกข์ จึงต้องเข้าใจในเรื่องของความสุขและความทุกข์อย่างชัดเจน เพื่อจะได้กำหนดวิธีการเสริมสร้างความสุขให้กับชีวิตอย่างถูกต้อง

     ความทุกข์

      ความทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากสภาวะที่มีการบีบคั้น สภาพแห่งความขัดแย้งข้อบกพร่องต่าง ๆ ความทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วแตกดับสลายไป ซึ่งเปนสภาพปกติธรรมดาที่ผูมีสติปัญญาสามารถกำหนดรู้ได้ทำความเข้าใจได้

ในทางจิตวิทยาได้กล่าวถึงต้นเหตุของความทุกข์ไว้ 3 ประการดังนี้

      1.ความคับข้องใจ

ความคับข้องใจหรือความอึดอัดขัดข้อง เกิดจากบุคคลไม่สามารถจะตอบสนองต่อความอยากหรือความต้องการที่เกิดขึ้นจากจิตใจได้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือความทุกข์ใจ

      2. ความขัดแย้ง

      ภายในจิตใจของมนุษย์ทุกคนมีภาวะของสงครามซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการทำสงครามกันระหว่างเหตุผลหรือความถูกต้องที่เกิดจากสัญชาตญาณฝ่ายสูงฝ่ายหนึ่งเกิดกิเลศหรือความต้องการที่เกิด

      3. ความเครียด

      ความเครียดเป็นลักษณะความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้รับความบีบคั้นทั้งทางกายภาพ ทางสังคม ทางจิตใจ และแม้กระทั่งทางด้านสติปัญญา

      ความบีบคั้นทางด้านกายภาพ ได้แก่ งานประจำ ภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ความเจ็บป่วย ความไม่ปลอดภัยในชีวิต ปัญหาทางด้านครอบครัว

      ความบีบคั้นทางสังคม หมายถึง ความทุกข์ที่เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับครอบครัว ระดับชุมชน ในองค์การที่บุคคลทำงานอยู่

      ความบีบคั้นทางด้านจิตใจ เกิดจากกิเลศและตัณหาที่มีอยู่ในจิตใจของบุคล กิเลศตัณหที่มีอยู่จะเริ่มต้นด้วยการบีบคั้นตนเองก่อนแล้วจะนำสู่การบีบคั้นผู้อื่น และสามารถนำไปสู่เหตุการต่าง ๆ ที่ร้ายแรงอีกด้วย

       สำหรับความบีบคั้นทางสติปัญญาเป็นเรื่องของการรับรู้ การคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องตรงกับสภาพความเป็นจริงทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดขดข้องไม่เป็นอิสระ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งแก่ตนเองและบุคคลรอบข้าง

       ทั้งความคับข้องใจ ความขัดแย้ง และความเครียดเป็นต้นเหตุของความทุกข์ความเดือดร้อนส่วนบุคคล และขยายขอบข่ายเป็นความทุกข์ที่สืบเนื่องไปยังสังคม และสภาพแวดล้อมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

วิธีสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน

 เปิดประตูรู้จักกัน  สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน

        น้ำใจของมนุษ์เป็นสิ่งวิเศษสุด  เพราะน้ำใจเป็นของที่มีอยู่แล้ว
   ในตัวของเราทุกคน  ไม่ต้องไปซื้อหาหรือขอมาจากใคร  และเมื่อ
   มอบน้ำใจให้แก่คนอื่นแล้ว  น้ำใจที่มีอยู่ในตัวเรานั้นไม่เคยลดลง
   มีแต่จะเพิ่มขึ้นด้วยความอิ่มเอมใจที่ได้ช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์
   ต่อผู้อื่น
        คนที่มีน้ำใจให้แก่คนอื่นจะเป็นที่รัก  เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ
   เป็นที่ชื่นชมแก่สังคม  ในขณะที่  คนไม่มีน้ำใจ  เห็นแก่ตัว  มักถูก
   สังคมรังเกียจ  จึงขาดเพื่อนช่วยคลายทุกข์และมักจะมีเรื่องทะเลาะ
   เบาะแว้งกับคนอื่นเรือยไป

เรามาเปิดประตูรู้จักกันสร้างสัมพันธ์เพื่อนบ้านโดยการมอบน้ำใจให้แก่กันดีกว่า

  1. ใช้สายตา  มอง  และยิ้ม  ทำความรู้จักกับเพื่อนบ้าน
  2. ทักทายเพื่อนบ้านทุกครั้งที่พบกัน  ไต่ถามทุกข์สุขตามสมควร
  3. รู้จักรับฟังเพื่อนบ้านพูดและรู้จักยินดีกับความสำเร็จที่เขาเล่า
    ให้ฟัง
  4. ใช้คำพูดเหล่านี้ให้ติดปาก  ขอบคุณ  ขอโทษ  ยินดีด้วย
    เสียใจด้วย  และละเว้นการพูดจาส่อเสียดกับเพื่อนบ้าน
  5. หรี่เสียงโทรทัศน์และเสียงวิทยุไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน
  6. ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อนบ้านอยู่เสมอในกนณีอันควร

 

มิตรภาพไม่มีคำว่า "สาย " แล้วท่นจะพบความแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นกับตัวเองและครอบครัว

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 297179เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท