เห็ดแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ


การ reuse

สวัสดีครับ  กลับมาพบกับเราอีกครั้งแล้วนะครับ

         เรามีเคล็ดลับสำหรับเกษตรกรที่ไม่ค่อยมีกำลังทุนเท่าไหร่นะครับ  คือ

1.  เกี่ยวกับเพาะ

      เราสามารถนำขี้เลื้อยเก่าของเห็ดมาใช้ใหม่ได้ครับ โดยนำมาผสมกับขี้เลื้อยใหม่ 30%-50% เลยนะครับ  เป็นการลดต้นทุนไปอีกทางหนึ่งเลยนะครับ  ซึ่งเห็ดที่สามารถเพาะได้ในขี้เลื้อยเก่าผสมนี้  คือ  เห็ดนางรม  เห็ดฟาง  เป็นต้นนะครับ

 

     หลังจากนั้น  เราสามารถนำขี้เลื้อยเก่านี้ไปทำปุ๋ยหมัก พด. 1 ได้อีกด้วยนะครับ   ซึ่งปุ๋ยที่ได้ออกมานี้นะครับ  มีคุณสมบัติคือ  ควบคุมการเกิดโรค (โรคเหี่ยว)  ของพืชได้  และยังสามารถยับยั้งการเกิดโรคในพวกพืชตระกูลแตงกวา  พริก  มะเขือ  ได้อีกด้วยครับ

 

2. เกี่ยวกับการนึ่งเชื้อ

      การนึ่งเชื้อนั้น  ต้องใช้ฟืนจากธรรมชาติเท่านั้น และขี้เลื้อยที่ไม่มีน้ำยาอบอยู่  ซึ่งสำหรับเกษตรกรที่มีต้นทุนน้อยแล้ว  สามารถใช้วัสดุทดแทนคือ 

     1. สังของข้าวโพด (แกนข้าวโพด)

     2. ไม้กระถิน

     3.  ต้นแคร์

     เหตุที่ใช้วัสดุทั้ง 3  นี้  เพราะว่า  สังข้าวโพดหาได้ง่ายในท้องถิ่น  ราคาถูก  ส่วนต้นกระถินและต้นแคร์  แต่ต้นไม้ที่หาได้ง่ายเช่นเดียวกัน  เนื่องจากต้นกระถินแล้วต้นแคร์ โตเร็ว ปลูกภายในไม่กี่เดือนก็สามารถนำต้นมาฟืนได้แล้ว

 

3.  การเพาะเห็ดนั้นต้องอิงฤดูกาลเป็นเกณฑ์

      สิ่งที่ทำให้เพาะเห็ดแล้วไม่ขาดทุนคือ  การที่เราไม่เพาะเห็ดเพียงชนิดเดียว  เราต้องเพาะเห็ดหลายชนิดๆ  เนื่องจาก  เห็ดแต่ละชนิดมีช่วง ไฮซีซันที่แตกต่างกัน   ถ้าเรามีผลผลิตที่มากในฤดูไฮซีซันต่างๆ  เราก็จะได้กำไรกลับมาได้ง่าย  เรามีเคล็ดลับดังนี้

    1. ต้องวางแผน เพาะเห็ดในช่วงนี้ที่ขาดแคลน  จะทำให้ได้กำไรมากขึ้น

        (เห็ดจะขาดแคลนในฤดูร้อน)

    2. เพาะเห็ดในช่วงที่ไม่มีเห็ดป่า  เนื่องจาก ผู้คนจะหันไปรับประทานเห็ดป่า

        กันค่อนข้างมาก

    3. เพาะเห็ดในช่วง ไฮซีซัน  เห็ดจะแพง  ทำให้เราได้กำไรมากขึ้น

    4. เห็ดมีโอกาสโตในท้องถิ่นที่ไม่มีเห็ด  เพราะฉะนั้น  เราสามารถลงทุนในที่ 

       ที่ไม่มีเห็ดได้

 

*พวกเราหวังว่า เคล็ดลับดังกล่าว จะช่วยทุกท่านได้มากเลยนะครับ^_^

     

คำสำคัญ (Tags): #เด็กเห็ด
หมายเลขบันทึก: 296887เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2009 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พูดถึงการเพาะเห็ด

ก็ยุ่งยากเหมือนกันนะแล้ว

ก็ใช้อุปกรณ์ในการทำเยอะมาก

ตัวหนังสือใหญ่ดีครับ

ข้อมูลน่าสนใจด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท