ศุภฤกษ์ จันทร์วิฐี
นาย ศุภฤกษ์ จันทร์วิฐี สาธุ พึงทำดี

การพัฒนาการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


กรณีศึกษาที่2

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญ

 

              การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 กำหนดแนวทางการจัดการศึกษา โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของบุคคล ทำให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มีศักดิ์ศรี มีความสุขอยู่ (กรมวิชาการ.2545 : 9)

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

              มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำ และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการส่งกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสรมนรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น

              มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

              มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการผลิตรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

              มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

              มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

              มาตรา 68 ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน  และผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ใหเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

              มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

              ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

จากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ.2544 – 2553 ของประเทศไทย ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ 5 ด้าน คือ

  1. ด้านการบริหารงานของรัฐ (E - GOVERNMENT)
  2. ด้านการพานิชยกรรม (E – COMMERCE)
  3. ด้านการอุตสาหกรรม (E – INDUSTRY)
  4. ด้านการศึกษา (E – EDUCATION)
  5. ด้านสังคม (E – SOCIETY)

โดยกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาด้านการศึกษา

(E-Education) ดังนี้

เป้าหมาย พัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับของประเทศเพื่อรองรับการพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

              ยุทธศาสตร์การพัฒนา

  1. พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
  2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
  3. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
  4. เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้(Knowledge) และสาระทางการศึกษา (Content) ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
  5. ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้

 

แผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน

ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่อบสนองแผนระดับชาติและระดับกระทรวง โดยกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมาย 4 ด้าน คือ

  1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
  4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งเป็นแม่บทสำคัญในการจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของสังคมในปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และยังมีแนวโน้มว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอีกต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศึกษาไม่ว่าจะเป็นทางด้านการสืบค้นข้อมูล การพัฒนาสื่อการสอนซึ่งสามารถที่จะใช้ให้นักเรียนเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถช่วยให้ผู้สอนได้พัฒนากิจกรรมกระบวนการจัดการการเรียนรู้ได้ตามความมุ่งหวัง

ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

              การดำเนินการโครงการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผู้สอนหลักสูตรการพัฒนาสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในครั้งนี้ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ดังนี้

  1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
  2. การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  3. ทฤษฎีการเรียนรู้
  4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

              หลักการ

              เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ   จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ดังนี้

              1.  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

2เป็นการศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน  โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยถือว่าผู้เรียนมความสำคัญที่สุด  สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ  และเต็มตามศักยภาพ                

4.                 เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ  เวลา  และการจัดการเรียนรู้

5.                เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถ    เทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

              จุดหมาย

              หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์  เป็นคนดี  มีปัญญา            มีความสุข  และมีความเป็นไทย  มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ  จึงกำหนดจุดหมาย    ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้

  1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ  มีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์
  1. มีความคิดสร้างสรรค์  ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  รักการอ่าน  รักการเขียน  รักการค้นคว้า
  2. มีความรู้อันเป็นสากล  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการมีทักษะและศักยภาพในการจัดการ  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี  ปรับวิธีการคิด วิธีการทำงาน    ได้เหมาะสมกับสถานการณ์
  3. มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ทักษะการคิด          การสร้างปัญญา  และทักษะในการดำเนินชีวิต

5.                รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

6.                มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค

7.                เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทยภูมิใจในความเป็นไทยเป็นพลเมืองดียึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   

8.                มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม  ประเพณี  กีฬา  ภูมิปัญญาไทย  ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม

9.                รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม

              โครงสร้าง

              เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดหมายและมาตรฐานเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ให้สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องมีแนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา(กรมวิชาการ.2544 : 1-18) จึงได้กำหนดโครงสร้าง   ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้

  1. ระดับช่วงชั้น

กำหนดหลักสูตรเป็น 4 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียน ดังนี้

ช่วงชั้นที่ 1   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3              ช่วงชั้นที่ 2   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

ช่วงชั้นที่ 3   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3              ช่วงชั้นที่ 4   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

  1. สาระการเรียรู้

กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการการเรียนรู้

และคุณลักษณะหรือค่านิยม จริยธรรมของผู้เรียน  เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

  1.  
    1. ภาษาไทย
    2. คณิตศาสตร์
    3. วิทยาศาสตร์
    4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    5. สุขศึกษาและพลศึกษา
    6. ศิลปะ
    7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
    8. ภาษาต่างประเทศ

สาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มนี้ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้  โดยจัเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนา   และวัฒนธรรมเป็นสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัการเรียนการสอน       เพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา   และวิกฤตของชาติ   กลุ่มที่สอง ประกอบด้วย  สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี  และภาษาต่างประเทศ  เป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพื้นฐาน                              ความเป็นมนุษย์และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์  ในกลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษทุกช่วงชั้นส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ สามารถเลือกจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดสาระการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่ม ไว้เฉพาะส่วนทีจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับส่วนที่ตอบสนองความสามารถ ความถนัด  และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนนั้น สถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มขึ้นได้ ให้สอดคล้อง และสนองตอบศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน

  1. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพมุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระทั้ง 8 กลุ่ม การเข้าร่วม และปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัและความสนใจอย่างแท้จริง  การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์   ให้ครบทุกด้าน  ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยอาจเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสนองนโยบายการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรร

หมายเลขบันทึก: 296801เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2009 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท