ควันจากการจี้หรือตัดชิ้นเนื้อ


smoke plume, vector, ไวรัส, เซลล์มะเร็ง

วันนี้ขอคัดเรื่องที่ทำจากงานวิจัยที่ได้จัดทำในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่อง smoke plume หรือควันที่เกิดจากการจี้หรือตัดเนื้อในห้องผ่าตัด

ควันจากการจี้ (smoke plume)

                ศัลยแพทย์ และบุคลากรอื่นๆที่อยู่ในห้องผ่าตัดมีการสัมผัสควันจากการจี้ ตัดชิ้นเนื้อมานาน โดยเฉพาะหลังจากมีเทคโนโลยีเลเซอร์ตั้งแต่ปี 1980 ควันจากการจี้และการใช้เลเซอร์จะมีส่วนประกอบคล้ายกัน[i]  [ii]         การใช้เลเซอร์หรือเครื่องจี้ จะทำให้เกิดควันขึ้นเนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยความร้อน ควันนี้จะมีก๊าซพิษและไอเช่นเบนซีน ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และฟอร์มาลดีไฮด์ จุลชีพขนาดเล็ก (bioaerosols) และ เนื้อเยื่อที่มีชีวิต เช่น เลือดและไวรัส มีการวิจัยเรื่องการติดโรคจากควันนี้น้อย แต่ก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะในการจี้ venereal warts นักวิจัยยังคิดว่าควันจะเป็น vector ของเซลล์มะเร็งซึ่งเจ้าหน้าที่อาจหายใจเข้าไปได้

                การสัมผัสควันจำนวนมากจะทำให้มีการระคายเคืองตา และทางเดินหายใจส่วนบน และทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็นบริเวณผ่าตัด นอกจากนี้ก๊าซพิษในควันจะมีผลกระทบต่อสุขภาพเช่น mutagenic และ carcinogenic ควันจากการผ่าตัดเกิดจากการนำความร้อนไปถ่ายเทให้กับเนื้อเยื่อทำให้เกิดการไหม้และมีควันเกิดขึ้น ตอนแรกควันจะประกอบด้วยไอระเหยของน้ำในเซลล์ก่อน แล้วตามด้วยโปรตีนและสารชีวภาพในเซลล์ ควันเหล่านี้นอกจากจะบังบริเวณผ่าตัดแล้วยังเป็นสารอันตรายที่มีทั้งสารเคมีและสารชีวภาพ เช่นดีเอ็นเอของเชื้อ HIV เป็นต้น[iii]  อาการและอาการแสดงของควันจากการผ่าตัดได้แก่ การระคายเคืองของทางเดินหายใจ ภาวะ hypoxic/มึนงง  ไอ จาม ปวดศีรษะ น้ำตาไหล คลื่นใส้ อาเจียน ตับอักเสบ หอบหืด ปอดบวม หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มะเร็ง ถุงลมโป่งพอง และ เอดส์ นอกจากนี้ยังมีสารต่างๆที่ออกมากับไอ ละออง ของการเผาใหม้ เช่นเชื้อไวรัส วัณโรค และเซลล์ของผู้ป่วย [iv]

                สามารถแก้ไขได้โดย ใช้ที่ดูดควันแบบเคลื่อนที่ได้ และมีระบบดูดในห้อง ใช้ที่ดูดเฉพาะห่างจากบริเวณผ่าตัด 2 นิ้วเพื่อลดการปนเปื้อนในอากาศ มีเครื่อง smoke evacuator ทุกห้องผ่าตัดที่มี plume  ให้กำจัดควันทั้งหมดไม่ต้องสนใจว่ามีมากหรือน้อย เปิดเครื่องกำจัดควันตลอดเวลาเมื่อมีการผ่าตัด  ใช้ universal precaution และมาตรฐานการระวังการติดเชื้อทางเลือด มีการดูแลและเปลี่ยน filter หรือท่อดูดตามคู่มือของเครื่อง

 


[i] NIOSH. Control of Smoke From Laser/Electric Surgical Procedures http://www.cdc.gov/niosh/hc11.html accessed 6 March 2009.

[ii] CCOH. Laser plume in Surgical  Procedures. http://www.ccohs.ca/otherhsinfo/alerts/alert61.txt.  accessed 6 March 2009.

[iii] Baggish MS., Poiesz BJ., Joret D et al. Presence of Human Immunodeficiency Virus DNA in Laser Smoke. Lasers in Surgery and Medicien 11:197-203 (1991).

[iv] Surgical Smoke. www.surgin.com/.../whitepaper_surgin_clearflow.pdf  accessed 9March 2009.

หมายเลขบันทึก: 295881เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นพยาบาลห้องผ่าตัดสนใจจะทำวิจัยเรื่องนี้ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

พญ วิลาสินี อุดคำเที่ยง รพ.ศิริราช

อยากทำวิจัยเรื่องส่วนประกอบในควันว่ามีอะไรบ้าง เพราะที่ร.พ.ไม่ค่อยดูดควันกันเลยไม่แน่ใจว่าเพราะไม่ทราบหรือทราบแต่ไม่ตระหนัก เดิมทีมีความเชื่อว่าน่าจะมีสารเคมีมากมายอย่างมากก็สารก่อมะเร็ง แต่ในบทความข้างต้นกล่าวถึงเชื้อHIVด้วย อยากทำวิจัยเรื่องนี้ ใคร่ขอคำแนะนำเรื่องการเก็บตัวอย่างควันไปตรวจ เก็บอย่างไรดีคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท