การติดเชื้อ H pyroli มีความสัมพันธ์กับภาวะเมตาบอลิก


การติดเชื้อ H pyroli มีความสัมพันธ์กับภาวะเมตาบอลิก- การศึกษาในชาวญี่ปุ่น

มีผลการศึกษาในวารสารเรื่องการติดเชื้อ  Helicobactor pyroli ที่เป็นสาเหตุทำให้เิกิดแผลในกระเพาะอาหารมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการเมตาบอลิก ที่บอกว่าเป็นกลุ่มอาการเมตาบอลิก เนื่องเป็นความผิดปกติหลายๆ อย่างรวมกัน ส่วนใหญ๋เป็นความผิดปกติที่เราทราบกันดี เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ความดันสูง ไขมันสูง อ้วน เป็นต้น เมื่อความผิดปกติเหล่านี้มาอยู่รวมกัน เรียกชื่อใหม่เป็นกลุ่มอาการเมตาบอลิก (metabolic syndrome; MS) ความผิดปกติที่จะบอกว่าอยู่ในกลุ่มอาการนี้มักเป็น 3 ใน 5 ข้อ แต่อย่างไรก็ตามแต่ละประเทศอาจตั้งเกณฑ์ใช้ที่เหมาะกับคนในประเทศตัวเอง เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น

ญี่ปุ่นตั้งเกณฑ์การมีภาวะ MS คือ อ้วน โดยวัดเส้นรอบพุง ผู้ชายมากกว่า 85 ซม. ผู้หญิงมากกว่า 90 ซม. แล้วมีความผิดปกติสองในสามอย่างค่อไปนี้คือ ความดันสูง,ไขมันสูง, น้ำตาลในเลือดสูง

เมื่อนำกลุ่มตัวอย่างที่เข้ามาตรวจสุขภสพประจำปีมาตรวจวัดพร้อมกับบันทึกข้อมูล เจาะเลือดไปตรวจหาว่าเคยมีการติดเชื้อหรือไม่ แล้วเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์

ก่อนเข้าสู่ผลการวิเคราะห์เขาเอาข้อมูลที่ได้มาดูก่อนว่าการดำเนินชีวิตแบบไหนที่ทำให้ใคนเราเกิดภาวะ MS มีหลายอย่างที่ศึกษาด้วยกัน ผลที่ได้พบว่า การดื่มเหล้า สูบบุหรี่  กินอาหารที่มีไขมันสูง กินของว่างตอนกลางคืน เหล่านี้เป้นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด MS ทั้งหมด - เรื่องนี้เราพอทราบกันอยู่ แต่มีการดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด MS - อันนี้เรื่องใหม่

เมื่อมาดูจำนวนคนที่ติดเชื้อในกลุ่มที่เป็น MS และกลุ่มที่ไม่เป็น MS พบว่า ในกลุ่มที่เป็น MS มีจำนวนคนติดเชื้อมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็น MS ร้อยละ 38 และ 28 ตามลำดับ ซึ่งจำนวนนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทีนี้เมื่อมาดูต่อว่าการที่คนติดเชื้อมีความสัมพันธ์กับอะไร เขาศึกษาหลายอย่างด้วยกันแต่ที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อคือ ความดันตัวบน (systolic blood pressure) ที่เพิ่มขึ้น, HDL-C ที่ลดลง, LDL-C ที่เพิ่มขึ้น

ผู้ทำการศึกษาอธิบายสาเหตุที่ทำให้คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงตต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเนื่องจากคนอ้วนมีการสร้างสารที่หลั่งจากเซลล์ (cytokine) มากกว่าคนทั่วไป เป็นเหตุให้การอักเสบเพิ่มขึ้นและรุนแรง และทำให้เกิดภาวะ MS ตามมาเช่น ความดันสูง ไขมันสูง เมื่อมีการติดเชื้อร่วมด้วย จึงเป็นสาเหตุให้การอักเสบรุนแรงขึ้น!!!!


หมายเลขบันทึก: 295717เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท