ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่น 4


 

  • ผู้นำแบบใดที่มีในองค์กรของคุณ แบบใดสำคัญที่สุด

ประธานสหกรณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ การเปลี่ยนแปลง

  • ผู้นำรูปแบบใดที่เป็นที่ต้องการในองค์กรในปัจจุบันและในอนาคต

ผู้นำแบบชัดเจน

  • ยกตัวอย่างผู้นำที่มีคุณสมบัติครบคือมีจุดเด่นทั้งด้านดูแลโครงสร้าง ความสัมพันธ์และสร้างความเปลี่ยนแปลง

อานันท์ ปันยารชุน วิสัยทัศน์ดี มนุษยสัมพันธ์ดี

 

  • ผู้นำแบบใดที่มีในองค์กรของคุณ แบบใดสำคัญที่สุด

ประธานสหกรณ์เป็นแบบเจ้าของกิจการ ก่อให้เกิดกิจการประมง แต่ด้อยด้านความสัมพันธ์ ตอนแรกไม่ค่อยฟังใคร ตอนหลังจะรับฟังความเห็นมากขึ้น

  • ผู้นำรูปแบบใดที่เป็นที่ต้องการในองค์กรในปัจจุบันและในอนาคต

ผู้นำแบบชัดเจน

  • ยกตัวอย่างผู้นำที่มีคุณสมบัติครบคือมีจุดเด่นทั้งด้านดูแลโครงสร้าง ความสัมพันธ์และสร้างความเปลี่ยนแปลง

ในหลวง

สรุปการบรรยายเรื่อง Leadership in the changing world (ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง)

โดย Mr. Peter Bjork ในวันที่ 3 ตุลาคม 2552

  • สวีเดนอยู่ทางตอนเหนือของยุโรป มีขนาดใกล้เคียงประเทศไทย มีประชากร 9 ล้านคน
  • สวีเดนมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับไทย
  • สวีเดนมีบริษัทมีชื่อเสียงระดับโลกจำนวนมาก บางส่วนก็มีสาขาในประเทศไทย
  • จุดแข็งสวีเดนคือ มีพัฒนาการส่งออกและโชคดีที่ไม่ได้เข้าร่วมสงครามโลก มีนักประดิษฐ์ที่สำคัญคือ อัลเฟรด โนเบล ผู้ก่อตั้งรางวัลโนเบล
  • จากผลการประชุมเศรษฐกิจโลก สวีเดนอยู่ในอันดับต้นๆด้านความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
  • สวีเดนเด่นด้านส่งออกเหล็ก เทเลคอม คิดนวัตกรรมใหม่ ดนตรี หนัง
  • ให้ความสำคัญการทำวิจัย GNP สวีเดนสูง มีการวิจัยการศึกษา พบว่ามีชาวต่างประเทศไปเรียนสวีเดนมาก
  • ดัชนีความรู้สวีเดนอยู่ใน 13 อันดับแรกของโลก
  • ประเทศไทยฝึกผู้ประกอบการเก่ง แต่สวีเดนไม่เก่งนัก แต่คิดค้นนวัตกรรมเก่ง ไทยกับสวีเดนร่วมมือทำหลักสูตรผลิตผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมให้มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สวีเดนมีการคอรัปชั่นน้อย
  • รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จกรุงสต๊อกโฮล์ม สวีเดน เจริญสัมพันธไมตรี ศึกษาอุตสาหกรรมและสร้างพลับพลาไว้เป็นที่ระลึก
  • สรุปแล้วไทยกับสวีเดนก็มีหลายอย่างที่คล้ายกัน
  • วัฒนธรรมการทำงานสวีเดน
  • ผู้บริหารและพนักงานร่วมกันคิดและตัดสินใจ
  • ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางสังคม
  • พัฒนาพนักงานแต่ละคน
  • แยกเรื่องส่วนตัวและเรื่องงานออกจากกัน
  • องค์กรแบบสวีเดน
  • เป็นแบบไม่เป็นทางการ เปิดกว้างให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น
  • ทำงานเป็นทีม
  • ให้ข้อมูลข่าวสาร
  • การจัดการแบบสวีเดน
  • มอบหมายเวลา เงิน และทรัพยากรให้ทีมงาน
  • ให้อิสระเสรีแก่พนักงานได้ตัดสินใจ ให้แก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
  • ผู้บริหารส่งเสริมการมีความคิดสร้างสรรค์ ใช้ความรู้
  • ผู้บริหารมีสิทธิ์ตัดสินใจ โดยฟังความคิดเห็นของคนอื่น
  • ผู้บริหารไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ
  • ไทยกับสวีเดนเหมือนกันคือ เป็นประชาธิปไตย มีส่วนร่วมทำกิจกรรม ไม่โต้เถียงกันโดยตรง
  • การตัดสินใจแบบสวีเดน
  • มีการวิเคราะห์แบบละเอียดรอบคอบ
  • ใจเย็น
  • ไม่ทำให้คนอื่นเสียหน้า
  • ประนีประนอม
  • ผู้นำต่างกับผู้จัดการคือ
  • ผู้นำสร้างความเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการมีตำแหน่งเฉพาะ แต่ผู้นำไม่มีตำแหน่งเฉพาะ แต่เขาจูงใจลูกน้องให้ทำงานได้
  • ภาวะผู้นำสำคัญขึ้นในปัจจุบัน
  • ผู้นำต้องนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กร และพัฒนาองค์กร จูงใจการทำงานเป็นทีมได้
  • การที่หลายคนจะเป็นผู้นำไม่ง่าย
  • รูปแบบการเป็นผู้นำได้รับอิทธิพลและผลกระทบจากสิ่งต่างๆมากมาย เช่น ลูกน้อง ทีม ตัวผู้นำเอง ผู้นำคนอื่นๆในองค์กร รูปแบบองค์กร วัฒนธรรม และค่านิยมทางสังคม
  • แสดงให้เห็นว่า ผู้นำไม่สามารถทำงานคนเดียวได้
  • วิจัยรูปแบบการเป็นผู้นำ 100 ปีที่แล้วบอกว่า คนจะเป็นผู้นำได้ต้องมียีนผู้นำ ช่วง 50 ปีที่ผ่านมาใช้หลักพฤติกรรมที่พิสูจน์ได้
  • การวิจัยผู้นำมักมีในอเมริกาประกอบด้วย ผู้นำมีส่วนที่คำนึงถึงคนและผู้นำมีส่วนที่คำนึงถึงผลผลิต (งาน)
  • Managerial Grid ซึ่งมาจากผลงานวิจัยเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว  แสดงให้เห็นว่า ผู้นำที่ดีที่สุดต้องให้ความสำคัญกับทั้งคนและผลงาน แบบ Team Management เพราะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานมากที่สุด และได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย
  • ต่อมา ก็มีการทำวิจัยโดยศาสตราจารย์อิ๊กวอล ชาวสวีเดน เมื่อ 25 ปีที่แล้ว โดยขยายผลจากวิจัยข้างต้นและพบด้านความเปลี่ยนแปลงคือการคิดทำสิ่งใหม่ๆด้วย
  • ผู้นำที่ดีที่สุดจากวิจัยนี้คือผู้นำแบบ Visible ชัดเจน เพราะมีจุดเด่นทั้งด้านดูแลโครงสร้าง ความสัมพันธ์และสร้างความเปลี่ยนแปลง
  • แต่ควรนำรูปแบบผู้นำไปใช้ให้เหมาะกับแต่ละองค์กร
  • The FARAX Process คือวิธีการ 360 องศาสำหรับพัฒนาภาวะผู้นำและองค์กร โดยถามคำถามเดียวกันดูด้านความสัมพันธ์ โครงสร้างและความเปลี่ยนแปลงต่อบุคคลเช่น หัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงานและตนเองว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อตัวผู้จัดการแล้วเปรียบเทียบผลว่ามีความแตกต่างหรือไม่ นำผลมาแจ้งให้ทราบว่าผู้นำในองค์กรต้องพัฒนาตนเองในด้านใดเพื่อที่จะนำไปบริหารองค์กรได้ในอนาคต

 

ศุภาภรณ์ ถาปนศิริ

เรียน เพื่อน ๆ ผนส.4

ร้านตัดแจ๊กเก็ตสูทจะนำเสื้อมาให้พวกเรา ในวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พร้อมใบเสร็จรับเงิน คนละ 1,600 บาท หรือ ตามที่ท่านสั่งตัดเพิ่มเติม

เพื่อการบริหารเงินที่จะไม่เป็นภาระหนัก ก็อาจจ่ายเงินบางส่วนให้เหรัญญิก คุณอัมพร ตอนเราไปดูงาน 14 - 16 ตุลา งวดหนึ่งก่อน แล้วที่เหลือค่อยจ่ายวันที่เสื้อมาส่ง

แล้วเราค่อยนัดหมายการแต่งกายตอนไปไต้หวันภายหลังนะคะ

ขอแจ้งยอดเงินที่เราเก็บคนละ 1,000 บาท รวม 40,000 บาท ขณะนี้ ได้ซื้อเสื้อยืดสีฟ้า 40 ตัว สำหรับพวกเราคนละ 1 ตัว และเสื้อเชิ้ตขาวตาหมากรุก แจกพวกเราคนละ 1 ตัว และมอบให้ทีมงานสันนิบาตสหกรณ์และทีมงานของ อ.จีระ ( รวมถึงท่านอาจารย์ด้วย )

เพื่อเป็นการขอบคุณที่ดูแล อำนวยความสะดวกต่าง ๆ และเพื่อความเป็น " ทีม ผนส. 4"

วันนี้มียอดเงินคงเหลือยกไป 25,765 บาท สำหรับกิจกรรมรุ่นที่จะมีต่อไป

ฝากเพื่อน ๆ คิดเป็นการบ้านค่ะ ว่าเราจะทำกิจกรรมเพื่อหาเงินเข้ารุ่นอย่างไรดี ที่จะไม่เป็นภาระพวกเรามากเกินไปด้วยนะคะ

แดงค่ะ

ผมต้องขอขอบคุณ พี่วิทยา รักษาทิพย์ นะครับ ที่เสียสละเวลาทั้งที่มีงานรออยู่ ขับรถมาส่งผมที่ท่ารถตู้โดยสาร เพื่อเดินทางกลับระยอง ผนส.4 ทุกคนเปี่ยมไปด้วยน้ำใจครับ.

กราบเรียนท่านอาจารย์จีระ ที่เคารพ

   ผมขอส่งการบ้านที่อาจารย์มอบหมายให้จากการบรรยายในหัวข้อ หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นและเศรษฐศาสตร์การจัดการเพื่อการทำงานของ สหกรณ์ (จะเป็นแนวคิดจากสหกรณ์การเกษตรศรีเมืองระยอง จำกัด ที่ผมปฏิบัติงานอยู่ ) มีดังนี้

ทุนในสหกรณ์ถูกกำหนดผลตอบแทนไว้ในระดับหนึ่ง ผลตอบแทนจากการถือหุ้นถูกจำกัด ทำให้สมาชิกไม่ยอมมาถือหุ้นเพิ่ม อันเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุน สมาชิกจะดูถึงความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์ ซึ่งโดยภาพการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ของสหกรณ์ จะลงทุนไปกับการให้สินเชื่อมากที่สุด และเป็นธุรกิจที่สมาชิกใช้บริการมากที่สุด เพราะธุรกิจสินเชื่อเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้สหกรณ์ได้มาก ประกอบกับอัตราการกู้ยืมของสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงกำลังความสามารถการชำระหนี้ของสมาชิก เพราะฉะนั้นจะต้องวางแผนการลงทุน ให้เกิดผลกระทบ ในการดำเนินงานของสหกรณ์ให้น้อยที่สุด รวมถึงต้องระมัดระวังในเรื่องของค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมด้วย

สหกรณ์ต้องมีการจัดการหนี้สินหมุนเวียนให้ดี ในสหกรณ์การเกษตรศรีเมืองระยองนั้น ถ้าจะเทียบกับสหกรณ์ที่มีขนาดเดียวกัน สภาพคล่องทางการเงินจะอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ แต่ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร เนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ ซึ่งแนวโน้มการค้างชำระค่อนข้างมาก ขณะที่ทุนส่วนใหญ่ของสหกรณ์มาจากเงินรับฝาก ซึ่งเป็นหนี้สินระยะสั้น ดังนั้นการบริหารสภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้เป็นสำคัญ การดำเนินการด้านการตลาดกับธุรกิจบางประเภทไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะว่าธุรกิจบางอย่างไม่โต เช่น การจำหน่ายปุ๋ย – เคมีการเกษตร ซึ่งจำหน่ายได้น้อย ในทางกลับกัน ต้นทุนขาย – บริการ และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สหกรณ์ฯ ได้ผลิตน้ำดื่มจำหน่าย ซึ่งในธุรกิจน้ำดื่มนั้นได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างแรงงาน รวมถึงวัตถุดิบอื่นๆ ที่ทยอยกันขึ้นราคา และตลาดน้ำดื่มมีการแข่งขันที่สูง จึงต้องหาแนวทางในการพัฒนาการผลิตและหาตลาดรองรับเพื่อเพิ่มยอดขายให้สมดุลกับการผลิต

การกำหนดนโยบาย แนวทาง และแผนงาน ในการลงทุนทำธุรกิจ หรือการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยการจัดทำงบประมาณประจำปี เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและควบคุม ในด้านการเงิน รวมทั้งควบคุมรายจ่ายต่างๆ ให้อยู่ในวงเงินงบประมาณที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่สหกรณ์จะใช้ข้อมูลทางสถิติ มาเป็นตัวกำหนด โดยไม่ได้เอาวิธีการตามหลักเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ อาจจะทำให้สหกรณ์ประสบปัญหากับการขาดแคลนเงินทุน มีความเสี่ยงกับการดำเนินธุรกิจทำให้ขาดทุนได้

เพิ่มอีก 1 ข้อครับอาจารย์

ไม่มีเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด ขั้นตอนการบรรลุเป้าหมายไม่น่าประทับใจ เป็นที่รู้อยู่ว่าปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมีมานาน การแก้ปัญหาหนี้สินด้านเดียว ไม่สามารถจะลุล่วงได้ควรฟื้นฟูภาคการเกษตร ผมว่าสำคัญในยามที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ควรทำให้เกษตรกรเข้มแข็ง อย่างเช่น ที่รัฐบาลจัดทำโครงการลดภาระหนี้ให้เกษตรกรโดยการลดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 และให้เงินฟื้นฟูอาชีพอีกรายละ 3,000.- บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการลงทุน ทำให้เกษตรกรต้องกู้มาเพิ่ม ทำให้หนี้สินคงเดิม อีกอย่างหนึ่งคือ เกษตรกรไม่ได้ทำบัญชี ไม่มีการคำนวณ ไม่ควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้ รัฐบาลเองก็ไม่ได้ตั้งเป้าไว้ หวังผลความสำเร็จไว้ ทำให้วนเวียนอยู่ในระบบเดิม เช่น การใช้ปัจจัยการผลิตไม่เหมาะสมกับเชิงเศรษฐกิจ ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ไม่ปรับปรุงการผลิต ราคาที่ได้รับไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต แล้ว การ Lobby การเจรจาต่อรองก็ไม่เก่ง ไม่รู้จักการเจรจา ก็ต้องยอมเพราะสินค้าขาดคุณภาพ คู่แข่งที่มีเทคนิคการเจรจาต่อรองที่ดีกว่าก็เอาไปก่อน ในเมื่อเราไม่มีความรู้ที่แท้จริงก็ไม่สามารถทำธุรกิจสู้กับนายทุนได้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องของสัญญา ต้องจริงจัง ต้องเข้มงวดชัดเจน ต้องปฏิบัติตามสัญญา ถ้าหากไม่ทำเช่นนี้ สมาชิก 1 คน ที่ทำไม่ดี จะทำให้สมาชิก ที่ดี 9 คน เสียไปด้วย

เพราะฉะนั้น

1. กติกาต้องชัดเจน และไม่ใช่อยู่เฉพาะในกระดาษ แต่ต้องอยู่ในความคิดและความเข้าใจของสมาชิก

2. มีมาตรการที่ชัดเจน หากมีการละเมิดและสร้างปัญหาต้องมีการดำเนินการจัดการ และลงโทษ

ขอแก้ไขการส่งใหม่ ครับ (ขอโทษด้วยครับ)

ไม่มีเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด ขั้นตอนการบรรลุเป้าหมายไม่น่าประทับใจ เป็นที่รู้อยู่ว่าปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมีมานาน การแก้ปัญหาหนี้สินด้านเดียว ไม่สามารถจะลุล่วงได้ควรฟื้นฟูภาคการเกษตร ผมว่าสำคัญในยามที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ควรทำให้เกษตรกรเข้มแข็ง อย่างเช่น ที่รัฐบาลจัดทำโครงการลดภาระหนี้ให้เกษตรกรโดยการลดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 และให้เงินฟื้นฟูอาชีพอีกรายละ 3,000.- บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการลงทุน ทำให้เกษตรกรต้องกู้มาเพิ่ม ทำให้หนี้สินคงเดิม อีกอย่างหนึ่งคือ เกษตรกรไม่ได้ทำบัญชี ไม่มีการคำนวณ ไม่ควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้ รัฐบาลเองก็ไม่ได้ตั้งเป้าไว้ หวังผลความสำเร็จไว้ ทำให้วนเวียนอยู่ในระบบเดิม เช่น การใช้ปัจจัยการผลิตไม่เหมาะสมกับเชิงเศรษฐกิจ ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ไม่ปรับปรุงการผลิต ราคาที่ได้รับไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต

แล้ว การ Lobby การเจรจาต่อรองก็ไม่เก่ง ไม่รู้จักการเจรจา ก็ต้องยอมเพราะสินค้าขาดคุณภาพ คู่แข่งที่มีเทคนิคการเจรจาต่อรองที่ดีกว่าก็เอาไปก่อน ในเมื่อเราไม่มีความรู้ที่แท้จริงก็ไม่สามารถทำธุรกิจสู้กับนายทุนได้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องของสัญญา ต้องจริงจัง ต้องเข้มงวดชัดเจน ต้องปฏิบัติตามสัญญา ถ้าหากไม่ทำเช่นนี้ สมาชิก 1 คน ที่ทำไม่ดี จะทำให้สมาชิก ที่ดี 9 คน เสียไปด้วย เพราะฉะนั้น 1. กติกาต้องชัดเจน และไม่ใช่อยู่เฉพาะในกระดาษ แต่ต้องอยู่ในความคิดและความเข้าใจของสมาชิก 2. มีมาตรการที่ชัดเจน หากมีการละเมิดและสร้างปัญหาต้องมีการดำเนินการจัดการ และลงโทษ

เรียน เพื่อน ๆ ผนส. 4 ทุกท่าน

ตอนนี้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของ ผนส. 4 ถึง 785 ครั้ง (เกือบถึง 1,000 ครั้งแล้วครับ) และมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งการบ้าน ตลอดจนส่งข่าวคราวและความรู้ต่าง ๆ ถึง 209 ครั้ง แล้ว ถือว่าคึกคักพอสมควรครับ

มนตรี ช่วยชู

ผสน. 4 (สอ.ธปท.)

วันที่ 14 ต.ค. 52 ขอนำเสนออาหารกลางวัน ร้าน สัมตำพันล้าน เมนู พิเศษ ผัดหมี่โคราช แกงเห็ดโคน ผัดไก่หนอไม้ดอง ปลาเผา ที่ลืมไม่ได้ ส้มตำไทย,ลาว,ทะเล หรือท่านใดชอบทานอะไรเป็นพิเศษบอกมาได้เลยนะคะ

พงศ์พันธ์ เหลืองวิไล

เรียน คุณนายสายสมร

มีผัดหมี่โคราช ยีนไว้ก็พอใจแล้ว และ ตำไทยไม่พริก ไม่กุ้ง ไม่มะนาว ไม่นำตาล ไม่นำปลา ไม่ผงชูรส ไม่มะละกอ

ผนส.4 ลองเดาซิครับ แม่ค้าจะตอบว่าอะไร ?

(ซี)พงศ์พันธ์

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้นำสหกรณ์ ในโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตร “ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง” รุ่นที่ 4 ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 2-3 ตุลาคม 2552 ณ ศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจำรัส สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย  โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้ในเรื่อง การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning) โดย รศ.ดร.สมชายภคภาสน์วิวัฒน์  เรื่อง การบริหารการเงินและความเสี่ยงกับการทำงานของสหกรณ์ (Financial and Risk Management) โดย ดร.กุศยา  ลีฬหาวงศ์  เรื่อง ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (Leadership in the changed word) โดย Mr.Peter Bjork และเรื่อง การวางแผนและเขียนโครงการพัฒนาสหกรณ์ (Project Planning and Development) โดย อาจารย์ยม นาคสุข

 

 

นายเรวัต เปี่ยมระลึก

เพื่อนๆ นักศึกษาผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 4 ครับ

จากการที่เราเรียนกฎหมายที่ควรรู้ จากอาจารย์ปรเมศร์ นั้น ใน พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 สถาบันการเงิน(5) สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

พรบ.ปี พ.ศ.2551 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 5 (5) ของปี 2542 เป็น

(5) สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เฉพาะสหกรณ์ที่มีทุนดำเนินการ ซึ่งมีมูลค่าหุ้น รวมตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป และมีวัตถุประสงค์ ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการรับฝากเงิน ให้กู้ ให้สินเชื่อ รับจำนอง หรือรับจำนำทรัพย์สิน หรือจัดให้ได้มาซึ่งเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ โดยวิธีใด ๆ

ดังนั้น สหกรณ์ทุกประเภท ถ้าสมาชิกนำเงินมาฝาก 2 ล้านบาท ต้องทำใบฟอกเงินครับ

ขอขอบคุณ คุณประดิษ หัสดี ที่อุตส่าไปส่งผม กับคุณไมตรี กิ่งซา ที่ร้านถ่ายรูป ท่านเป็นคนมีน้ำใจจริงๆ ครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ

เรียน คณะกรรมการของรุ่น (ผนส.4) ทุกท่าน

เพื่อให้การศึกษาดูงานของรุ่น ตามกำหนดการ (14-16 ต.ค.52) เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และนโยบายของคณะกรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตร ซึ่งประสงค์จะให้ทุกท่านมีภาวะผู้นำ ตลอดจนการดำเนินการของรุ่นพี่ (ผนส.1-3) ที่สร้างวัฒนธรรมของ ผนส.ไว้

จึงขอประชาสัมพันธ์ให้คณะกรรมการรุ่น ซึ่งประกอบด้วย พล.ต.วีระ (ประธานรุ่น) คุณสมคิด คุณศุภาภรณ์ คุณอวยพร คุณก๊ก คุณสุทิน และคุณปาณิสรา ได้พิจารณาในเรื่องของที่ระลึกแทนรุ่น เพื่อมอบให้องค์กรต่างๆ ที่ ผนส.4 จะไปศึกษาดูงานด้วยครับ

หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ/ประสานงาน คุณอรนุช กันภัย

ผลการประชุมเพื่อจัดทำโครงการโดยภาพรวมของรุ่น (ผนส.4) เพื่อนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาและบริหารหลักสูตร

ผนส.ได้นำเสนอโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนี้

1.การเผยแพร่งานสหกรณ์ (หลักการ วิธีการ และอุดมการณ์สหกรณ์) ให้กับสถานศึกษา (นักเรียน) ที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกิจกรรมสหกรณ์ ที่อยู่ห่างไกล /โครงการพระราชดำริ (ที่อยู่ใกล้ กทม. เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี)

2.การส่งเสริมด้านเศรษฐกิจพอเพียง /พลังงานทดแทน เช่น การผลิตชุดทำก๊าซหุงต้มจากมูลสัตว์เพื่อใช้ในครัวเรือน ให้กับสถานศึกษา หรือชุมชนที่ขาดแคลน

โดย ผนส.จะหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อร่วมกันพิจารณาในรายละเอียด กำหนดวัน เวลา และสถานที่ต่อไป

แจ้งให้ ผนส.ทุกท่าน ทราบ

หากท่านประสงค์จะส่งงานของ อ.ยม (โครงการที่อาจารย์มอบหมาย) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับท่าน ผนส.

สามารถส่งผ่านทางผม และทีมงานทาง E-Mail หรือ Fax ดังนี้

[email protected]

[email protected]

02-2411229

02-2414839

อรรถพล ชุมประยูร(สงขลา)

เรียน คุณอรนุช กันภัย

ตามที่ได้นัดส่งเอกสารในการขอออกวีช่า เพื่อดูงานต่างประเทศ ซึ่งนัดที่จะส่งให้เมื่อวาน แต่เนื่องจากติดภารกิจงานของสำนักงานมากมายจริงๆ จึงได้ส่งให้ในวันนี้ โดยส่งให้ทางไปรษณีย์ EMS คงจะได้รับเอกสารในวันพรุ่งนี้ จึงแจ้งมาเพื่อทราบ (หาญ)

พงศ์พันธ์ เหลืองวิไล

เรียนคุณอรนุช

วันนี้ผมให้ จนท.ส่ง Fax บัญชีออมทรัพย์มาให้แล้ว ถึงแม้เงินจะน้อย แต่หนี้มาก ช่วยบอก กงศุลด้วย กลับแน่นอน

(ซี)พงศ์พันธ์

ผู้จัดการอรรถพล ผมให้คุณอรนุชแจ้งเรื่องหนังสือรับรองการปฏิบัติงานของผู้เข้าอบรม ผนส.4 ให้แล้วนะครับ

อรนุช (ผู้ประสานงานจัดอบรม ผนส.รุ่น 4

เรียน ท่านผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่นที่ 4

ตามที่ให้ทุกท่านเตรียมหนังสือรับรองจากหน่วยงานของท่าน มาเป็นเอกสารประกอบการยื่นวีซ่านั้น ขณะนี้ไม่ต้องใช้แล้ว ฝ่ายต่างประเทศ ของสันนิบาตสหกรณ์ฯ ได้ปรับเปลี่ยนแปลงวิธีการใหม่ จากต้องยื่นเป็นรายบุคคล เป็นออกใบรับรองรวมให้ทุกท่านคะ ตอนนี้เอกสารของท่านที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ได้ส่งให้ทัวร์ไปก่อนบางส่วนแล้ว ยังขาดอีก ประมาณ 5 ท่าน ก็สมบูรณ์คะ สำหรับท่านที่มีเงินในบัญชีเงินฝากน้อย ไม่ต้องห่วงนะคะ เขาไม่กักตัวไว้คะ ให้กลับแน่นอน เจ้าหน้าที่ของบริษัททัวร์ได้ตรวจดูเอกสารแล้วใช้ได้คะ เจอกันวันที่ 14 ต.ค.52 นะคะ มาเช้านะคะสำหรับท่านที่เดินทางพร้อมกับรถทัวร์ของ สสท.เตรียมให้ หากครบทุกคนก่อน 09.30 น. ตามรายชื่อที่แจ้งไว้จะออกเดินทางไปเลยนะคะไม่ต้องรอคะ สำหรับท่านที่เดินทางไปเอง วันที่ 14 ต.ค. 52 เวลาประมาณ 11.30 น. ไปเจอกันที่ร้านสัมตำพันล้านนะคะ จองที่ไว้ให้แล้วคะ ท่านใดไม่ไปทานอาหารกลางวันดัวย แจ้งให้ทราบด้วยนะคะ จะได้ทานเผื่อคะ เดี๋ยวเหลือ

อรนุช กันภัย

เพื่อเป็นการเปิดช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ติดต่อสื่อสารกัน

สถาบันพิทยาลงกรณฯ จึงได้เปิด http://gotoknow.org/blog/pittayalongkon ให้ทุกท่านได้เข้าไปชมครับ

แจ้งให้ท่าน ผนส.4 ทราบ

ผนส.1 (ผู้การวารุณี)

แจ้งว่า การประชุมร่วม ผนส.1-3 เพื่อกำหนดกิจกรรมที่จะทำเพื่อขบวนการสหกรณ์ (ตามที่มีมติไว้ที่พัทยา)

ขอให้ ผนส.2-3 ได้กำหนดวันเลยค่ะ (ถ้าวันที่ 19 หรือ 20 ต.ค.ไม่ทราบผู้แทนท่านอื่นจะสะดวกหรือไม่)หรือไม่ก็ปลายเดือน ต,ค. (ยกเว้น 23 ต.ค. เนื่องจากเป็นวันปิยะมหาราช ) ส่วนผู้แทน ผนส.1 ได้แก่ ประธานรุ่น, เลขา ฯ ,นายเอนก ,นายเพิก และนายอภิสิทธิ ค่ะ

สถาบันพิทยาลงกรณและวิชาการ ได้เปิดช่องทางการเชื่อมโยงให้ ผนส. ทุกรุ่น ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกแห่งหนึ่ง ณ ที่แห่งนี้ http://gotoknow.org/blog/pittayalongkon/303990 ขอเชิญพบและสัมผัสใช้ให้เต็มที่น่ะครับ

ถึงคุณ อรนุช กันภัย ว่างๆไปให้กำลังใจ ผนส.รุ่น3บ่างนะ

สวัสดี และยินดีต้อนรับ "ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง" (ผนส.) ทุกรุ่น

สถาบันพิทยาลงกรณและวิชาการ (สพว.) สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.) มีความยินดีและขอต้อนรับ "ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง" ทุกท่านเข้าสู่อาณาจักรออนไลน์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น และการสื่อสารถึงกัน ขอให้ blog เป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ "ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง" (ผนส.) ทุกรุ่น ทุกท่าน ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน รวมทั้งผู้ที่สนใจและต้องการที่จะสื่อสารถึงผู้นำและถึง สพว. ทางทีมงาน สพว. ยินดีให้บริการเต็มที่ครับ ขอให้ได้ใช้ประโยชน์จาก blog นี้ อย่างเต็มที่ นอกเหนือจาก blog ใน

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/295677 ผนส.1

http://gotoknow.org/blog/leadersship/238209 ผนส.2

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/231359 ผนส.3

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/295678 ผนส.4

สพว. ยินดีที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายทุกรุ่นไว้ด้วยกัน ณ ที่แห่งนี้ จึงขอเชิญทุกท่านได้วิพากษ์ วิจารณาญานในการสื่อสาร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดทั้งเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาขบวนการสหกรณ์ไทยต่อไป ขอรับกระผ้ม....

ขออภัยครับ ลืมแจ้งบล็อก

http://gotoknow.org/blog/pittayalongkon

จึงขอเชิญทุกท่านได้วิพากษ์ วิจารณาญานในการสื่อสาร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดทั้งเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาขบวนการสหกรณ์ไทยต่อไป ขอรับกระผ้ม....

ถึงเพื่อน ๆ ผนส.4 ทุกท่าน

ทำโครงการส่งอาจารย์ยมไปถึงไหนกันแล้ว อิจฉาคนที่มีโครงการในดวงใจไว้แล้วจังเลย(พี่อรรถพล ลืมส่งข้อมูลให้น้องหรือเปล่า!) มีอีกเรื่อง คือ ของที่ระลึกแทนรุ่นที่จะมอบให้องค์กรที่เราจะไปดูงาน ขอให้เพื่อน ๆ ช่วยกันคิดหน่อยว่าจะให้อะไรดี

(น้อง) ปาณิสรา

ศุภาภรณ์ ถาปนศิริ

เรียน อาจารย์จีระ ที่เคารพ

การบ้านจาก " ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ " ได้ความรู้ว่า การพัฒนาคนในแต่ละองค์กรนั้นสำคัญที่สุด การใช้จ่ายในการพัฒนาถือเป็นเงินลงทุน มิใช่เพียงค่าใช้จ่าย เมื่อพัฒนาและเลี้ยงดูให้เขาเกิดความภักดีในองค์กรแล้ว ผลงานของแต่ละคนย่อมส่งผลถึงความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน

ในกระบวนการสหกรณ์ ดิฉันมีความเห็นว่าการพัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องยังมีน้อยไป คำกล่าวที่ว่า " สหกรณ์เป็นของสมาชิก " แต่สมาชิกในสหกรณ์ใหญ่ ๆ อาจมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องน้อย บางครั้งอาจไม่ได้อุดหนุนสินค้าหรือบริการของสหกรณ์ของตนก็ได้ กรรมการที่เป็นตัวแทนเข้ามาบริหารงานก็มีอายุตามกฎหมาย 2 ปี ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง ยากที่จะสร้างให้สหกรณ์มีความเข้มแข็งได้ ( ยกเว้นสหกรณ์ออมทรัพย์ของสถาบันการศึกษาหรือราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่มีความเข้มแข็งทางการเงิน )

ดิฉันมีความเห็นว่าถ้ากรมส่งเสริมสหกรณ์จะพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พ.ร.บ.สหกรณ์ ให้สหกรณ์สามารถบริหารจัดการที่ทันสมัยและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อมีสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย เช่น ในหมวดคณะกรรมการ เพื่อให้โครงสร้างการบริหารมีระยะเวลา 4 ปี คล้ายกับเทอมการทำงานของผู้บริหารหลายองค์กร เป็นต้น ก็จะช่วยให้สหกรณ์มีหัวขบวนที่สามารถกำหนดนโยบายพัฒนาทั้งคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการและสมาชิก ได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เห็นผลสัมฤทธิ์ ตลอดจนการบริหารสหกรณ์ด้วย

ฉะนั้นการที่อาจารย์ได้ให้โอกาสกรรมการ ผู้จัดการของสหกรณ์ได้เข้าร่วมหลักสูตร ผนส.1- 4 ก็จะเป็นจุดเริ่มให้เกิดการนำความรู้ที่ได้รับกลับไปพัฒนาแต่ละสหกรณ์ และจะขยายผลไปตามจำนวนรุ่นที่เพิ่มในอนาคต

เรียน ผนส รุ่นที่ 4 การทำโครงการของสหกรณ์ ผมว่ามันไม่ยาก แต่พอลองทำดู น่าจะยากไม่น้อยเลย ที่จะเป็นโครงการที่สมบูรณ์และเป็นโครงที่ดีที่สุด ในการพัฒนาสหกรณ์ แต่เราได้ท่านอาจารย์ ยม เป็นที่ปรึกษาและบรรยายให้ความรู้ พร้อมแบบฟอร์มและรายละเอียดต่างๆ พวกเราน่ามีความมั่นใจ ในการเขียนโครงการและการดำเนินโครงการไปได้ด้วยดี อย่างไรก็ดี เมื่อไปดูรายละเอียดความสัมพันธ์และความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 10 และแผนพัฒนาสหกรณ์ฉบับที่ 2 พ.ศ 2550-2552 พวกเราน่าจะได้ความรู้ และความเข้าใจ ในการพัฒนาสหกรณ์ ในฐานะผู้นำได้ดีมากขึ้น และจะดีที่สุดในโอกาสต่อไปๆ ที่ผมเรียนมาอย่างนี้ เพราะอยากให้กำลังใจกับเพื่อนๆ ผนส. รุ่นที่ 4 ทุกท่านสุ

สุทิน กิ้มหิ้น

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ผมได้อ่านหนังสือของท่าน ศ.ดร. จิระ แต่ยังอ่านไม่จบแต่พอสรุปได้ว่าทั้งสองท่านเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าและมากด้วยประสบการณ์ ทำให้ผมได้มีโอกาสได้เรียนรูวิธีคิด วิธีการทำงาน ในการบ่มเพาะทักษะสำหรับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ โดยท่านทั้งสองเชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุด และท่านทั้งสองมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังด้านการพ้ฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยจิตวิญญาณ โดยมีความสุขกับการเป็น ผู่ให้ ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ กล่อง หรือ การเชิดชูเกียรติจากใคร ผมหวังว่าสิ่งที่ท่านทั้งสองได้มุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะช่วยให้ประเทศไทยมีคนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ ด้วยตนเองตลอดชีวิต ทำให้สู้กับคนทั้งโลกได้

เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น ต่อขบวนการสหกรณ์ถ้าสมาชิกสหกรณ์ได้มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์จุลภาคจะช่วยให้เขาคิคได้ว่าเขาควรจะผลิตสินค้าอะไร่จำหน่าย หรือจะผลิตจำนวนมากน้อยเพียงไรให้เพียงพอต่อความต้องการ และถ้าสหกรณ์ได้เชื่อมโยงผลผลิตทางการเกษตรของมวลสมาชิกให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาดจะทำให้การผลิตสินค้าของสมาชิกมีตลาดที่จะจำหน่ายและได้ราคา แต่ในทางปฏิบัติสหกรณ์ไม่มีความสามารถที่จะคาดการณ์ในการกำหนดให้สมาชิกผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของตลาด หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ หรือไม่เป็นไปตามที่ตลาดต้องการ ดังนี้น สมาชิกและสหกรณ์ต้องร่วมมือกันในการที่จะผลิตสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด โดยใช้หลักเศรษฐสาสตร์เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าของสมาชิกมีราคาที่เพียงพอกับต้นทุนผลิด และมีตลาดรองรับผลผลิต เมื่อสมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็จะส่งผลต่อสหกรณ์ที่เขาเป็นสามาชิก และส่งผลต่อสันนิบาติสหกรณ์ ฯ ต่อไป

เรียน เพื่อน ๆ ผนส. 4 ทุกท่านที่รัก

เพื่อน ๆ ที่ทำโครงการใกล้จะเสร็จแล้ว ขอให้รอเพื่อนบ้าง สำหรับเพื่อนที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ก็ขอให้เร่งมือหน่อย พวกเราควรมีงานส่งอาจารย์ภายในกำหนดเวลาทุกคน หากใครเสร็จก่อน ก็ควรช่วยชี้แนะคนที่คิดไม่ออก เขียนไม่ค่อยได้ เราต้องช่วยกันนะครับ สำหรับผมยินดีช่วยทุกท่าน แต่ตอนนี้ยังไม่มีเวลาว่าง จึงยังไม่ได้ทำอะไรเลย วันส่งหัวข้อก็รีบ ๆ ส่งเพื่อให้ทันภายในกำหนด แต่ตอนนี้คิดไปคิดมาอยากจะเปลี่ยนหัวข้อใหม่ให้มันมีประโยชน์กับสหกรณ์อื่นด้วย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์การ เช่น การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน หรือการสร้างสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เป็นต้น

ตอนนี้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของ ผนส. 4 กว่า 1,000 ครั้ง แล้วนะครับ 10,000 ครั้ง คงไม่ไกลเกินรอ

มนตรี ช่วยชู

ผนส. 4 (สอ.ธปท.)

เรียน ผนส. รุ่นที่ 4 ทุกท่าน

มีท่านใดบ้างที่ทำโครงการ ฯ เสนอ ท่านอาจารย์ยม แล้ว แจ้งให้ทราบทาง blog ด้วย

ฝากคุณเกรียงไกร ช่วยพิมพ์ชื่อโครงการที่ ผนส. 4 เสนอต่ออาจารย์ยมทาง biog ให้ด้วยเผื่อจะมีแนวคิดดี ๆ บ้าง

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

เรียน ผนส.4 เพื่อทราบตามที่ร้องขอครับ

รายชื่อโครงการที่ลงทะเบียนไว้แล้ว

เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตร

1.พัฒนาสหกรณ์การเกษตรเมืองจันทบุรี จำกัดให้เข้มแข็ง

2.การรวบรวมและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์การเกษตรพัฒนาเขาหินซ้อน จำกัด

3.การพัฒนาสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ จำกัด

4.การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสมาชิกสหกรณ์การเกษตรรัตภูมิ จำกัด

5.การอบรมและพัฒนาประธานกลุ่ม

6.การพัฒนาการบริการด้านสวัสดิการของสมาชิก

7.การฝึกอบรมอาชีพเยาวชนสหกรณ์

8.การสร้างสถานีบริการปั๊มน้ำมัน

9.การพัฒนาธุรกิจร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด

10.การอบรมพัฒนาบุคลากรและสมาชิกสหกรณ์

11.การอบรมอุดมการณ์สหกรณ์กับสมาชิกใหม่

12.การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์

13.ขับเคลื่อนสมาชิกต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

14.การส่งเสริมการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าจากมันสำปะหลังอย่างครบวงจร

15.สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสู่สถานศึกษา

16.ส่งเสริมการออมในสถานศึกษา

17.พัฒนาสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ จำกัด สู่สหกรณ์ต้นแบบ

18.ส่งเสริม พัฒนาสมาชิกทางด้านการศึกษา

19.ฝึกอบรมพัฒนาคณะกรรมการบริหารกลุ่ม

20.เสริมสร้างศักยภาพผู้แทนสมาชิกสหกรณ์

21.การขยายสาขาย่อย

22.พัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย จำกัด

23.พัฒนาระบบ ATM สอ.กฟผ.แบบออนไลน์เรียงไทม์

24.ระดมเงินฝากจากสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์

25.ประชาสัมพันธ์หลักการและธุรกิจสหกรณ์

26.ผลิตข้าวปลอดภัย ชีวิตปลอดภัย

27.ส่งเสริมการใช้เมล็ดข้าวพันธ์คุณภาพดี และการพัฒนาการปลูกข้าวของสถาบันเกษตรกร

28.พัฒนาการใช้กฎหมายบริหารสหกรณ์

29.ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหารสหกรณ์สมาชิก

30.สินเชื่อ ธ.ก.ส.สู่การเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดสหกรณ์

ศุภาภรณ์ ถาปนศิริ

เรียน คุณเกรียงไกร

download file แบบเสนอโครงการ ได้ที่ไหนคะ

สวัสดีครับอาจารย์ และ ผนส. ทุกท่าน

         ขอรายงานผลการประชุมสรุปอย่างย่อให้เพื่อน ผนส. รับทราบเบื้องต้น ฉบับสมบูรณ์ต้องรอเลขาครับ

  • ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
  • เรื่องการรับน้อง ผนส.4 ที่พัทยา ประธานขออภัยที่ไม่สามารถไปร่วมได้เนื่องจากติดภาระกิจของสหกรณ์ต้นสังกัด  ประธานขอขอบคุณ ผนส. 2 ที่ไปร่วมต้อนรับ
  • เรื่องการศึกษาดูงานที่ สหกรณ์ออมทรัพย์บริษัททีโอทีจำกัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประธานขอขอบคุณประธาน สหกรณ์ออมทรัพย์บริษัททีโอทีจำกัด ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
  • เรื่องสืบเนื่อง
  • การศึกษาดูงาน และการทำกิจกรรม ครั้งต่อไป  ที่ประชุมมีมติ ให้ร่วมประชุมกับ ผนส. 1 , 2 , 3 และ 4 เบื้องต้นที่ประชุมสรุปแนวทางด้วยกัน 3 เรื่องคือ

      1. ผนส. รุ่น 2 จะทำกิจกรรมมอบของใช้จำเป็นกับผู้ต้องขังหญิง เช่นผ้าอนามัย ชุดชั้นใน และอื่น ๆ ที่ทัณฑสถานหญิงลาดยาว (กำหนดวันในภายหลัง)

      2. ผนส. รุ่น 2 จะทำกิจกรรมมอบอุปกรณ์การศึกษาให้กับโรงเรียน ตชด. ที่จังหวัดกาญจนบุรี

      3. ร่วมกิจกรรมกับ ผนส. ทุกรุ่น "กิจกรรมเปิดฟ้าอันดามัน"  รอการประชุมร่วมอีกครั้ง  

  • รายงานฐานะทางการเงิน การรับจ่าย   (รอเลขาฯ)   
  • เรื่องอื่น  ที่ประชุมเสนอให้ ผนส. 2 เข้าไปมีส่วนร่วมในองค์กรระดับชาติ  อย่างต่อเนื่อง องค์กรที่จะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไปคือสันนิบาติ ที่ประชุมมีมติส่งคุณ ประวัติ  สมัครเป็นผู้ตรวจ

จึงเรียนมาเพื่อทราบในเบื้องต้นครับ    

ผนส.ศุภาภรณ์

ผมส่ง File ให้ทาง E-mail  : [email protected]

นอกจากนั้น ผนส.ทุกท่านสามารถหาข้อมูลที่วิทยากรบรรยายได้จาก

website : clt.or.th  โดยเข้าไปที่ โครงการผู้นำขั้นสูง  แล้วจะเห็น (เอกสารเผยแพร่)

เรียนอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ผมได้อ่านจากหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันแท้ ซึ่งเป็นการกล่าวถึงบุคคล สองคน ซึ่งได้รับการยอมรับนับถือ ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ด้านผู้นำในความคิด ผู้บุกเบิกและปฏิบัติ ซึ่ง เน้นทรัพยากรที่มีคุณค่า คือให้ความสำคัญของทรัพยากรบุคคล และจากหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ หลัก ที่สามารถนำไปใช้ได้ มีดังนี้

- ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นทั้งผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้ทำลายทรัพยากรอื่น ๆ

- องค์กรและผู้นำจะต้องมีปรัชญาในการบริหาร โดยเน้นคนเป็นสำคัญ หรือหาวิธีปลูกฝังปรัชญานี้เกิดขึ้น

- องค์กรที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของคน คือต้องมี vision วางแผนคนให้สอดคล้องกับอนาคตของธุรกิจ อีก 10 ปี หรือยาวกว่านั้น จะเป็นอย่างไร จะมีแนวโน้มอย่างไร จะต้องเตรียมบุคลาการอย่างไร จะดูแลหรือสร้างทรัพยากรมนุษย์

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เรื่องปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่า คนถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้องกรจากแรงจูงใจ

ศุภาภรณ์ ถาปนศิริ

เรียน คุณเกรียงไกร

ได้รับตัวอย่างโครงการแล้ว ขอบคุณมากค่ะ

ที่อยากได้คือ ไฟล์แบบเสนอโครงการ ที่เราจะต้องกรอกส่ง ตามที่ได้รับแจกเป็นฉบับที่พิมพ์เมื่อเสาร์ก่อนนะคะ

เพราะจะได้ประหยัดเวลา เติมคำลงในช่องว่างได้ ไม่ต้องมาคีย์ทุกอักษร

ช่วยส่งให้หน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณอีกครั้ง

ถึงผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่น 4 ทุกท่าน

1. blog ขณะนี้ไปได้ 1,100 ผมได้อ่านทุกคน

2. อยากให้แต่ละท่านอ่าน มีประสบการณ์มา share กัน เช่น อ่านภาษาอังกฤษและความคิดต่างๆ

3. ผมจะไปร่วมดูงานในประเทศ 1 วัน

4. คิดทำ Public Seminar ให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม

5. อยากให้มีโอกาสอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

เรียน คุณเกรียงไกร

รบกวนขอรายละเอียดด้วยนะครับว่า E - mail ของใครบ้าง

เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร /ทางเลือก ในการสื่อสารต่อกันของ ผนส.4 ครับ

E-Mail ของผนส.4

[email protected] ไมตรี กิ่งชา

[email protected] เรวัต เปี่ยมระลึก

[email protected] สมคิด มีอาหาร

[email protected] อารุณ ธุวะคำ

[email protected] รัชนี บำรุง

[email protected] ภานุรัตน์ ถนอมทรัพย์

[email protected] สมศักดิ์ อังศุโกมุทกุล

[email protected] มาลิณี บวงแก้ว

[email protected] มงคล เที่ยงอยู่

[email protected] สายสมร คุขุนทด

[email protected] ทัศนีย์ พลเยี่ยม

[email protected] รศ.ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์

[email protected] รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา

[email protected] วิศิษฎ์ โตชัย

[email protected] ศิวกร ขวัญดี

[email protected] พงศ์พันธ์ เหลืองวิไล

[email protected] สำเริง สุดศรี

[email protected] ศุภาภรณ์ ถาปนศิริ

[email protected] ชาติ ฟ้าปกาศิต

[email protected] พลตรี ดร.วีระ วงศ์สวรรค์

[email protected] ประดิษฐ หัสดี

[email protected] ก๊ก ดอนสำราญ

[email protected] บุญเลิศ ใจดี

[email protected] สมคิด ปัญญาแก้ว

[email protected] วิทยา รักษาทิพย์

[email protected] พ.ต.อ.มณฑล เงินวัฒนะ

[email protected] ปาณิสรา ชาวจีน

[email protected] อรรถพล ชุมประยูร

[email protected] ดร.มนตรี ช่วยชู

สรุปสาระจากการดูงานที่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 14 ตุลาคม 2552

1.  การบรรยายเรื่อง ภาพรวมธุรกิจแปรรูปเนื้อไก่ครบวงจรเพื่อการส่งออก

โดย คุณสุชาติ สิทธิชัย รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

  • บริษัทเริ่มจาก
  • การมีโรงงานที่บางนาในพ.ศ. 2516
  • การมีโรงงานที่มีนบุรีในพ.ศ. 2522
  • การมีโรงงานที่สระบุรีในพ.ศ. 2532
  • การมีโรงงานที่นครราชสีมาในพ.ศ. 2547
  • บริษัทมีเงินลงทุนรวมทั้งโรงงานต่างๆ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ 8 พันล้านบาท และมีโรงงานที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุด
  • ธุรกิจของบริษัทประกอบด้วย
  • โรงงานอาหารสัตว์
  • ฟาร์มไก่พ่อแม่พันธุ์
  • โรงฟักไข่
  • ฟาร์มไก่เนื้อ
  • โรงงานแปรรูปเนื้อไก่
  • มีกำลังการผลิตไข่ไก่ 2 ล้านฟองต่อสัปดาห์
  • ผลิตไก่เนื้อ 3 แสนตัวต่อวัน
  • มียอดขายในประเทศ 165,000 ตันต่อปี
  • เป็นยอดขายไส้กรอกไก่ 30,000 ตันต่อปี
  • โรงงานที่จังหวัดนครราชสีมาผลิตไก่ส่งออก 100% เป็นทั้งไก่สดและไก่แปรรูป
  • ผลิตภายใต้มาตรฐาน Food Safety, Quality, Disease free, มีการตรวจสอบสารตกค้าง มีระบบ BRC แบบอังกฤษ, และระบบสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ไม่ทรมานสัตว์
  • มีเทสโก้และมาร์คแอนด์สเปนเซอร์เป็นลูกค้า
  • มีระบบโมดูล่า ทำให้โรงเรือนระบายอากาศดี ไม่ร้อน ไก่ตายน้อย
  • ใช้โฟล์คลิฟท์เคลื่อนย้ายไก่
  • มีระบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ถ่านจากไม้โกงกางที่มีอายุ 10-12 ปี ที่ปลูกในแปลงทดแทนที่จังหวัดสมุทรสงคราม และมีลูกค้ามาร์คแอนด์สเปนเซอร์มาดูถ่านว่าสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมหรือไม่เพื่อประกอบการพิจารณาซื้อ
  • มีระบบดูแลคนทำงานเรียกว่าโครงการ Nursery Pond ทุกคนต้องเข้ารับการอบรมเพื่อเรียนรุ้ระบบการทำงาน
  • มีระบบ safety ซ้อมดับเพลิง รับมือกับภาวะฉุกเฉิน
  • มีการดูแลสุขภาพพนักงานทุกปี
  • ตลาดต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น และยุโรป เช่น อังกฤษ
  • บริษัทเลี้ยงไก่ด้วยระบบ computer control ทำให้มองผ่านคอมพิวเตอร์เข้าไปในเล้าไก่ได้ มีการยิงตัวเลขข้อมูลผ่านดาวเทียมแล้วส่งมายังคอมพิวเตอร์
  • เลี้ยงไก่ด้วยระบบโรงเรือนปิด
  • มีตาชั่งอัตโนมัติเพื่อให้ไก่ขึ้นไปยืนเหยียบเพื่อชั่งน้ำหนัก มีระบบ alarm เตือนความผิดปกติไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้บริหาร 10 คน
  • บริษัทเน้นผลิตภัณฑ์สด สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสิ่งปนเปื้อน
  • บริษัทเน้น 5 หัวใจคือ
  • พันธุ์ดี มีการปรับปรุงสายพันธุ์ ทำให้ได้ไก่เนื้อพันธุ์ดี โตเร็ว
  • อาหารดี มีการวิจัยและพัฒนาคัดเลือกอาหารให้ได้ตามมาตรฐานสากลและตรงตามความต้องการของไก่แต่ละช่วงอายุ
  • โรงเรือนดี เป็นโรงเรือนปิด ปรับอากาศ ป้องกันการระเหยของน้ำ สัตว์อื่นเข้าไม่ได้ ป้องกันการติดต่อของโรค
  • ป้องกันโรคดี เจ้าหน้าที่และรถต้องผ่านการฆ่าเชื้อก่อนเข้า
  • การจัดการฟาร์มดี ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุณหภูมิ ปริมาณ อาหาร น้ำ น้ำหนักไก่ จัดบริเวณรอบฟาร์มให้เป็นระเบียบ
  • โรงงงานแปรรูปเนื้อไก่ตามหลัก Animal Welfare ของยุโรป เชือดตามหลักอิสลาม โดยส่งไก่เข้าเครื่องคลายความเครียดกล้ามเนื้อก่อน และผ่านการตรวจจากกระทรวงสาธารณสุข มีระบบควบคุมโดย Air Shield  ควบคุมความสดของสินค้าได้ แยกชิ้นส่วนโดยเนื้อไก่ไม่สัมผัสพื้นในอุณหภูมิเย็นตลอดเวลา
  • โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปหลายชนิด เช่น ทอด นึ่ง อบ ลดอุณหภูมิใจกลาง อาหารด้วย IQF ให้เหลือ -18 องศาเซลเซียส
  • โรงงานมีศูนย์วิจัยและพัฒนา มีนักโภชนาการ มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า ทดสอบคุณภาพสินค้าก่อนจำหน่าย
  • มีปัญหาคือ หาคนทำงานยาก เพราะมีโรงงานอื่นๆมากมายในท้องถิ่น และต้องดูแลคนให้ทำตามข้อปฏิบัติเพื่อให้สินค้าปลอดภัยและบริษัทไม่ถูกฟ้องร้อง

2. การบรรยายเรื่อง เครื่องมือสมัยใหม่ที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กร

โดย คุณชัยวัฒน์

  • CP Group เป็นบริษัทชั้นนำของเอเชีย ตั้งขึ้นที่กรุงเทพในปีค.ศ. 1921
  • มียอดขาย 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
  • มีพนักงาน 25,000 คน
  • บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารที่นครราชสีมาทำธุรกิจเกษตรและอาหาร
  • มีปรัชญาคือ
  • สร้างประโยชน์ต่อประเทศที่ไปทำธุรกิจ
  • สร้างประโยชน์ต่อประชาชน
  • สร้างผลประโยชน์สู่บริษัท
  • มีรูปแบบธุรกิจ (Business Model) 7 อย่างคือ
  • ควบคุมตั้งแต่อาหารสัตว์จนถึงคุณภาพสินค้า
  • มีสินค้าหลากหลายกระจายความเสี่ยง
  • ลงทุนตลอดด้านเทคโนโลยี นำมาประยุกต์และปรับใช้ มีมาตรฐานสากล
  • ขยายกิจการออกไปประเทศต่างๆให้มากขึ้น ตอนนี้มีแล้ว 15 ประเทศและจะขยายไปแอฟริกา
  • พัฒนาและสืบสานวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
    • พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
    • ใฝ่รู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    • สรรสร้างนวัตกรรม
    • มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์
    • มุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จ
    • ตอบแทนคุณแผ่นดิน
    • ประเมินผลนำแนวคิด เทคนิค มาปรับใช้ในองค์กร
    • สร้างแบรนด์ให้เป็นระดับโลก
    • ซีพีจะเปลี่ยนไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น อาหารสำเร็จรูปแบรนด์ซีพี
    • CPF มีอัตราเติบโตสูง ปีละ 13% แต่สร้างผลตอบแทนผู้ถือหุ้นต่ำ ทางบริษัทอยากโตแบบมีคุณภาพ

3. การบรรยายเรื่อง ภาพรวมการส่งออก

โดย คุณเปรมฤดี

  • ซีพีส่งออกไก่ในปี 2551 จำนวน 93,078 ตัน คิดเป็น 24% ของยอดส่งออกไก่ของประเทศ และใน 8 เดือนแรกของปี 2552 ซีพีส่งออกไก่ 54,000 ตันคิดเป็น 22.4% ของยอดส่งออกไก่ของประเทศ และถือเป็นอันดับที่ 1
  • มีตลาดหลักคือ อังกฤษ ญี่ปุ่นและตะวันออกกลางตามลำดับ
  • มีตัวแทนฝ่ายขายใน 18 ประเทศ สำรวจความต้องการของลูกค้าแล้วส่งข้อมูลมาให้พัฒนาสินค้า

 

สรุปสาระจากการดูงานที่ฟาร์มโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 15 ตุลาคม 2552

การบรรยายภาพรวม โดย คุณสาธิต เรืองยศ ผู้จัดการทั่วไปส่วนอุตสาหกรรมวิชาการ ฟาร์มโชคชัย

  • ฟาร์มโชคชัยมีอายุจนถึงปัจจุบันแล้ว 52 ปี
  • ปัจจุบัน ฟาร์มโชคชัยได้ปรับภาพลักษณ์การเป็นองค์กรธุรกิจเกษตร ให้มีการทำธุรกิจให้ร่วมสมัย สร้างความสมดุล มีการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้คู่คุณธรรม อุดมการณ์นิยม มีความมุ่งมั่น ลุ่มลึก สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจได้
  • ฟาร์มโชคชัยนำหลักพุทธศาสนามาปรับใช้ ถือว่า ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการลงมือทำ 98% ใช้โอกาสที่มีแล้ววางรากฐานไปสู่ความยั่งยืน
  • ฟาร์มโชคชัยมีวิสัยทัศน์และพันธกิจคือ รักษา > ริเริ่ม > รุก > รับ
  • มีธุรกิจหลักเป็นธุรกิจการเกษตร แล้วนำมาพัฒนาเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม
  • พัฒนาโคต่างประเทศให้อยู่ในไทยได้ เกิดเป็นพันธุ์โชคชัยฟรีเซี่ยน
  • เป็นที่ปรึกษาให้รัฐบาลมาเลเซียในการพัฒนาภาพลักษณ์
  • เป็นเครือข่ายพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ส่งเสริมให้นำเด็กมาทัศนศึกษาแล้วสร้างแรงบันดาลใจ โดยให้ร่วมสร้างหลักสูตรและบูรณาการเป็น
  • ทางฟาร์มเปิดธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อนำประสบการณ์การบริหารจัดการมาเสนอ
  • ทางฟาร์มเป็นองค์กรการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ชีวิตด้านการท่องเที่ยวเกษตร บนพื้นฐานความพอเพียง
  • ฟาร์มโชคชัยประกอบด้วยธุรกิจเกษตร 50% ร้านอาหาร 30% และอสังหาริมทรัพย์ 20%
  • ทางฟาร์มเน้นทำให้ลูกค้าประทับใจ จดจำ ใส่ความรู้สึกลงไป ทำให้ภาพลักษณ์ดีและลูกค้าจงรักภักดี
  • มีแนวคิดในการบริหารจัดการคือ
  • ผู้บริหารต้องทำบริวารและบริเวณให้สมดุล เมื่อตนมีความสุข ก็ควรทำให้คนอยากเดินตาม
  • มีสติ สำรวจตนเอง เพิ่มจุดแข็ง ซ่อมจุดอ่อน ลดความเสี่ยง
  • ไม่นำสิ่งที่ขาดไปเปรียบเทียบกับที่อื่น
  • เปลี่ยนความรู้ให้เป็นเงิน/ มูลค่าเพิ่ม/ สู่ความยั่งยืน
  • มียุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศคือ
  • มุ่งเน้นด้านคุณภาพสินค้า บริการ และการสื่อสาร โดยจำกัดปริมาณเพื่อควบคุม supply และทำให้ลูกค้าประทับใจเกินความคาดหมาย
  • มุ่งเน้นการจัดการกระบวนการ เพราะเรื่องเล็กๆที่เกิดจากสิ่งที่ทำเป็นประจำอาจทำให้เกิดปัญหาได้
  • มุ่งเน้นด้านทรัพยากรมนุษย์
  • มุ่งเน้นผลลัพธ์ทางธุรกิจ ขึ้นเงินเดือนพนักงานอย่างเท่าเทียมกันโดยดูผลลัพธ์มวลรวมทางธุรกิจ
  • มีการสร้างขีดความสามารถของพนักงานโดย
  • สร้างคนให้เป็นคน เป็นผู้นำที่คนอื่นรัก ลงทุนสวัสดิการพนักงาน และใช้พุทธศาสนามาช่วย
  • สร้างทัศนคติและแรงบันดาลใจ โดยใช้พนักงานเป็น presenter สาธิตการรีดนม โฆษณาคุณภาพคน ทำให้เขาไม่ลาออก
  • สร้างทีมงานและเครือข่าย โดยให้เรียนรู้และเข้าใจองค์กรก่อน ถือว่า การคุยกับลูกค้าทุกวันทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น
  • สร้างอนาคต ความสมดุลในการเดินไปหาความสำเร็จด้วยความสุข
  • มีแนวคิดในการสร้างและผลลัพธ์คือ
  • สร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดพลัง
  • สร้างความรักเพื่อให้เกิดความสามัคคี
  • สร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้เกิดความสำเร็จ
  • ฟาร์มโชคชัยมีพนักงาน 1,400 คน ผู้นำต้องทำให้พวกเขาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
  • มีจุดขาย (ขาย 5 ไม่ขายหน้า)
  • รายละเอียด (ความพิถีพิถันเล็กๆน้อยๆที่คนอื่นคาดไม่ถึง)
  • ระบบการจัดการ (มาตรฐานต่างๆต้องเสมอต้นเสมอปลาย)
  • บรรยากาศ (สถานที่มีมาตรฐานและบรรยากาศดี)
  • บริการที่เกินความคาดหมาย (ความร่วมมือของทุกคนให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุดและมีลูกค้าบอกต่อคนอื่นๆให้มาใช้บริการ)
  • ขายประสบการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยว
  • ทุกคนในฟาร์มอยู่แบบครอบครัว ภายใต้แนวคิด “ฉันรักพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนและรักฟาร์มโชคชัย”
  • ฟาร์มโชคชัยทำให้คนทำงานรวมทั้งสร้างสมดุลให้กับชีวิตพนักงานเพื่อให้เขามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น
  • มีปรัชญาองค์กรคือ

ความคิดสร้างสรรค์ รอบคอบฉับไว

ธุรกิจโปร่งใส คุณธรรมค้ำจุน

เป็นเกษตรที่กล้าเปลี่ยนแปลง

เพิ่มความแข็งแกร่งสู่ความยั่งยืน

การไปดูงานครั้งนี้ ได้อะไรเยอะมาก

นอกจากความรู้ที่ได้รับแล้ว

ยังได้รับ ความเป็นกันเอง

ความอบอุ่น

ยังพบเห็น.......

ความน่ารัก ของเพื่อนๆ ผนส.4 ทุกท่านด้วย

คงจะติดตาตรึงใจผมไปไม่รู้ลืม....

ถ้าเป็นไปได้ เมื่อจบการอบรมแล้ว

ผมอยากเจอบรรยากาศ แบบนี้อีกครับ

สวัสดี ผนส.4 ทุกท่านครับ

ผมต้องขอขอบคุณ คุณพี่เรวัต เปี่ยมระลึก มากนะครับ ที่หลังจากเข้าชมมูร่าห์ฟาร์มแล้ว ท่านพี่ได้กรุณา ให้คนขับรถ ขับมาส่งผมถึงปากซอยเข้าบ้านที่ระยอง เลยครับ

เหมือนที่บอกนะครับ...ว่าน้ำใจ ของ ผนส.4 แต่ท่านช่างมีมากมายจริงๆ

สวัสดีครับ ผนส.4 ทุกท่าน

ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ บอกว่าอยากให้ทุกท่านอ่าน มีประสบการณ์มา share กัน พอดีเจอบทความอยู่ บทหนึ่ง เรื่องของสูตรยา ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ ผนส. ที่ สว. ทุกท่านครับ

สูตรยาดี

สรรพคุณของพืขผักแต่ละชนิดว่ามีคุณประโยชน์ต่อการรักษาได้อย่างไรไว้ในหนังสือชื่อ ‘ ยามหัศจรรย์สำหรับคุณ เช่น

1. ปวดหัว กินปลามากๆ ทั้งปลาทะเล ปลาน้ำจืด น้ำมันจากปลามีสรรพคุณป้องกันการปวดหัว กินพร้อม ๆ กับขิง จ ะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวลง

2. แพ้ละออง เป็นแพ้ทั้งฝุ่นและเกสรดอกไม้ ให้กินโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว

3. โรคหัวใจ ดื่มชาเขียว เป็นประจำ สารในชาเขียวช่วยป้องกันไม่ให้ไขมัน ไปจับตัวตามผนังหลอดเลือด

4. โรคนอนไม่หลับ ดื่มน้ำผึ้ง เป็น ประจำ สารในน้ำผึ้งมีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาททำให้นอนหลับฝันดี

5. โรคหืดหอบ กินหอม ต้นหอม หรือ หัวหอม ก็ได้มีตัวยาทำให้หลอดลมปลอดโปร่ง

6. โรคไขข้ออักเสบ กินปลาเท่านั้น แก้ไขเป็นปกติได้ ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า   ( ปลาโอ) ปลาแมคเคอเรล ปลาซาดีนส์ ( ปลากระป๋อง )

รศ.ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์

เพื่อนผู้นำที่เคารพทั้งหลาย

ท่านวิทยากรท่านหนึ่ง กล่าวว่าเวียดนามต้องปรับปรุงถนนหนทางก่อนจึงจะเจริญทันไทย และมีผู้เสริมว่าขณะนี้เวียดนามกำลังสร้างสนามบินนานาชาติใหม่ พร้องทั้งสร้างรถไฟฟ้าทั้งที่โฮจิมินซิตี้และฮานอย

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเวียดนามคงเจริญไม่ทันไทยอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะเวียดนามเพิ่งสร้างสนามบินเดียว แต่ประเทศไทยมี 6 สนามบินใหญ่ และสนามบินย่อยอีกหลายแห่ง กว่าเวียดนามจะสร้างรถไฟฟ้าเสร็จ 2 สาย ประเทศไทยคงมีรถไฟฟ้าอีกหลายสายแล้ว ส่วนถนนหนทางนั้น ถนนในเมืองไทยใหญ่และเชื่อมติดต่อกันดีกว่าของเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถนนแคบๆ และไม่เรียบ ถ้าพูดถึงตึกรามบ้านช่อง เมืองไทยมีตึกสูงใหญ่เป็นจำนวนมาก กับภาคเอกชนที่แข่งขันกันสร้างอาคารใหม่อย่างไม่หยุดหยั่ง ส่วนภาคเอกชนเวียดนามยังมีทุนไม่มากนัก ข้อสำคัญคือประเทศไทยเองก็เร่งพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดหยั้ง มิใช่อยู่เฉยๆ รอให้ชาติอื่นพัฒนามาทัน ในขบวนการสหกรณ์มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสรรหาวิทยากรชั้นเยี่ยมมาพัฒนาผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง จนมีความสามารถเลอเลิศไม่เป็นที่สองรองใคร ดังนั้นแม้นอาจมีบางประเทศเป็นมหาอำนาจทางทหาร บางประเทศเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ กระทั่งเป็นเมืองแฟช้นล้ำสมัย ก็ปล่อยให้เขาเป็นไป แต่เราเป็นมหาอำนาจทางสหกรณ์ก็พอใจ เพราะระบบสหกรณ์นั้น รู้จักวิธีการประชาธิปไตยร่วมมือกันทางเศรษฐกิจอย่างสมานฉันท์จนสังคมอุดมด้วยความสุข

สวัสดี ผนส.4 ทุกท่านครับ

ใครได้ใช้สบู่ผสมสมุนไพรเขาหินซ้อน " ว่านสาวหลง " บ้างแล้วครับ (ที่พี่ปุ้ย รัชนี แจกให้)

สรรพคุณ ทำความสะอาดผิวกาย ช่วยทนุถนอม ผิวพรรณให้เนียนนุ่ม ชุ่มชื่น แลดูเป็นธรรมชาติ

มีส่วนประกอบสำคัญ ว่านสาวหลง (Amomum biflorum Jack ) ว่านนางคำ (Curcuma aromatica Salisb.) และ Soap Base

หอมดีครับ แต่ไม่รู้ว่าใช้ไปแล้ว สาวจะหลงมาหรือไม่

เรียนท่านอาจารย์ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์

พอดีผมอ่านเจอบทความของการพัฒนาประเทศเวียดนาม ใน กรุงเทพธุรกิจ ครับ เขาให้ความสำคัญกับ “ คน “ มากครับ

คน แรงขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศเวียดนาม

20 ปีนับจากที่เวียดนามได้ประกาศนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ศักยภาพในการพัฒนาประเทศปรากฏเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเห็นได้จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ การเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัว การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาของโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและที่อยู่อาศัย และความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น อะไรคือปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่ผลักดันการพัฒนาประเทศเวียดนาม ปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาประเทศเวียดนามมีหลายปัจจัย ดังเช่นความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของจำนวนประชากรที่มีถึง 84 ล้านคน ที่มีความสำคัญต่อความเป็นตลาดบริโภคขนาดใหญ่ ความสำคัญในด้านจำนวนแรงงานภายในประเทศ การมีแผนพัฒนาประเทศที่ชัดเจน และการนำนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์ทุกประการและมีการติดขัดอยู่บ้าง ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าความมีเสถียรภาพทางการเมืองและสภาวะของการปลอดความขัดแย้งทางการเมือง ในระดับที่จะเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงปัจจัยพื้นฐานที่ขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาประเทศในประเด็นที่เกี่ยวกับ "คน" เท่านั้น ซึ่งได้แก่ ความแน่วแน่ในการพัฒนาประเทศไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า ความสำนึกในความรักชาติ รักอิสรภาพและเอกราช ความขยันอดทน ความกระตือรือร้น ความใฝ่รู้อยากรู้ และความปรารถนาที่จะเข้าสู่ประชาคมโลก และมีเกียรติภูมิที่ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า สภาวะสงครามในอดีตที่เวียดนามต้องประสบ การถูกครอบครอง รุกรานกดขี่จากประเทศที่ใหญ่กว่า ทำให้เวียดนามต้องอดทนดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และการหลุดพ้นจากการครอบครองกดขี่ 1,000 ปี นับจากปี 111 ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงค.ศ.939 เวียดนามอยู่ภายใต้การครอบครองของจีน อีก 100 ปีจากปลายทศวรรษที่ 1850 จนถึงปี 1954 อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และอีกไม่น้อยกว่า 2 ทศวรรษที่เวียดนามต้องต่อสู้กับสหรัฐในบ้านของตนเองในสงครามที่สหรัฐเรียกว่า สงครามเวียดนาม ทั้งหมดนี้ ทำให้เวียดนามเรียนรู้ที่จะอดทน เอาตัวรอด ต่อสู้เพื่ออิสรภาพโดยได้สูญเสียชีวิตเลือดเนื้อไปมากมาย เวียดนามจดจำความยากแค้นที่เคยประสบมาจากโดยการถูกกระทำโดยต่างชาติ และแน่นอนไม่มีใครอยากจะวกกลับไปเจอสิ่งเหล่านี้อีก บทเรียนและความเจ็บปวดในอดีตสอนให้เวียดนามหวงแหนในเอกราชอิสรภาพ และจุดนี้เอง เวียดนามจึงมีความแน่วแน่ที่จะพัฒนาประเทศของตนเพื่อไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า ความสำนึกในความรักชาติเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของความตั้งใจแน่วแน่ในการพัฒนาประเทศ และจากความสามารถในการชนะสงคราม และการครอบครองของต่างชาติหลายครั้ง ทำให้เวียดนามมีความภาคภูมิใจ และมีความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างยิ่งและอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตลอดระยะเวลาของการต่อสู้เพื่อเอกราชและความเป็นอิสระ เวียดนามได้ผสมผสานยุทธศาสตร์และยุทธวิธีต่างๆ ทั้งในด้านการรบและการทูต อีกทั้งยังเรียนรู้และนำยุทธวิธีการต่อสู้ของศัตรูมาใช้กับศัตรูด้วย ความรู้เขารู้เราในด้านการรบ ทำให้เวียดนามสามารถเอาชนะศัตรูในอดีตอย่างจีน ฝรั่งเศส และสหรัฐได้ การขุด อุโมงค์กู่จี (Cu Chi) ในภาคใต้ของเวียดนาม และการขุด อุโมงค์หวิงมก (Vinh Moc) ในจังหวัดกว่างจิ หรือกว่างตรี (Quang Tri) ในภาคกลางของเวียดนาม เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนของความอุตสาหะอดทน สติปัญญา ความสามารถในการปรับตัว และการนำยุทธวิธีด้านการรบของจีน ซึ่งเป็นศัตรูในอดีตมาใช้ แต่ประเทศที่เคยถูกกดขี่และถูกกระทำในอดีตดังเช่นเวียดนาม และรวมถึงประเทศอื่นๆ ด้วยนั้น ก็จะมีความอ่อนไหวในบางเรื่อง อาทิเช่น ความระมัดระวังที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบและแสวงหาประโยชน์ การถูกดูถูกเหยียดหยาม ทำให้ต้องมีความระมัดระวังตัวตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม จากการที่ไม่ได้อยู่ในสังคมระหว่างประเทศเป็นเวลานาน ทำให้ต้องเรียนรู้ทำความรู้จัก กับกติกาสากลที่ตนไม่คุ้นเคย แต่สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สำหรับประเทศที่มีความสามารถในการปรับตัวดังเช่นเวียดนาม ภัยธรรมชาติเป็นอีกปัจจัยที่สร้างให้คนเวียดนามเป็นชนชาติที่มีความอดทน พายุที่ผ่านเข้ามาสู่เวียดนามประมาณ 15 ลูกในแต่ละปีจวบจนปัจจุบัน รวมทั้งพายุไต้ฝุ่น ทำให้คนเวียดนามต้องคอยเฝ้าระวังต่อสู้เพื่อความอยู่รอด และความสูญเสียตลอดเวลา ความอดทนนี้ได้สืบทอดมายังคนเวียดนามจวบจนปัจจุบัน แต่แม้ว่าคนเวียดนามจะมีลักษณะพิเศษของความเป็นชนชาติที่มีความกระตือรือร้น อุตสาหะอดทน รักชาติและมีศักยภาพสูง อีกทั้งมีลักษณะเชิงรุกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจทั้งระดับปัจเจกชนและระดับรัฐ แต่รัฐบาลเวียดนามก็ยอมรับว่า เวียดนามยังต้องพัฒนาคุณภาพของคนของตนอีกมาก เพื่อให้ทันต่อสภาวการณ์ของโลกปัจจุบัน ซึ่งเป็นโลกของการค้าเสรี โลกของเศรษฐกิจภาคการบริการ และรัฐบาลเวียดนามก็ยังยอมรับอีกด้วยว่า ปัจจัยเกี่ยวกับคนหรือประเด็นเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาทุกๆ ด้านของประเทศและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลายาวนานในการพัฒนา ความยากลำบากในอดีตเป็นแรงผลักดันให้เวียดนามลุกขึ้นมาพัฒนาประเทศในวันนี้ แต่กว่าจะมาถึงวันนี้หรือแม้แต่ในวันนี้ เวียดนามก็ยังคงต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคที่ต้องแก้ไขอยู่มากมายตลอดเวลาอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ลักษณะของคนเวียดนามที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นทุนเดิมที่เวียดนามมี และเป็นตัวผลักดันการพัฒนาประเทศในวันนี้ได้เป็นอย่างดี

สิทธิพร มีเสถียร ผนส3

...สวัสดีครับท่านผู้นำฯทุกท่านขออนุญาตแนะนำตัวก่อนผมสิทธิพร มีเสถียร จาก ผนส.3 เข้ามาแอบดูหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่เคยเข้ามาทักทาย ทราบข่าวว่าพวกเราไปดูงานภายในประเทศกันมาเลยจะเข้ามาแอบดูรูปสักหน่อย เห็นมีลงในblogของสถาบันฯอยู่สี่หน้ารูปก็ดูพวกเราhappyกันดีนะครับและขอชมเสื้อทีมสวยมากและสุภาพดีเหมาะกับการดูงาน ก็ขอให้จดจำความสัมพันธ์ที่ดีในวันนี้ตลอดไปแต่ยังมีเวลาที่อยู่กันในการดูงานต่างประเทศอีกหลายวัน(ไม่ทราบว่าไปดูงานประเทศไหนครับ ตามแผนเห็นจะไปไต้หวัน) ก็ขอให้มีความสุขในการเรียนและการดูงานต่างประเทศ (ว่านสาวหลงไม่ต้องเอาไปนะเดี๋ยวจะกลับมาไม่ครบ)...แค่นี้ก่อนนะครับแล้วจะเข้ามาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ

p'jaee

ภานุรัตน์ ถนอมทรัพย์ (พี่ตั๊ก)

เรียน อาจารย์จีระ ที่เคารพ

จากการไปศึกษาดูงานที่โคราช (ฟาร์โชคชัย) และแถมที่สระบุรี (อสค.) ผมมีข้อเปรียบเทียบระหว่างเอกชน กับ ราชการ เรื่องการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ หรือเชิงเกษตร หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียก เมื่อเปรียเทียบกันแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนในด้านการบริหารจัดการ การบริการต้อนรับ ความสะอาด และอีกหลายประการที่ยังห่างกันลิบลับ ทำไม

ผมอยู่ในวงการราชการจะครบ 25 ปี ในอีกไม่กี่เดือนทราบอยู่ตลอดถึงปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการในระบบราชการ ผมคนหนึ่งที่รับไม่ค่อยได้กับระบบแบบนี้ แต่ทำอย่างไรได้เราเลือกเดินทางนี้แล้ว แต่ในวิถีทางเดินของผมเอง ผมยึดมั้นในอาชีพบางครั้งต้องฝืนใจตนเองบ้าง แต่ผมก็ยังเห็นว่าในระบบราชการไทยก็ยังคงเป็นแบบนี้ตราบใดที่ราชการยังต้องพึ่งการเมือง (ยากครับที่จะปรับเปลี่ยนได้)

ผมเป็นข้าของในหลวง ผมภูมิใจ และก็จะทำให้ดีที่สุด จึงอยากเสนอให้ ผนส. ทุกคน ได้ตระหนักถึงการทำงานอย่างเป็นระบบตามหลักธรรมาภิบาล และพัฒนาให้เท่าเทียมภาคเอกชนให้ได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตระบบราชการไทยคงจะมีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับโลกในอนาคตด้วย

ภานุรัตน์ ถนอมทรัพย์ (พี่ตั๊ก)

เรียน อาจารย์จีระ ที่เคารพ

รู้สึกดีขึ้นมาก เมื่อ ผนส.รุ่น 4 มีมติเป็นเอกฉันท์ร่วมกันให้มีการพบปะสังสรรค์ทุกวันแรกของการเข้าเรียน เพื่อความสนิทสนมยิ่งขึ้น ทำให้หลาย ๆ ท่าน ที่ไม่ค่อยแสดงออก ได้มีโอกาสได้แสดงออกในสิ่งที่อยากจะทำ จนเกิดปรากฎการณ์หลาย ๆ อย่างที่ไม่คาดคิดขึ้น ยอดเยี่ยมจริง ๆ

ขอพูดเรื่องการศึกษาดูงานอีกครั้ง ผมประทับใจการดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผมอยู่ในกลุ่มที่สรุปเรื่องเทคโนโลยี ศูนย์ฯ ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากนัก แต่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้สมบูรณ์มากที่สุด เรื่องหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ระบบการหมุนเวียนของน้ำ จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ และส่งไปสู่การอุปโภคบริโภคของเกษตรกรรอบพื้นที่ศูนย์ฯ อันนี้ผมเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีทางภูมิปัญญา และอีกหลายประการที่เกื้อกูลกันเองตามธรรมชาติ ระบบราชการหลาย ๆ แห่งชอบของบประมาณเพื่อจัดซื้อเทคโนโลยี (แต่มีแอบแฝงเรื่อง...) ทำให้ได้เทคโนโลยี ที่โลจริง ๆ ครับ

เรียน คุณเกรียงไกร และเพื่อน ผนส. 4 ทุกท่าน

ตามที่คุณเกรียงไกรได้กรุณาแจ้ง E-Mail Address ของเพื่อน ๆ ให้ ต้องขอขอบคุณมากครับ แต่ E-Mail Address ของผมไม่ถูกต้อง จึงขอแก้ไขให้ถูกต้อง คือ [email protected] ครับ

มนตรี ช่วยชู

ผนส.4 (สอ.ธปท.)

เรียน คุณเกรียงไกร ผมเปิดดู e-mail ของ ผนสฺ รุ่น 4 แล้ว ไม่ทราบว่ามีครบทุกท่านแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ครบกรุณาลงให้ครบด้วยนะครับ

เรียนท่านอาจารย์จิระ ที่เคารพ ผมรู้สึกดีใจมากที่ท่านได้กรุณาเดินทางไปดูงานร่วมกับลูกศิษย์รุ่นที่ 4 ตลอดเวลาที่ได้ฟังท่านพูดให้ข้อคืดกับพวกเราในการเป็นผู้นำที่ดีของการนำพาสหกรณ์ไปสู่การพัฒนาและความเป็นเลิศและความยั่งยืนในอนาคตเป็นได้แน่นอนถ้าพวกเราได้รับการพัฒนาอย่างนี้ ในความคิดของผม ผมว่าสหกรณ์ยังขาดสิ่งที่สำคัญในการพัฒนา คือการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ ให้สมาชิกของสหกรณืตนเองทราบและเข้าใจในอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการของสหกรณ์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ บริการ ตัวอย่างรถแท็กซี้ พวกเขาเป็นสมาชิกสหกรณ์แท้ๆ ที่ท่านอาจารย์ยกตัวอย่างให้พวกเราฟังเมื่อวันที่เดินทางไปดูงานวันนั้น การเข้าอบรมในหลักสูตร ผู้นำขั้นสูงในครั้งนี้ ผมก็อาศัยรถแท็กซี้ทุกครั้ง ที่สำคัญในจำนวน 10 คัน บอกว่าผมจะไปที่สันนิบาตแห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่เขาบอกว่าเขาไม่ทราบว่าอยู่ที่ใหน ผมโชคดีที่ได้แผนผังสถานที่การอบรมว่าอยู่ใกล้ๆกับพรรคชาติพัฒนา (พรรคชาติเก่า) บอกเขาแค่นั้นแหละครับเขาตกลงท้นที่ เพราะฉนั้นผมว่าถึงเวลาแล้วครับที่จะพัฒนาสมากชิกให้มีความรู้มีความเช้าใจในเรื่องสหกรณ์ และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้สมาชิก ผู้ที่เกี่ยงข้อง และประชาชนทั่วไป รู้ เข้าใจ เชื่อมั่น ศรัทธาในระบบสหกรณ์ของประเทศไทยครับ

รบกวนผู้เกี่ยวข้องลงรูปใน blog ตอน ผนส. 4 ไปศึกษาดูงานในประเทศหน่อยนะครับ

(แบบว่า...อยากดูนะครับ)

รศ.ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์

เรียน เพื่อนผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงที่เคารพ

การศึกษาดูงานในประเทศเมื่อวันที่ 14-16 ตุลาคม ศกนี้ ได้สร้างความประทับใจแก่ทุกท่านเป็นอย่างมาก ผมพลอยภูมิใจและยินดีกับความสำเร็จของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัดที่กำลัง Building a Global Brand เพราะเมื่อครั้งที่ผมยังเรียนหนังสือในชั้นมัธยม ครูบาอาจารย์มักสอนให้นักเรียนทุกคนช่วยทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ อาจารย์บางท่านบอกว่านอกจากกีฬาหรือสอบแข่งขันกันแล้ว ยังมีหนทางอื่นที่จะทำให้ชาวต่างชาติยกย่องประเทศไทยได้อีกมาก หากสามารถผลิตสินค้าที่มีแบรนด์เนมของไทยไปขายต่างประเทศไทย ผู้ซื้อย่อมรู้จักชาติไทยไปด้วย

สิ่งที่สำคัญคือการนำระบบ Animal Welfare Practice กับเครื่องกระตุ้นซากไก่ ด้วยกระแสไฟฟ้ามาใช้ อันสะท้อนถึงคุณธรรมและเมตตาธรรมของผู้บริหาร CPF ที่ไม่ต้องการทรมานสัตว์ และไม่ต้องการให้ผู้บริโภคได้รับสารพิษที่สัตว์หลั่งออกมาเมื่อเจ็บปวดหรือกลัวตาย ผู้บริโภคเนื้อที่ปลอดสารพิษย่อมมีชีวิตที่ยืนยาว และน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งหากมีข้อมูลสถิติยืนยันว่าประเทศไทยมีโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะการมีกิจการขนาดใหญ่เป็นตัววัดความเจริญก้าวหน้าของการบริหารจัดการที่ดี

ฟาร์มโชคชัยกับมูร่าฟาร์ม ได้ให้คติพจน์แก่ผมว่า ชีวิตธุรกิจก็เฉกเช่นชีวิตมนุษย์ คือมีขึ้นมีลงเหมือนระดับน้ำ มีรุ่งเรืองและมีตกต่ำดังคำโบราณว่า ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน ไม่มีผู้ใดที่สุขสบายตลอดชีวิต มีลุ่มๆ ดอนๆบ้าง เมื่อคิดจะทำธุรกิจต้องเตรียมตัวเตรียมใจว่าอาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเมืองไม่เสถียร อุปสรรคที่ไม่ดาดค่าความยุ่งยากที่ไม่คาดฝัน ตลอดจนวิกฤตการณ์อันแสนสาหัส เกิดเป็นคนจึงต้องอดทน ต้อนรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และใฝ่รู้แสวงหาความรู้มาแก้ปัญหาอย่างไม่หยุดนิ่ง

เส้นทางชีวิตใครเล่าที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ? ทุกคนล้วนเคยถูกขวากหนามทิ่มตำ หรือถูกของมีคมบาดด้วยกันทั้งนั้น มิใช่หรือ? ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการหาทางช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรอยู่เสมอ การแปรพระราชฐานเพื่อเสด็จเยี่ยมราษฎร นั้นเสด็จไปเพื่อรับฟังปัญหามาแก้ไข มิใช่ไปเพื่อพักผ่อนพระวรกายการเสด็จพระราชาดำเนินแต่ละครั้งนั้น พระเสโทหลั่งไหลท่วมพระวรกาย ทรงพลิกพื้นดินที่แห้งแล้งดั่งทะเลทรายมีต้นไม้เพียง 2 ต้น ให้กลายเป็นแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทความรู้เกี่ยวกับการทำกินให้แก่ราษฎรได้

สิ่งที่ผมประทับใจที่สุดคือในระหว่างเดินทาง มีการปรึกษาหารือกันทำโครงการของรุ่น ซึ่งหารือกันด้วยเหตุผลมิได้ใช้อารมณ์ หรือวางอำนาจบาตรใหญ่ ผมเห็นว่าทุกคนมีความคิดที่ดี หากตัดสินใจคนเดียวก็ไม่เสียเวลา แต่วิธีการประชาธิปไตยเปิดให้ทุกคนแสดงความเห็นได้ ทำให้มีมุมมองที่หลากหลายแตกต่างกัน ฟังแล้วได้ข้อคิด บางอย่างเป็นเรื่องที่ไม่เคยทราบมาก่อน เช่นการเปลี่ยนประธานสันนิบาตสหกรณ์จากอธิบดีมาเป็นนักสหกรณ์ผู้มีจิตวิญญาณทำงานเพื่อพัฒนาขบวนการสหกรณ์อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับพัฒนาขบวนการสหกรณ์ต่อไป จนเชื่อได้ว่าเมื่ออายุครบ 100 ปีใน 7 ปีข้างหน้า ขบวนการสหกรณ์ต้องมีความเป็นปึกแผ่นเจริญก้าวหน้ากว่าขณะนี้มาก

ทั้งนี้เพราะขบวนการสหกรณ์ได้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง โครงการที่โดดเด่นที่สุด และมีประโยชน์อย่างยิ่ง หลักสูตรผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ควรที่นักสหกรณ์ทุกคนจะช่วยกันเผยแพร่เกียรติคุณและคุณประโยชน์ของโครงการที่ให้ชื่อเสียงขจรขจายไป กอปรกับการเชียร์ ชักชวน หรือสนับสนุนให้สหกรณ์ต่างส่งคนมารับการฝึกอบรม ผู้ที่ผ่านหลักสูตรนี้ต้องไม่เก็บงำความรู้ไว้คนเดียว ควรเล่าประสบการณ์และประยุกต์ใช้หลักวิชาให้เกิดผลดี

เมื่อมีผู้ผ่านการฝึกอบรม กลายเป็นผู้นำสหกรณ์ที่มีหลักวิชาความรู้ มีคุณธรรม วิสัยทัศน์และความอดทนที่พ้นฝ่าอุปสรรค จำนวนมากพอ งานหนึ่งศตวรรษสหกรณ์ไทยต้องยิ่งใหญ่แน่นอน

สรุปสาระจากการดูงาน ณ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จังหวัดสระบุรี บรรยายโดย คุณสมหวัง รักกิจการ  ในวันที่ 15 ตุลาคม 2552

  • ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์คถือเป็นฟาร์มโคนมแห่งแรกของประเทศไทย เกิดจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จดูงานกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์ก
  • เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์ก ได้ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย - เดนมาร์ก อย่างเป็นทางการ
  • ต่อมาในปี 2514 รัฐบาลไทยได้รับโอนกิจการฟาร์มโคนมจากรัฐบาลเดนมาร์คและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย - เดนมาร์ก จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีชื่อว่า “องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)” มีหน้าที่เลี้ยโคนมและพัฒนาอุตสาหกรรมโคนม
  • อ.ส.ค. มุ่งมั่นพัฒนาและคัดเลือกแม่พันธุ์จากโคนมพันธุ์เรดเดน มีหญ้าและอาหารเสริมให้วัว มีการควบคุมป้องกันโรค ส่งเสริมการฝึกอบรมและแนะนำให้ความช่วยเหลือ
  • อ.ส.ค. ตั้งโรงงานรับซื้อนมดิบ แปรรูปเป็นนมไทย-เดนมาร์คตราวัวแดง ทำเป็นนมยูเอชทีและบรรจุกล่องขายรายแรกของประเทศ
  • นอกจากนี้มีการแปรรูปเป็นนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตด้วย
  • อ.ส.ค. ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรและกิจกรรมอื่นๆด้วย

สรุปสาระจากการดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 16 ตุลาคม 2552

ประวัติความเป็นมาของศูนย์

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2522

ในอดีตพื้นที่บริเวณเขาหินซ้อนจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประ เทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขาหินเล็กใหญ่ทับ ซ้อนกันอยู่ทั่วๆไปเพียงชั่วระยะเวลา 30 กว่าปี ต่อ มาการคมนาคมสะดวกทำให้ผู้คนเดินทางเข้าไปในพื้นที่ได้สะดวก ผลที่ตามมาคือมีการทำลายป่าเพื่อนำพื้นที่มาใช้เพาะปลูกเป็นจำนวนมากจนทำให้ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์กลายเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมและมีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินสูงจนกระทั่งเมื่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราช ดำเนินทอดพระเนตร พื้นที่ดังกล่าว และทรงคิดหาแนวทางในการแก้ไขเพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาความเดือด ร้อนของราษฎรโดยใช้วิชาการในหลายๆด้านประกอบกัน เป็นการดำเนินการแก้ไขในลักษณะผสมผสานของหลายๆ หน่วยงานจึงมี พระราชดำริให้หน่วยงานจากกรมกองต่างๆ มาร่วมกัน พัฒนาพื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์ศึกษาตัวอย่างประโยชน์ ที่ เกิดขึ้นได้เป็นสองทางคือต้นทางซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ ฝึกหัดการทำงานร่วมกันได้ความรู้ในการพัฒนาและ ปลายทาง คือราษฎรได้รับความช่วยเหลือในการพัฒนาที่ดินทำกินให้มี ความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอันเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการจัด ตั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และทางศูนย์ศึกษามีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,895 ไร่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางการพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้

1) พัฒนาให้เป็นศูนย์ ตัวอย่างด้านเกษตรกรรมที่สมบูรณ์แบบทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ ฟื้นฟูสภาพป่า การพัฒนาดิน การวางแผนปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกร และผู้สนใจสามารถเข้ามาชมศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมและนำไปปฏิบัติตามได้ เพื่อพัฒนาอาชีพและพื้นที่ทำกินของตนให้เพิ่มผลผลิตมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริม เพิ่มฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพิ่มรายได้จากอาชีพหลักอีกทางหนึ่ง

2) พัฒนาพื้นที่รอบนอกศูนย์ศึกษาฯบริเวณลุ่มน้ำโจนให้มีความเจริญขึ้น เป็นตัวอย่างแก่การพัฒนาพื้นที่อื่นๆต่อไป

3) ให้นำวิธีการที่ได้ผลมาแล้วถูกต้อง ประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุดมาดำเนินการ     

    คณะทำงานศูนย์ประกอบด้วย

    1. งานพัฒนาที่ดิน

ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทำการสำรวจดิน จำแนกการถือครองดิน วางแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร สาธิตวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำและการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต วางมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน สาธิตและส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและบำรุงดินบริการแก่เกษตรกร พร้อมกับอบรมส่งเสริม แนะนำช่วยเหลือเกษตรกรในการอนุรักษ์ดินควบคู่ไปกับการบำรุงดินกระตุ้นให้เกษตรรู้ถึงคุณประโยชน์ของปุ๋ยหมัก และผลิตปุ๋ยหมักขึ้นใช้เอง ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินโดยการสาธิต ฝึกอบรม และบริการให้ความช่วยเหลือ ด้านการพัฒนาที่ดินทั้งภายในศูนย์ฯ หมู่บ้านรอบศูนย์และเกษตรกรผู้สนใจทั่วไป

  2. งานพัฒนาชุมชน

ส่วนใหญ่ จะเป็นงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรมด้านอาชีพระยะสั้น การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต การจัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ซึ่งระยะเริ่มแรกที่งานพัฒนาชุมชนเข้ามาดำเนินการในศูนย์ ตั้งแต่ปี 2522-2538 จะเป็นกิจกรรมด้าน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การปรับปรุงถนน ท่อระบายน้ำ ขุดสระเก็บน้ำ เมื่อโครงสร้างพื้นฐานดีขึ้นแล้ว การดำเนินการส่งเสริมอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรดำเนินการในช่วงที่ว่างเว้นจากอาชีพการเกษตร เช่น สาธิตการทำปลา อบรมการประกอบอาหาร การถนอมอาหาร อบรมการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ส่งเสริมการปลูกแตงโม การทำไม้กวาดดอกหญ้า การจัดสานหมวก กระเป๋า จากหญ้า แฝก การทอผ้า การทอเสื่อ จัดซื้ออาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร

  3. งานเพาะชำกล้าไม้

จัดให้มีการดำเนินการผลิตกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการต่างๆ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยจะทำการแจกพันธุ์ไม้ในช่วงต้นฤดูฝนหรือประมาณเดือนพฤษภาคมทั้งนี้ก็เพื่อให้กล้าไม้ที่แจกไปนั้นมีโอกาสรอดหรือมีโอกาสเติบโตในเปอร์เซ็นต์ที่สูง โดยกล้า ไม้ที่ทำการแจกได้แก่ มะฮอกกานี กระถินยักษ์ มะขาม ประดู่ คูน สะเดา ยางนา ฯลฯ

  4. งานวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา

ให้การศึกษาในระบบประกอบด้วยหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง และวิชาชีพพิเศษ ให้การศึกษานอกระบบเป็นการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรเคลื่อนที่ ศึกษาเรื่องของเกษตรด้านสัตว์ เช่น โคนม สุกรขุน ไก่ เกษตรด้านพืช เช่น ผักปลอดสารพิษ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่า ด้านช่างยนต์ คอมพิวเตอร์

  5. งานโยธาธิการ

ผลิตน้ำประปาสะอาดเพื่อให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ภายในศูนย์และหมู่บ้านรอบศูนย์ ให้ได้มีน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภค ตลอดจนให้บริการประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ภายนอกศูนย์ในกรณีขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้

  6. งานส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวน

ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและบริการพันธุ์พืชสวน สาธิตการขยายพันธุ์ และการปลูกไม้ผล พืชผักสวนครัว ส่งเสริมและพัฒนาการ ผลิตสมุนไพรและเครื่องเทศ เป็นหน่วยงานฝึกอบรมวิชาการด้านการขยายพันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดี ได้แก่ มะม่วง ขนุน กระท้อน ฝรั่ง ชมพู่ น้อยหน่า การปลูก การปราบศัตรูพืช ตลอดจนการปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่และพืชผักโดยเพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งรวบ รวมพันธุ์มะม่วงพันธุ์ดีในประเทศไทย ส่งเสริมและเผยแพร่ข่าวสารการเกษตร จัดนิทรรศการเกษตร

  7. งานวิชาการเกษตร

งานวิชาการเกษตรทดสอบระบบปลูกพืช ปฏิบัติรักษาตามแผนงานการปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ ที่ทำการศึกษาและติดตั้งระบบน้ำแบบ Mini Sprinkler ทุกแปลง ทดสอบระบบการทำงานแบบผสมผสาน ศึกษาทดสอบพืชไร่ ทำการปลูกพืชไร่พันธุ์ดีต่างๆ โดยได้รับความ ร่วมมือจากสถาบันวิจัยพืชไร่ สนับสนุนพันธุ์พืชตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ และปลูกแสดงแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ศึกษาทด สอบผักอนามัย ทำการปลูกพืชผักชนิดต่างๆ ตลอดปี โดยวิธีการลดการใช้สารเคมี แต่ใช้สารสกัดจากสะเดาแทน ศึกษาการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ และฝึกอบรมการเพาะเห็ดแก่เกษตรกรผู้สนใจ ศึกษาการปลูกผักโดยใช้มุ้งครอบเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช

  8. งานปศุสัตว์

ทำหน้าที่อบรมแนะนำเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตปศุสัตว์สาธิตและส่งเสริมการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เช่น โค สุกร ไก่ เป็ด จัดตั้งธนาคารโค กระบือ เพื่อบริการแก่เกษตรกรในรูปแบบของการให้ยืมมาและขายโดยวิธีผ่อนส่ง ใช้ปุ๋ยผลิตฟางปรุงแต่งเพื่อเลี้ยงโค จัดการฝึกอบรมเกษตรกร ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการเลี้ยงสัตว์

   9. งานส่งเสริมสหกรณ์

                กำกับดูแลโรงสีข้าวพระราชทานเพื่อช่วยเหลือราษฎรรับผิดชอบสร้างกลุ่มสหกรณ์การเกษตรและให้สินเชื่อเพื่อการเกษตร ให้เงินกู้ตรวจสอบ และติดตามการชำระเงิน ส่งเสริมการระดมทุนในสหกรณ์ ส่งเสริมสหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจด้านการตลาด จัดหาสินค้ามาจำหน่าย รวบรวม ข้าวเปลือกจากสมาชิกและนำมาแปรรูปข้าวเปลือกจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจประสานงานเพื่อการพัฒนาอาชีพ แก่สมาชิกในและนอกภาคการเกษตร

  10. งานสวนพฤกษศาสตร์

ดำเนินการบำรุงรักษาไม้เดิมและปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ โดยการปลูกไม้วงศ์ คือ วงศ์สัตบรรณ วงศ์สัก วงศ์ขิงข่า วงศ์ส้ม วงศ์ไทร วงศ์ปาล์ม วงศ์ยางนา วงศ์ไม้แค วงศ์สีเสียด วงศ์มะเกลือ วงศ์สะเดา และวงศ์กล้วยไม้ ได้มีการทำสวนสมุนไพร ขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และในปี 2540 เปิดบริการอบสมุนไพรให้บริการแก่บุคคลทั่วไปรวบรวมพืชสมุนไพรไว้มากกว่า 460 ชนิด เพื่อสาธิตให้ผู้เข้าชมทราบถึงลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์และสรรพคุณ ปรับปรุงขยายพื้นที่ปลูกพันธุ์ไม้ประมาณ 1,000 หมายเลข รวบรวมพันธุ์ไม้ป่าหายากในภาคตะวันออก สำรวจเก็บพันธุ์ไม้และเห็ดรา 300 ตัวอย่าง ทำการผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น แชมพู ครีมนวด จากดอกอัญชัน สบู่หอมว่านสาวหลง สบู่เหลว จากขมิ้นชัน ยากันยุงตะไคร้หอม เป็นต้น รวมถึงการขยายพันธุ์กล้าไม้สมุนไพร เพื่อแจกจ่ายและจำหน่ายให้กับประชาชนที่สนใจ

  11. งานประมงสาธิต

สาธิตการเลี้ยงและฝึกอบรมการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล ปลาไน ปลายี่สก สาธิตการเพาะพันธุ์ไรแดง ซึ่งเป็นอาหารของลูกปลา สาธิต การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงาม เช่น ปลากัด ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาทอง การเลี้ยงกบในกระชัง ผลิตพันธุ์ปลาเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์และผู้ที่สนใจอีกทั้งนำไปปล่อยยังแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารสำหรับประชาชนทั่วไป

มีการฝึกอบรมให้คำแนะนำเกษตรกรและผู้ที่สนใจเรื่องของการเพาะพันธุ์ปลา และนำความรู้ที่ได้รับกลับไปประกอบอาชีพ เพื่อเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย

 

สรุปสาระจากการดูงาน ณ มูร์ร่าห์ฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 16 ตุลาคม 2552

  • คุณรัญจวน เฮงตระกูลสิน เป็นผู้บุกเบิกมูร์ร่าห์ฟาร์มซึ่งเป็นฟาร์มควายนมแห่งแรกของไทยมีพื้นที่กว่า 400 ไร่
  • มูร์ร่าห์ฟาร์มได้แนวคิดจากจากการศึกษางานการเลี้ยงควายนมจากประเทศ อินเดีย อิตาลี บัลแกเรีย บราซีล และจีน
  • จุดเด่นของน้ำนมควายมูร์ร่าห์นั้น ชาริณี เผยว่า มี สารอาหารสูงกว่านมวัว ทั้งโปรตีน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ รวมถึง มีสีขาวเนียนชวนดื่ม
  • ในปัจจุบันนี้ มูร์ร่าห์ฟาร์มมีควาย 300 ตัว ทางฟาร์มขยายพันธุ์เอง มีแม่ควายสำหรับรีดนม 50 ตัว มีระยะรีดน้ำนมนาน 7-10 เดือน ให้นมตัวละ 7-8 กิโลกรัม
  • ปัญหา คือ แนะนำให้ผู้บริโภครู้ถึงคุณสมบัติของนมควาย เพื่อลบทัศนคติที่ว่าดื่มนมควายอาจทำให้โง่ และการขอการรับรองจากอย. ที่ยากลำบาก   
  • นอกจากนี้   ทางฟาร์มได้เปิดร้านมูร่าห์คาเฟ่ แอนด์ บิสโทรจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมควาย ได้แก่
    นมควายสด 100%  กาแฟ ใส่นมควาย โยเกิร์ตนมควาย ยังมีอาหารสไตล์อิตาเลียน ที่มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมควายเป็นส่วนประกอบ เช่น คาปรีเซ่สลัด แฮมชีสบรูเซตต้า ข้าวผัดกีห์กับปลาเค็มหน้ากุ้ง พิซซ่ามาร์การิต้า ฯลฯ จุดประสงค์หลักของร้าน ต้องการทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์นมควายแปรรูป และสร้างแบรนด์ให้ลูกค้ารู้จัก       
  • เป้าหมายในอนาคตของฟาร์มคือ จะมีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ควายนม ปรับปรุงพันธุ์และรับซื้อน้ำนมควาย

โปรดคลิกที่นี่เพื่ออ่านข่าวผู้นำสหกรณ์

http://www.naewna.com/news.asp?ID=183521

ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงานของผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 4

ณ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2552

โดยมี ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ประธานบริหารและพัฒนาหลักสูตร โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ เข้าร่วมสังเกตุการณ์ ได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก คุณสุชาติ สิทธิชัย คุณชัยวัฒน์ พัฒนาภมร และคุณเปรมฤดี ศิริองค์ พร้อมบรรยายสรุปภาพรวมบริษัท และนำชมโรงงานอาหารแปรรูป

ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงานของผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 4

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ณ ฟาร์มโชคชัย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

โดยมี อ.ยม  นาคสุข และ ดร.โชคชัย สุทธาเวศ กรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตร เข้าร่วมสังเกตการณ์   ได้รับการต้อนรับและบรรยายสรุปจาก คุณสาธิต เจริญยศ ผู้จัดการทั่วไปส่วนอุตสาหกรรมบริการ และทีมงาน

ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงานของผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 4 

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)

จ.สระบุรี ทดลองรีดนมด้วยมือ และรับฟังการบรรยายสรุปการเลี้ยงโคนมของไทย

 

ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงานของผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 4

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา  โดยผู้นำทั้ง 40 ท่าน และ ดร.โชคชัย  สุทธาเวศ  กรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตร   เข้าฟังบรรยายสรุป ชมวีดิทัศน์ความเป็นมาของศูนย์ฯ  ชมนิทรรศการบ้านของพ่อ  และเยี่ยมชมงานต่างๆ ของศูนย์ฯ ซึ่งประกอบด้วย งานพัฒนาที่ดิน  งานวิชาการเกษตร  งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร  งานส่งเสริมสหกรณ์  งานปศุสัตย์  งานประมง  งานชลประทาน  งานสวนพฤกษศาสตร์  งานเพาะชำกล้าไม้  งานสวนรุกขชาติ  งานพัฒนาชุมชน  และวิทยาลัยเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา

เรียนอาจารย์ฉายศิลป์

      อาจารย์ให้กำลังใจผมและทีมงานมากในการทำงานครั้งนี้

      ใช่ หลักสูตรของเราต้องดีเพราะผมเน้นทฤษฎี 2R's ความจริงและตรงประเด็น สมัยผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทดลองหลักสูตรแบบนี้มามาก ผิดก็เยอะ นำประสบการณ์ที่ผิดพลาดมาใช้ในหลักสูตรผู้นำ และประสบการณ์จากรุ่น 1-3 ช่วยได้เยอะ

      ถ้าทำสำเร็จ ผู้นำรุ่น 4 ทั้ง 40 คนก็จะทำประโยชน์ให้ชาติบ้านเมืองและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขบวนการสหกรณ์ได้แน่นอน

ได้มีโอกาสไปจัดการฝึกอบรมที่เชียงใหม่ ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักสหกรณ์หลายท่าน /วิทยากร /ผู้จัดการ

จึงทราบว่า สหกรณ์ภาคการเกษตร มีปัญหากับกรมธนารักษ์ เกี่ยวกับการเก็บภาษีฯ (ที่ราชพัสดุ) เช่น สหกรณ์การเกษตรเมืองลำพูน สหกรณ์การเกษตรสันป่าตอง สหกรณ์การเกษตรแม่จัน และสหกรณ์นิคมสันทราย

เรื่องราวดังกล่าว สถาบันพิทยาลงกรณและวิชาการ (สพว.) ได้ส่งเอกสาร /ข้อมูลเบื้องต้นให้ นิติกรดำเนินการเพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไปแล้วครับ

ดีใจมากที่มีโอกาสได้มาอบรมหลักสูตรผู้นำสหกรณ์รุ่น4ในครั้งนี้ การได้ไปดูงานในประเทศเมือวันที่14-16ตุลาคม2552ทำให้ได้ใกล้ชิดอาจารย์ ดร.จีระ มากขึ้น ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ แลกเปลียนความรู้กัน ทำให้ใกล้ชิดเพื่อนมากขึ้น เป็นการหาประสบการณ์ที่คุ้มค่าอีกครั้งขอบคุณอาจารย์ ขอบคุณเพื่อนๆทุกคน และขอบคุณเจ้าหน้าสันนิบาตทุกท่านที่อำนวยความสะดวกในครั้งนี้และทุกๆครั้งที่ผ่านมา

เรียน ผนส.4 ทุกท่านครับ

โครงการที่ทุกท่านลงทะเบียนไว้แล้ว  ดำเนินการไปบ้างหรือไม่  หากทำแล้วเสร็จ

ขอความกรุณาส่งไปที่  [email protected]

ส่วน ผนส.ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนสามารถแจ้งความประสงค์ได้เช่นกันครับ

สุดท้าย กฝอ.ครั้งที่ 5 (30-31 ต.ค) ขอความกรุณาให้แต่ละกลุ่มนำเสนองานที่อาจารย์มอบไว้ก่อนไปศึกษาดูงานในประเทศ (4 กลุ่ม)

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพรัก

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2552 ผมขออนุญาตลาหยุด 1 วัน ส่วนกิจกรรมตอนเย็นผมสามารถมาร่วมได้ตามปกติ ผมไม่เคยขาดเรียน ไม่เคยขาดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการปฐมนิเทศก์ รับน้องใหม่ ดูงานในประเทศ ทำการบ้านส่งอาจารย์ หรือการเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Blog

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2552 มีการจัดงานร่วมกันระหว่างสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นการสัมมนาเรื่อง "บ่งชี้อนาคตเศรษฐกิจทางการเงินสหกรณ์ไทย" และในงานนี้ผมได้รับเชิญให้ไปรับโล่ในฐานะผู้สอบบัญชีภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานได้มาตรฐานและให้ความร่วมมือด้วยดีกับทางราชการด้วยครับ (1 ใน 4 คน)

กระผมมีความสัมพันธ์กับองค์กรทั้ง 3 ที่ร่วมกันจัดงาน มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน กล่าวคือ

1. สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย กระผมเคยเป็นผู้รวบรวมและจัดระบบบัญชีให้สันนิบาตฯ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว (เป็นการรวบรวมระบบบัญชีให้เป็นหมวดหมุ่ เป็นคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้วางระบบบัญชีให้ใหม่) เคยเป็นวิทยากรหลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ และเคยร่วมโครงการเป็นที่ปรึกษาสหกรณ์ (ใช้เวลาอบรมเรื่องต่าง ๆ ที่ที่ปรึกษาสหกรณ์ควรต้องทราบประมาณ 1 สัปดาห์)

2. กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระผมเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่เข้าโครงการเป็นผู้สอบบัญชีสหกรณ์ภาคเอกชน รุ่นที่ 1 ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา สหกรณ์แรกที่กระผมเป็นผู้สอบบัญชี คือ สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีตั้งแค่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน (บางปีต้องให้ผู้สอบบัญชีในสำนักงานเดียวกันเป็นผู้สอบบัญชีแทนบ้าง เนื่องจากหลักเกณฑ์ของนายทะเบียนสหกรณ์กำหนดห้ามเป็นผู้สอบบัญชีสหกรณ์ใดติดต่อกันเกินกว่า 3 ปี) นอกจากนี้ก็เป็นผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ที่เป็นบุคคลภายนอก เป็นภาคเอกชน ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ สหกรณ์แรกก็คือสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำกัด เช่นเดียวกัน (เดิมนายทะเบียนสหกรณ์ไม่ได้ห้ามผู้สอบบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบกิจการในสหกรณ์เดียวกัน ในการปฏิบัติงานได้แยกทีมงานตรวจออกจากกัน

3. ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด เคยเป็นรองประธานกรรมการเกือบ 3 ปี เป็นที่ปรึกษา 1 ปี และเป็นวิทยากรให้แก่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด และสหกรณ์อื่น ๆ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุญาต ขอบพระคุณมากครับ

มนตรี ช่วยชู

ผนส.4 (สอ.ธปท.) เลขที่ 40 (เลขที่สุดท้าย)

เป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้ร่วมเรียน กับเพื่อนๆ ผนส. 4 ผมกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ที่สหกรณ์ฯ ฟัง

ว่า การศิษย์ได้เป็นลูกของ ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงลดารมณ์ และได้ร่วมเรียนกับเพื่อน ๆ ผนส. 4

ทุกท่าน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และบอกเพื่อน ๆ ที่สหกรณ์ฯ ว่า สหกรณ์่ต้องส่งผมไปเรียนซึ่งมีค่าใช้จ่าย

ประมาณแสนกว่าบาทกว่าจะจบหลักสูตร ผมคิดว่าหลักสูตรนี้ประมาณค่าไม่ได้สำหรับผมถึงแม้บางคนมีเงิน

มากบางครั้งก็ไม่อาจเรียนได้ แต่คนที่ได้เรียนหลักสูตรนี้ ถือว่าโชคดีมากๆ ได้เรียนกับบุคคลหลายระดับ

และทุกท่านก็ไม่ถือตัวช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดโดยเฉพาะท่าน ดร.มนตรี ช่วยชู จะอาสาช่วยคนอื่นตลอดเวลา

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนครับ

สำเริง สุดศรี เลขานุการชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด (กระบี่)

สวัสดีค่ะ เพื่อน ๆ ผนส.4ทุกท่าน

คิดถึงเพื่อน ๆ ทุกคนเลย ดีใจจังจะได้เจอกันอีกตอนปลายเดือนนี้ ขอแสดงความยินดีกับพี่มนตรี ช่วยชูด้วยที่ได้รับโล่ในฐานะผู้สอบบัญชีภาคเอกชนที่ปฏิบัติงานได้มาตรฐานและให้ความร่วมมืออย่างดีกับทางราชการ เสียดายที่ไม่ได้มาเรียนด้วยกันแต่จะเก็บเอกสารประกอบการเรียนไว้ให้ แล้วอย่าลืมมาร่วมงานสังสรรค์ตอนเย็นด้วยกันนะเพื่อน ๆ รออยู่

(น้อง) ปาณิสรา ชาวจีน

อาจารย์เกรียงไกรครับ กรุณาส่งตัวอย่างโครงการของผู้จัดการ สกก.พิมาย ให้ผมดูเป็นตัวอย่างด้วยครับ

ส่งไปที่ [email protected] ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับผม

ขอบคุณท่าน พ.ต.อ. มณฑล เงินวัฒนะ และท่าน ดร.มนตรี ช่วยชู มากสำหรับสิ่งที่ดี ๆ ที่มอบให้ เป็นบทความที่ส่งมาทาง Mail ของผม ผนส. 4 ทุกคนล้วนมีน้ำใจครับ ยิ่งนานวันผมยิ่งเห็นความรัก ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ของพวกเรา มากขึ้นทุกที่ครับ ผนส.4เราจะสนิทสนม และรักกันมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอฝากความรักให้เพื่อน ๆ ร่วมรุ่น ผนส. 4 ทุกท่านครับ

ศิวกร ขวัญดี

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อน ผนส.

ขอรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2552 ค่ะ

                                            รายงานการประชุม 

                                      ชมรมผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่น 2 

                                              ครั้งที่  3 / 2552

                             เมื่อวันอาทิตย์ที่  11  ตุลาคม  พ.ศ.2552

                                        ณ   กรมส่งเสริมสหกรณ์

 

ผู้มาประชุม                1.  พลเรือตรีบงกช                              ผาสุข                                    

                                2.  คุณสายัณห์                                    ถิ่นสำราญ                            

                                3.  คุณกฤตยา                                      โอวาท   

                                4.  คุณนพคุณ                                       ยังเอี่ยม

                                5.  คุณอนนท์                                       ศุภตระกูล

                                6.  คุณประวัติ                                      หาดปิ่นขจรจารุ                 

                                7.  คุณวรวรรณ                                   ส่องพลาย

                                8.  คุณระเบียบ                                     มโนรัตน์                              

                                9.  คุณไพรพนา                                    ฉ่ำเย็นอุรา                            

 

เริ่มประชุมเวลา       10.00  น

 ระเบียบวาระที่  1                เรื่องที่ประธานฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบ

ประธานฯ                             มีเรื่องที่จะแจ้งให้ที่ประชุมทราบ  ดังนี้

                                         1.   กิจกรรมรับ ผนส.รุ่นที่ 4    ที่สันนิบาต      สหกรณ์ได้มีพิธีเปิดอบรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่  10  กันยายน 2552  ที่พัทยา      โดยได้เชิญ ผนส.1-3   เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมต้อนรับนั้น      เนื่องจากติดภารกิจงานสหกรณ์ต้นสังกัด  จึงไม่สามารถไปร่วมงานได้  ขอขอบคุณผู้แทน ผสน.2  ทุกคนที่ไปร่วมจัดกิจกรรมในวันนั้น

                                         2.   กิจกรรมแสดงความยินดีกับ ผอ.สันนิบาตคนใหม่       ผนส.2  ได้มีการส่งตัวแทนเข้าแสดงความยินดีกับ   ดร.โชคชัย   สุทธาเวศ     ที่เข้ารับตำแหน่ง   ณ สันนิบาตสหกรณ์           

                                         3.  กิจกรรมศึกษาดูงาน  สอ.TOT จำกัด   ผนส.2 รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่อาจารย์จีระฯ  ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย     ในการนี้คณะ ผนส.2 และ สอ.กรมอู่ทหารเรือ จำกัด  ขอขอบคุณคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ สอ.TOT จำกัด ทุกคน   ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดียิ่ง

ที่ประชุมฯ            รับทราบ

 

ระเบียบวาระที่  2                เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2 / 2552   

เลขานุการฯ  ได้แจ้งรายงานการประชุมครั้งที่ 2 / 2552    ให้ที่ประชุมรับทราบโดยละเอียด

ที่ประชุมฯ        ไม่มีการแก้ไขและมีมติรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 2 / 2552

 ระเบียบวาระที่ 3                 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ 2 / 2552

ประธานฯ                             ตามที่ตัวแทนของ ผนส.2 เข้าร่วมประชุม ผนส.ทั้ง 3 รุ่น นั้น     ผนส.2 มีตัวแทนเข้าร่วม

                                ประชุมด้วย   จึงขอให้ผู้แทน ( คุณนพคุณฯ ) ชี้แจงผลการประชุม

คุณนพคุณฯ              ในเบื้องต้นของการประชุมร่วมกันทั้ง 3 รุ่น  ได้มีมติออกมาให้ ผนส.ทั้ง 3 รุ่น  ทำกิจกรรมร่วมกัน  โดยมี ผนส.3 ( คุณอดิศักดิ์ฯ )  เสนอให้ทั้ง ผนส.ทั้ง 3 รุ่น  ทำกิจกรรมร่วมกันโดยให้ความรู้เกี่ยวกับระบบสหกรณ์กับพี่น้องประชาชนในภาคใต้   และร่วมงานเปิดฟ้าอันดามัน  พร้อมทั้งศึกษาและดูงานที่เกาะลังกาวี      คาดว่าจะประมาณปลายเดือนตุลาคม   หรือต้นเดือนพฤศจิกายน  ซึ่งขณะนี้รอการประสานในรายละเอียด

ที่ประชุมฯ             ได้ร่วมกันพิจารณาแล้วและมีมติ    ให้ประธานฯ คุณนพคุณฯ  และคุณอนนท์ฯ  เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม    โดยมีแนวทางการนำเสนอในการทำกิจกรรมเพื่อเป็นทางเลือกด้วย  ดังนี้

  1. 1.       กิจกรรมช่วยเหลือโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  2. 2.       กิจกรรมบริจาคเครื่องอุปโภคและบริโภคให้ผู้ต้องขังหญิง

 ระเบียบวาระที่ 4                 รายงานรายรับ- รายจ่าย                                        

คุณนพคุณฯ                         สำหรับรายรับ-รายจ่าย  แยกออกเป็น 2 บัญชี  ดังนี้

  1. 1.       รายรับจ่ายเงินของ ผนส.2

เงินคงเหลือของรุ่นยกมา                                          1,067.43             บาท

ดอกเบี้ยรับ                                                                 23.47            บาท

เงินสมาชิกรุ่น   เก็บได้ 31 คน                                31,000.-               บาท

รวมรายได้                                                           32,090.90             บาท

หัก   ค่าใช้จ่ายของรุ่น                                             6,820.-                บาท

ยอดเงินคงเหลือ                                                   25,270.90             บาท

  1. 2.       รายรับ-รายจ่ายของโครงการห้องสมุดโรงเรียน

เงินรับบริจาค                                                        54,100.-              บาท

รับบริจาคค่าหนังสือ (คุณสายัณห์ฯ)                          4,000.-               บาท

รวม  รายได้รับ                                                      58,100.-              บาท

ค่าใช้จ่ายในการจัดทำห้องสมุด รร.                          33,500.-              บาท

ซื้อหนังสือ                                                             4,000.-               บาท

รวม  ค่าใช้จ่าย                                                     38,900.-               บาท

เงินยืมทดรอง (ประธานฯ)          65,000.-

จ่ายค่าพัดลมเพดาน (ห้องสมุด)    1,400.-                 5,100.-             บาท       

ยอดเงินคงเหลือในบัญชี                                         14,100.-             บาท

รวมยอดเงินคงเหลือ                                               19,200.-             บาท

ที่ประชุมฯ                            รับทราบ

 

ระเบียบวาระที่ 5                 การประชุมสัญจร

ประธานฯ                           ตามที่ ผนส.2 ได้มีการประชุมสัญจร  ครั้งที่ 1   ไปแล้วที่จังหวัดเชียงราย    ดังนั้น ควรให้มีการประชุมสัญจรครั้งที่ 2  ต่อไปอีก    ซึ่งจุดประสงค์หลักของการประชุมก็เพื่อให้ ผนส.2  ได้มีการศึกษาดูงานสหกรณ์ในพื้นที่      ตลอดจนทำกิจกรรมให้กับชุมชนไปด้วย   จึงขอที่ประชุมร่วมกันพิจารณา

ที่ประชุมฯ                  ได้ร่วมกันพิจารณาแล้ว   และมีมติให้ ผนส.2 มีการประชุมสัญจรครั้งที่ 2  ไปจังหวัดกาญจนบุรี    เพื่อส่งกิจกรรมต่าง ๆ และจะได้มีการวางแผนเพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป

 

ระเบียบวาระที่ 6                 เรื่องอื่น ๆ

ประธานฯ                           ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2552    เป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสันนิบาตสหกรณ์  ในการนี้  สันนิบาตสหกรณ์จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ

ที่ประชุมฯ                            มีมติให้คุณประวัติ  หาดปิ่นขจรจารุ    เป็นผู้ลงสมัครรับการเลือกรับเลือกตั้งเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ

 

เลิกประชุมเวลา   12.30  น.                                                                   .................................................

                                                                                                                           ( ไพรพนา    ฉ่ำเย็นอุรา )

                                                                                                                                ผู้จดบันทึกการประชุม

เพิ่งนึกได้

สวัสดีครับ พี่ ๆ นักเรียนทุน (ทุนของสหกรณ์ฯ)

พีน้อง (คุณปานิสรา) เรียกพี่ ดร. มนตรี ว่าพี่

ก็พี่ ดร. วีระ บอกว่า การเรียกพี่เป็นการให้เกียรติกัน เกือบลืมบอกพี่ ดร. ไพเลิศ

ว่า ผมได้เก็บป้ายชื่อ ผนส. 4 ไว้ให้พี่แล้ว จะเอาไปให้วันที่เจอกันนะครับ

คิดถึงพี่่ ๆ นักเรียนทุนทุกท่านครับ

ข้าวเก่า ปลาเค็ม

เมื่อก่อนข้ามถนนเดินจุงมือ ข้าวของเงี๊ยช่วยถือกลัวเราล้ม

เดี๋ยวนี้ยกมือขึ้นพนม โอม...เพี้ยง..ให้มันล้มรถเหยียบคอ

เรียน พี่ ๆ เลขา ผนส. รุ่น 4

อย่าลืมเตรียมของที่ระลึกให้กับ อาจารย์ที่จะมาสอนพวกเราด้วยนะครับ

วันที่ 30 ต.ค 52

เช้า

การวางแผนและการบริหารงานงบประมาณของผู้บริหารสหกรณ์ โดย อาจารย์สมชาย สิริรุ่งกิจ

บ่าย

การวางแผนชิงกลยุทธ์ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Dinner Talk) โดย ศ.ดร.จิระ หงลดารมภ์ ,อาจารย์กฤษณ์ สินอุดม

วันที่ 31 ต.ค 52

เช้า

การใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อการบริหาร โดย อาจารย์สมชาย สิริรุ่งกิจ

บ่าย

การบริหารการเงินและความเสี่ยงกับการทำงานสหกรณ์ โดย ดร.กุศยา ลีฬาหวงศ์

วันเวลา...มีค่า...มหาศาล

อย่าให้ผ่าน...เราไปโดย...ไร้ความหวัง

รีบทำงาน...ในหน้าที่...เต็มกำลัง

เสริมพลัง...ให้สมบูรณ์...ทั้งใจกาย

ผู้ประสบ...ความสำเร็จ...ในชีวิต

ย่อมหมั่นคิด...ใช้เวลา...ตามเป้าหมาย

ไม่ปล่อยให้...เวลาว่าง...น่าเสียดาย

เพราะเรียกคืน...มาไม่ได้...ตลอดกาล...

เรามักจะพบไม้งาม เมื่อยามขวานบิ่นเสมอ......เฮ้อ????

แจ้งกำหนดการเรียนครั้งที่ 5 ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่นที่ 4

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 52

08.30 - 09.00 น. Morning C0ffee

09.00 - 12.00 น. การวางแผนและการบริหารงบประมาณของผู้บริหารสหกรณ์ ( อ.สมชาย ศิริรุ่งกิจ )

13.00 - 16.00 น. หลักเศรษฐศสตร์มหาภาคกับงานสหกรณ์ ( ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ )

16.30 - 18.30 น. ความคิดสร้างสรรค์กับงานสหกรณ์ ( อ.กฤษณ์ สินอุดม )

19.00 - 20.00 น. รัปประทานอาหารเย็นร่วมกัน

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 52

08.30 - 09.00 น. Morning Coffee

09.00 - 12.00 น. การใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อการบริหาร ( อ.สมชาย ศิริรุ่งกิจ )

13.00 - 16.00 น. การสร้างทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ( รศ.ดร.มนตรี บุญเสนอ )

16.00 - 17.30 น. สรุปการฝึกอรม / มอบหมายงาน

หมายเหตุ วันที่ 30 ตุลาคม 52 นี้ ท่านอาจารย์ยม นาคสุข คณะกรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตร ท่านจะได้เข้ามาตรวจโครงการที่ผู้นำได้ส่งมาแล้วตอนช่วงเช้า ผู้นำขั้นสูงท่านใดท่ยังไม่ได้ส่งโครงการอย่าลืมนะครับเตรียมโครงการที่จะนำเสนอมาด้วย เพราะเวลาที่พวกเราจะได้แลกเปลี่ยนกับวิทยากรมาถึงแล้ว อย่าลืมตอนเช้าๆ พวกเรามีอะไรดีๆ ก็มาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ ขอส่งกำลังใจและความรู้สึกที่ดีๆ ให้กับผู้นำทุกๆท่าน ครับ

คลังแห่งความสุขของมวลมนุษย์คือการให้

ความเมตตากรุณาของคนคนหนึ่งสามารถทำให้คนจำนวนมากมีจิตใจที่งดงาม

ดังนั้น การให้จึงสร้างสุขแก่ตนเองและผู้อื่น

สวัสดีค่ะ เพื่อน ๆ ผนส.4 ทุกท่าน

วันที่ 30 ตุลาคม 2552 หลังจากเรียนและDinner talk เสร็จแล้ว เราจะร่วมรับประทานอาหารมื้อค่ำและสังสรรค์กัน โดยจะมีคาราโอเกะให้ด้วยขอให้นักร้องประจำรุ่นและนักเต้นเท้าไฟ(โดยเฉพาะพี่...ดร.ไพเลิศเต้นที่ปราจีนได้ประทับใจมาก)ทุกท่านเตรียมตัวมาเต็มที่ได้เลย ส่วนเครื่องดื่มน้องจะจัดการให้เรียบร้อย ทั้งดนตรีและเครื่องดื่มใช้งบที่พี่ ๆ ร่วมด้วยช่วยกันสมทบทุนไว้ หวังว่าเพื่อน ๆ คงอยู่ร่วมสังสรรค์กันหมดทุกคนนะ และขอเชิญพี่ ๆ ผนส.1-3 มาร่วมสังสรรค์กันด้วยนะคะ แล้วเจอกันค่ะ

(น้อง) ปาณิสรา ชาวจีน

กราบเรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพทุกท่าน

สวัสดี เพื่อน ๆ ผนส. ที่รักและคิดถึงทุกท่าน ทั้งรุ่น 1, 2, 3, และ 4

สวัสดี ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โครงการ ที่เอื้ออารีทุกท่าน

ขอบคุณพี่ พ.ต.อ. มณฑล เงินวัฒนะ ที่ส่ง Mail สิ่งดี ๆ ให้อ่านมาโดยตลอดครับ

ขอบคุณน้องปาณิสรา ชาวจีน (แต่ใจเป็นคนไทย) สำหรับความช่วยเหลือที่มีมาตลอด และขอบคุณล่วงหน้าสำหรับ Sheet ที่จะช่วยเก็บไว้ให้

คิดถึงเพื่อน ๆ ทุกคน ตอนนี้เพื่อน ๆ เขียนโครงการไปถึงไหนแล้วครับ ผมยังไม่ได้เริ่มลงมือเลย เพราะช่วงนี้งานยุ่งมาก ทั้งงานหลวงและงานราษฎร์ แม้แต่ Blog ก็ยังไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาเยี่ยมเยียนเลย แต่ก็น่าภูมิใจว่าตอนนี้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมใกล้หลัก 2 พัน แล้วครับ

มนตรี ช่วยชู

ผนส.4 เบอร์ 40

ต้องขออภัยท่านผนส.ที่ไม่ได้เข้า BLOG สื่อสารกับทุกท่านเพราะต้องปฎิบัติงานต่างจังหวัด (กฝอ.พัฒนาบุคลากร 4 ภูมิภาค)

ได้มีโอกาสไปจัดการฝึกอบรมที่พิษณุโลกได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักสหกรณ์หลายท่าน /วิทยากร /ผู้จัดการ

จึงทราบว่า สหกรณ์ภาคการเกษตร มีปัญหาเกี่ยวกับปุ๋ยปลอม เช่น สหกรณ์การเกษตรบางกระทุ่ม สหกรณ์การเกษตรวังทองสหกรณ์การเกษตรบางระกำ

เรื่องราวดังกล่าว สถาบันพิทยาลงกรณและวิชาการ (สพว.) ได้ส่งเอกสาร /ข้อมูลเบื้องต้นให้ นิติกรดำเนินการเพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไปแล้วครับ

ในนามของ ผนส. รุ่น 2 ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวเกษตรเกษมต่อการจากไปของ ท่านอาจารย์สิทธิชัย  เกษตรเกษม

 

สรุปการบรรยายเรื่อง การบริหารอารมณ์ โดย ผศ.ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2552

  • IQ ความเก่ง
  • EQ ความสุข
  • AQ ความสำเร็จ
  • MQ ความดี
  • HQ ความแข็งแรง
  • SQ อัจฉริยภาพสูงสุด
  • EQ (Emotional Quotient) คือ ความสามารถในการบริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถจูงใจตนเองและผู้อื่นได้ มีความเห็นและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ตลอดจนสื่อสารสร้างมิตรกับผู้อื่นได้อย่างดี ต้องอาศัยทักษะและการฝึกฝน
  • จากวิจัย CEO 200 คน ให้ CEO 1 คน ประเมินลูกน้อง 10 คน โดยให้พูดถึงข้อดีและเสียของลูกน้องอย่างละ 10 ข้อ แล้วทีมวิจัยก็ไปถามลูกน้องว่า หัวหน้าพูดถึงพวกเขาอย่างไร แต่ลูกน้องจำข้อไม่ดีมากกว่าข้อดี แสดงว่ามี Brain bias สมองจำแต่สิ่งที่ไม่ดี
  • ในการบริหารอารมณ์ ต้องรู้สาเหตุนั่นคืออดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต (จัดการกับอารมณ์)
  • ในการบริหารอารมณ์ ต้องนำใจเขามาใส่ใจเรา อย่าหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง คิดก่อนพูดแต่ไม่พูดทุกคำที่คิด
  • IQ อยู่สมองซีกซ้ายบน EQ อยู่สมองซีกขวาล่าง
  • ความเป็นตัวตนของคน ประกอบด้วยตัวตนในอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่เราคิดว่าเราเป็น (Perceived Self) ตัวตนที่แท้จริง (Real Self) บางทีมันก็ซ้อนกัน เพราะบางทีเราก็ได้เป็นในสิ่งที่เราอยากเป็นแล้ว
  • วงจร EQ เริ่มจากเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือทำดี เกิดความปิติ กระทบต่อต่อมพิทูอิตารีให้หลั่งสารเอ็นโดรฟิน (สารความสุข) ทำให้ร่างกายแข็งแรง อายุยืนเพื่อไปทำความดีต่อ
  • คนที่ไร้อารมณ์ เวลาทำผิดจะไม่รู้ตัว แล้วจะทำอีก
  • คนที่สามารถจูงใจตนเองได้ สามารถล้มแล้วลุกได้ เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ ทำดีเพราะอยากทำดีด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น
  • ผู้นำต้องมี 4L คือ อยากมีชีวิตอยู่ (Live) เรียนรู้ตลอดเวลา (Learn) มีความรักและปรารถนาดีต่อกัน (Love) และต้องสร้างตำนานให้กับชีวิตให้คนกล่าวถึงในทางที่ดี อยู่ที่ไหนก็ต้องสร้างสิ่งดีๆให้กับชุมชน (Legacy)
  • คนที่สามารถจูงใจตนเองได้ ต้องมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีเป้าหมาย รู้จักตรวจสอบตัวเอง ชอบทำงานกับคนเก่งทำให้มีประสบการณ์ ชอบเสี่ยงปานกลาง
  • คนที่สามารถจูงใจตนเองได้ รู้จักการรอคอย (อดเปรี้ยวไว้กินหวาน)
  • คนที่สามารถจูงใจตนเองได้ ไม่เสียดายเงินทอง ไม่ตระหนี่
  • คนที่สามารถจูงใจตนเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ติดอยู่ในกรอบ นำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในทางที่ดี
  • คนที่สามารถจูงใจตนเองได้ มองโลกในแง่ดี
  • คำพูดที่เสริมสร้าง EQ ได้แก่ เรา ขอบคุณ ฉันผิดเอง คุณทำได้แน่ ให้ฉันช่วยคุณไหม
  • พ่อแม่มีลูกมี EQ ลูกจะเลี้ยงดูพ่อแม่ในยามแก่
  • ศัตรู EQ คือ I (ตัวฉัน) TV (ทำให้ขาดจินตนาการ), VDO, Blue (ความเศร้า), Anger (ความโกรธเป็นอันตราย)

สรุปการบรรยายเรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์มหภาคกับงานสหกรณ์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2552

  • อยากให้ติดตามข่าวสาร ควรเปิดเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังและคณะเศรษฐศาสตร์ แล้วดูตัวเลขข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์เพราะผู้นำสหกรณ์ต้องมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์
  • ถ้าระบบภาษีดีกว่านี้ ประเทศก็จะร่ำรวยกว่านี้
  • สหกรณ์ต้องเดินตามเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • ในการจัดสัมมนาสาธารณะ ควรเน้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • เศรษฐกิจในโลกซื้อขายเงิน น้ำมัน และทองคำ
  • เศรษฐศาสตร์มหภาคขณะนี้มี 3 แนวคือ
  • Keynesian คือ เอกชนไม่มีการลงทุน รัฐบาลใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้คนตกงานน้อยลง
  • Neoclassical ใช้ตลาดเป็นตัวนำ หรือใช้นโยบายการเงิน ดอกเบี้ยสูง คนฝากเงินมาก ถ้าตลาดทำงานก็ไม่ต้องแทรกแซง
  • Innovation Macro เศรษฐศาสตร์เชิงนวัตกรรม ใช้ปัญญา ความรู้ในการแก้ปัญหา
  • เศรษฐกิจพอเพียงก็ใช้แก้ปัญหาได้ โดยมีความพอประมาณ
  • GDP = C+I+G+X-M
  • C คือ การบริโภคในประเทศไทยไม่ดี
  • I คือ การลงทุน ไทยมีการลงทุนจากต่างประเทศน้อยมากตอนนี้
  • G คือ การลงทุนและใช้จ่ายของรัฐบาล ไทยดีอยู่ ทำให้ไทยยังอยู่รอด
  • X คือ การส่งออก
  • M คือ การนำเข้า การส่งออกยังน้อยกว่านำเข้า
  • ไทยควรพึ่งพาการบริโภคในประเทศและการลงทุนและใช้จ่ายของรัฐบาลมากขึ้น
  • การเปรียบเทียบเศรษฐกิจแต่ละประเทศต้องเปรียบเทียบค่าครองชีพด้วย
  • ต้องส่งออกสินค้าเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆควรส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น อย่าส่งออกรถยนต์หรือสินค้าอิเล็คทรอนิกส์มากขึ้นเพราะต้องนำเข้าวัตถุดิบ
  • ภาคเกษตรของไทยจ้างงานมากแต่ผลตอบแทนต่อ GDP น้อยแสดงว่าประสิทธิภาพของคนในภาคเกษตรยังไม่ดี
  • ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจเปิด พึ่งการส่งออกถึง 70% ควรส่งออกไปยังอาเซียน ลาตินอเมริกาและแอฟริกา
  • ความสามารถในการแข่งขันของไทยขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายการเงินการคลัง การเมืองไม่แน่นอน ทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาและนวัตกรรม
  • ผู้นำสหกรณ์ต้องศึกษาอัตราการแลกเปลี่ยน อัตราการแลกเปลี่ยนในไทยขึ้นกับเงินสำรองในประเทศ การไหลเข้าออกของดอลล่าร์ สถานการณ์เศรษฐกิจ
  • สหกรณ์ควรฉกฉวยโอกาสดูแลการออมให้เป็นวาระแห่งชาติ ตอนนี้ประเทศไทยยังมีการออมต่ำ ควรสร้างวินัยการออม
  • วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว กู้เงินเป็นดอลล่าร์ ซึ่งตอนนั้นดอกเบี้ยถูก ตอนจ่ายคืน บาทอ่อน จึงมีปัญหา
  • วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551 เกิดจากความโลภของอเมริกา ราคาทรัพย์สินตกลง มีหนี้สินมาก ทำให้ธนาคารล้ม
  • ไทยตอนนี้บ้าคลั่งทางนโยบายการคลัง
  • สหกรณ์ต้องการคนรู้ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
  • หนี้สาธารณะไม่ควรเกิน 60% ของ GDP ประเทศ แต่ไทยตอนนี้มีการกู้มาก
  • มีโอกาสมหาศาลจากโลกาภิวัตน์ แต่สหกรณ์ยังฉกฉวยไม่ได้
  • สหกรณ์ควรรวมตัวกันเพื่อให้แข่งขันกับโลกได้

Workshop

1.     เศรษฐศาสตร์มหภาคกับสหกรณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

2.     จะทำวิจัยเรื่องอะไร

 

1.     เศรษฐศาสตร์มหภาคกับสหกรณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

  • สหกรณ์การเกษตรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ส่งออกสินค้า เพิ่ม GDP ประเทศ
  • จะบริโภคสินค้าเกษตรในประเทศ

2.     จะทำวิจัยเรื่องอะไร

  • พฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรของคนไทย
  • การพัฒนาคนในภาคการเกษตร

 

  • สินค้าเกษตรมีมูลค่าต่อประเทศสูงขึ้น ส่งออกไป เราได้รายได้หมดเลย
  • ควรใช้หัวข้อนี้เป็นสัมมนาสาธารณะ
  • ควรไปเอ็มโพเรี่ยมดูสินค้าเกษตร คนขายเขาอยากซื้อตรงจากสหกรณ์แต่ยังไม่มีคนไปติดต่อขาย สหกรณ์ต้องดูแลคุณภาพให้ดี
  • หัวข้อวิจัยดี ควรวิจัยร่วมกับรัฐบาลทำไมการจ้างงานภาคเกษตรสูง

 

1.     เศรษฐศาสตร์มหภาคกับสหกรณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

 

  • เศรษฐศาสตร์มหภาคเกี่ยวกับสหกรณ์ออมทรัพย์เชิงบวก เพราะเราสามารถไปพึ่งพาการเงินจากสถาบันการเงิน

2.     จะทำวิจัยเรื่องอะไร

วิจัยสถาบันการเงินกระทบต่อสหกรณ์อย่างไร

 

  • สหกรณ์ออมทรัพย์ก็ช่วยวิกฤติเศรษฐกิจด้วย

1.     เศรษฐศาสตร์มหภาคกับสหกรณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

  • มีความสัมพันธ์ด้านการส่งออก

2.     จะทำวิจัยเรื่องอะไร

  • วิจัยเรื่องการส่งออกสหกรณ์การเกษตร

 

1.     เศรษฐศาสตร์มหภาคกับสหกรณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

  • สหกรณ์เหมือนประเทศต้องดูปัจจัยองค์ประกอบ GDP
  • ร้านค้าสหกรณ์ต้องส่งเสริมให้สมาชิกบริโภคของเราเอง
  • สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าลงทุนพันธบัตรมาก ได้กำไรจากพันธบัตร 40 ล้านบาท รณรงค์ให้สหกรณ์เล็กมาฝากกับเรา และให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ส่งเสริมการลงทุนสหกรณ์เล็ก และพยายามสร้างมูลค่าและกำไรให้สูง
  • ส่งเสริมให้สมาชิกลงทุนมากขึ้นเพื่อส่งออก มีผลประกอบการสูงขึ้น

2.     จะทำวิจัยเรื่องอะไร

  • วิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสหกรณ์ เช่น เอทีเอ็มให้สมาชิกฝากถอนได้สะดวก
  • วิจัยพฤติกรรมสมาชิกเพื่อส่งเสริมให้คนทันโลก มีความรู้ความสามารถ

 

  • ควรวิจัยการใช้เอทีเอ็มร่วมกันของสหกรณ์การเกษตร

 

1.     เศรษฐศาสตร์มหภาคกับสหกรณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

  • นโยบายรัฐบาลในการประกันรายได้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม สหกรณ์มีโอกาสแข่งขันมากขึ้น

2.     จะทำวิจัยเรื่องอะไร

  • การเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสหกรณ์
  • ปัญหาการเพาะปลูกของเกษตรกร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท