ย่อสาระสำคัญ บทที่ 7 เรื่องการสร้างความสุข


เรื่อง การสร้างความสุข

สาระสำคัญของชีวิต

     คำว่าชีวิต หมายถึง ความเป็นอยู่การดำรงอยู่หรือการที่เราสามารถรักษาสภาพความเป็นอยู่ให้ดำรงอยู่ได้ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้น

     ชีวิต หมายถึง ความเป็นไป การดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความสด ตรงกันข้ามกับคำว่า หยุด นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว เหี่ยว แห้งตาย โดยสรุปแล้วชีวิตก็คือ ความเป็นสิ่งมีชีวิต คือ พืช สัตว์ และคน ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงชีวิตจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นอยู่ การดำรงอยู่และการรักษาสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต 3 ชีวิต คือ ทั้งพืช สัตว์ และคนไปด้วยกัน เพราะทุกๆชีวิตที่อาศัยอยู่ในโลกนี้ล้วนแต่มิได้ดำรงอยู่อย่างโดเดี่ยว หากแต่มีสายใยของชีวิตที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันอยู่ทั้งหมดขององค์รวม

      นอกจากชีวิตจะเชื่อมโยงกับชีวิตด้วยกันแล้ว ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ก็ยังมีการดำเนินชีวิตที่จะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ทะเล ท้องฟ้า กรวด หิน ดิน ทราย และสรรพสิ่งรอบๆ ตัวที่เรียกกันว่า สภาพแวดล้อม สรรพสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็เช่นเดียวกันทุกๆส่วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยกันเป็นระบบจักรวาลและเอกภพ ทุกๆสิ่งไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต่างก็มีความสำคํญเหมือน ๆ กัน

      ดังนั้น  ต้นไม้จึงมีความสำคัญเท่ากับก้อนกรวด คนก็มีความสำคัญไม่แตกต่างไปจาก มด ปลวก และสรรพสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ในฐานะที่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบ

     การพัฒนาความสุขในชีวิตและในสังคมของมนุษย์

      แต่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายต่างก็ปรารถนาความสุขและไม่ต้องการความทุกข์ จึงต้องเข้าใจในเรื่องของความสุขและความทุกข์อย่างชัดเจน เพื่อจะได้กำหนดวิธีการเสริมสร้างความสุขให้กับชีวิตอย่างถูกต้อง

      ความทุกข์

      ความทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากสภาวะที่มีการบีบคั้น สภาพแห่งความขัดแย้งข้อบกพร่องต่าง ๆ ความทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วแตกดับสลายไป ซึ่งเปนสภาพปกติธรรมดาที่ผูมีสติปัญญาสามารถกำหนดรู้ได้ทำความเข้าใจได้

ในทางจิตวิทยาได้กล่าวถึงต้นเหตุของความทุกข์ไว้ 3 ประการดังนี้

      1.ความคับข้องใจ

       ความคับข้องใจหรือความอึดอัดขัดข้อง เกิดจากบุคคลไม่สามารถจะตอบสนองต่อความอยากหรือความต้องการที่เกิดขึ้นจากจิตใจได้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือความทุกข์ใจ

      2. ความขัดแย้ง

      ภายในจิตใจของมนุษย์ทุกคนมีภาวะของสงครามซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการทำสงครามกันระหว่างเหตุผลหรือความถูกต้องที่เกิดจากสัญชาตญาณฝ่ายสูงฝ่ายหนึ่งเกิดกิเลศหรือความต้องการที่เกิด

      3. ความเครียด

      ความเครียดเป็นลักษณะความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้รับความบีบคั้นทั้งทางกายภาพ ทางสังคม ทางจิตใจ และแม้กระทั่งทางด้านสติปัญญา

      ความบีบคั้นทางด้านกายภาพ ได้แก่ งานประจำ ภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ความเจ็บป่วย ความไม่ปลอดภัยในชีวิต ปัญหาทางด้านครอบครัว

      ความบีบคั้นทางสังคม หมายถึง ความทุกข์ที่เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับครอบครัว ระดับชุมชน ในองค์การที่บุคคลทำงานอยู่

      ความบีบคั้นทางด้านจิตใจ เกิดจากกิเลศและตัณหาที่มีอยู่ในจิตใจของบุคล กิเลศตัณหที่มีอยู่จะเริ่มต้นด้วยการบีบคั้นตนเองก่อนแล้วจะนำสู่การบีบคั้นผู้อื่น และสามารถนำไปสู่เหตุการต่าง ๆ ที่ร้ายแรงอีกด้วย

       สำหรับความบีบคั้นทางสติปัญญาเป็นเรื่องของการรับรู้ การคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องตรงกับสภาพความเป็นจริงทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดขดข้องไม่เป็นอิสระ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งแก่ตนเองและบุคคลรอบข้าง

       ทั้งความคับข้องใจ ความขัดแย้ง และความเครียดเป็นต้นเหตุของความทุกข์ความเดือดร้อนส่วนบุคคล และขยายขอบข่ายเป็นความทุกข์ที่สืบเนื่องไปยังสังคม และสภาพแวดล้อมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    

 

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 295493เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาแสดงความคิดเห็นหนูบ้างนะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท