สรุปบทที่ 5


การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์

สรุปบทที่ 5

การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์

1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
     1.1 ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
          มนุษย์   หมายถึง สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง คน
          สัมพันธ์ หมายถึง ผูกพันธ์ เกี่ยวข้อง
          มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน   
          มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจคนอย่างมีประสิทธิภาพที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลปในการสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพ นับถือ ครองใจคน โดยแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสม ทั้งกาย วาจา และใจ เป็นกังเอง ร่วมมือ ร่วมใจที่จะบรรลุสิ่งที่พึงประสงค์อย่างราบรื่น และ อยู่ในสังคงอย่างมีความสุข
     1.2 ขอบข่ายของมนุษย์สัมพันธ์
           1.2.1 มนุษย์สัมพันธ์มีขอบข่ายที่กว้างขวางดังนี้
                   - ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ การยอมรับตนเองและผู้อื่น
                   - ศึกษาเกี่ยวกับการจูงใจตนเองและผู้อื่น เพื่อกระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
                   - ศึกษาเกี่ยวปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน
     1.3 ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
           1.3.1 มนุษยสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลมากกว่าเครื่องจักรกล
           1.3.2 มนุษยสัมพันมีส่วนช่วยจูงใจบุคคลเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น
           1.3.3 มนุษยสัมพันธ์เป็นพื้นฐานของการทำงานร่วมกันเป็นทีม
     1.4 ปรัชญาของมนุษยสัมพันธ์
          1.4.1 มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าความเป็นคนเท่าเทียมกัน
          1.4.2 มนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด
          1.4.3 การไม่เบียดเบียนกันของมนุษย์ ทำให้สังคมสงบสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
     1.5 จุดมุ่งหมายของการสร้างมนุษยสัมพันธ์
          1.5.1 เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษย์
          1.5.2 เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เชื่อถือ ไว้วางใจ เข้าใจดีต่อกัน
          1.5.3 เพื่อส่งเสริมและดำรง ไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
          1.5.4 เพื่อให้งานได้สำเร็จลุล่วงและบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน
          1.5.5 เพื่อให้เกิดความรักใคร่ สามัคคีกลมเกลียว อันจะเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันการขัดแย้ง
          1.5.6 เพื่อก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในการทำงาน
          1.5.7 เพื่อนำความหวัง ความตั้งใจของชีวิต ไปสู่ความสำเร็จและความรุ่งโรจน์
          1.5.8 เพื่อให้คนที่เราติดต่อด้วยอยู่ด้วย หรือทำงานด้วย รัก นิยม นับถือ และเคารพมากที่สุด
          1.5.9 เพื่อให้คนที่เราติดด้วย ให้ความร่วมมือในสิ่งที่เราประสงค์ให้มากที่สุด
         1.5.10 เพื่อให้ตัวเราเกิดความรัก นิยม นับถือ เคารพกับคนที่เราติดต่ออยู่ด้วย หรือทำงานอยู่ด้วยอย่างจริงใจและบริสุทธ์ใจ
     1.6 ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์
         1.6.1 ทำให้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านของความต้องการ การจูงใจ ตลอดจนบุคคลิกภาพ
         1.6.2 ทำให้เราตระหนัก รับรู้ และเข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น
         1.6.3 ทำให้เราเข้าใจบุคคลอื่นมากยิ่งขึ้น รู้จักการใช้เทคนิค ทำให้เกิดความราบรื่น
         1.6.4 ทำให้เราสามารถปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับผู้อื่น รู้จักการใช้ทักษะในการอยู่ร่วมกัน
         1.6.5 ทำให้การทำงาน ทั้งส่วนตนและกลุ่มประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

มนุษยสัมพันธ์ในส่วนที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันในสังคมมีดังนี้ คือ
            1. สัมพันธ์กันโดยรวมกลุ่ม
            2. ให้มีความสำเร็จ
            3. ให้มีความมั่งคง
            4. ให้มีความสามัคคี
  1.7 องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์
         1.7.1 การเข้าใจตนเอง เป็นการรู้จักตนอย่างถ่องแท้ว่าตนเป็นใคร มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ เพียงใด
         1.7.2  การเข้าใจผู้อื่น  เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของคน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ว่ามีความรู้ ความสามารถทักษะ และประสบการณ์ในด้านใดอยู่ในระดับใด ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งใด
         1.7.3 การเข้าใจสิ่งแวดล้อม  เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งต่าง ๆที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราและบุคคลอื่น สิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุและเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมแตกต่างกันได้ สิ่งแว้ดล้อมมีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ และสร้างนิสัยของมนุษย์

ประเภทหรือรูปแบบของความสัมพันธ์โดยทั่วไปมี 6 ลักษณะ
   1. การสมานลักษณ์(Accommodation)  เป็นกระบวนการที่บุคคลมาประนีประนอมปรับตัวเข้าหากันหลังจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มดำเนินไปถึงจุดหนึ่ง
   2.การกลืนกลาย(Assimilation)  เป็นกระบวนการที่ผสมกลมกลืนของบุคคล ความทรงจำ ความรู้ ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม มีลัษณะที่แสดงถึงเอกลัษณ์ของกลุ่มรวมกัน
   3. การร่วมมือ(Cooperation)  
   4. การเห็นพ้องต้องกัน(Consensus) เป็นกระบวนการที่คล้ายกับการให้ความร่วมมือ หมายถึง การตกลงเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ 
   5. การแข่งขัน(Competition) การแข่งขัน หมายถึง การที่บุคคลสองฝ่ายหรือมากกว่าดิ้นรนสู่เป้าหมายเดียวกัน
   6. ความขัดแย้ง(Conflict) ความขัดแย้งเป็นสภาพการณ์ที่บุคคล 2 ฝ่ายมีความคิดเห็น หรือความเชื่อไม่ตรงกัน

2. ความเป็นมา แนวคิด หลักการ และทฤษฎีเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์
     2.1 ความเป็นมา เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะความเป็นมาจะช่วยชี้ให้เห็นการพัฒนาการในวิชานี้และทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญมากในการบริหารงาน เนื่องจากการบริหารงานมีความสำคัญ สลับซับซ้อน ละเอียดอ่อน เพราะจะต้องพบกับพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์
     2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์
          2.2.1 ทฤษฎีการจูงใจ  การจูงใจ คือ เงื่อนไขหรือสภาวะการในอินทรีย์ ที่กระตุ้นให้อินทรีย์เกิดพฤติกรรมหรือทำให้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์
          2.2.2 ทฤษฎีความต้องการของมนุษย มีอยู่ 5 ลำดับ
                  1. ความต้องการด้านร่างกาย
                  2. ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง
                  3. ความต้องการทางด้านสังคม
                  4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและได้รับการยกย่องนับถือ
                  5. ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด
        2.2.3 ทฤษฎีสององค์ประกอบของเฮิร์ซเบิร์ก
               1. องค์ประกอบภายนอก
                   - ค่าจ้างหรือเงินเดือน
                   - เงื่อนไขในการทำงาน
                   - ความมั่นคงในงาน
                   - สถานภาพทางสังคม
               2. องค์ประกอบภายใน
                   - การได้รับการยอมรับ
                   - ความก้าวหน้า
                   - ความรับผิดชอบ
                   - สัมฤทธิผลของงาน
        2.2.4 SRET Law เป็นหลักการสำหรับการสร้างสัมพันธภาพระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา 
        2.2.5 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ
        2.2.6 กฎทองคำขาว ตรงข้ามกับทองคำ ได้รับการยอมรับในปี 1927 และได้รับการสนับสนุนจากผลการวิจัยของนักวิตวิทยา คือ คาร์ จุง
        2.2.7 ทฤษฎีความสมดุลของไฮเดอร์ การเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
        2.2.8 ทฤษฎีลิง 3 ตัว
                 ตัวที่ 1 ปิดหู หมายถึง การควบคุมการฟัง การได้ยิน
                 ตัวที่ 2 ปิดตา หมายถึง การควบคุมการดู การเห็น
                 ตัวที่ 3 ปิดปาก หมายถึง การควบคุมการพูดและการแสดงออก
        2.2.9 ทฤษฎี X ทฤษฎี Y
                 ทฤษฎี X สรุปว่า
                   1. คนส่วนมากไม่ชอบทำงานเกียจคร้าน
                   2. คนส่วนมากไม่มีความทะเยอทะยาน ไม่ชอบการรับผิดชอบ
                   3. คนส่วนมากมีขีดความสามารถในด้านการสร้างสรรค์น้อยเกี่ยวกับการแก้ปัญหา

                 ทฤษฎี Y สรุปว่า
                   1. การกระทำของมนุษย์ มิใช่ผลของการบังคับ แต่เป็นการกระทำที่เกิดจากความเต็มใจ
                   2. ทุกคนมีความรับผิดชอบ รู้จักการควบคุมตนเอง
                   3. ทุกคนมีความรู้สึกอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ขององค์การ
        2.2.10 หลักธรรมของพระพุทธเจ้า
                   พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
                    -  เมตตา คือ ความมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน
                    -  กรุณา คือ ความเอ็นดู สงสาร
                    -  มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดี
                    -  อุเบกขา คือ การวางใจเป็นกลางปราศจากความลำเอียง
        2.2.11 แนวปฏิบัติทั่วไปในการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
                   1. พูดกับคนอื่น ทักทายและพูดกับผู้อื่น
                   2. ยิ้มกับผู้อื่น
                   3. มีความจริงใจ
                   4. เต็มใจรับฟังผู้อื่นสนทนาอย่างไม่เบื่อ
                   5. มองผู้อื่นในแง่ดี
                   6. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3. ยุทธวิธีเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์

        3.1 การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
        3.2 การวิเคราะห์การสื่อสารระหว่างบุคคล
        3.3 การสร้างความพึงพอใจในงาน
        3.4 การที่นำถ้อยคำที่ผู้อื่นชื่นชมมาใช้
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว

        1. การสร้างความสัมพันธ์กับบุตร
        2. การสร้างความสัมพันธ์กับบิดามารดา
        3. การสร้างความสัมพันธ์กับภรรยา
        4. การสร้างความสัมพันธ์กับสามี
        5. การสร้างความสัมพันธ์กับคนรับใช้
        6. การสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าของบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลในองค์กร

        1. การสร้างความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
        2. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
        3. การสร้างความสัมพันธ์กับครู อาจารย์
        4. การสร้างความสัมพันธ์นักเรียน นักศึกษา
        5. การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการ
        6. การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ
        7. การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีบุคลิกภาพด้านลบ
            

หมายเลขบันทึก: 295353เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2009 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท