การจัดการความรู้ในสถานศึกษา:70


"ต้องหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค(นักเรียน)ก่อนเป็นสำคัญ"

ไฉน??ผู้เรียนจึงสำคัญ

       เมื่อวาน(4 กันยายน) ไปร่วมประชุมในนามของคณะอนุกรรมการวิชาการกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษา จันทบุรีและตราด ณ ศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา จันทบุรีและตราด อาคารเอนกประสงค์ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ ร.9 อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

       มีคณะอนุกรรมการวิชาการกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษา จันทบุรีและตราด เข้าร่วมประชุมปรึกษา หารือกันถึงแนวทางการพัฒนางานวิชาการ และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษา จันทบุรีและตราด

      โดยวางแผนการจัดทำโครงการพัฒนาระบบคลังข้อสอบสู่ห้องเรียนคุณภาพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จันทบุรีและตราด

       สังเกตด้วยความเข้าใจว่าทุกคนในการพูดคุยกันถึงพัฒนางานวิชาการแล้ว เห็นถึงความตั้งใจของผู้บริหารและคุณครูทุกท่านว่ามีความตั้งใจสูง  ที่จะมีความพยายามยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอย่างมาก

       ตอนนี้หลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้รับการจัดสรรงบประมาณลงมามากจนทำงานแทบไม่ทัน หลายๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้ก็ตั้งป้อมจะทำคลังข้อสอบแบบออนไลน์และไม่ออนไลน์

ทำไมต้องทำคลังข้อสอบ

บ้างก็ว่า....

มีจำเป็นต้องหาข้อสอบมาให้นักเรียนฝึกทำเยอะ ๆ คุ้นเคยกับแบบทดสอบ

ครูสามารถนำไปใช้ได้จริง?

แต่สุดท้ายที่รับรู้ คือ ด้วยกรอบระยะเวลาที่จำเป็นกับการเบิกใช้งบประมาณ ต้องทำอะไรที่เสร็จ เร็ว เบิกได้เร็ว มันก็เลยลงมาที่การทำคลังข้อสอบแทบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

เคยมีคนถาม

ทำไปแล้วครูไม่นำไปใช้จะทำอย่างไร ลงไปไม่ถึงนักเรียนอยู่ดี ครูก็ยังสอนแบบเดิมๆ วิธีการเดิมๆ

หรือบางครั้งครูบางคนเคยเปรยว่านักเรียนสมัยนี้ไม่ตั้งใจเรียนเลย ไม่รับรู้ใดใดทั้งสิ้น มึนลูกเดียว

ย้อนคิดกลับมาว่า

เราเคยเห็นแต่การประชุม ปรึกษาหารือกันแต่คณะผู้บริหาร คณะครูมาวางแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกัน

ทำไม..

ไม่เคยมีใครจัดเวทีของนักเรียนที่เป็นผู้รับผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสีย มาคุยกับบ้างเลยว่าพวกเขาจะทำอย่างไรให้เรียนดีขึ้น เกรดสูงขึ้น

ทำให้เค้าเกิดความตระหนัก ที่ไม่ใช่ตื่นตระหนก ถึงความสำคัญและความจำเป็นในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผมเลยมีความตั้งใจลึกๆ ว่าผมจะทำเวทีของเด็กเพื่อให้เขาลองคิดหาแนวทางในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของพวกเขาเองดูบ้างว่าเขาคิดอย่างไร แล้วครูจะช่วยเขาได้อย่างไร

เผื่อครูกับเด็กจะเข้าใจกันมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 294686เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2009 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะอ.บินหลาดง

อ่านแล้ว...ร้องว่า ดีจังเลยค่ะ

ชอบความคิดที่จะจัดให้เด็ก ๆ ได้มาประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แทนที่คุณครูหรือผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นฝ่ายคิด ๆ ๆ ๆ ซึ่งบางครั้ง ก็อาจไม่ตรงกับความต้องการของเด็ก ๆ

ตอนเรียนมัธยมปลาย คนไม่มีรากเคยรวมตัวกับเพื่อน ๆ เข้าไปหาอาจารย์เพื่อของดเรียนบางวิชา เพราะใกล้สอบเข้ามหาวิทยาลัย อาจารย์รับฟังโดยดีและเห็นด้วยกับเหตุผลของเรา ยอมให้เราใช้เวลาไปติวตามต้องการ .. แต่มีข้อแม้ว่า ต้องหาเวลาเรียนชดเชยจนครบในวิชานั้น ๆ  ซึ่งพวกเราก็พอใจ เพราะได้ทำตามที่ต้องการ อาจารย์ก็โอเค เป็นการแก้ปัญหาที่ win-win และทั้งรุ่นก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ทั้งหมดเลยค่ะ

ขอให้ความคิดของอาจารย์สัมฤทธิ์ผลนะคะ

(^___^)

สวัสดียามเช้าค่ะ ขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยมเยียนกัน

ทุกอย่างต้องมีการพัฒนานะคะ ขอแค่มีความตั้งใจว่าอยากพัฒนา แม้จะค่อยๆก้าวเดิน แต่สักวันก็คงถึงจุดหมายค่ะ

วันนี้บันทึกเรื่อง รัตนตรัยนกแก้ว เสี่ยงโดนตีเหมือนกันนะคะนี่

สวัสดีครับ

คนไม่มีรากP

เราควรจะลองฟังเสียงเรียกจากหัวใจของเด็กๆ ดูบ้างก็ดี ครับเผื่อว่ามันจะพัฒนาได้ตรงตามความต้องการของเด็กได้มากที่สุด

Pคุณณัฐรดา  ธรรมะของท่านบริสุทธิ์จริงๆ ลึกซึ้งมาก ขนาดครูสังคมอย่างผม ยังดูเป็นเด็กอนุบาลเลย เรื่องของพระพุทธศาสนา เป็นกำลังให้ครับ

ขอบคุณมากนะครับที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

มาชมและมาเชียร์ครับ

ไม่เคยมีใครจัดเวทีของนักเรียนที่เป็นผู้รับผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสีย มาคุยกับบ้างเลยว่าพวกเขาจะทำอย่างไรให้เรียนดีขึ้น เกรดสูงขึ้น

สวัสดีครับท่านรองฯวิชชาP

ท่านรองลองเป็นแม่งาน งานนี้ดูไหมครับ ทำคู่ขนานกันกับการสร้างสุขด้านของครอบครัว ผมสนับสนุนเต็มที่เลย

ขอบคุณท่านรองฯ ที่มาให้กำลังใจครับ

คุณบินหลาดงคะ

ต้องบอกว่าดิฉันโชคดีตรงที่ได้ลาออกจากงานค่ะ มาเป็นแม่บ้าน ได้ทำงานที่ทำอยู่กับบ้านได้ และความรับผิดชอบไม่มากนัก จึงมีเวลาศึกษาธรรมมากขึ้นค่ะ

ถ้าดิฉันยังมีความรับผิดชอบมากๆอย่างที่คุณบินหลาดง หรือแบบที่หลายๆท่านมีอยู่ ดิฉันคงไม่มีเวลาได้ศึกษาค่ะ

และได้ข้อสรุปแล้วค่ะ สมัยที่เรียน ม.ช.ศาสตราจารย์เกียรติคุณแสง จันทร์งาม ท่านก็สอนวิชาพุทธศาสนาอยู่ที่นั่น เป็นเพราะดิฉันไม่ขวนขวายเองค่ะ จึงไม่ได้ไปศึกษาหาความรู้จากท่าน พอถึงตอนนี้ ก็ดูจะหาเวลาไปลงทะเบียนเรียนไม่ได้เสียแล้ว

ขอบคุณมากนะคะที่แวะไปเยี่ยมเยียนกัน

Pอาจารย์คมสันครับ

   เป็นแนวคิดที่ดีครับ   ผมลองดูท่าทีก่อนนะครับ  แต่มีโอกาสเป็นไปได้เกินครึ่งครับ

           ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

คุณณัฐรดาP เรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง

ขอบคุณท่านรองฯP ล่วงหน้าครับ ที่จะช่วยสนับสนุนโครงการนี้ให้เป็นรูปธรรม

ความจริงแต่ละโรง แต่ละห้องเรียน น่าจะดำเนินการอย่างที่ว่าได้เลย..เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ

ดีค่ะ...แอนแวะเข้ามาเยี่ยมชมจ้า....

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคน แอนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการนำเด็กๆมาพูดคุยด้วยกัน แต่ผู้ที่น่าจะเข้ามาเปิดพื้นที่พูดคุยเรียนรู้ปัญหาตรงนี้น่าจะเป็นครู ไม่ว่าจะเป็นครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาก็ตาม การเปิดพื้นที่แล้วชวนเด็กๆ คิด ชวนเด็กๆคุย ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆ เขาได้ค้นหาเพื่อค้นพบทางแก้ไขด้วยตัวเขาเอง หรืออาจใช้กลุ่มช่วยแก้ไข (Self Help Group) ก็ท่าจะดี สิ่งนี้น่าจะทำให้เกิดการยอมรับและพร้อมแก้ไขด้วยดี

ว่าแล้วเปิดเทอมหน้าเราจัดเลยดีกว่า ห้อง 6/2 ของเราก่อนก็ได้

สวัสดีครับคุณน้องแอน

ยินดีและทำเลยครับ เปิดเทอมมาทำเลย อย่าคิดแล้วหยุด เพราะเป็นเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณอ.ธนิตย์ มากครับที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท