เหนื่อยหนอ "คน..."


สัปดาห์นี้เรา “เหนื่อย” เหลือเกิน
เดือนเดือนนี้เรา “เหนื่อย” เหลือหลาย
ปีที่ผ่านมานี้เรา “เหนื่อย” มากไป
สามปีที่มาบวชนี้เรา “เหนื่อย” เกินไป กว่ากำลัง...

ทำไมหนอเราต้องมา “ทนเหนื่อย” แบบนี้
ทำไมเราต้องทน ทำไมเราต้องทำนะ...?

ชีวิตสบาย ๆ ก่อนเมื่อสามปีที่จะก้าวเข้ามา ความสบายทำให้เรามีความสุขเหรอ...?
ตอนนี้คิดไป พูดไป ถามไป เราก็ไม่มีคำตอบหรอก
เรารู้เพียงแค่ว่าตอนนี้เรามีเพียงหน้าที่ “ทำ” ทำ ทำ แล้วก็ “ทำ”
มีหน้าที่อะไรเราก็ทำไป
เจอทุกข์เราก็ “ภาวนา” ไป

เหนื่อยก็พัก เหนื่อยมาก ๆ ก็นอน
หายเหนื่อยแล้วก็ลุกขึ้นมาสู้ใหม่
เราทำทุกวันนี้เพื่อ “พระรัตนตรัย” อันเป็นที่พึ่งสูงสุดไซร้สำหรับเรา...

การนอนพักในวันนี้อาจจะเป็นคืนสุดท้ายที่มีสำหรับเรา

หากการเหนื่อยของเราในวันนี้สามารถ "พลี" แก่พระรัตนตรัยย่อมเหมาะสม

ลมหายใจเข้าออกนี้ย่อมน่าชม เพราะได้สมที่เกิดมาว่าเป็น "คน..."


 

 

หมายเลขบันทึก: 294406เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

" เหนื่อยนักพักดูจิต " การสวดมนต์หากตามดูจิตไม่ทันก็จะเหนื่อย ลอง

หลับตาและกำหนดจิตที่อ่อนโยนแผ่เมตตาให้ตนเองสัก 10 นาทีด้วยคำพูดที่ออกจากจิตที่เมตตาตัวเราอย่างแท้จริงว่า "อะหัง สุขิโต โหมิ อัพยาปโชโหมิ อนีโฆโหมิ สุขีอัตตานังปริหรามิ " "ขอข้าพเจ้าจงมีความสุขกาย มีความสุขใจ มีอายุยืน ได้ทำความดีต่อตนเองและผู้อื่น ในภพภูมิมนุษย์ที่ข้าพเจ้าได้มาสะสมบุญนี้ด้วยเทอญ "

ทำบ่อยๆจนเป็นอาจินตกรรม จะสัมผัสได้ถีงพลังที่กลับมาค่ะ ด้วยความรักและปรารถนาดีจากใจ

สาธุเจ้าค่ะ...

ด้วยแห่งบารมีของท่าน...เชื่อว่า

ผลานุภาพนี้...เยียวยาแห่งผู้คนได้อย่างมากมายเจ้าค่ะ....

กราบนมัสการ ข้อความข้างต้นเขอป็นพื้นที่แลกเปลื่ยนเรียนรู้กับผู้สนใจมิใช่การสอน ท่านนะเจ้าคะ ขอกราบเมตตาชี้แจงเจ้าค่ะ โดยความเคารพในพระรัตนตรัยเป็นอย่างสูง

ผมจำได้ว่า ท่านเคย นำคำสอนของพระผู้ ใหญ่มาเขียนไว้ว่า "พระทำงานจะไปไว กว่า" ไปไวกว่า ในที่ นี้ ผมเข้าใจว่า ไวใน เรื่องการทำสมาธิ ถูก ต้องหรือไม่ครับ ถ้าถูก ต้อง ทำงานไปเถอะ ครับเหนื่อยท่านก็พัก สักหน่อยหายเหนื่อย ก็ทำงานต่อ แต่อย่าท้อ นะครับ สุขทางโลก หาได้ง่ายแต่จะสุข จริงหรือเปล่าไม่ยืน ยัน แต่สุขทางธรรม ขอให้ท่านมีความ เพียรต่อไปเถอะครับ ผมขออนุโมทนาด้วย

คำว่าสมาธิที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนถ้าจำกัดความง่าย ๆ ท่านเรียกว่า "กรรมนีโย" คือ สมาธิที่ "เหมาะสม" ควรแก่การงาน

เรากำลังทำงานอะไรอยู่ก็ขอให้มีระดับของสมาธิ "เหมาะสม" กับการพิจารณา ณ งานนั้น

ทำงานภายนอกก็ขอให้มีระดับสมาธิที่เหมาะสม

ทำงานภายในก็ขอให้มีระดับสมาธิที่เพียงพอ

ศีล สมาธิ และ "ปัญญา"

คนที่จะสามารถเจริญ "วิปัสสนา" ได้ต้องมีพื้นฐานแห่งความ "เสียสละ"

คนที่จะ "เสียสละ" ได้ต้องมีพื้นฐาน มี "บารมี" ที่เพียงพอ

ถ้าหากไม่มีบารมีอันแรกที่ได้แก่ "สัมมาทิฏฐิ" ก็จะไม่มีปฐมเหตุแห่งการ "เสียสละ"

แค่การเลือกว่าจะ "ทำ" หรือ "ไม่ทำ" จะทำอะไร หรือไม่ทำอะไร แค่นี้ก็ต้องใช้เจริญสติมิใช่น้อย

เพราะเวลาที่ "คน" เราตัดสินใจนั้น พยามารก็มักมาชวนเราให้เกิด "มิจฉาทิฏฐิ"

การที่จะนำจิตใจของตนเองให้หลุดออกจากวงจรแห่ง "มิจฉาทิฏฐิ" ได้นั้น จะต้องมี "ศีล" ที่สมบูรณ์

คนที่มี "ศีล" สมบูรณ์ จิตใจนั้นจะไม่ "วอกแวก" ไปไหน เพราะไม่มีสิ่งใด ๆ มา "กวนใจ"

เมื่อจิตนิ่งด้วย "ศีล" จิตนั้นจะเกิด "สมาธิ" ที่เป็น "ธรรมชาติ"

สมาธิที่เป็นธรรมชาตินั้นจะทำให้เรามี "ปัญญา" ในการพิจารณา "ผัสสะ" ที่มากระทบ

คนที่ฝึกมาก เจอมาก เหนื่อยมากนั้นก็เปรียบเสมือนกับนักกีฬาที่ต้องเหนื่อยกับการฝึก การซ้อม

นักกีฬาโอลิมปิคย่อมเหนื่อยกว่านักกีฬาของหมู่บ้าน

แต่ความเหน็ดเหนื่อยนั้นย่อมนำผลมาซึ่ง "พละ" และ "กำลัง" ที่ตั้งมั่นและ "มั่นคง"

เวลาเจอปัญหานั้นต้อง "ลืมตา" แก้ปัญหา หากนั่งหลับตาอยู่แล้วจะ "มองเห็น" ปัญหาได้อย่างไร...?

เมื่อลืมตานั้น เราจะเห็นอะไรมากหลาย แต่ทว่า "สมาธิ" ที่สมบูรณ์ จะทำให้เรามองเห็นเฉพาะ "ปัญหา" และ "แนวทางแก้ไข"

เศษดิน ก้อนกรวด เม็ดหิน ฝุ่นละออง จะไม่ถูกนำเข้ามากวนใจ ไม่มาเกะกะใน "ลูกกะตา"

เหมือนเวลาคนที่เข้าป่า เข้าดง หรือเข้า "ป่าช้า" ก่อนเข้า โดยเฉพาะขณะที่เข้าจะต้องสำรวจศีลของตนไม่ให้ขาดด่างพร้อย ไม่อย่างนั้น "ผี" หรือ "สาง" จะเข้ามากวนจิต กวนใจ กวน "ลูกกะตา"

หากศีลพร้อมพรั่ง สมบูรณ์ จิตใจนั้นย่อมเกิดความอาจหาญและร่าเริงในธรรม

ศีลและสมาธิ มีความเป็น ความมาเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้เราบรรลุนั่นคือ "ปัญญา..."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท