การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้


การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ความหมายสังคมแห่งการเรียนรู้  คือ กระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุน ส่งเสริมให้บุคคล และสมาชิกในชุมชน สังคม ให้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านทางสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความรู้ ทักษะ ระบบการจัดการความรู้และระบบการเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในสังคมทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์ และเกิดภูมิปัญญา ตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอตลอดชีวิตจนสิ้นอายุขัย เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ของคนทุกคนในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปในทางที่ดีขึ้น  

ความสำคัญของสังคมแห่งการเรียนรู้  คือ                                                        

คนจะพัฒนาตนเองได้ต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ถ้ามีแหล่งความรู้ให้ศึกษาค้นคว้ามีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งทอดความรู้ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงความรู้และคนรู้จักวิธีแสวงหาความรู้ ยิ่งสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้น เมื่อเรียนรู้ได้มากขึ้น ก็สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้มากขึ้น เมื่อนำมาบูรณาการระหว่างความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ก็จะเกิดความรู้ใหม่ขึ้นมาอีก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เป็นวงจรที่ต่อเนื่องไม่สิ้นสุดที่เรียกว่าวงจรแห่งการเรียนรู้

องค์ประกอบที่สำคัญของสังคมแห่งการเรียนรู้ คือ

1. บุคคลแห่งการเรียนรู้  เป็นบุคคลที่มีความตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้  มีทักษะและกระบวนการในการคิด การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา มีความใฝ่รู้สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วย ตนเองและสามารถใช้ความรู้ได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม สามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจและความถนัด 

2. แหล่งการเรียนรู้  เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างเพียงพอ หลากหลาย ทั่วถึง ทุกกลุ่มเป้าหมายต้องพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท มีการจัดระบบเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ มีการพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีอยู่ในสังคมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพในการบริการการเรียนรู้ มีความพร้อม อำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้เหมาะกับศักยภาพของสังคมนั้นๆ 

3. องค์ความรู้  มีระบบการจัดหาและรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและค้นคว้าองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก 

และบริบทของสังคมไทย โดยพัฒนาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่กับฐานความรู้นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล กลุ่มหรือชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละชุมชน 

4. การจัดการความรู้  เริ่มจากการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย  พัฒนากลไก กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้อย่างเสมอภาค พัฒนาระบบบริหารจัดการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ ให้ประชาชนสามารถเข้าสู่องค์ความรู้ตลอดเวลา และต้องมีการพัฒนาบุคคลองค์กร ให้เป็นผู้จัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน พัฒนาทักษะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้สามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการใช้ความรู้เป็นฐานในการแก้ปัญหาและการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน

 

เรื่องเล่าที่ประทับใจ

 

            จากประสบการณ์สอนวิชาคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ที่โรงเรียนบ้านหนองตะลุมปุ๊ก

ดิฉันมีเรื่องราวที่ประทับใจเกี่ยวกับนักเรียนหลายเรื่องมากและเรื่องที่ประทับใจที่สุดก็เป็นเรื่องที่ไปสอนนักเรียนชั้น ม.2 ซึ่งชั่วโมงแรกที่เข้าไปสอนมีนักเรียนที่ตั้งใจเรียนอยู่ไม่ถึง 10 คน จากนักเรียนทั้งหมด 30 คน บางคนเล่นเกมส์ บางคนเล่น Internet ทำให้ดิฉันอ่อนใจมากในตอนแรกเพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดีแต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นครูที่ดีให้ได้ดิฉันจึงกลับมาคิดหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหานั้นให้ได้หลังจากนั้นดิฉันก็ได้ทำข้อตกลงในการใช้ห้องและการเรียนการสอนกับนักเรียนเหล่านั้นว่าถ้าใครทำงานที่ครูสั่งไม่เสร็จห้ามใช้งานคอมพิวเตอร์ทำอย่างอื่นและหากฝ่าฝืนจะถูกงดใช้เครื่อง 1 ชั่วโมง และจูงใจเขาด้วยการอนุญาตให้เล่นเกมส์หรือทำอย่างอื่นได้หลังทำงานเสร็จ แรกๆ ก็ไม่ค่อยมีใครปฏิบัติตามกฏเท่าไหร่ทำให้ดิฉันต้องเข้มงวดมากขึ้นและนักเรียนเหล่านั้นก็เริ่มปรับตัวได้กับข้อตกลงและตั้งใจเรียนมากขึ้นจนไม่มีใครฝ่าฝืนกฎอีกและทำงานตามที่ครูสอนได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจของครู ตัวนักเรียนเองก็มีความภูมิใจในตัวเองที่สามารถทำได้หลังจากที่เขาไม่เคยทำงานเป็นชิ้นเป็นอันเลยได้ มีเด็กนักเรียนบางคนเขามาขอบคุณดิฉันที่สามารถทำให้เขา ทำงานนั้นๆได้จากที่เขาไม่เคยรู้มาก่อน และยังได้รับคำชมจากอาจารย์ท่านอื่นๆว่านักเรียนเหล่านี้มีระเบียบวินัยในการเรียนมากขึ้นและทำตัวน่ารักมากขึ้น ปัจจุบันเวลาถึงชั่งโมงเรียนคอมฯเขาจะมีความสุขมาก  จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจมากและภูมิใจมากที่ดิฉันก็สามารถเป็นครูที่ดีได้เหมือนกัน

 

ตัวอย่าง แผนการจัดการความรู้สู่ความสำเร็จ

 

 

ทีมงาน KM และรายละเอียดความรับผิดชอบ

         

          เพื่อให้การจัดทำระบบการจัดการความรู้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทางกองวิเทศสัมพันธ์จึงได้จัดตั้งทีมงาน KM ขึ้น โดยมีนางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง เป็นผู้ดำเนินแผนงาน KM และปฏิบัติงานอื่นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย รวมถึงจัดบรรยาย ให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor)

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) เพื่อให้การดำเนินการจัดการความรู้ตามเป้าหมาย KM ที่เลือกทำ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในหน่วยงาน คือ

1.      บุคลกรในหน่วยงาน เห็นความสำคัญและมีส่วนในการจัดการความรู้

2.      บุคลากรที่ทำหน้าที่บรรยาย หรือ จัดการความรู้ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการความรู้ที่ถูกต้องและสามารถสื่อสารให้ความรู้เรื่องการจัดการองค์กร รวมถึงการใช้เทคโนโลยี

 

ขั้นตอนการจัดทำแผน KM

 

1.      ทางโรงเรียนดำเนินการกำหนดขอบเขตของการจัดการความรู้ (KM) ที่จะเลือกทำ คือเรื่อง การจัดทำเว็บไซต์ของหน่วยงาน และ การส่งเสริมความรู้และทบทวนภาษาอังกฤษ

2.      เมื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมขององค์ความรู้ที่จะจัดบรรยายแล้ว ต้องนำมาจัดทำแผนการจัดการความรู้ของแต่ละเรื่องไป

3.      ประเมินเรื่องการจัดการความรู้ เพื่อให้ทราบถึงความพร้อมในเรื่องการจัดการความรู้และนำการประเมินนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนให้สอดรับกับเป้าหมายที่ตั้งไว้

 


โครงร่างแผนการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2552

ชื่อหน่วยงาน : โรงเรียนบ้านหนองตะลุมปุ๊ก

ลำดับ

กิจกรรม

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ผู้รับผิดชอบ

1.

การบ่งชี้ความรู้

-      การเขียนโครงการ

-      วางแผนกลยุทธ์

แผนการเขียนโครงการ

จำนวนรายการองค์ความรู้  อย่างน้อย 2 องค์ความรู้

นางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง

2.

การสร้างและแสวงหาความรู้

-  ภายในองค์กร (ปรึกษาบุคลากรในหน่วยงาน)

-  ภายนอกองค์กร (ห้องสมุด เว็บไซต์)

ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น

จำนวนความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้น อย่างน้อย 2 องค์ความรู้

นางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง

3.

การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

- วางโครงสร้างความรู้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น

ข้อมูลองค์ความรู้

ข้อมูลองค์ความรู้ อย่างน้อย 2 องค์ความรู้

นางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง

4.

การประมวลและ      กรั่นกรองความรู้

- นำความรู้มาประมวล / กรั่นกรองข้อมูล และจัดตามความเหมาะสม รวมถึงใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และมีเนื้อหาที่เหมาะสม

ชุดความรู้ที่ได้จากการประมวล อย่างน้อย 2 ชุด

จำนวนชุดความรู้ที่ได้จากการประมวล

นางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง

5.

การเข้าถึงความรู้

- ชุดความรู้ที่จัดทำขึ้นสามารถเผยแพร่ให้กับบุคลากรในหน่วยงาน / นอกหน่วยงานได้นำไปเรียนรู้

ชุดความรู้ที่เผยแพร่

จำนวนชุดความรู้ที่เผยแพร่ อย่างน้อย 4 ชุด

นางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง

6.

การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

- จัดทำการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในหน่วยงานในรูปแบบการประชุม

กิจกรรม / การประชุมที่เกิดขึ้น

จำนวนที่แบ่งปันแลกเปลี่ยนอย่างน้อย 1 องค์ความรู้

นางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง

7.

การเรียนรู้

- การสร้างช่องทางการเรียนรู้ เช่น จัดทำข้อมูลลงเว็บไซต์ของกองฯ  และหรือ ข้อมูลเอกสาร

จำนวนผู้ใช้บริการ

บุคลากรภายในหน่วยงานเกิดการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ และข้อมูลเอกสาร

นางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง

8.

การวัดผลและติดตามประเมินผล

แผนการจัดการความรู้

อย่างน้อย 2 องค์ความรู้

นางสาวนิติยา  ทองเฟื่อง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 294134เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ข้อมูลดีจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท