แนะนำ ศปอจ.


โครงสร้างรูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัด (ศปอจ. หรือ Provincial Coordinating Mechanism: PCM) ในการประสานงานและการผลักดันกลยุทธ์ของโครงการ เข้าสู่แผนการปฏิบัติงานปกติในพื้นที่ดำเนินการ และจัดหาทรัพยากรมาใช้ในการดำเนินงาน และศูนย์บริการที่เป็นมิตร (Youth and PHA friendly service: YPFS) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการบูรณาการงานเอดส์ในพื้นที่ ทำให้เกิดการป้องกันและดูแลรักษาโรคเอดส์อย่างครบถ้วน ในจังหวัดพะเยา

โครงการเสริมสร้างสมรรถนะของกลไกการประสานงานและระดมทรัพยากรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในจังหวัดพะเยา

ศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัดพะเยา (Provincial Coordinating Mechanisms: PCM)

ด้วยประเทศไทยได้รับการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่กองทุนโลก จากกรุงเจนนีวา ในการขยายระยะเวลาการดำเนินเนินงานโครงการกองทุนโลกด้านโรคเอดส์ ( Global  Fund AIDS ) รอบที่  1  แบบต่อเนื่อง ( Rolling  Continuation Channel, RCC )  จากระยะเดิมต่อไปอีก 6 ปี คือ จากปี พ.ศ. 2551 ถึงปี พ.ศ. 2557  ภายใต้ชื่อโครงการ Aligning Care and Prevention of  HIV/AIDS  with  Government  Decentralization  to  Achieve  Coverage  and  Impact : ACHIVEVED

การดำเนินงานโครงการดังกล่าวข้างต้น จะขับเคลื่อนโดยกลไกประสานงานระดับจังหวัด ที่มีโครงสร้างรูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัด (ศปอจ. หรือ Provincial Coordinating Mechanism: PCM) ในการประสานงานและการผลักดันกลยุทธ์ของโครงการ เข้าสู่แผนการปฏิบัติงานปกติในพื้นที่ดำเนินการ และจัดหาทรัพยากรมาใช้ในการดำเนินงาน   และศูนย์บริการที่เป็นมิตร (Youth and PHA friendly service: YPFS)  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการบูรณาการงานเอดส์ในพื้นที่  ทำให้เกิดการป้องกันและดูแลรักษาโรคเอดส์อย่างครบถ้วน ในจังหวัดพะเยา

 

บทบาทหน้าที่หลัก ของ ศปอจ.

1.             บูรณาการกลยุทธ์ป้องกันและรักษาเอดส์เข้าสู่กระบวนการนโยบายของจังหวัด และ อปท. ในจังหวัด (แผนพัฒนาจังหวัดฯ)

2.             อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ และใช้ประโยชน์จากรูปแบบ และวิธีการป้องกันและดูแลรักษาเอดส์ที่มีประสิทธิผล

3.             ประสานแผนงานให้เกิดแผนที่นำทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การลดการติดเชื้อเอดส์รายใหม่ในจังหวัด

4.             ระดมความร่วมมือและทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อให้เกิดกิจกรรมการป้องกันและดูแลรักษาโรคเอดส์อย่างต่อเนื่องจนครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งจังหวัด

5.             กำกับและประเมินยุทธศาสตร์ในแต่ละจังหวัด

 

วัตถุประสงค์ของ ศปอจ.พะเยา

วัตถุประสงค์ทั่วไป

               บูรณาการยุทธศาสตร์การป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์เข้าไปในยุทธศาสตร์จังหวัด บรรจุแผนงานโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน เยาวชน สถานประกอบการและพัฒนามาตรฐานการดูแลรักษาในสถานบริการสาธารณสุข

วัตถุประสงค์เฉพาะ

1.             เพื่อขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ คณะทำงานศูนย์เอดส์ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ให้รณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์อย่างเข้มข้น

2.             กระตุ้นภาคีเครือข่ายร่วมกันสร้างความตระหนักแก่เยาวชนเพื่อลดการติดเชื้อรายใหม่

3.             ระดมทรัพยากรในจังหวัดเพื่อเสริมสมรรถนะการทำงานเรื่องเอดส์ เพศศึกษาและเฝ้าระวังด้านพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์

4.             ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ให้ได้รับบริการตามมาตรฐานและตามสิทธิขั้นพื้นฐาน

 

กิจกรรมที่สำคัญ

1.             พัฒนาสมรรถนะและเสริมสร้างศักยภาพศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัด: ศปอจ.

-           การประชุมเชิงปฏิบัติการศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัด: ศปอจ. ระดับจังหวัด โดยคณะอนุกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดพะเยา และคณะทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดพะเยา

2.             เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการของศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัด: ศปอจ. (ด้านแผนงานและการสนับสนุนทรัพยากร)

-           การสัมมนาสรุปบทเรียนการทำงานศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัด: ศปอจ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

-           การติดตามและประเมินผลภายในของระดับจังหวัด

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ในระดับประเทศ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ  และกระทรวงสาธารณสุข จะมีบทบาทในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินโครงการและให้การสนับสนุนด้านวิชาการ

กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงวัฒนธรรมจะสอดแทรกการดำเนินงานป้องกันและดูแลปัญหาเอดส์ในระดับชุมชนไว้ในนโยบายการทำงาน และจะให้ข้อเสนอแนะและสนับสนุนทางด้านวิชาการแก่หน่วยงานระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ

2. ระดับจังหวัด

เกิดหน่วยงานประสานงานด้านเอดส์ระดับจังหวัดหรือคณะทำงานกลไกประสานงานระดับจังหวัด (PCM) ที่มีประสิทธิภาพ มีบทบาทหน้าที่ในการประสานงานและผลักดันกลยุทธ์ของ โครงการต่อเนื่องเอดส์รอบที่ 1 (RCC) เข้าสู่แผนการปฏิบัติงานปกติในพื้นที่ และบทบาทที่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกประการหนึ่ง คือการจัดหาทรัพยากรในพื้นที่มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีความยั่งยืน

 

คำสำคัญ (Tags): #pcm#ศปอจ
หมายเลขบันทึก: 293869เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท