dev. pers. towards Aging ,Dying and Death


ผมจะกลับไปอยู่กับแม่เป็นเวลา 1 เดือน ... ?

add life to year ,not add year to life

   เราต้องส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ(ในประเทศไทยนับเป็น 60 ปี) มีชีวิตที่มีความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรง ทำอะไรเองได้ในระดับหนึ่ง เราต้องส่งเสริมเรื่องๆต่างๆของผู้สูงอายุให้ไปในแนวทางที่ถูกต้อง

   Theories

        - Disengagement Theory

        - Activity Theory

        - Continuity Theory

  ทั้งหมดนี้หาคำอธิบายได้ใน

             http://www.angelfire.com/ns/southeasternnurse/TheoriesofAgingC3.html

   สิ่งที่เทอร์โบสนใจคือสรุปในตอนหลังที่อาจารย์พูดถึง(รู้สึกว่าจะได้มาจากศาสตราจารย์คนไทยที่เฉียดตายอะไรเนี่ยแหละ)ซึ่งกล่าวถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 9 C

    1.competence

    2.concern

    3.comfort

    4.communication

    5.children

    6.cohesion

    7.cheerfulness

    8.consistency

    9.calmness of mind

          ถามว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น มีความหมายอะไร ในเมื่อมันคือระยะสุดท้าย มันไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรในระยะยาว เพราะเดี๋ยวผู้ป่วยก็ตายไป ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ ในด้านสังคม หรือในด้านอื่นๆก็ไม่ได้ชัดสักเท่าไหร่ หรือบางด้านอาจจะไม่มีประโยชน์เลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ทำไมเราถึงต้องสนใจในประเด็นนี้กันด้วย...

          คำตอบก็คือ ประโยชน์ของการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย คือในด้านจิตใจ และประสบการณ์ ไม่เฉพาะในด้านจิตใจของผู้ป่วย แต่ยังเป็นประโยชน์สำหรับจิตใจ และประสบการณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

          การที่เราใส่ใจผู้ป่วยในระยะสุดท้ายนั้น ทำให้เราได้เข้าใจถึงสัจธรรมที่แท้จริงของชีวิตมากขึ้น อย่างเช่นที่เทอร์โบเคยได้คุยกับนางพยาบาลศิริราชท่านหนึ่ง(คนนั้นแหละ)ท่านได้บอกว่า ที่ท่านทำอยู่แผนกปลูกถ่ายอวัยวะนั้น ท่านได้เรียนรู้ถึงความไม่เที่ยงของชีวิตมากๆ ยกตัวอย่างเช่น ท่านเห็นลุงคนหนึ่ง ดูท่าทางอาการดีกว่าเพื่อน คิดในใจว่าเดี๋ยวลุงก็คงได้กลับบ้านแล้ว ปรากฏไม่นานหลังจากนั้น คุณลุงแกก็เสียชีวิตลง ทั้งๆที่น่าจะอยู่รอดเป็นคนแรก

          ความเป็นจริงของชีวิตนั้น คือความไม่จีรังของสรรพสิ่ง รวมถึงตัวเอง

          ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายนั้น ในหัวข้อ communication คือการพูดสิ่งที่ค้างคาใจออกมา การที่เราได้ให้โอกาสตรงนั้นกับผู้ป่วย นอกจากทำให้ผู้ป่วยได้ไปอย่างสบายแล้ว ยังทำให้เราได้เข้าใจ ได้รับรู้ถึงเรื่องราวต่างๆที่ผู้ป่วยแต่ละคนได้เก็บไว้อยู่ในใจ ได้เข้าใจถึงความคิดต่างๆของมนุษย์ ได้รับรู้ว่าสิ่งที่มนุษย์ชอบที่จะเก็บกดอยู่ในใจนั้น คือเรื่องอะไร ซึ่งจะทำให้เรามีความเข้าใจในความเป็นมนุษย์มากขึ้น และมีความเข้าใจในความเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคล และอาจจะทำให้เราสามารถที่จะเปิดใจได้มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ทางอ้อมกึ่งตรงๆ

          สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการมนุษย์ ต่องานทางด้านนี้ เราจึงควรเข้าใจ และคิดแตกยอดออกไปในเรื่องนี้ให้มาก โดยสนใจในประเด็นความเป็นมนุษย์ที่เป็นปัจเจก และนำความรู้ที่ได้แตกยอดออก ไปเชื่อมโยงกับสาขาวิชาต่างๆ เป็นสหสาขาวิชา(multidisciplinary)เพื่อจะได้บูรณาการ และเป็นประโยชน์สูงสุดในการเรียนระดับปริญญาโทต่อไป

         

 

หมายเลขบันทึก: 293465เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จากตูน

บางทีเป็นเรื่องยากที่จะให้ผู้สูงอายุทำความเข้าใจในเรื่องสัจจธรรมแห่งชีวิต ยิ่งผู้สูงอายุที่อยู่ด้วยกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ อย่างปู่กับย่าเราที่เดินทางด้วยกันจากเมื่องจีน คือเค้าไม่ได้คิดว่าตัวเค้าจะเสียเร็วขนาดนี้ (ทั้งๆที่ปู่เราอายุ93แล้วก็แข็งแรง) รวมทั้งทุกคนในบ้านด้วยไม่ได้คิดแบบนั้น กระทันหันมากๆ ตอนนั้นทุกคนรีบกลับหาดใหญ่ แล้วเค้าก็เสียตอนที่พ่อเราขับรถอยู่ ซึ่งไม่เคยเห็นน้ำตาพ่อก็ได้เห็นวันนั้น เค้าจอดรถแล้วเปิดประตูเราเห็นแค่น้ำตาไหล ซึ่งเราก็เข้าใจว่าพ่อไม่อยากให้ใครเห็น ในขณะเดียวกันย่าเราก็ยากที่จะยอมรับได้ เราสัมผัสความรู้สึกของเค้าได้ เนี่ยแหละเราว่าเป็นเรื่องยากจริงๆ ถึงแม้จะเตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้าก็ตาม บอกตรงๆว่าที่เรียนวันนี้เรารู้สึกอยากจะร้องไห้จนบอกไม่ถูก...

เห็นด้วยกับการที่ว่าเราใส่ใจผู้ที่กำลังจะเสียชีวิต ไม่ใช่เพื่อตัวเขาเองเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อคนรอบข้างของผู้เสียชีวิตด้วย จะได้มีความทรงจำดีดีเก็บไว้ตลอดไป เหมือนที่อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่า แม่คนนึงยอมเก็บลูกไว้แม้รู้ว่าลูกจะไม่ปกติก็ตาม เพราะลูกเป็นเพียงสิ่งเดียวที่เป็นตัวแทนของสามีที่จากไปของเขา มนุษย์ดำรงอยู่ได้ด้วยลมหายใจ และความรู้สึก บางสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา กลับมีค่ามากกว่าสิ่งอื่นใด เพียงแค่ความทรงจำเล็ก ๆน้อยๆ ก็สร้างกำลังใจ สร้างความสุขให้กับใครอีกคนได้ ให้มีกำลังใจใช้ชีวิตอยู่ต่อไป กิ๊ฟว่ากำลังใจสำคัญนะ เพราะวันนึงหากเราท้อแท้ หมดหวัง เพียงแค่รอยยิ้มจากคนข้างๆเรา แค่คำพูดสั้น ๆว่าไม่เป็นไรนะ ยังไงก็ยังมีเราเสมอ แค่นั้นก็อุ่นใจแล้ว ไม่มีมนุษย์คนใดดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีกำลังใจเลย เรามักจะต้องพึ่งพาใครอีกคนเสมอ นั่นก็เป็นเหตุให้เรามีเพื่อน มีคนสำคัญในชีวิต ที่คอยอยู่เคียงข้างเราเสมอ ไม่ว่าเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม

เบญจ์ค่ะ

เห็นด้วยกับเทอร์โบนะ...

เบญจ์คิดว่า กำลังใจกับคนในระยะนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ความรักอย่างเดียวไม่ช่วยให้หล่อเลี้ยงผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ ความเข้าใจ กำลังใจ ความใส่ใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างที่อ.เล่าให้ฟังเรื่องคนใกล้ตัวกับคนไกลตัวนั่นแหล่ะ ถ้าเราไม่เข้าใจ เราก็อาจจะน้อยใจ ว่าทำไมพ่อถึงไม่เห็นความสำคัญของเรานะ เรามาดูแลทุกวัน แต่กลับคิดถึงคนอื่นมากกว่า เค้ามาแค่วันเดียว พ่อกลับอาการดีขึ้น อะไรอย่างนั้น เอาจริงๆมันก็น่าน้อยใจแหล่ะ ใช่ม๊ะ...เราเป็นคนดูแลแท้ๆ แต่ลองมองดูตัวเราสิ เราเองก็ไม่ได้ต่างไปจากท่านเท่าไหร่หรอก ทุกวันนี้เราให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ตรงหน้าเรา อยู่ข้างๆเราซักแค่ไหนกันเชียว เรามักจะคิดถึงคนที่อู่ไกลจากเรา คนที่เราไม่ค่อยได้เจอ คนที่เรานานๆจะเจอกันซักที คำว่าคิดถึงถูกใช้อยู่ในบริบทนั้นไปซะหมด....คนไกล....อย่างเราเอง เรายังทำไม่ได้เลย แล้วผู้ป่วยระยะสุดท้าย คนไกลที่เค้าเฝ้ารอ ทำไมจะไม่สำคัญล่ะ เนอะ!!

เรื่องการ communication โดยการให้ผู้ป่วยพูดสิ่งที่ค้างคาใจออกมา เบญจ์ว่าช่วยได้เยอะจริงๆนะ เคยลองคิดเล่นๆกันป่ะล่ะ ว่า จะต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ให้ได้..ก่อนตาย...เออ แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าได้ทำแล้วสุดท้ายก็ตาย เบญจ์ว่ามันยิ่งกว่าประโยชน์อีก เคยลองคิดเล่นๆนะ ว่าถ้าได้ทำไอนี่ก่อนตาย ถ้าได้พูดความในใจก่อนตาย มันจะดีแค่ไหนนะ เพราะอย่างน้อย คนที่อยู่เคียงข้างเรา คนที่รับฟังเรา ณ ตอนนั้น ก็คงเป็นคนที่รักเราแล้วเราก็รักเค้าจริงๆ แค่คิดเองนะ ยังไม่ได้ทำเลย (ก็ยังไม่ได้จะตายนี่นา ๕๕๕)แต่รู้ไม๊ มันโคตรมีความสุขเลยอ่ะ แค่จินตนาการว่าถ้าใกล้ตายแล้วชั้นจะได้ทำเอง (จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ อิอิ) แล้วลองคิดดูดิ ว่าคนที่เค้าอยู่ ณ จุดๆนั้น แล้วเค้าได้ทำในสิ่งที่ค้างคาใจมานาน เค้าจะจากโลกนี้ไปอย่างอิ่มเอมแค่ไหน คนที่อยู่เบญจ์ว่าก็คงอิ่มเอมไม่ต่างกัน ที่ได้ทำอะไรให้คนที่รักมีความสุขในขั้นสุดท้ายของชีวิต แค่คิด ก็ยิ้มแล้ว.......^^"

จากหุยหุยนะ...

อาจไม่ได้เป๊ะๆอะไรบทเรียน..แค่แชร์ความเยอะ ที่มาคิดต่อ...ความยาวชนะเลิศ!!

****

****

เรียนเรื่อง Aging, Dying and Death วันนี้แล้วก็มีอะไรมาให้คิดต่อ ละก็เกิดคำถามกับตัวเองขึ้นเยอะแยะมากมาย อย่างแรกที่นึกขึ้นได้ตอนทบทวนหัวข้อที่เรียนก็คงเป็นความสงสัยที่ว่า ทำไมเรื่องศาสนาถึงมาอยู่ในหัวข้อนี้? ทั้งๆที่เราก็รู้จักศาสนามากันตั้งแต่เด็กๆ ถึงบางคนจะมีศาสนาบ้าง ไม่มีบ้าง แต่หุยว่าทุกคนน่าจะมีสิ่งที่ตัวเองเชื่อ และยึดถือเป็นหลักความคิดของตัวเอง อาจจะเปลี่ยนไปตามเวลาบ้าง ตามสังคมรอบข้างบ้าง แต่สุดท้ายเมื่อพูดถึงความเชื่อ ส่วนใหญ่ก็มักคิดไปถึงศาสนา แล้วจริงๆศาสนาคืออะไร? เป็นเพียงแค่ความเชื่อรึเปล่า? แล้วเมื่อเราแก่ตัวไปความเชื่อนั้นจะเปลี่ยนไปมั๊ย? หรืออายุที่มากขึ้นจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราคิดที่จะพยายามเข้าใจความเชื่อของตัวเองในมุมที่ลึกซึ้งขึ้นรึเปล่า? หรือจริงๆแล้วศาสนาเป็นเพียงเครื่องมือให้กับจิตใจที่ไร้ความเชื่อมาก่อน ได้มีที่ยึดเหนี่ยวในวันที่ร่างกายไม่มีเรี่ยวแรงมากพอที่จะอยู่ต่อและรอพิสูจน์? เราต้องแก่ใกล้ตายก่อนมั๊ย..ถึงจะพยายามศึกษาและเข้าใจศาสนา?

จากความสงสัย..ก็เลยต้องไปค้นความหมาย…

คำว่า “ศาสนา” แปลมาจากคำว่า สาสนํ ในภาษาบาลี, ศาสนํ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง “คำสั่งสอน”

แล้วอย่างนี้..ถ้าศาสนา คือ ความเชื่อ..มีซักกี่คนที่รู้ และ เชื่อในคำสั่งสอน??

โดยเฉพาะคนไทย ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ...ซึ่งหลายๆคนมีศาสนาของตัวเองระบุไว้ในบัตรประชาชนด้วยซ้ำ แต่เคยถามตัวเองมั๊ยว่า...เรามีศาสนา หรือ เรานับถือศาสนา? เรามีคำสั่งสอน แล้ว เรานับถือในคำสั่งสอนนั้นรึเปล่า? เมื่อนับถือแล้ว เราได้เอามาใช้กับการดำเนินชีวิตเรามากแค่ไหน? หรือเราต้องรอให้ถึงวัยนั้น..ที่เรียกกันว่า Aging ที่เราเข้าใจและให้ความหมายกันว่าเป็น “วัยชรา”

ซึ่งจริงๆแล้ว...Aging ตามความรู้ภาษาอังกฤษที่เราเรียนมาตั้งแต่เด็กๆ ก็เป็น continuous tense เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตลอด อย่างต่อเนื่อง งั้นอย่างนี้เราทุกคนก็อยู่ในวัยที่เรียกว่า Aging กันทุกคนแล้วสิ แล้ววัยที่มันมากขึ้น เวลาที่เราอยู่ในโลกนี้กันนานขึ้นทุกวันๆ เราได้พัฒนาอะไร ส่วนไหนของชีวิตเราแล้วบ้าง? แล้ววันนี้..กับอายุที่นับได้ด้วยตัวเลข ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ทางกายภาพ...เราเคยสังเกตตัวเอง และคิดสะท้อนตัวเองบ้างมั๊ยว่า...การพัฒนาของรูปธรรมที่มากขึ้น ประสบการณ์ชีวิตที่มากขึ้น ได้ให้ความรู้อะไรที่เราเอามาพิจารณานามธรรมของชีวิต และเกิดพัฒนาการด้านจิตใจ จิตวิญญาณของเราให้มากขึ้นตามไปบ้าง...รึเปล่า? หุยว่าชีวิตมันสนุกตรงนี้นะ 

จากบทเรียนที่เรียนมาก็เห็นแล้วว่า โลกภายนอกในปัจจุบัน กับวิวัฒนาการทางการแพทย์ หรือเทคโนโลยีที่พยายามจะฝืนกฎ และ เหนี่ยวรั้งสัจธรรมความเป็นจริงของตามธรรมชาติ ซึ่งเราก็เห็นแล้วว่ามันทำได้ แต่ก็เพียงทางกายและสิ่งภายนอกเท่านั้น สุดท้ายแล้ว เมื่อถึงวัยชรา ทำไมหลายๆคน (ถ้าไม่ทุกคน) กลับมองหาที่พึ่งทางจิตใจ?

จากในกราฟที่เรียนวันนี้ก็เห็นแล้วว่าอีก 40-50 ปีข้างหน้า ถ้าเรายังไม่หนีหายตายจากก่อนวัยกันไปไหน เราจะมีเพื่อนร่วมวัยที่เพิ่มขึ้นเยอะแยะมากมาย ที่เผชิญชะตากรรมเดียวกัน...คือการลดจำนวนลงของคนรุ่นต่อไปที่จะมาดูแลเอาใจใส่เรา ตรงนี้ชี้ให้เข้าใจความเป็นไปต่อสัจธรรมใหม่เรากำลังจะเจอ...แล้วมันก็สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่มีค่า ที่กำลังจะมีความสำคัญมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน...สำหรับหุย มองว่าสิ่งนั้นคือ มิตรภาพ ความเมตตา และ ความสามารถในการพึ่งพาตัวเอง เพราะเมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิตเราคงมองย้อนกลับมาแล้วดูว่า มีใครซักกี่คนที่ยังอยู่เคียงข้างเรา มีใครซักกี่คนที่เราได้ยืนหยัด ดูแล และให้สิ่งที่ดีกับเค้า มีใครซักกี่คนที่จะอยู่ตรงนั้นและมองมาด้วยศรัทธา และความเชื่อมั่นในตัวเราให้เรา เว้นที่ว่างส่วนหนึ่งไว้ให้เราได้ดูแลตัวเราเอง แต่ก็พร้อมที่จะเอื้อเฟื้อ และยื่นมือเข้าประคองในวันที่เราต้องการความช่วยเหลือจากใครซักคน

ว่าไปแล้วก็คิดถึงซีรี่ย์เรื่อง house ตอนนึง...ที่มีชายแก่เร่ร่อนอนาถา (homeless) เข้ามาขอตรวจโรคในโรงพยาบาล ทั้งๆที่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งในระยะสุดท้าย และกำลังจะตายอีกไม่กี่วัน ชายแก่คนนี้ปฎิเสธที่จะรับการรักษาถึงแม้ว่าจะถูกบังคับตามกฎของโรงพยาบาล เค้าบอกว่าเค้าต้องการจากไปอย่างทรมานมากกว่าจะถูกรักษาให้ดีขึ้น ในเมื่อเค้าออกจากโรงพยาบาลไป...สุดท้ายก็ต้องตายข้างถนนเพียงคนเดียว เหตุผลที่ชายแก่คนนี้บอกกับหมอที่ดูแลเค้า สะท้อนให้เห็นธรรมชาติความต้องการของมนุษย์เรามากๆ เค้าบอกว่า ชีวิตที่ผ่านมา..เค้าล้มเหลวในสายตาทุกคน เป็นเพียงคนข้างถนนที่ไม่มีใครสนใจ เหมือนเค้าไม่มีตัวตนอยู่บนโลกนี้ และในวันสุดท้ายที่เค้ากำลังจะตาย เค้าขอที่จะตายอย่างทรมานจนถึงวินาทีสุดท้าย ต่างจากคนทั่วไปที่ต้องการตายอย่างสงบ สิ่งสุดท้ายของชีวิตที่เค้าต้องการ เพียงแค่ “I want you to remember me…I want someone to remember me”

การต้องการมีตัวตน มีเอกลักษณ์ให้คนได้จดจำความเป็นเรา จากทฤษฎี Development ที่เราเรียนกันมา จริงๆเกิดขึ้นตั้งแต่เราเริ่มเป็นวัยรุ่นด้วยซ้ำ แต่ตรงนี้ก็ทำให้เห็นว่า ความต้องการทางด้านจิตใจคนเราก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ความต้องการมีตัวตนเหมือนกัน แต่ลักษณะของมุมมองที่เราต้องการจากสังคมภายนอกกลับต่างกันไปตามเงื่อนไข และพัฒนาการด้านจิตวิญญาณในแต่ละวัย บางที...ถ้าเราลองที่จะปรับแนวคิดและแนวทางชีวิตที่เรายังสร้างได้วันนี้ให้เป็นมุมกลับ โดยคิดถึงวันสุดท้ายว่าเราต้องการที่จะถูกจดจำยังไงเมื่อเราจากโลกนี้ แล้วย้อนกลับมา...เราอาจจะนึกออก และได้รู้ว่า...วันนี้เราควรจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ยังไงก็ได้นะคะ 

เทอร์โบเห็นด้วยกับหุยในเรื่องการมองมุมกลับนะ มันน่าจะทำให้เรารู้ว่า เราควรทำอะไร ณ ปัจจุบัน

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ การพึ่งพาตนเอง

จริงๆ แล้วในความคิดของเราการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป้นการดูแลสภาพจิตใจของญาติหรือผู้ดูแลนั่นเอง เพราะอะไร หลายคนอาจงง เพราะเมื่อเราดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นอย่างดี เขาจะมีความสุขสงบ ทำให้ญาติหรือผุ้ดูแลรู้สึกดีไปด้วย และทำใจยอมรับความจริงในอนาคตได้ง่ายขึ้น และมันเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำในสิ่งที่ค้างคาให้สำเร็จซึ่งอาจเป็นสิ่งที่สำคัญกับคนที่อยู่ข้างหลัง จึงเป้นประโยชน์เป็นอย่างมากกับญาติและผู้ดูแล

pandabay

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท