แปลบทที่ 8การกำหนดโครงสร้างคณะทำงานเพื่อความสำเร็จ(ต่อ3)


แปลบทที่ 8การกำหนดโครงสร้างคณะทำงานเพื่อความสำเร็จ(ต่อ3)

ใบงานที่  28

การนิยามโครงสร้างและสมาชิกภาพของทีมงานสนาม

จงระบุถึงการตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาและเหตุผลสนับสนุนสำหรับแต่ละรายการ

 

รายการ

การตัดสินใจหรือแก้ปัญหา

 

เหตุผล

ขนาดของกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความหลากหลายของกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การคัดเลือกสมาชิก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สถานะของสมาชิก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรทัดฐานของกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การกำหนดภารกิจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

[1] Larry J.Reynolds. Successful Site-Based Management: A Practical Guide, rev.ed. Copyright© 1997 by Corwin Press, Inc.Reprinted with permission.

ความชัดเจนต้องพิมพ์ต่อ
กิจกรรมแรกเริ่ม  ( Initial Activities )

 

                เมื่อฟอร์มทีมงานยึดที่ตั้งแล้ว  ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มที่จะต้องมีการลงมือทำกิจกรรมแรกเริ่มต่าง ๆ  (initial activities)  เพื่อให้สมาชิกกลุ่มมีความสนิทสนมและสมานสามัคคีกัน  บ่อยครั้ง  ผู้บริหารสถานศึกษามักจะได้รับหน้าที่รับผิดชอบในการเริ่มต้นทีมงานยึดที่ตั้ง  หรือไม่ก็ผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ประสานงานจากสำนักงานกลางเป็นผู้ที่ประสงค์จะเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมแรกเริ่มนี้ จึงใคร่ขอแนะนำว่า  ทีมงานควรที่จะประวิงเวลาการเลือกประธานกลุ่มตัวจริงไปพลาง ๆก่อน  จนกว่าสมาชิกกลุ่มจะรู้จักกันและกันดีขึ้น  และทางกลุ่มเองก็ได้ทำความกระจ่างชัดในเรื่องบรรทัดฐานสำหรับการทำงานร่วมกันเสียก่อน  กิจกรรมแรกเริ่มมีดังต่อไปนี้

1.  การทำความรู้จักกัน

2.  การนิยามความต้องการการสื่อสารภายในและภายนอก

3.  การพิจารณาทบทวนและแก้ไขปรับปรุงบรรทัดฐานกลุ่ม

4.  การพิจารณาทบทวนอิทธิพลภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อทีม

5.  การทำความเข้าใจกับบริบทแห่งการเปลี่ยนแปลง

6.  การเลือกสมาชิกเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำด้านต่าง ๆ ในกลุ่ม

7.  การพิจารณาทบทวนวงจรรอบปี  (yearly cycle)  ของโรงเรียน

 

การทำความรู้จักกัน  ( Getting  to  Know  Each  Other )

 

                ขอบข่ายที่สมาชิกใหม่รู้จักกันกว้างขวางมากน้อยเพียงใดนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละทีมงานสนาม  ในโรงเรียนขนาดเล็ก  ทุกคนอาจจะรู้จักกันดีมาเป็นเวลานานหลายปี  แต่ในโรงเรียนขนาดใหญ่  สิ่งเช่นว่านี้ก็มีโอกาสเป็นไปได้น้อย  และถึงแม้ผู้บริหารฯ  และสมาชิกกกลุ่มจะรู้จักกันดี  แต่พ่อแม่ผู้ปกครองและสมาชิกอื่น ๆ ในชุมชนอาจจะไม่รู้จักกันหรือไม่รู้จักผู้บริหารฯ และคณะครูดีเท่าไรนัก

                ด้วยเหตุนี้  กิจกรรมแรกของกลุ่ม  จะต้องเอื้ออำนวยให้สมาชิกกลุ่มรู้จักกันและกันมากขึ้น  สิ่งนี้จะสำเร็จลุล่วงไปก็ด้วยการดำเนินกิจกรรมแนะนำตัวหรืออุ่นเครื่องที่เปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มรู้จักกันเป็นรายบุคคล  กิจกรรมเหล่านี้รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับภูมิหลัง  ความสนใจ  และข้อมูลโดยสังเขปเกี่ยวครอบครัว  บ่อยครั้งที่ในระหว่างการประชุมครั้งแรก ๆ หลายต่อหลายครั้ง  จะมีกรกำหนดให้มีการพักการประชุมเป็นเวลายาวนานขึ้น  เพื่อให้สมาชิกกลุ่มได้มีการสนทนากันในบรรยากาศสบาย ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยซึ่งกันและกันมากขึ้น

                อย่างไรก็ตาม  นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดที่กลุ่มจะต้องขยายขอบข่ายการทำความรู้จักกันไปยังผู้ที่อยู่ภายนอกสถานศึกษาให้ดีเสียก่อนที่จะเริ่มภารกิจการงานของกลุ่ม  กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับนักการศึกษาที่จะต้องทำให้ผู้ที่มิใช่นักการศึกษารู้สึกว่าได้รับการต้อนรับและมีคุณค่า  คำถามแรก ๆ ที่สมาชิกใหม่ของกลุ่มใดก็ตามถามตนเองก็คือ  ฉันจะได้รับการยอมรับไหม  มีใครเป็นสมาชิกกลุ่มอีกบ้าง  ฉันจะรับบทบาทหน้าที่ใดได้บ้าง  คำถามเหล่านี้มักจะเป็นประเด็นขึ้นมาเมื่อนักการศึกษา  และผู้ที่มิใช่นักการศึกษาเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กันในเรื่องการตัดสินใจร่วมกัน

                กิจกรรมในใบงานที่ 29  ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยในขั้นตอนแรก ๆ ของการฟอร์มทีมงานสนาม  และช่วยให้สมาชิกทีมงานแต่ละคนร่วมแรงร่วมใจกันผนึกแน่นเป็นทีมงานเดียวกันด้วยวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)  (shared vision)

หมายเลขบันทึก: 293291เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท