แปลภาษาอังกฤษบทที่ 1การบริหารจัดการแบบยึดที่ตั้งเป็นฐาน


งานแปลบทที่ 1การบริหารจัดการแบบยึดที่ตั้งเป็นฐาน

บทที่ 1

การบริหารจัดการแบบยึดที่ตั้งเป็นฐาน

Introduction  to  Site - Based  Management

 

        เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการโรงเรียนในปัจจุบันคือการดำเนินงานให้เหมือนธุรกิจ  นั่นคือเราต้องบริหารจัดการการศึกษาและสร้างหลักฐานทางการศึกษาให้สอดคล้องตามความต้องการในการเปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียนให้ตรงกับลักษณะหรือรูปแบบของชุมชนและสังคมในอนาคต  โดยเน้นที่ตลาดแรงงานซึ่งต้องการทักษะและความรู้ที่แตกต่างไปจากเป้าหมายเดิมในอดีต  แม้ว่าจะไม่ใช่แนวคิดใหม่  แต่เป็นแรงกดดันที่มีกำลังรุนแรงขึ้นเป็นจุดวิกฤติของโรงเรียนต่างๆเป็นอย่างมาก

        แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีผู้เห็นด้วยว่าต้องการความเปลี่ยนแปลง  แต่อย่างไรก็ตามไม่มีทางเลือก  แม้การเปลี่ยนแปลงจะมีความชัดเจนน้อยมาก  ความจำเป็นจะส่งผลกระทบกับนโยบาย  กระบวนการและโครงการหรือประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลง  สิ่งสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคือต้องคำนึงว่าเรากำลังทำอะไร  และทำอย่างไรจึงจะเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้

        ความต้องการในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนคือยึดหลักของความต้องการของท้องถิ่น  คือ

1.       มีภาพลักษณ์รูปแบบของการเรียนและผู้เรียนอย่างไร

2.       มีการนำเสนอโครงการและการให้บริการอย่างไร

3.       มีการจัดระบบการนำเสนอโครงการและบริการอย่างไร

4.       มีการดำเนินการบริหารจัดการในโรงเรียนอย่างไร

จุดสำคัญของหนังสือนี้คือการดำเนินการบริหารจัดการของโรงเรียนอย่างไร

  

การปรับปรุงและการบริหารจัดการโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน

School  Improvement  and  Site-Based  Management

 

        การให้บริการโดยยึดโรงเรียนเป็นฐานนี้เหมือนกับการพยายามจัดการในรูปแบบของการศึกษาในสหรัฐอเมริกา  หลักสำคัญของการจัดการคือส่วนการต้องยอมรับในการในการบริหารจัดการของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่  ดังนี้

-                คุณภาพของการบริหารจัดการการศึกษาต้องได้รับการยอมรับหรือตามข้อตกลงของผู้ที่มีความรู้จริงเกี่ยวกับโรงเรียนและนักเรียน

-                การเปลี่ยนแปลงจะยึดมั่นในความต้องการซึ่งแต่ละโรงเรียนจะต้องปรับให้ยืดหยุ่นได้มากยิ่งขึ้นเพื่อสนองความต้องการ

-                การเปลี่ยนแปลงการให้อำนาจปกครองจากหน่วยงานระดับสูงนั้น

-                การมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินใจจะเป็นผลดีในระดับสูงกว่าการพยายามทำตามคำสั่ง

 

ด้วยเหตุผลเหล่านี้  การพยายามใช้การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนี้คาดหมายว่าจะเป็นจริงได้ในภายหน้าจากการเพิ่มขึ้นของการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพเกี่ยวกับความพยายามในการกำหนดพื้นที่เน้นที่มุมมองคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน  รูปแบบของการเรียนรู้  การให้บริการทางการศึกษา  หลักสูตรสถานศึกษา  นั่นคือการพยายามให้คำจำกัดความกำหนดแผนการเรียน  การให้บริการ  การจัดระเบียบโครงสร้างการเรียนการสอนและการส่งต่อนั่นเอง

  

คำจำกัดความของ

Site-Based  Management  Defined

 

การบริการจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนี้  ได้คำจำกัดความจากบุคคลต่างๆด้วยวิธีการต่างๆ  เพื่อให้การบริหารจัดการบรรลุตามวัตถุประสงค์  การบริหารจัดการประกอบด้วยองค์ประกอบหลัด  ดังนี้

1.       ตัวแทนของผู้มีอำนาจในแต่ละโรงเรียน  พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการจัดการศึกษาของโรงเรียน  ประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคลากร  งบประมาณ  แผนงานและโครงการ

2.       การยอมรับของการมีส่วนร่วมในการพิจารณาจัดรูปแบบของโรงเรียน  โดยคณะผู้บริหารจัดการซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา  ครู  ผู้ปกครอง  ตัวแทนนักเรียนและองค์กรในชุมชน

3.       ความคาดหวังคือการบริหารจัดการโดย ให้โรงเรียนพยายามปรับปรุงพัฒนาให้เป็นโรงเรียนผู้นำ  และเป็นโรงเรียนตัวอย่างได้ง่ายขึ้น

 

 

 

อะไรคือความหมายที่แท้จริง

But  What  Dose  This  Really  Mean?

 

แม้ว่าความคิดที่จะให้แต่ละโรงเรียนดำเนินการเองตามข้อวินิจฉัยของโรงเรียนนี้  เหมือนเป็นการตัดสินใจที่ดีอย่างหนึ่งมีข้อดีคือมีแรงดึงดูด  ความคิดเกี่ยวกับ Site-Based  Management  ได้ก่อให้เกิดประเด็นต่างๆเหล่านี้คือ

1.       การทำงานจริงๆของ Site-Based  Management  นี้คืออย่างไร

2.       ใครเป็นผู้จัดทำชนิดของการตัดสินใจ  หรือใครจะเป็นผู้สรุปวินิจฉัย

3.       ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงบทบาทของหน่วยงานส่วนกลางได้

4.       ผู้บริหารจะต้องทำอะไรบ้างกับการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้

5.       โรงเรียนแบบนี้มีความต้องการอะไรใหม่จากครู

6.       จะได้รับพลังอำนาจและอิทธิพลหรือสูญเสียกันแน่

7.       นี่เป็นความเหมาะสมในเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาอื่นๆที่เรายายามทำแล้วทั้งหมดหรืออย่างไร

8.       เมื่อไรเราจะค้นพบเวลาที่จะทำสิ่งนี้หรือเราจะทำสิ่งนี้เมื่อไร

9.       นี่คืออีกหนึ่งความนิยมชั่วขณะที่เราต้องอดทนจนกระทั่งมันจางหายไปเองใช่หรือไม่

10.    อย่างไรก็ดีเพื่อความสำเร็จของนักเรียน  ต้องกำหนดว่าจะต้องทำอำไร

 

 

 

ความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลง

The  Uncertainty  of  Change

 

ปัญหาข้างบนนำเสนอทางแก้ด้วย  Site-Based  Management  แต่จะไม่เป็นแนวคิดเดียวจากทั้งหมด  แม้จะต้องร้องขอความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของแนวทางที่โรงเรียนตี้องจัดและผู้ดำเนินการต้องทำการวินิจฉัยข้อตกลงหรือข้อบังคับ  แต่มันจะยังไม่ปรากฏชัดเจนได้โดยรวดเร็ว  นี่หมายถึงระดับของการปฏิบัติได้นั้นต้องมาจากบุคคลกลุ่มต่างๆ  และการจัดระเบียบองค์การที่ดี

ดังนั้น  แม้ว่าการบริหารจัดการแบบยึดโรงเรียนเป็นฐานนี้  จะต้องเพิ่มคุณภาพของแผนการสอนจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลทันทีทันใด  ท้องที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่  แต่ละโรงเรียนจะต้องจัดตั้งและดำเนินการเป็นประจำเป็นปกติ  จนกระทั่งช่วงระยะเวลาของความแตกต่างของสถานการณ์ใหม่หรือเงื่อนไขใหม่ที่จะต้องเชิญหน้า  ความรู้จากประสบการณ์นี้ตรงประเด็นน้อยกว่าเป็นเหมือนเครื่องชี้นำพฤติกรรม  ตัวบุคคลถูกท้าทายให้เปลี่ยนแปลงแนวคิด  ความเชื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่  พัฒนาทักษะฝีมือเปลี่ยนรูปแบบธรรมเนียมปฏิบัติของพฤติกรรม

ช่วงเวลาที่รวดเร็วและสับสนของการนำเสนอการเปลี่ยนแปลงนี้  เป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของวิธีการจัดการแบบ Site-Based  Management  ถ้าไม่ควบคุมให้ดีช่วงเวลานี้จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่  บางทีอาจต้องหยุดหรือยกเลิกการใช้วิธีการจัดการแบบนี้ไปก่อนที่จะได้เริ่มต้นใช้ด้วยซ้ำ  หรือมีอยู่เพียงแผนงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแทนการปฏิบัติหรือบิดเบือนพฤติกรรมอันก่อนที่เป็นแบบอย่างที่เหมาะสมอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม  การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ถ้ามีการะมัดระวังและมีการวางแนมาเป็นอย่างดีก็จะทำให้การเริ่มต้นมีความแตกแยกน้อยลง  คาดหมายว่าการบริหารจัดการแบบนี้จะเป็นวิธีการในการปรับปรุงโรงเรียนของเราอย่างได้ผลในโอกาสต่อไป  วัตถุประสงค์ของหนังสือนี้ต้องการช่วยโรงเรียนและท้องถิ่นให้บรรลุผลสำเร็จได้จริง

 

  

มันเป็นความพยายามที่คุ้มค่าหรือไม่

Is  It  Worth  the  Effort?

 

การจัดการโรงเรียนแบบนี้เป็นผลทำให้เกิดการปรับปรุงโรงเรียน  แต่ปรับปรุงเพื่อใคร  เราเชื่อว่าการบริหารจัดการแบบนี้  การนิยา  และการวินิจฉัยในหนังสือนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงโรงเรียนในเชิงพึ่งพาอาศัยกันใน  2  พื้นที่  ดังนี้

1.       โครงการจัดการศึกษาและให้บริการกับผู้เรียน  ผู้ปกครอง  และชุมชน

2.       คุณภาพของงานจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อสมาชิกทั้งหมดขององค์กร

  

 

ยุทธศาสตร์หนึ่งของการที่ทำให้การบริหารจัดการแบบ

Site-Based  Management  ประสบความสำเร็จ

A  Strategy  for  Implementing  Site-Based  Management  

 

หนังสือเล่มนี้ได้จัดเตรียมแนวทางการปฏิบัติสำหรับโรงเรียนและเขตต่างๆที่มุ่งมั่นจะปรับปรุงโรงเรียน

แนะนำกลยุทธ์อย่างกว้างๆ  ส่งเสริมความพยายามในการจัดการโรงเรียน  นับจากขั้นแรกคือ  ความจำเป็นต้องตรวจสอบให้มากขึ้น  ความสำคัญของงการบริหารจัดการแบบนี้คือตรวจสอบความรู้  ทักษะ  และภาพลักษณ์ที่จำเป็นที่จะสร้างความสำเร็จของโรงเรียนในท้องถิ่นจำนำเสนอการอภิปรายทั่วไปในบทที่  2

การอภิปรายที่จะตามมาเป็นข้อมูลช่วยให้ผู้อ่านตรวจสอบความหลากหลาย  ชนิดของวิธีการ  การ

ประยุกต์ใช้  และรูปแบบ  ด้วยตัวเอง  หนังสือนี้มุ่งให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางเกี่ยวกับความเหมาะสมในการปฏิบัติในการบริหารจัดการโรงเรียนแบบนี้  การแนะนำการปฏิบัติ  และใบงานที่จะต้องใช้โดยผู้ร่วมงานของท้องถิ่น  โดยสรุปแล้วกลยุทธ์จะทำเพื่อท้องถิ่นและโรงเรียน  คำถามต่างๆและกิจกรรมเป็นองค์ประกอบที่เป็นแบบอย่างในการจำแนกรายละเอียด  การออกคำสั่งภายใต้สถานการณ์และความจำเป็นที่จะมีอิทธิพลอันเป็นผลต่อการบริหารจัดการแบบ  Site-Based  Management  (บริหารจัดการที่ตั้งเป็นฐาน)

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 293252เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท