มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ


มหาวิทยาลัยวิจัย : การพัฒนาอุดมศึกษาไทย

           จากการที่ สกอ.ได้กำหนดให้ปี 2552  เป็นปีแห่งคุณภาพการศึกษาไทย  และได้มีการคัดเลือกมหาวิทยาลัยขึ้นจาก 15 แห่ง ได้ 9 แห่ง ซึ่งได้แก่  จุฬา  มธ.  มก. มหิดล  มข. มอ. มช. ม.สุรนารี และมจธ.  จะเน้นวิจัยเพื่อผลงานที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น โดยมีงบประมาณสนับสนุนให้กับมหาวิทยาลัยดังกล่าว ถึง 9000 ล้านบาท ส่วนอีก 69 มหาวิทยาลัยที่เหลือจะมีงบประมาณประมาณ 3000 ล้านบาท ในระยะ 3 ปี โดยงานวิจัยที่จะสนับสนุนนั้น เน้นงานวิจัยที่นำมาใช้ได้จริงและเป็นงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ชุมชน ท้องถิ่น งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและ SMEs หรือรัฐวิสาหกิจขนาดย่อย ทั้งนี้ หากมหาวิทยาลัยที่เหลือสามารถผลิตงานวิจัยได้ตามเกณฑ์ หรือสามารถติด 500 อันดับโลกในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกแล้ว ก็จะได้รับการประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติในปีต่อ ๆ ไป  ดังนั้นมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เหลือก็สามารถแข่งขันเพื่อให้ติดอันดับได้เช่นกัน  สู้ ๆ ๆ ๆ เพื่อพัฒนาอุดมศึกษาไทย  สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลจากเวปไซด์ สกอ. ค่ะ 

มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติไม่ใช่การจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ขึ้น แต่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพ ที่สามารถทำการวิจัยระดับชาติ ระดับสากล และมีผลงานระดับโลกได้ สำหรับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ที่จะได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ทำวิจัย โดยเน้นเป้าหมาย ๒ ส่วน คือ วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และต้องเป็นผลงานวิจัยสร้างองค์ความรู้ที่ได้รับ การยอมรับในระดับโลก ระดับนานาชาติ ส่วนที่สองคือต้องมุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนา อุตสาหกรรม พัฒนาการเกษตร พัฒนาภาคบริการ ภาคสังคม การแพทย์ สาธารณสุข

           มหาวิทยาลัยที่ได้รับการประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติได้ จะต้องเข้าเกณฑ์คือ ต้องติดอันดับ ๑ ใน ๕๐๐ มหาวิทยาลัยโลก ซึ่งประเทศไทยมี ๗ มหาวิทยาลัย ดังนั้น ๗ มหาวิทยาลัยนี้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด แต่สำหรับมหาวิทยาลัยที่ไม่ติดอันดับ ๑ ใน ๕๐๐ มหาวิทยาลัยโลก จะต้องเข้าเกณฑ์ ๓ ข้อ ดังนี้      

๑) จะต้องมีผลงานวิจัยใน ๕ ปีที่ผ่านมาได้รับการตีพิมพ์ในระดับโลก อย่างน้อย ๕๐๐ เรื่อง

 ๒)ใน ๕๐๐ เรื่องที่ได้ตีพิมพ์ต้องมี ๕ สาขาวิชาหลัก และต้องมีความโดดเด่นอย่างน้อย ๒ ใน ๕ สาขาวิชาหลัก

๓) อาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นๆ จะต้องจบปริญญาเอก อย่างน้อย ๔๐% ของอาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัย

           อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยอื่นๆ ไม่ได้หมายความว่าจะหมดสิทธิ์ที่จะได้รับการประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่ง ชาติ เพราะ ๙ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่ประกาศไป เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติประจำปี ๒๕๕๓ ซึ่ง ๙ มหาวิทยาลัยนี้จะต้องทำแผนงานวิจัยเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการที่จะ พิจารณา และจะต้องมีการประเมินผลงานทุกๆ ๖ เดือน หรือ ๒ ครั้งต่อปี เพื่อให้มหาวิทยาลัยที่ได้รับการประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติได้ตื่นตัวและสร้างผลงานนำไปสู่การพัฒนาได้จริง 

การพัฒนาอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยนั้น เครื่องมือที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุด คือ การวิจัยและนวัตกรรม  

การวิจัยและนวัตกรรม คือ ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย  

ภารกิจนี้ มีความสำคัญที่สุดและเบ็ดเสร็จและสมบูรณ์ในตัวเองที่จะทำให้ภารกิจอื่นของมหาวิทยาลัยบรรลุได้ทั้งหมดด้วย คือ  

(1) การวิจัยและนวัตกรรม เป็นการสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่  

(2) การวิจัยและนวัตกรรม สามารถใช้เป็นกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนได้ในทุกระดับ 

 (3) การวิจัยและนวัตกรรม สามารถใช้เป็นกิจกรรมเพื่อการบริการวิชาการแก่สังคมได้  

(4) การวิจัยและนวัตกรรม เป็นการสร้างภูมิปัญญา สืบทอด และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของประเทศ  

โดย ศาสตราจารย์ ดร. เพทาย เย็นจิตโสมนัส

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 293212เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  1. จาก มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2553 ทั้ง  9 แห่ง พบว่า เป็น ภาคกลาง 5 แห่ง (56%ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง (22%) ส่วนภาคเหนือและภาคใต้เท่ากัน อย่างละ 1 แห่ง (11%) ครับ
  2. มหาวิทยาลัยทั้ง 9 แห่งที่ได้รับคัดเลือก จะมีความเข้มข้นมากขึ้นในด้านการวิจัย  มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะต้องรักษาปริมาณงานวิจัย ให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าเดิมหรือย่างต่ำไม่น้อยกว่าปีละ 100 เรื่อง รวมทั้งต้องรักษาอันดับหรือเขยับอันดับในการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยโลกไว้ด้วย โดยจะมีการประเมินผลทุก 6 เดือน
  3. ประเด็น มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ของท่านคุณหมอวิจารณ์  ครับ
  4. ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท