ด.ญ.แก้ม เสียงใส act 2 ต่อ


problem based learning

ปัญหาที่พบจากการทำกิจกรรมกลุ่มวันนี้

1.      ความรู้ที่นักศึกษาหามาไม่สามารถตอบคำถามได้ทั้งหมดในวันนี้ ลองให้นศ.ตั้งสมมติฐานว่าเกิดจากอะไร

a.      ความรู้ที่หามาค่อนข้างกว้าง ยังไม่ลึกพอที่จะอธิบายสิ่งที่เป็นปัญหาได้ทั้งหมด ต้องตั้งคำถามต่อยอดเพื่อให้ตอบได้ถึง anatomy, histology, pathophysiology

b.      เลื่อน PBL มาทำก่อน ทำให้ยังไม่ได้เรียน lecture จึงขาดมุมมองและกรอบของสิ่งที่ควรรู้ที่ได้จากการเรียน ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ในการนำมาสนับสนุนเรื่องที่เป็นประเด็นอภิปราย

c.      แหล่งความรู้ที่หามาเป็นหนังสือภาษาไทย บางส่วนค่อนข้างเก่า บางส่วนเป็นข้อมูลจาก internet หลายส่วนก็ขัดแย้งกันไม่รู้ว่าควรจะเชื่อถือข้อมูลไหนดี

d.      ไม่เข้าใจสิ่งที่ค้นคว้ามา อธิบายให้เพื่อนเข้าใจยาก และบางครั้งก็ทำให้เพื่อนสับสน

e.      การตั้งคำถามต้องให้ชัดเจนว่าอยากรู้เรื่องอะไร ต้องการคำตอบลึกและครอบคลุมถึงไหน

f.        การทำกลุ่มครั้งที่แล้วตกลงกันว่าให้ทุกคนอ่านทั้งหมด ไม่มีคนใดคนหนึ่งรับเรื่องเฉพาะ จึงอาจทำให้ไม่มีใครหาในเชิงลึก เพราะต้องอ่านทั้งหมดทุกคน โดยใช้เวลาเท่ากัน

2.      อาจารย์ผู้คุมต้องขัดจังหวะกระบวนการกลุ่มค่อนข้างบ่อยใน act 2

a.      มีการอภิปรายกลุ่มย่อยๆเกิดขึ้นพร้อมกันหลายครั้ง ทำให้อาจารย์ที่คุมต้องขัดจังหวะ

b.      คำตอบที่ได้มา แม้จะตอบคำถามได้ แต่ไม่ลงลึกถึง anatomy, histology, pathophysiology และไม่เชื่อมโยงกับสมมติฐานที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด อาจารย์ผู้คุมจึงต้องขัดจังหวะกระบวนการกลุ่ม โดยการตั้งคำถามและยกประเด็นที่ต้องให้นศ.อภิปรายกันบ่อย

c.      อภิปรายสมมติฐานได้แต่บางประเด็นยังไม่ถูกต้อง ไม่มีใครในกลุ่มค้าน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนในกลุ่มตามทันหรือไม่ หรือเข้าใจแบบผิดเหมือนคนนำเสนอ รวมทั้งไม่มีการสรุปจากประธานกลุ่ม อาจารย์จึงต้องแทรกถาม และลองให้เพื่อนที่ฟังอยู่สรุปให้ฟังอีกรอบ ซึ่งก็จะทราบทันทีว่าเพื่อนที่นั่งฟังไม่เข้าใจสิ่งที่เพื่อนนำเสนอและคิดตามก็ไม่ทัน

d.      การนำเสนอเป็นการอ่านจากหนังสือ หรือบันทึกย่อ เพื่อนคิดตามไม่ทันและจินตนาการภาพไม่ออก อาจารย์จึงต้องขัดจังหวะโดยให้คนนำเสนอออกไปเขียนเป็น diagram และ flow chart อธิบาย ซึ่งมีข้อดีคือจะทำให้เพื่อนที่ฟังอยู่เห็นภาพ เข้าใจสิ่งที่เพื่อนกำลังอธิบายได้ง่ายขึ้น คิดตามทันในสิ่งที่เพื่อนพูด และเห็นบางประเด็นชัดขึ้น รวมทั้งรับรู้ว่าสิ่งที่เพื่อนอธิบายอยู่ถูกต้องหรือไม่

3

.      นศ.ไม่กล้าใช้หนังสือที่แนะนำในคู่มือ ซึ่งเป็นฉบับภาษาอังกฤษ.............อธิบายเน้นย้ำความสำคัญและความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าต้องเริ่มฝึกใช้ตั้งแต่ปี 2 แล้วต่อไปจะดีขึ้น ยากตอนเริ่มแต่ถ้าไม่ยอมเริ่มซะทีก็ไม่มีโอกาสพัฒนา

4.      Scenario มีปัญหาที่ต้องเรียนรู้หลายข้อ ถ้านับจากคู่มือที่ให้อาจารย์ มีทั้งหมด 32 ข้อ มีการกำหนด learning objectives ทั้งหมด 20 ข้อ เพื่อให้นศ.ไปหาความรู้มาอ่าน และอภิปรายกันใน act 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ชม.  แต่คำถามหรือปัญหาที่นศ.ในกลุ่มตั้งได้จริงๆ มี 10 ข้อ กำหนด learning objectives เฉพาะหัวข้อใหญ่ได้ 3 ข้อ ซึ่งก็ใช้เวลาเพื่อการอภิปรายพูดคุยกัน ตอบคำถาม และทดสอบสมมติฐานนานเกินกว่าที่กำหนดมาให้

5.      scenario มีความรู้หลายเรื่อง หลายประเด็นมารวมกันเป็นตัวอย่างผู้ป่วยคนเดียวเพื่อให้นศ.ได้เรียนรู้ เช่น anatomy, histology, physiology, pathology, infection, clinical symptoms, disease, imaging, diagnosis, treatment, medication ซึ่งมีข้อดีคือทำให้นศ.สามารถฝึกคิด เชื่อมโยงความรู้ทุกอย่างได้ให้เป็นเรื่องเดียวกัน แต่สำหรับนศ.ที่เพิ่งเริ่มเรียนมีความรู้ยังไม่มากพอ ความคิดยังไม่แตกฉาน ไม่สามารถนำเหตุผลมาอธิบายสมมติฐานหรือตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง อาจจะทำให้สับสนมาก โดยเฉพาะถ้าอาจารย์ผู้ควบคุมไม่มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องนั้นๆ การโยนคำถามให้นศ.คิดหรือเปิดประเด็นบางเรื่องอาจเป็นดาบสองคมต่อนศ. ซึ่งนำมาด้วยคำถามที่ว่า อาจารย์ผู้ที่เป็น facilitator ควรมีความสามารถทำหน้าที่เป็น resource person ที่ดีให้กับนศ.ในกลุ่มด้วยหรือไม่ เนื่องจากกระบวนการคิด ตั้งปัญหา สมมติฐาน ก็เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกับการลองคิดผิดคิดถูก แต่สุดท้ายหลังจากลองคิดแล้ว นศ.ก็ควรได้เหตุผลไปประกอบเรื่องที่มีความถูกต้องด้วย .............สรุป.......อาจารย์ก็ควรตั้งคำถาม คิดสมมติฐานไปพร้อบกับนศ.ในกลุ่ม แล้วก็ควรไปหาความรู้เพื่อมาทดสอบความถูกต้อง ความเข้าใจของการอภิปรายที่นำเสนอโดยนศ.ในกลุ่มด้วย (ไม่ใช่เป็นการนำอภิปรายโดยอาจารย์ หรือเสริมนศ.ว่าใครคิดถูกคิดผิด แต่การที่อาจารย์ผู้คุมมีความรู้ในเรื่องนั้น จะมีความสามารถในการ challenge เด็กให้คิดได้เองว่า ความรู้ที่นำมาอธิบายหรืออภิปรายกันน่าจะตอบคำถาม อธิบายปัญหา ทดสอบสมมติฐานได้หรือไม่ และโดยไม่ทำให้เกิดความสับสนในองค์ความรู้ด้วย)

 

 

คำสำคัญ (Tags): #problem based learning
หมายเลขบันทึก: 293200เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท