พัฒนาการมนุษย์ 31/08/52


ครอบครัวในอุดมคติ

วันนี้เรียนพัฒนาการมนุษย์ อ.นิตยา อ.วิมลทิพย์ อ.อิทธิพล

                ประเด็นที่เทอร์โบสนใจคือ services ต่างๆที่จะมาช่วยในเรื่อง “ความเข้มแข็งของครอบครัว” (ที่เป็นรูปบ้านแล้วเสาบ้านมี 4 แบบ คือ 1.Ordinary-ทั่วๆไป ธรรมดาๆ 2.Strong-แข็งแกร่งสุดๆ เสริมคอนกรีตอีกต่างหาก 3.At risk-เริ่มเสี่ยงๆและ เริ่มเบี้ยวๆเอียงๆและ 4.Troubled-มีปัญหาแล้วครับพี่น้อง)

                โอเค...เรามาพูดถึง services ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น mass media ,health ,education ,community- development ,welfare ,religion ,social-support  etc.

                การที่เราพูดถึง services ต่างๆในที่นี่นั้น มันก็เป็นในภาพกว้างๆ เป็นในภาพรวม คือแทบจะทุกภาคส่วนของสังคมควรจะมีบทบาทในการสร้าง ”ความเข้มแข็งให้ครอบครัว” ...ว่างั้นเถอะ แต่เราลองมานึกว่า services ตัวไหน ที่น่าจะมีอิทธิพล มีผลกระทบได้ชัดเจน เข้าถึงครอบครัวได้มากที่สุด

                ประเด็นที่น่าสนใจคือ education (ซึ่งคงจะต้องวางแผนกันในระยะยาว เพราะการศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน เหมือนประเทศไทยตอนนี้ที่ยังงงอยู่เลยว่าการศึกษาจะไปทางไหนกันแน่ ไม่ได้มีความชัดเจน และเหมาะสมเท่าที่ควร) การศึกษานั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้คือ “ความเข้มแข็งของครอบครัว”

                การที่เราใส่ใจการศึกษาใน case นี้นั้น ไม่ใช่การศึกษาทั่วไป ไม่ใช่การศึกษาที่มีแต่เฉพาะในตัวเด็กเท่านั้น เรามาลองนึกดูว่า หากเราให้การศึกษาเฉพาะแต่ในตัวเด็ก มันจะไปมีประโยชน์อะไรหากพ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กไม่ได้มีความรู้ด้วยควบคู่กันไป

                แนวโน้มเรื่องการศึกษาสำหรับพ่อแม่ในปัจจุบันนั้น ก็เริ่มมีการใส่ใจมากขึ้น อย่างเช่นในโรงเรียนบางโรงเรียน เช่น โรงเรียนมัธยมกำแพงแสน(ถ้าจำไม่ผิด) หากผู้ปกครองต้องการนำลูกเข้าเรียนในโรงเรียนนี้ ผู้ปกครองก็ต้องเข้าสอบด้วยเช่นกัน ซึ่งหากผู้ปกครองสอบไม่ผ่าน เด็กก็จะไม่มีสิทธิ์เข้าเรียนในโรงเรียนนี้ โดยข้อสอบของผู้ปกครองไม่ใช่ข้อสอบในด้านวิชาการ หรือตำราอะไร แต่เป็นในด้านเกี่ยวกับจริยธรรม ศีลธรรม ความเข้าใจลูกในแง่นั้นซะมากกว่า(ฟังมาวันที่อาจารย์พวกเรา present งานวิจัย) ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดีในการที่ผู้บริหารของโรงเรียนนี้ มีความเข้าใจในความเป็นจริง ว่าการศึกษานั้น ต้องมอบให้ทั้งครอบครัวของเด็ก ไม่ใช่เฉพาะตัวเด็กเอง ซึ่งก็จะเป็นผลทำให้พ่อแม่มีความเข้าใจในตัวเด็ก มีความรู้ในด้านการเลี้ยงดู และส่งผลให้ถึงประเด็นที่เรากำลังนึกถึง “ความเข้มแข็งของครอบครัว”

                และในวันนี้ ที่เราได้ฟังอาจารย์นิตยาพูด “กระทรวงสาธารณสุขกำลังทำเรื่องนี้อยู่ โรงเรียนพ่อแม่” ก็ทำให้เรารู้สึกถึงแนวทางที่ถูกต้องที่จะเกิดที่สังคมไทยในอนาคต

                เอาเท่านี้ก่อนแล้วกัน เหนื่อยๆ งงๆ ใครอ่านแล้วก็ discuss กันนะ หรือเขียนในประเด็นที่เรียนวันนี้ที่อยากเขียนก็ยิ่งดี เราจะได้เข้าใจความคิดของกันและกัน แถมเป็นการเปิดโลกทรรศน์ และได้ใช้ imagination อย่างเต็มที่ด้วย นอกจากนั้น อาจจะมีประโยชน์ในตอนสอบอีกนะ โอยๆ...ข้อดีทั้งนั้น  :D

หมายเลขบันทึก: 293129เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เบญจ์ค่ะ

สำหรับตัวเบญจ์เองที่ได้วันนี้ ได้ไปเยอะ ความรู้อัดแน่นเต็มสมอง ๕๕๕ แต่ที่ติดใจมากที่สุด คงจะเป็นคำว่า "โครงสร้าง" การแก้ปัญหาที่โครงสร้างที่เทอร์โบถามอ.อ่ะ โอเค เกท เข้าใจ เข้าใจด้วยว่าเป็นไปได้ยาก มันจะไปทำได้ยังไง๊ อย่าว่าแต่แค่โครงสร้างเลย กับกฎหมายเอง โครงสร้างนี้ก็ยังคงยึดติดอยู่อย่างมาก และคิดว่าคงขุดได้ยากด้วย เช่นนะ วันนี้ที่เห็นได้ชัดๆ ที่อ.เองก็เป็นคนยกตัวอย่างเองว่า ผู้ชายไปมีผู้หญิงคนอื่น มีบ้านเล็กบ้านน้อย โอเค อาจจะผิด แต่...ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่าในความรู้สึกที่ว่า ผู้หญิงมีบ้าง เข้าใจว่ามันผิดนะ เข้าใจในความไม่เท่าเทียม เข้าใจในบริบทของจารีต วัฒนธรรม ฯลฯ อะไรก็แล้วแต่ที่สังคมหล่อหลอมกันมาให้คิดแบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยาก เพราะมันหยั่งลึกถึงโครงสร้างทางสังคมไปแล้ว

ไม่ต้องอะไรหรอก กฎหมายที่ว่าด้วยการไปมีคนอื่น (แบบว่าจำรายละเอียดได้ไม่มากนะ เพราะอะไรก็คงจะรู้กัน ๕๕๕)"สามีที่ไปอุปการะหญิงอื่น หรือภารยาที่มีชู้ ถือว่ามีความผิด......" (ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ แก้ไขให้ได้ก็เอาเลยนะ ไม่ว่ากัน) ฟังและอ่านครั้งแรก แบบ เฮ่ย!!! ไรวะ มันแบบ เข้าใจความรู้สึกใช่ป่ะ อารมณ์ว่า เออเว้ย มันคงหยั่งลงลึกไปถึงโครงสร้างชนิดที่ขุดไม่ออกจริงๆ เพราะแม้กระทั่งกฎหมาย ยังอุดช่องโหว่ทางความคิดนี้ไม่ได้ แปลกดีนะเออ ทั้งที่ความหมายก็ไปในทางเดียวกัน แต่ ภาษาที่ใช้นั้น....ช่างแตกต่างโดยสิ้นเชิง

...........โครงสร้าง...ต่างอะไรกับคำว่านิสัย (หรือ....) ที่มันขุดยาก รึเปล่า..............

เห็นด้วยน่ะที่การศึกษาเป็นการวางรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ และพัฒนาประเทศชาติต่อไป แต่ถ้าสังเกตุในปัจจุบันพ่อ แม่ ผู้ปกครองมักหวังพึ่งแต่ทางโรงเรียนหรือสถานศึกษา เห็นได้จากการที่เกือบทุกองค์การบริหารส่วนตำบล จะมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เวลาลูกเรียนไม่เก่งก็บอกว่าครูไม่สอนไม่สนใจ ย้ายโรงเรียนไปเลยก็มี หรือลูกไม่สบายก็โทษว่าติดมาจากที่โรงเรียน ทั้งๆ ที่บ้างครั้งอาจจะมาจากสาเหตุอื่นก็ได้ ลูกไม่ได้อยู่แค่ที่โรงเรียน และพ่อแม่อาจทำงาน จนไม่มีเวลากวดขันเรื่องการอ่านหนังสือและการทำการบ้านของลูก เป็นต้น ดังนั้นการแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืนคือ การร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งที่บ้าน โรงเรียน และสังคมในการช่วยกันเป็นพี่เลี้ยงช่วยประคับประคองอานาคตของชาติเหล่านี้

pandabay

เทอร์โบคิดเหมือนเบญจ์เลยอะ ตอนเรียนอะ "สามีที่ไปอุปการะหญิงอื่น หรือภารยาที่มีชู้" งงเลยเหมือนกัน แต่มันคงมีเหตุผลของมัน ซึ่งปากหนัก ไม่ได้ถามอาจารย์ ไม่งั้นคงได้อะไรจากอาจารย์มาอีกอะ (วันนี้อาจารย์พูดได้ดีอะ แอบชมซะหน่อย)

ที่พี่เบพูดอะถูกเลย เราต้องบูรณาการกันทุกฝ่าย ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย เพื่อให้สังคมมันไปรอด ให้คนในสังคมมันไปรอด ให้เด็กๆ อนาคตชาติมันไปรอด เราต้องพยายามผลักดันกันอะ เพราะในบางครั้ง รัฐบาลก็พึ่งพาไม่ค่อยได้

คำถามคือ เราในฐานะ ณ ตอนนี้ เราจะพยายามผลักดันอย่างไร เพื่อให้เห็นผลในระดับหนึ่ง เพื่อให้เต็มศักยภาพ ณ ปัจจุบันของเรา ทียังเป็นนักศึกษาอยู่

การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว ที่เรียนในวันนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับเราเหมือนกัน เห็นได้จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไป บางข่าวเห็นแล้วก็น่ะ เออ ชีวิตนี้มันยากเสียนี่กระไร...

เข้าเรื่องดีกว่า...คือจากที่เทอร์โบพูดมาก็ต้องใช้หลายๆ service ช่วยกันในการเสริมสร้าง แต่เราว่าก็ยากที่จะทำให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในแต่ละที่แต่ละเวลา ซึ่งบางครั้งก็ทำแต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากสังคมก็เริ่มที่จะหยุด บวกกับปัญหาต่างๆในครอบครัวจะเด่นชัด เลยไปแก้ที่ปลายเหตุดีกว่า เห็นผลชัดดี แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับต้นเหตุ ก็คือเรื่องสัมพันธภาพของครอบครัว ซึ่งก็ต้องคิดหาแนวทางกันต่อไป ไม่ยากเกินความสามารถมนุษย์หรอกถ้าตั้งใจจะทำจริงๆ

การเสริมสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง ในด้านเรื่อง education ตอนนี้เราเห็นหลายโรงเรียนกำลังทำอยู่ แล้วบางโรงเรียนก็ทำมานานแล้วด้วย เช่น ให้ผู้ปกครองใกล้ชิดนักเรียนมากขึ้น โดยให้ส่งตัวแทนผู้ปกครองในห้องเรียนเข้าประชุม เพื่อให้รู้ปัญหาของโรงเรียน แล้วก็ส่งต่อความคิดนั้นๆให้ผู้ปกครองคนอื่นในห้อง ซึ่งเราคิดว่ามันสามารถทำให้ผู้ปกครองใกล้ชิดโรงเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากขึ้นก็จริง แต่ว่าส่วนใหญ่จะเป็นเชิงการแก้ปัญหา+ส่งเสริมกิจกรรมภายในโรงเรียนมากกว่า ดังนั้นการเข้าถึงก็ไม่ยากอย่างที่คิดแล้วสำหรับเรา ถ้าโรงเรียนใช้เวลานี้เปลี่ยนกิจกรรมจากการแก้ปัญหาภายในโรงเรียนเป็นการสร้างสัมพันธภาพก็จะดีกว่านี้ โดยเฉพาะในโรงเรียนมัธยมอะ คือตอนนี้โรงเรียนอนุบาล-ประถม เค้าก็ทำพวกกิจกรรมต่างๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว เช่น กีฬาสี ฯลฯ ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมด้วย แต่เห็นได้ชัดว่าจะมาหยุดที่โรงเรียนมัธยมนี่แหละ ซึ่งก็อย่างที่บอก เป็นการแก้ปัญหามากกว่า เด็กวัยนี้ปัญหาเยอะ จริงป๊ะ แล้วการแก้ปัญหามันเห็นได้ชัดเจนมากกว่าจะมาสร้างสัมพันธภาพครอบครัว ซึ่งแก้ยาก คิดยาก ทำยาก ทำไปไม่เห็นผลชัดเจน (คนส่วนใหญ่ก็คิดแบบนี้)สรุปเข้าถึงไม่ยากแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ...

ศาสนา กับ mass media ตอนนี้ที่สังคมกำลังทำอยู่เราว่าเข้าท่าสุดนะ คือ ศาสนาเป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะสนใจหรือเข้าถึงอยู่แล้ว แต่ตอนนี้ที่เค้าทำคือการเอาข้อคิดดีๆเกี๋ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันภายในสังคม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน เพื่อนๆ เช่น ทำเป็นการ์ตูนสอดแทรกธรรมมะ ซึ่งเราก็ชอบดูนะ เบ็นโบ๊ทอะ เป็นการ์ตูนไทยที่สนุกเรื่องเดียว 555+ เป็นการปลูกฝังง่ายๆให้กับเด็กเลยอะ ส่วนสื่ออื่นในทีวีที่ไม่ใช่การ์ตูน บางครั้ง การนำเสนอก็ไม่เหมาะสม ณ บางจุด ซึ่งก็อยู่ที่คนสร้างแล้วว่าทำได้แค่ไหนถึงจะเหมาะสม ก็อย่างว่าศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทำทีก็ต้องคิดหนัก คิดแล้วคนอื่นจะคิดแบบเรารึป่าว ซึ่งผลเสียจะเห็นได้ชัดเจนมากกว่า service ด้านอื่นๆ จริงป๊ะ ในมุมมองของเรา บางครั้งเราว่าเรื่องนี้เองทำให้ศาสนากับ mass media เหมือนจะไปด้วยกันไม่ได้ซะทีเดียว

เป็นการแสดงความคิดเห็นอันแรก 555+ พิมไปงงไป ยังไงก็ถามนอกรอบได้นะ

วันนี้พอแค่นี้ก่อน เรื่องมันยาวววววว ^^

นัตตาลืมลงชื่อ (ความคิดเห็นที่5)

5555+ เพี้ยนละ

ศาสนากับ mass media อะ มันเป็นอะไรที่หา balance ยากเหมือนกันนะหากว่า mass media นั้นๆยังต้องการหากำไรสูงสุด ยังไม่ได้ทำเป็นในลักษณะ social enterprise (หมายความว่าเป็นโครงการ หรืออะไรก็ตามที่ไม่ได้หวังผลกำไรทางเศรษฐกิจสูงสุด)ก็จะทำให้ศาสนาใช้สื่อเป็นตัวกลางค่อนข้างยาก เพราะต้องยอมรับว่า ระหว่างการนำเสนอละคร หรืออะไรก็ตามที่ตอบสนองต่อ instinct คนนั้น(เพศ ก้าวร้าว)จะขายได้ง่ายกว่า ใช้ความคิด ใช้ความพยายามในการบูรณาการน้อยกว่า แต่หากจะทำรายการที่เป็นศาสนานั้น จะต้องอาศัยความคิด อาศัยจินตนาการ และอื่นๆเข้ามาประกอบ เพื่อทำให้รายการนั้นๆ ทำให้ column นั้นๆ มีความน่าสนใจ หรือไม่ก็เพื่อเป็นกุศโลบายในการชักชวน โดยเฉพาะเด็กๆให้หันมาสนใจในศาสนาผ่านสื่อต่างๆ

อย่างไรก็ตาม หากทางรัฐบาล หรือองค์กรเอกชนที่หวังจะทำประโยชน์เพื่อสังคมได้เข้ามาทำในเรื่องนี้แล้ว ศาสนา กับ mass media ก็จะสามารถไปด้วยกันได้ โดยหวัง benefit ในด้านทุนลดลง และหวัง benefit ในด้านคุณธรรมของสังคมมากขึ้น

เทอร์โบ ลืมแจ้งชื่อเหมือนกันครับพี่น้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท