อยู่กับชีวิต : ปัจจยการ ๑๑ แห่งชีวิต ตอนที่ ๓


ทวารชีวิต คือที่เชื่อมต่อ เป็นที่สำหรับให้เกิดการเรียนรู้และเป็นที่ผ่องถ่าย กระบวนทัศน์ออกมาเป็นพฤติกรรม โดยใช้ความเป็นใหญ่แห่งทวารนั้น ๆ โดยท้ายสุดสำคัญอยู่ที่ใจ เก็บรับ กลั่นกรอง สร้างสานเพื่อก่อชีวิตเราให้เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล

. ทวารชีวิต : ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ /

  อายตนะ ๖ (ฐานการเรียนรู้)

 

 

เราได้เรียนรู้ถึงความเคลื่อนไหว อาการชีวิต และองค์ธรรมอันเป็นตัวกำหนดชีวิตและยุทธศาสตร์ชีวิตที่เป็นหมายหลักผ่านมา ๒ ข้อแล้ว   ทีนี้มาถึงข้อ ๓ นี่  คำ ๕ คำนี้เป็นจุดสตาร์ท เป็นจุดเริ่มที่จะทำให้เกิดกระบวนการภายในชีวิตมนุษย์ 

 

          นี่เป็นประตูชีวิต

 

          เป็นประตูชีวิตมนุษย์ที่เปิดรับสรรพสิ่งที่เราเห็นได้ด้วยตาและเห็นได้โดยใจ

 

          ประตูชีวิตมนุษย์ คือ ดวงตา  ตาเราเห็นรูปพรรณสัณฐาน หูเราได้ยินเสียง จมูกเราได้กลิ่น ลิ้มเราได้รับรู้รส กายเราได้จับต้อง ใจเรารู้สึกนึกคิด

 

          ตรงนี้เรียกว่า ฐานการเรียนรู้ชีวิต เป็นตัวรับ เป็นตัวนำเข้าสรรพสิ่งเพื่อไปสู่กระบวนการภายในชีวิต

 

          กระบวนการภายในชีวิตอยู่ที่สมองและหัวใจ

 

          สมองที่เป็นก้อนและสมองที่เป็นตัวรู้

 

          หัวใจที่เป็นก้อนและหัวใจที่เป็นตัวรู้

 

 

          ฐานการเรียนรู้ชีวิตทั้ง ๖ นี้พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า อินทรีย์ ด้วยเช่นกันเพราะมีความเป็นใหญ่ เป็นทางของการเรียนรู้ชีวิตโดยเป็นตัวตั้งรับ (

Input) ของชีวิตที่จะนำสิ่งที่ได้รับเข้าไปสู่การไตร่ตรอง (Procedure) แล้วกระทำการออกมา (Output)

 

          ในขั้นตอนของทวารชีวิตทั้ง ๓ ช่วงนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงองค์ธรรมไว้เพื่อให้เป็นบทศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติ ๒ ข้ออันเป็นประธาน คือ ๑ การเลือกรับทุกสรรพสิ่งที่เป็นกัลยาณมิตร ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่ดี คบหาสมาคมกับผู้คนที่ดี และอยู่กับสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและสังคมที่ดี ๆ  ที่สำคัญคือ อยู่กับใจที่ดีมีความรู้สึกเป็นกลาง ๆ ไม่พร่ามัวสั่นไหวและไม่ลิงโลด 

 

          ใจที่ดี เกิดได้ด้วยองค์ธรรมที่ ๒ คือ โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การรู้จักไตร่ตรองมองชีวิตให้เป็น  ตรงนี้เป็นกระบวนภายในชีวิต เป็นหน้าที่ของสมองและหัวใจ นั่นก็คือการใช้สติปัญญามาวินิจฉัยเหตุการณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่เข้ามาและมีขึ้นในชีวิตเรา

  ตรงนี้เป็นการใช้อินทรีย์ ๕ เข้ามากำกับ

 

          เมื่อเรารู้เห็นสภาพความเป็นจริง ๆ ของสิ่งนั้น ๆ ที่ปรากฏขึ้นแล้วนั้น เราก็ใช้พละ ๕ เพื่อเป็นกำลังให้แก่ชีวิตโดยการเอาความเชื่อมั่น ความพากเพียร สติสมาธิปัญญามาใช้ในการบริหารจัดการชีวิต

 

 

          ทวารชีวิต คือที่เชื่อมต่อ เป็นที่สำหรับให้เกิดการเรียนรู้และเป็นที่ผ่องถ่ายกระบวนทัศน์ออกมาเป็นพฤติกรรม  โดยใช้ความเป็นใหญ่แห่งทวารนั้น ๆ โดยท้ายสุดสำคัญอยู่ที่ใจ เก็บรับ กลั่นกรอง สร้างสานเพื่อก่อชีวิตเราให้เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 292340เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท