ญี่ปุ่นเปิดตลาด รับผลิตภัณฑ์สตรีสหกรณ์ไทย


สหกรณ์ไทยและญี่ปุ่น

 

สหกรณ์ไทยและญี่ปุ่น ยกระดับความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ พร้อมขยายช่องตลาดสินค้าสหกรณ์

1.     เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศญี่ปุ่น

         อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(นายชาติชาย พุคยาภรณ์) และคณะ ได้เข้าพบ
Mr. Noritoshi Ishida : Senior Vice – Minister of Agriculture , Forestry and Fisheries (MAFF)
ณ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศญี่ปุ่น

        สรุปประเด็นที่ได้แลกเปลี่ยนหารือ ดังนี้
         1.1   ด้านความมั่นคงอาหารและความปลอดภัยอาหาร
                  1.1.1   ได้แสดงความขอบคุณที่รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้ขยายระยะเวลาโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าว ในเอเชียตะวันออก : The East Asia Emmergency Rice Reserve (EAERR) ออกไปอีก 1 ปี และสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานในช่วงขยายเวลา ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์โดยตรงกับกลุ่มประเทศอาเซียน + 3
                 1.1.2   ให้ความมั่นใจกับทางญี่ปุ่น ว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพความปลอดภัยสินค้าเกษตร  มีการกำหนดใช้ GAP , GMP และ HCCP ตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงการจำหน่าย และส่งออก มีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามข้อกำหนด และข้อตกลงกับประเทศคู่ค้า โดยใช้กลไกความร่วมมือภายใต้กรอบ JTEPA เป็นตัวขับเคลื่อน
          1.2   ความร่วมมือด้านงานสหกรณ์ระหว่างสองประเทศ ได้แจ้งถึงความต้องการในการผลักดันให้มีความเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์ของทั้งสองประเทศ ทั้งในด้านวิชาการและธุรกิจ ซึ่งมีกำหนดจะเจรจาหารือกับชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศญี่ปุ่น : Central Union of Agricultural Co-operatives (JA Zenchu) และชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคแห่งประเทศญี่ปุ่น : Japan Consumers’ Cooperative Union (JCCU) ในการเดินทางครั้งนี้ด้วย
         1.3   การตรวจเยี่ยมการฝึกงานของยุวเกษตรกรไทยในครอบครัวเกษตรกรญี่ปุ่น ตามความร่วมมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย กับ สภาการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรแห่งประเทศญี่ปุ่น : Japan Agricultural Exchange Council (JAEC) เพื่อรับทราบปัญหา และพิจารณาดำเนินโครงการต่อยอดจากการฝึกงานของยุวเกษตรกรในโครงการให้เกิดประโยชน์กับตัวยุวเกษตรกรและชุมชนต่อไป


2.     เจรจาความร่วมมือของสหกรณ์ไทย กับชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศญี่ปุ่น :
        Central Union of Agricultural Co-operatives (JA Zenchu)


        นำเสนอแนวคิดเสนอให้ JA Zenchu ได้ทราบและพิจารณาโครงการความร่วมมือในอนาคต ดังนี้
        2.1   มีความเห็นชอบและพร้อมสนับสนุนโครงการความร่วมมือระหว่าง JA Zenchu  กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มากขึ้นในทุกรูปแบบ
        2.2   ได้แสดงเจตจำนงที่จะใช้ขบวนการสหกรณ์เป็นเครื่องมือสร้างความมั่นคงให้แก่สมาชิกทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม และสนับสนุนให้ขบวนการสหกรณ์ไทยเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ เป็นต้นแบบให้กับขบวนการสหกรณ์ในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่นเดียวกับ JA Zenchu
         2.3   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวคิดที่จะจัดโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร  ในประเทศไทย โดยจะดำเนินการร่วมกับ Nokyo Tourist Corporation (N TOUR) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับประเทศ ภายใต้ JA Zenchu ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดธุรกิจท่องเที่ยว และส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงเกษตรให้แก่สมาชิก JA Zenchu  อนึ่ง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นพยานในพิธีลงนามบันทึกการประชุม (Record of Discussion) ระหว่างประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และ ประธาน JA Zenchu ที่ทั้งสองหน่วยงานได้ให้คำมั่นว่าจะร่วมมือกันสนับสนุน ส่งเสริมให้งานสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการสร้างประโยชน์แก่สมาชิกอย่างแท้จริง และจะดำเนินการสานความร่วมมือตามโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันให้มีคุณภาพในระยะยาวต่อไป

หลังจากที่นายมงคลัตถ์  พุกะนัดด์  ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และดร.ชาติชาย  พุคยาภรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำผลผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมและผลไม้ไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกี่ยว

  ปรากฏว่าสินค้าหัตถกรรมที่สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย  รับผิดชอบและคัดเลือกไปทดลองขายที่ศูนย์แสดงสินค้าอาเชียน (Asian Community Plaza Exhibition Center) ของ JA Zenchu  ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างดี JA Zenchu   จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปคัดเลือกซื้อสินค้าสหกรณ์ ณ จังหวัดเชียงใหม่  โดยติดต่อประสานงานผ่านสันนิบาตสหกรณ์ฯ และชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเชียงใหม่  จำกัด  เพื่อนำไปทดลองจำหน่ายรอบสองซึ่งสินค้าดังกล่าวได้แก่  ของเล่นไม้เสริมปัญญา  จากสหกรณ์นิคมสันทราย จำกัด เชิงเทียนไม้มะม่วง  จากสหกรณ์การเกษตรสันกำแพง

ภายหลังจากการนำไปทดลองจำหน่ายเพียงไม่ถึง ๑ เดือน สันนิบาตสหกรณ์ฯ ก็ได้รับการประสานงานจากศูนย์แสดงสินค้าของ  JA Zenchu   ว่าสินค้าที่นำไปนั้นได้รับความสนใจอย่างดีมาก จึงเริ่มติดต่อขอนำเข้าสินค้าและงานหัตถกรรมจากสหกรณ์ในประเทศไทย  โดยสินค้าที่ได้รับการติดต่อเพื่อนำไปวางจำหน่าย  ได้แก่ ของเล่นไม้ เสริมปัญญา  เชิงเทียนไม้มะม่วง   รวมถึงงานหัตถกรรมกระเป๋าสานไม้ไผ่  จากกลุ่มสตรีสหกรณ์จักสานบางเจ้าฉ่า  จำกัด อ.โพธิ์ทอง  จ.อ่างทอง อีกด้วย

คำสำคัญ (Tags): #สหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 291184เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ พี่สาริณี

พอลล่าแวะมาเยี่ยมค่ะ

โอกาสหน้าเราคงได้มีโอกาสทำกิจกรรม ดีๆ ร่วมกันอีกนะคะ

สำหรับพื้นที่ที่เอื้ออำนวยแห่งนี้ค่ะ

  • สวัสดีครับคุณสารินี
  • ผมแวะมาเยี่ยม
  • ดีใจกับสินค้าสหกรณ์ด้วยครับที่บุกตลาดญี่ปุ่นได้ครับ
  • คุณสารินีสบายดีหรือเปล่าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท