Nina
นางสาวอภิญญา อุดมพรเกิดผล

การวัดแววทางด้านภาษาของเด็ก(2)


การวัดแววความสามารถทางด้านภาษาทำให้ครูรู้สภาพจริงของเด็กในการจัดการเรียนการสอน

7. จดรายชื่อหนังสือสำคัญ ได้แก่  

    (1) หนังสือ 10 อันดับแรกๆที่เด็กๆโปรดปราน

    (2) หนังสือที่คาดว่าจะอ่านเร็วนี้

    (3) หนังสือที่ตั้งใจไว้ว่าต้องอ่านให้ได้ แล้วเก็บรายชื่อเหล่านี้เอาไว้เป็นแนวทาง

         ในการเลือกหนังสือที่จะอ่านครั้งต่อไป

8. เล่นเกมคำศัพท์   เช่น   เกม Mad   Libs (เกมที่ผู้เล่นต้องกำหนดชุดคำขึ้นมา

    ได้แก่ คำกริยา คำนาม หรือ/และคำวิเศษณ์ แล้วนำไปเติมในเรื่องที่แต่งไว้และ

     เรื่องราวก็จะเปลี่ยนไปตามคำศัพท์ที่กำหนดขึ้น-ผู้แปล)

    เกมปริศนาอักษรไขว้ เกมต่อคำ(เรียกว่า Acrostics เป็นเกมที่เล่นด้วยการแต่ง

    กลอน โดยที่ตัวอักษร ตัวแรกของแต่ละประโยค    จะต้องต่อกันเป็นคำที่มี

    ความหมาย-ผู้แปล)

    เกมหาคำศัพท์ เกมสลับตัวอักษรสร้างคำ(เช่น คำว่า งุ้ม สลับอักษรให้เป็นคำว่า

    มุ้ง-ผู้แปล)

    เกมสแครบเบิล (Scrabble) หรือเกมทายศัพท์ (หรือHangman วิธีเล่น คือต้อง

    หาตัวอักษรมาเติมในช่องว่างให้ได้คำที่กำหนด ถ้าทายผิด 1 ครั้งจะโดนเติมรูป

    1ครั้ง จนกลายเป็นรูปคนถูกแขวนคอ ถ้าทายไม่ถูกจนโดนขีดตัดคอ ก็แสดงว่า

    แพ้-ผู้แปล)

9.เล่นกับคำพูด สะสมเรื่องขำขัน ปริศนาคำทาย คำผันคำผวน คำพ้องเสียง หรือ

คำแปลกๆ มาเล่นกับเพื่อนๆหรือคนในบ้าน หรือลองคิดคำพูดขึ้นมาเองก็ได้

10. เข้าร่วมชมรมนักอ่าน

11.เขียนจดหมายหานักเขียนคนโปรด  หาที่อยู่หรืออีเมลของนักเขียนที่เด็กๆ

ชื่นชอบ แล้วให้เด็กๆเขียนไปทักทาย

12.ร่วมงานพบปะนักเขียน

13.เรียนภาษาอื่น เด็กๆ อาจเรียนภาษาอื่นๆเพิ่มเติมเช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น

 ภาษาฝรั่งเศส   หรือภาษาอะไรก็ได้  ที่เด็กๆสนใจ เพราะการเรียนภาษาจะช่วย

 พัฒนาปัญญาด้านภาษาได้อย่างดี เด็กๆสามารถหาข้อมูลการเรียนภาษาเหล่านี้

ได้โดยสอบถามโรงเรียนหรือโรงเรียนสอนพิเศษ

14. ทำบันทึกนักเขียนหาสมุดจดบันทึกความรู้สั้นๆ

15.ชมละครเวทีหรือละครรำ

16.เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีกับเพื่อนๆ

     ด้วยความสบายใจไม่ต้องบังคับ

ถ้าเด็กไม่เก่งด้านภาษา  ความฉลาดด้านอื่นจะช่วยอะไรได้บ้าง

เด็กๆสามารถใช้ปัญญาที่ตนเองถนัดที่สุดมาพัฒนาปัญญาด้านภาษา

1.ลองเลือกโคลงกลอนที่เล่นเสียงเล่นคำ นำคำศัพท์ที่เรียนไปแล้วมา

    ท่องจำเป็นเพลงสั้นๆที่เข้าใจเอง

2.ถ้าเด็กเก่งตรรกะและคณิตสาสตร์  ลองพิมพ์เรื่องที่แต่งด้วยคอมพิวเตอร์

   ซึ่งจะมีโปรแกรมตรวจการสะกดคำ   ตรวจเครื่องหมาย    และตรวจหลัก

   ไวยากรณ์ ลองใช้โปรแกรมตรวจทานงานที่เขียน วิธีนี้จะช่วยให้เด็กๆได้

   เรียนรู้จากคำผิดด้วย

3.ถ้าเด็กๆเก่งทางด้านมิติสัมพันธ์ ลองหลับตาแล้วนึกภาพเรื่องที่อ่าน เช่น

   เด็กๆกำลังอ่านเรื่องที่ไม่ค่อยเข้าใจ ให้หลับตาแล้วนึกภาพทิวทัศน์ ตัวละคร

   และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องการวาดภาพและการนึกถึงภาพตามจะช่วยให้

   เด็กๆเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้น

4.ถ้าเด็กเก่งด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว สนุกกับคำศัพท์ โดยการเคลื่อนไหว

   ร่างกาย  หาแม่เหล็กติดตู้เย็นที่เป็นตัวอักษร  หรือทำขึ้นเองโดยใช้กระดาษตัด

   เป็นตัวอักษร แล้วติดกับแผ่นแม่เหล็กก็ได้ จากนั้นตัดแผ่นแม่เหล็กตามตัวอักษร

   หรือขนาดที่ต้องการ แล้วติดไว้บนตู้เย็นหรือพื้นผิวโลหะ  แล้วฝึกเล่า  สะกดคำ

   หรือแต่งกลอนได้ตามใจชอบ

5.ถ้าเด็กๆเข้าสังคมเก่ง ให้เด็กๆเล่าเรื่องให้ผู้ปกครองฟัง รวมกลุ่มเล่าเรื่อง

6. ถ้าเด็กเข้าใจตนเอง บันทึกสิ่งที่พบเห็นลงสมุด

7. ถ้าเด็กรักธรรมชาติ เวลาอ่านหนังสือให้เด็กจินตนาการตาม เขียนบรรยายฉาก

 

ถ้าเด็กๆโตขึ้นล่ะ.......

 เมื่อโตขึ้น  เด็กๆ สามารถนำปัญญาด้านภาษาไปใช้

 ในการทำงานได้ตั้งหลากหลายอาชีพ เช่น

-นักเขียนคำโฆษณา     ทนาย     สมุห์บัญชี  บรรณาธิการ

 ครูสอนภาษาอังกฤษ(หรือครูสอนวิชาอื่นๆ)   นักเขียน

 คนทำบัตรสืบค้นในห้องสมุด  

 นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล

 นักหนังสือพิมพ์   บรรณารักษ์  นักรณรงค์เรียกร้องสิทธิ 

 ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์    กวี  นักการเมือง  นักพูด  

 นักพิสูจน์ตัวอักษร  นักประชาสัมพันธ์   ผู้ประกาศข่าว

 วิทยุ/โทรทัศน์  นักวิจัย   นักเขียนบทภาพยนตร์  

 นักบำบัดทางการพูด   นักเขียนบทพากย์   นักเล่านิทาน 

 นักแปล   คนเขียนเนื้อหาในเว็บไซด์  

 และอาชีพอื่นอีกมากมาย

   

สรุปว่า  ความรู้ที่ถ่ายทอดประสบการณ์มานี้    ผู้เขียนลองค้นหาตนเอง

ความสามารถตรงเกือบทุกข้อ แสดงว่าผู้เขียนมีปัญญาด้านภาษา และ

มาทำอาชีพถูกทางและคงเป็นครูภาษาอังกฤษต่อไป เพราะหน้าที่ที่ทำ

อยู่ก็เป็นแทบทุกอาชีพ...งง..งง...งง...ทำไมทำหลายหน้าที่จัง    บางครั้ง

กลัวสมอง error เหมือนกัน  ต้องหาความสุข.....พักผ่อนมากๆ.....ชอบ

นอนที่สุด หัวถึงหมอนหลับได้ภายใน 5 วินาที

หวังว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้ของดิฉัน     รวมทั้งการร่วมถ่ายทอด

ประสบการณ์กับผู้อื่นได้บ้างร่วมแบ่งปันการเรียนรู้กับเพื่อนครูได้บ้าง

ลองไปสำรวจเด็กๆ ว่าเด็กที่คุณสอนมีปัญญาถนัดด้านใดบ้าง และ

พัฒนาเด็กไปในทิศทางที่ถูกต้อง

อยากบอกว่าหนังสือเล่มนี้ มีปัญญาตั้ง 8 ด้าน ให้เราวัดและแบ่งนักเรียน

ออกเป็น 8 ด้าน ขณะนี้ก็ดึกมากแล้วคงต้องหลับตาฝันดีแล้ว โอกาสหน้า

จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ให้อ่านกันอีก กรุณาติดตามผลงานของดิฉันด้วย

นะค่ะ.........

 

 

ก่อนจากกันนั้นขอฝากข้อคิดดีๆที่.....อ่านแล้วแอบยิ้มทุกครั้ง.......

 

ไม่สำคัญว่าอะไรเกิดขึ้นในชีวิต

สำคัญที่คุณมองสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร

          

                จากหนังสือ 100 วิธีมีความสุขทุกๆวัน

แปลจาก The 100 Simple Secrets of Happy People

โดย ดร.เดวิด ไนเวน   แปลโดย ชานชาลา

        

หมายเลขบันทึก: 290804เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาเรียนรู้ด้วยครับ

ขอบคุณsmall manนะที่เข้ามาชม ขอบคุณ...ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท