จุดเริ่มต้นของ หัวข้อวิจัยป.เอก-ด๋าว


ใกล้ถึงเวลา รายงานความก้าวหน้าเฟสที่ 1 (ขออนุญาตไม่นับครั้งแรก-เพราะครั้งนั้น ไม่พร้อมและไม่ทันได้ตั้งตัว) ..ลองทบทวนดู ถึงสิ่งที่คิดตอนยื่นหัวข้อสมัครเรียนป.เอก

ต้องพูดว่า มันเริ่มต้นจาก เรื่องการพิสูจน์ฺสัญชาติ
เพราะมันเป็นหัวข้อแรกที่สนใจที่จะพัฒนาเป็นงานวิจัยระดับปริญญาเอก

ความร่วมมือระหว่างประเทศไทย กับ 3 ประเทศเพื่อนบ้านคือลาว กัมพูชาและพม่า เป็น 2 ด้านของความเห็น/ความรู้สึก/มุมมอง (และอาจมากกว่านี้)

ด้านแรกของความชื่นชม-
สำหรับประเทศไทย มันหมายถึงการลด และแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ (แรงงานต่างด้าว/แรงงานข้ามชาติ) ในประเทศไทย ในแง่ของประเทศเพื่อนบ้าน หมายถึงการนำคน/ประชากร/พลเมืองของตัวเองกลับบ้าน

ด้านของการวิพากษ์วิจารณ์-
กระบวนการจัดการประชากรที่ยังไม่ครอบคลุมรอบด้้านและตอบโจทย์ทุกคำถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำถามที่ว่า หลังจากแรงงานฯ ข้ามพรมแดนไปยังประเทศต้นทางแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับพวกเขาเหล่านั้นบ้าง, ชีวิต/สิทธิ/เสรีภาพของพวกเขา แล้วชีวิตต่อจากนั้น ..?
ถอยกลับมาหนึ่งก้าว-กระบวนการเข้าถึงการพิสูจน์สัญชาติ ที่เริ่มต้นที่ประเทศไทย ขั้นตอน/กระบวนการการเข้าถึง การเดินเรื่องที่ยังคงเป็นเรื่องน่าเวียนหัวของทั้งนายจ้างและแรงงาน เงินที่ต้องใช้ .. ฯลฯ

ข้อท้วงติงก็คือ.. เมื่อดูหลักการ (กฎหมาย นโยบาย หลักเกณฑ์ต่างๆ), ดูทางปฏิบ้ติ.. แล้วอย่างไร ได้สำรวจการบังคับใช้นโยบายและกฎหมาย ฯลฯ แล้วอย่างไร, อาจมีข้อเสนอของการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงข้อเสนอต่อไปเพื่อการปรับปรุงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ .. แล้วอย่างไร..?

คำถามที่ว่า "แล้วอย่างไร" ..จากที่ปรึกษา คืออ.แหวว ชวนให้สงสัยว่า "เอ๋..สมอง และเซลสมองของเรา จะถูกต้อนไป  ณ จุดใด" ..เพราะ output สุดท้าย ก็คือ ข้อเสนอเพื่อการแก้ปัญหาความไร้สัญชาติ (นิ!!) ..รึว่า ไม่เพียงพอ?

(ยิ่งพอได้เล่าสู่กันฟังกับมวลมิตร เช่น คุณกานต์ ก็ได้คำตอบมา หนึ่งประโยคที่ชวนหงายหลังว่า "ทำเรื่องนี้ ง่ายนิดเดียว ปีเดียวก็เสร็จ" โอ๊ะ โอ..อยากแปรเปลี่ยนมวลมิตรเป็นมารมิตร ณ วินาทีนั้น)

คิดต่อ เพราะถูกโยนคำถามให้คิด..

จากคีย์เวิร์ด 3 คำ ที่อ.แหวว พร่ำสอนถึงการทำงานด้านสถานะ ก็คือ "สำรวจ" "กำหนด" และ "พัฒนา"
การพิสูจน์สัญชาติจึงเป็นเพียงหนทางหนึ่ง/วิธีการหนึ่ง/กระบวนการหนึ่งของการพัฒนาสถานะบุคคล

ชีวิตหนึ่ง -ไม่ว่าจะในฐานะคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ, พลเมือง, ราษฎร, คนชาติใด การพัฒนาสถานะบุคคลของเขาหรือเธอ เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดจนตาย อีกทั้งยังหมายถึง "ทุกคน" ที่ปรากฎตัวในดินแดนของรัฐไทย

คำถามก็คือ จะศึกษาแค่ช่วงเวลาหนึ่ง ของคนๆ หนึ่ง? โดยเฉพาะคนๆ นั้นเป็นแรงงานฯ เท่านั้นหรือ?
คำตอบที่ได้รับ ไม่น่าจะมีความหมายเพียงพอสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาเอ

 

หมายเลขบันทึก: 290756เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 01:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท