สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพและหลบหนีเข้าเมือง


ตอนแรกตั้งใจจะเขียนเรื่องราวของผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัยในประเทศไทย แต่เกรงว่าจะเขียนได้ไม่ดีนัก จึงขอเริ่มต้นด้วยหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัยในประเทศไทยก่อน โดยขอเริ่มที่สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพและหลบหนีเข้าเมือง...

สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพและหลบหนีเข้าเมือง

 

ความเป็นมา    

                ในปี 2518 ได้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลาว เวียดนาม และกัมพูชาทำให้มีชาวอินโดจีนเกือบ 1 ล้านคน อพยพเข้ามาในประเทศไทยเพื่อหาที่พักพิงฯรัฐบาลไทยพิจารณาเห็นว่าปัญหาผู้อพยพเป็นเรื่องของมนุษยธรรม จึงอนุญาตให้ผู้อพยพพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวได้และในระหว่างรอการไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามหรือส่งกลับมาตุภูมิโดยความสมัครใจ แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงอธิปไตย ความมั่นคงและผลประโยชน์ชองชาติเป็นสำคัญ

                คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2518 ให้จัดตั้งศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพโดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก ในการดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพที่หนีเข้ามาเนื่องจากวิกฤติการณ์การสู้รบจากความขัดแย้งทางการเมืองและการปกครองในกลุ่มประเทศอินโดจีนกระทรวงมหาดไทย จึงได้จัดตั้งสำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ ขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ต่อมาประมาณกลางเดือน สิงหาคม 2525 ได้ย้ายสำนักงานศูนย์ฯ มาอยู่ที่ บ้านพายัพ เลขที่ 167 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบัน[1]

การจัดองค์การ

                ได้มีการจัดรูปแบบการบริหารออกเป็น  2 ส่วน ได้แก่

                (1)คณะกรรมการศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพฯ  

                ทำหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการ  เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล  โดยผ่านสำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพฯ

                (2)สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพฯ

อำนาจหน้าที่และภารกิจ

                สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ  กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่สำคัญดังนี้

                1) ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ และผู้หลบหนีเข้าเมือง

                2) บริหารจัดการระบบควบคุมและสงเคราะห์ผู้อพยพ

                3) ประสานองค์การระหว่างประเทศ

                4) เสนอแนะประกอบการจัดทำนโยบาย

                เมื่อสถานการณ์ผู้อพยพได้เปลี่ยนแปลง  อันเนื่องมาจากสถานการณ์ในอินโดจีนคลี่คลายลง แต่เกิดปัญหาในพม่า ทำให้มีผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมืองจากประเทศพม่าเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งด้วยเหตุและผลการสู้รบ  การเมือง และเศรษฐกิจ                สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพจึงได้รับมอบหมายภารกิจเพิ่มขึ้น ต่อผู้หลบหนีการสู้รบจากประเทศพม่า  และผู้หลบหนีเข้าเมืองที่เข้ามาเพื่อผลทางเศรษฐกิจ

                ในปัจจุบัน กลุ่มผู้อพยพ ฯและผู้หลบหนีเข้าเมืองในความรับผิดชอบของสำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพฯ มีดังนี้

                1.  ผู้หลบหนีภัยการสู้รบจากพม่า

                2.  แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ( พม่า กัมพูชา และลาว )

                3.  ชาวม้งลาว ( บ. ห้วยน้ำขาว อ. เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์ )

                ภารกิจหน้าที่หลังจากการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย  มีภารกิจหน้าที่ด้านนโยบาย  อำนวยการ และภารกิจหน้าที่ที่ได้ขอสงวนไว้  ส่วนภารกิจด้านการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของกรมการปกครอง  

                เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการร้อยกรองงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้ลงนามในคำสั่ง คณะกรรมการร้อยกรองงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติ  ที่ 13/2546 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2546  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการควบคุมดูแลผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า โดยมี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน  และผู้แทนกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ   โดยมีหน้าที่ ศึกษาและติดตามสถานการณ์ปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า รวมทั้งเสนอแนะแนวทางและ/หรือ มาตรการปฏิบัติในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม  ประสานงานด้านนโยบายและเสนอแนะมาตรการ และ/หรือแนวทางปฏิบัติในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นให้เหมาะสม 

วัตถุประสงค์และนโยบายการดำเนินการต่อผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า

                รัฐบาลไทยได้กำหนด  วัตถุประสงค์และนโยบายความมั่นคงแห่งชาติของไทยต่อพม่า (พ.ศ. 2546 - 2548)   โดยกำหนดไว้ ดังนี้

                (1)ให้พม่ามีความปรองดองในชาติมีการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ  และสังคมและอยู่ร่วมกับไทยอย่างฉันท์มิตร

                (2)ให้ความสัมพันธ์ดำเนินไปบนพื้นฐานของความเข้าใจ  ความไว้วางใจ และความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความมั่นคงร่วมกัน

                (3)ไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใช้ดินแดนไทยเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพม่า

                (4)ให้บริเวณชายแดนไทย  - พม่า มีความมั่นคงปลอดภัย โดยวัตถุประสงค์มี 3 ประการ คือ  

             1.)  ส่งผู้หนีภัยการสู้รบฯ  กลับมาตุภูมิ ให้มากที่สุด

             2.)  ให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) องค์การระหว่างประเทศ อื่น ๆ และรัฐบาลพม่าเข้ามารับผิดชอบในการส่งผู้หนีภัยการสู้รบกลับพม่า

             3.) ให้รับผู้หนีภัยฯ  ที่เข้ามาใหม่เข้าพื้นที่พักพิงฯให้น้อยที่สุดและให้มีการควบคุมดูแลผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราวอย่างเข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้น

                แนวทางแก้ไขปัญหา ได้กำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาใน  8 เรื่อง ที่สำคัญ ดังนี้

                1)  การส่งกลับมาตุภูมิ                                              

                2) การควบคุมดูแล (จัดระเบียบ ลด /ปรับ ย้ายพื้นที่ ตรวจค้นอาวุธ ยาเสพติด และการลักลอบออกนอกพื้นที่)

                3)  การข่าว

                4)  การให้ความช่วยเหลือ / ด้านมนุษยธรรม

                5)  การดำเนินการต่อผู้หนีภัยที่เข้ามาใหม่ (สอบสวนแยกประเภท)

                6)   การอนุญาตให้ผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าเดินทางไปประเทศที่สาม  ( เฉพาะ-เหตุผลด้านมนุษยธรรม )

               7)  การประชาสัมพันธ์และการปฏิบัติการจิตวิทยา

                8)  การฟื้นฟูพื้นที่พักพิง ฯ

จำนวนพื้นที่พักพิงชั่วคราวและผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า รายละเอียดตามตารางดังนี้  

  จังหวัด

 พื้นที่พักพิงฯ

จำนวน ผภร.(คน)

ยอดรวมทั้งสิ้น(คน)

 หมายเหตุ

กาญจนบุรี

บ้านต้นยาง  อำเภอสังขละบุรี

3,453.-

3,453

 

ตาก

1.   บ้านอุ้มเปี้ยม   อำเภอพบพระ

2.   บ้านแม่หละ  อำเภอท่าสองยาง

3.   บ้านนุโพ     อำเภออุ้มผาง

13,398.-

 32,567-.

10,570.-

 

 

56,535.-

 

 แม่ฮ่องสอน

1.   บ้านใหม่ในสอย อำเภอเมืองฯ

2.   บ้านแม่สุริน  อำเภอขุนยวม

3.   บ้านแม่ละอูน อำเภอสบเมย

4.    บ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมย

18,998.-

 3,593.-

16,332.-

13,875.-

 

 

 

52,798.-

 

    ราชบุรี

บ้านถ้ำหิน  อำเภอสวนผึ้ง

  4,921

 4,921.- 

 

 

 

รวมทั้งสิ้น

117,707.-

 

                                                                                                                       (ข้อมูลเมษายน 2552)     

ด้านการควบคุมดูแลผู้หนีภัยฯ

                มท. มอบหมายให้ จังหวัด ในฐานะราชการส่วนภูมิภาค รับผิดชอบดูแลผู้หนีภัยฯ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงฯภายในเขตจังหวัด และจัดระบบควบคุมในพื้นที่พักพิงฯ  ควบคู่กับมาตรการรักษาความปลอดภัย  การตรวจค้นยาเสพติดและอาวุธ  รวมถึงการป้องกันการลักลอบออกไปขายแรงงานนอกพื้นที่พักพิงฯ  การป้องกันผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา  ตลอดจนความรู้สึกของราษฎรไทยที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ พื้นที่พักพิงฯ เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างผู้หนีภัยฯ กับราษฎรไทย  และหากผู้หนีภัยฯ ลักลอบออกนอกพื้นที่พักพิงฯ จะต้องถูกดำเนินการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมือง และหากกระทำผิดกฎหมายอื่นก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น ๆ ก่อน แล้วจึงดำเนินการตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ต่อไป   

                การอนุญาตให้ผู้หนีภัยฯ ย้ายพื้นที่พักพิงฯ มท. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้ผู้หนีภัยฯ ย้ายพื้นที่พักพิงฯ  ดังนี้

                หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้ผู้หนีภัยฯ ย้ายพื้นที่พักพิงฯ ประกอบด้วย

                1) เพื่อความปลอดภัยของผู้หนีภัยฯ และครอบครัว

                2) หลักเอกภาพในการรวมครอบครัว ตามหลักมนุษยธรรม              

            3) เหตุผลด้านการรักษาพยาบาล และเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ผู้เยาว์ และกลุ่มผู้ที่ต้องการให้ความดูแลเป็นพิเศษ (EVI) ทั้งนี้ ควรอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจของผู้หนีภัยฯ

                อำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้ผู้หนีภัยฯ ย้ายพื้นที่พักพิงฯ  มีดังนี้

                1) การอนุญาตให้ผู้หนีภัยฯ ย้ายจากพื้นที่พักพิงฯ แห่งหนึ่งไปยังพื้นที่พักพิงฯ อีกแห่งหนึ่งภายในเขตจังหวัดเดียวกัน : ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีพื้นที่พักพิงฯ ตั้งอยู่ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

                2) การอนุญาตให้ผู้หนีภัยฯ ย้ายจากพื้นที่พักพิงฯ แห่งหนึ่งไปยังพื้นที่พักพิงฯ อีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ต่างจังหวัดกัน : ให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

                3) การดำเนินการย้ายและงบประมาณในการขนย้ายผู้หนีภัยฯ ตามข้อ 1) และข้อ 2) ให้เป็นหน้าที่ของ UNHCR

                ทั้งนี้  ให้รายงานผลการดำเนินการให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุกครั้ง

ปัญหาที่เกิดจากผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า  มีดังนี้

                1) ปัญหารัฐบาลพม่าหวาดระแวงว่าประเทศไทยให้การสนับสนุน กลุ่มต่อต้านรัฐบาลพม่า

                2) ปัญหากองกำลังต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตยเข้าโจมตีและเผาพื้นที่พักพิงฯในเขตไทย

                3) ปัญหาราษฎรไทยในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าและเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อทางการ โดยเห็นว่าผู้หนีภัยฯได้รับการช่วยเหลือดีกว่าราษฎรไทย

                4) ปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าลักลอบออกนอกพื้นที่พักพิงฯ เพื่อหางานทำเนื่องจากพื้นที่พักพิงไม่มีแนวรั้วกั้นเขตที่แน่ชัด   

                5) ปัญหาการลักลอบค้ายาเสพติดในพื้นที่พักพิงฯ

                6) ปัญหาการลักลอบนำอาวุธสงครามเข้าไปในพื้นที่พักพิงฯ  และการต่อต้านรัฐบาลพม่าด้วยกองกำลังติดอาวุธของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ

                7)  ปัญหาสถานที่ตั้งพื้นที่พักพิงชั่วคราว  ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และหรือเขตอุทยานแห่งชาติ และที่ราชพัสดุ ที่ทหารขอใช้ประโยชน์ ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา

                8) ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการสนธิกำลัง เพื่อควบคุม / ดูแลผู้หนีภัยการสู้รบฯ ร่วมกับทหาร ตำรวจ และป่าไม้

                9) ปัญหาการลักลอบเข้ามาอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว โดยไม่ผ่านกระบวนการ/ขั้นตอน

แนวทางแก้ไขปัญหา

                กระทรวงมหาดไทยโดยสำนักงานศูนย์ฯ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากผู้หนีภัยการสู้รบฯ ดังนี้

                1) ดำเนินการลดจำนวนพื้นที่พักพิงชั่วคราวให้เหลือน้อยที่สุด และกำหนดให้พื้นที่พักพิงชั่วคราว อยู่ห่างจากชายแดนพอสมควร

                2) ได้นำประเด็นปัญหาเกี่ยวกับผู้หนีภัยการสู้รบฯ หารือกับทางการพม่าทุกครั้งในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ว่าด้วยความร่วมมือไทย - พม่า

                   3) ได้ร่วมกับ UNHCR จัดโครงการนำร่องในการอบรมอาชีพแก่ผู้หนีภัยการสู้รบฯ และราษฎรไทยที่อาศัยอยู่รอบ ๆ พื้นที่พักพิงฯ   โดยเริ่มดำเนินการจัดทำโครงการนำร่องตั้งแต่ปี 2545 ในพื้นที่พักพิงฯบ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นแห่งแรก

                4) ให้จังหวัดชายแดนไทย - พม่า ได้หยิบยกปัญหาการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบฯ ขึ้นมาเจรจากับฝ่ายพม่าทุกครั้งที่มีการประชุม รวมทั้งดำเนินการจิตวิทยาต่อผู้หนีภัยการสู้รบ และราษฎรไทยที่อาศัยอยู่รอบ ๆ พื้นที่พักพิงฯ ให้เข้าใจอย่างถูกต้องต่อผู้หนีภัยการสู้รบฯ 

                5) ให้จังหวัดที่มีพื้นที่พักพิงฯ ดำเนินการสกัดกั้น  ตรวจจับ  ผู้หนีภัยการสู้รบฯ ที่ลักลอบออกนอกพื้นที่พักพิงฯ เพื่อไปตัดไม้ทำลายป่า  การตรวจค้นอาวุธปืน และยาเสพติดในพื้นที่พักพิงฯ  หากพบการกระทำผิดให้ดำเนินการตามกฎหมาย  รวมทั้งการสนธิกำลังร่วมกับฝ่ายทหาร  ตำรวจ  และป่าไม้ในพื้นที่ในการดูแลผู้หนีภัยการสู้รบฯ

           6) ให้จังหวัดที่มีพื้นที่พักพิงฯ ดำเนินการขอใช้พื้นที่ ที่เป็นที่ตั้งพื้นที่พักพิงชั่วคราวจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่ให้ถูกต้องตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติ และให้องค์การกุศลเอกชนรับซื้อสินค้าเกษตรจากราษฎรไทยที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ พื้นที่พักพิงฯ สำหรับใช้แจกจ่ายให้แก่ผู้หนีภัยการสู้รบฯในพื้นที่พักพิงฯ

           7) ประสานงานกับกรมป่าไม้ ในการจัดทำแนวรั้วบริเวณพื้นที่พักพิงฯ เพื่อป้องกันมิให้ผู้หนีภัยฯ ลักลอบออกนอกพื้นที่พักพิงฯ

           8)  ให้ทุกพื้นที่พักพิงฯ ดำเนินการสำรวจจำนวนบุคคลสัญชาติพม่า ที่คณะกรรมการจังหวัดหรืออำเภอ มีมติไม่รับเป็นผู้หนีภัยการสู้รบฯ และให้ดำเนินการส่งกลับมาตุภูมิ

           นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้ประชุมหารือกับ UNHCR ในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบฯ ระยะยาวในเรื่อง

-  แผนการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า

-  การพัฒนาฝึกอาชีพและรายได้ของผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว

-  การจัดทำทะเบียนประวัติผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า

-  การบริหารงานในพื้นที่พักพิงชั่วคราว  

 

--------------------------------------------------------------

 

 

 


[1] กองการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย www.fad.moi.go.th/

หมายเลขบันทึก: 290649เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท