มาตรการการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด


ลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด

การลดอันตราย (Harm Reduction)

ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด และปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ติดต่อทางกระแสเลือด

ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี หรือการแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสตับอักเสบล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้ที่

เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งหามาตรการในการลดการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าว ความพยายาม

นี้ เป็นที่มาของการใช้มาตรการลดอันตราย สำหรับผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดชนิดฉีด อาทิ มาตรการการแลกเปลี่ยนเข็ม การให้ยาเมทาโดนระยะยาว มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเอดส์และเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ จากที่มาดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดว่า มาตรการลดอันตราย หมายความถึงสองมาตรการดังกล่าวเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วมาตรการลดอันตรายมีมากมายหลายประการ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับมาตรการลดอันตราย ตลอดจนอธิบายเหตุผลที่มา แนวคิด และ

รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการลดอันตรายบางอย่างเพื่อช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถคัดเลือกมาตรการลดอันตรายที่เหมาะสมสามารถนำไปปฏิบัติได้

มาตรการลดอันตราย คือ อะไร

มีคำจำกัดความที่ใช้สำหรับมาตรการลดอันตรายหลายแบบ แต่ที่ได้รับการยอมรับมาก นั้น เป็นคำ

จำกัดความของ International Harm Reduction Association (IHRA) ซึ่งให้ไว้ว่า การลดอันตราย หมายถึงนโยบาย มาตรการ และโครงการ ที่มีเป้ าหมายในการ ลดผลเสียทั้งทางด้าน สุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ อัน

เป็นผลจากการใช้สารเสพติด ทั้งนี้ต้องเป็นมาตรการที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ หรือผลการวิจัยรองรับ ว่าเป็น

มาตรการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า ก่อให้เกิดผลดีกับผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และสังคม นอกจากนี้

Harm Reduction Coalition ยังได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า มาตรการลดอันตราย หมายความถึง ชุดของแนววิธี

ปฏิบัติหรือนโยบาย ที่สามารถทำได้จริง มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ สามารถลดอันตรายจากการใช้สาร

เสพติด โดยต้องมีมาตรการที่ครอบคลุมตั้งแต่การช่วยให้ใช้ยาเสพติดอย่างปล่อยภัย การช่วยให้ควบคุมการใช้

ยาเสพติดได้ จนกระทั่งการช่วยให้เลิกยาเสพติดอย่างเด็ดขาด

องค์การอนามัยโลก (World HealthOrganization, WHO) ได้ให้คำจำกัดความของการลดอันตรายไว้ว่า หมายถึง นโยบายหรือโครงการที่เน้นการลดอันตรายหรือผลเสียที่เกิดจากการเสพสารเสพติดโดยเฉพาะนโยบายหรือมาตรการที่มุ่งลดอันตรายโดยอาจมิได้มุ่งหวังให้เกิดผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดโดยตรง ตัวอย่างเช่น มาตรการแลกเปลี่ยนเข็ม การติดตั้งถุงลมนิรภัยในรถยนต์ มาตรการลดอันตรายจึงมีความหมายครอบคลุมมากกว่าการลดอุปสงค์และอุปทานของยาเสพติด

คำจำกัดความด้านบนเป็นคำจำกัดความของการลดอันตรายในเรื่องยาเสพติด อย่างไรก็ตามมาตรการลดอันตรายมิได้จำกัดอยู่แค่เพียงการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดเท่านั้น  มาตรการลดอันตรายยังสามารถนำไปใช้ในเรื่องอื่นๆด้วย อาทิ การบังคับสวมหมวกนิรภัย การบังคับรัดเข็มขัดนิรภัย มาตรการเมาไม่ขับหรือการลดอันตรายจากการสูดดมควันบุหรี่มือสองโดยการห้ามสูบบุหรี่ในบางสถานที่

เหตุผลความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการลดอันตราย

ปัญหาการใช้สารเสพติดเป็นปัญหาที่เรื้อรัง โรคติดยาเสพติดเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ที่ติดสารเสพติด มักจะมี

ประวัติการกลับไปใช้ยาซ้ำหลายครั้ง กว่าที่จะเลิกยาได้ การเข้าใจว่าโรคติดยาเป็นโรคเรื้อรังนี้เป็นสิ่งสำคัญ

เพราะทำให้เข้าใจได้ง่ายว่า ถึงแม้ว่าเป้าหมายของเราจะเป็นการช่วยให้ผู้ที่ติดยาเลิกใช้ยาอย่างเด็ดขาดและ

สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข เราก็ต้องยอมรับความจริงว่ากระบวนการช่วยให้เขาเหล่านั้น เลิกยาได้ไม่ได้เกิดขึ้น ในช่วงเวลาข้ามคืน แต่ต้องกินเวลานานเป็นเดือน หรือเป็นปี มาตรการลดอันตรายจึงเป็นมาตรการที่ช่วยลดผลเสียจากการเสพยาเสพติด โดยเฉพาะผลเสียที่อาจมีผลในระยะยาวกับผู้เสพ อาทิ การติดเชื้อเอดส์ หรือ เชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ภายหลังที่เราลงทุนลงแรงจนช่วยให้ผู้ป่วยคนหนึ่งสามารถหยุดยาได้ เราคงไม่อยากได้คนที่มีโรค หรือมีสุขภาพไม่ดี กลับคืนสู่สังคม

มาตรการลดอันตรายจึงเป็นมาตรการที่ช่วยป้องกันผลเสียเหล่านั้น  เพื่อช่วยให้เราได้คนที่มีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจกลับคืนสู่สังคม  นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว มาตรการลดอันตรายยังเป็นมาตรการที่ดีในการใช้สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เสพกับผู้ให้บริการ ความสัมพันธ์ที่ดีนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการชักจูงให้ผู้ป่วยลดและเลิกใช้ยาในที่สุด

มาตรการลดอันตรายกับการแจกยา/เข็ม

อย่างที่กล่าวในตอนต้นว่ามาตรการลดอันตรายมิได้จำกัดแค่มาตรการ แลกเปลี่ยนเข็ม หรือ มาตรการ

ให้ยาเมทาโดนระยะยาวเท่านั้นหากแต่หมายรวมถึงมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดด้วย อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญในการทำให้มาตรการลดอันตรายใดๆก็ตามบรรลุผลตามเป้าหมาย คือการให้ความรู้ การให้คำปรึกษาและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการ มาตรการแลกเข็มจึงมิใช่แค่การแลกเปลี่ยนเข็มเท่านั้น  แต่ต้องประกอบไปด้วยการให้คำปรึกษา การให้ความรู้ที่ถูกต้องตลอดจนการให้การดูแลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้ที่รับบริการด้วย ในทำนองเดียวกันการให้ยาเมทาโดนระยะยาวจึงมิใช่แค่การแจกยาให้ผู้ป่วยแต่ต้องรวมถึงการพูดคุย ให้คำปรึกษา กระบวนการกลุ่ม การเยี่ยมบ้าน ตลอดจนการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง ดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขได้ด้วย

มาตรการลดอันตรายกับมาตรการการแก้ไขปัญหายาเสพติดอื่นๆ

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ามาตรการลดอันตรายนั้นมิได้เป็นมาตรการที่ขัดแย้งกับมาตรการใน

การแก้ปัญหายาเสพติดอื่นๆ หากแต่เป็นมาตรการที่เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ มาตรการลดอันตรายจะ

ได้ผลดีหรือไม่อย่างไรนั้นจำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงของมาตรการดังกล่าวกับมาตรการการแก้ปัญหายาเสพ

ติดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับมาตรการป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วยติดยาเสพติดด้วย

 

นางสาวอมรรัตน์ พัดดำ   บทความสรุปจากการอบรมหลักสูตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด วันที่ 5-7 สิงหาคม 2552 ณ สถาบันธัญญารักษ์

หมายเลขบันทึก: 290531เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สรุปได้ดีครับ ก็เพิ่งรู้ concept นี้เหมือนกัน แต่ขอแนะนำการกำหนดประโยคเด่นควรเป็นข้อความสำคัญในเรื่องอย่างเช่นอันนี้   "เราก็ต้องยอมรับความจริงว่ากระบวนการช่วยให้เขาเหล่านั้น เลิกยาได้ไม่ได้เกิดขึ้น ในช่วงเวลาข้ามคืน แต่ต้องกินเวลานานเป็นเดือน หรือเป็นปี มาตรการลดอันตรายจึงเป็นมาตรการที่ช่วยลดผลเสียจากการเสพยาเสพติด โดยเฉพาะผลเสียที่อาจมีผลในระยะยาวกับผู้เสพ"

พี่จรรบอกว่าความรู้คับบลอกจริงๆ สุดยอด

ได้ทราบความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการดำเนินงานยาเสพติด นับว่าเป็นการเปิดหู เปิดตา สำหรับคนนอกวงการเป็นอย่างดี อ่านแล้วได้ทั้งความรู้และความรู้สึกชื่นชมผู้เขียนที่สรุปสาระให้เข้าใจได้ดี ขอบคุณมากค่ะ

ฉันทนา

ในความเป็นจริงแล้วเป้าสูงสุดของ Harm คือการเลิกใช้ยาหรือสารเสพติด ถ้ายังเลิกไม่ได้ก็ให้ลดผลกระทบของการใช้ยาหรือสารเสพติด แต่นโยบายบังคับบำบัดของรัฐทำให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบไล่ล่าผู้ที่ยังไม่สามารถเลิกใช้ยาหรืสารเสพติดอยู่ โดยการตัง้ค่าหัวรางวัลนำจับอยู่ที่หัวละหนึ่งพันบาทต่อหนึ่งคน รัฐประกาศว่าเห็นด้วยกับการลดอันตราย แต่วิธีการปฎิบัติกับผู้ใช้ยาหรือสารเสพติดของรัฐคือการไล่ล่า รัฐทำแบบนี้เท่ากับหลอกประชาชนเหมือนกับพูดเพราะ นิสัยเลว

ยังมีเบื้องหน้าเบื้องหลังของ การลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด อีกมากทั้งในรูปแบบ คนที่ถูกกระทำ ผุ้ที่กระทำ  ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ ผู้ที่ละเมิดสิทธิ ชั้นผู้น้อย ชั้นผู้ใหญ่   

ในแบบเขียนลงในกระดาษ ในแบบการปฎิบัติ  การลดอันตรายในไทยกับต่างประเทศ

 ผู้ที่เคลื่อนไหวทางนโยบาย ผู้ที่เคลื่อนไหวทางการรณรงค์ ผู้ที่เคลื่อนไหวทางการคัดค้านการลดอันตราย ผู้ที่เคลื่อนไหวทางการละเมิด.........

ทัศนะคติผู้ที่เข้าใจกับผู้ที่ไม่เข้าใจและสุดท้ายที่จะพิมพ์คือ ประเทศที่พัฒนากับประเทศที่ล้าหลัง  แล้วพบกันครั้งต่อไปนะคร้าบกับ NGO

       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท