เรื่องเล่า ที่ฉะเชิงเทรา ของ พ รัชนีย์


เธอทำ ลุยงานต่อ อย่างน่าทึ่ง มีทีมงานที่เต็มพลังช่วยเสริมกัน ให้งานสมบูรณ์ และยังมีท่านผอ วีรพงษ์ เพ่งวาณิชย์ ให้กำลังใจ

คุณหมอ รัชนีย์  รพ ฉะเชิงเทรา( รูปเป็นตอนเธอมาดูงานเชียงรายปี 50 ค่ะ)

เธอเล่าเปรียบเทียบให้ เห็น Before และAfter ของโครงการเด็กสามารถ CAN Children ART Network ที่ เริ่มต้นที่ รพ ฉะเชิงเทราดังนี้:

Before : ตั้งแต่ ปี 2546 เริ่มยาให้เด็กติดเชื้อ โดยไม่ได้จัดตั้ง คลินิกเฉพาะ

ผู้ป่วยเด็กติดเชื้อ HIV ต้องกระจายตามห้องตรวจทั่วไป โดยหมอทุกคนช่วยกันตรวจ มีผู้ป่วย 64 คน ตายไป 4 หายไปไม่มาตามนัด 10 ราย ส่งต่อให้ รพช 3 ราย เหลือดูแลต่อเนื่องอยู่ 47 ราย  

ตัวเธอเอง ไม่ชอบ ตรวจ เด็ก ที่ ติดเชื้อ  เพราะใช้เวลาตรวจเยอะ ไม่คุ้นเคย ยาก็ไม่คุ้นเคย แถมมีผลข้างเคียงเยอะ และปัญหาหลากหลาย  เด็กโรคอื่นๆ จะใช้เวลา 3-5 นาที แต่ตรวจ HIV ต้อง 20 นาทีขึ้นไป พอ พี่หม่องพยาบาลในทีมและพี่หม่วยจาก สำนักงานประกันมาคุย ว่า มีโครงการเด็กสามารถ  ที่ยังไงก็ เป็นนโยบาย ไม่ทำวันนี้ ก็ ต้องทำวันหลัง แต่สมัคร เป็นกลุ่มแรกๆ คือทำตอนนี้ ก็จะได้งบช่วยตอนเริ่มต้นด้วย  

หลังหลวมตัวตกลง พ รัชนีย์ไปก็ ประชุมที่กระทรวงครั้งแรก เจอ รพอื่นๆในโครงการ ฟังการขยายในรพ ชุมชนของ อุบล อุดร ก็ น่าสนใจ

 

หลังจากนั้นไปดูงานที่ จังหวัดเชียงราย 5 วัน ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่า ทำไม อ รวิวรรณ ถึงต้องให้ยกทีมไป เอาทีม ศูนย์องค์รวม (ศอร) ไปด้วย( ไม่ค่อยรู้จักศอร และไม่เคยทำงานด้วย )  ในทีมที่ไปเชียงรายตอนนั้น รู้จักอยู่ 2-3 คน นอกนั้นไม่รู้จักมาก่อน แต่ก็ชวนกันไป

 

After : การดูงานที่เชียงราย จุดประกายความคิดให้ทีมมากๆ  ทราบเลยว่า ไม่ใช่งานง่าย  พอกลับมาประชุมกัน เลยเชิญคนเข้ามาช่วยอีก เพิ่มทั้งนักจิต โภชนากรแม้แต่ทันตาภิบาลยังมาช่วยเลย

 มาปรับการทำงานในคลินิก จัดนัดเป็นทุกวันอังคาร ทำคู่มือการดูแล  ทำแฟ้มผู้ป่วยใหม่ จัดประชุมก่อนให้บริการ แต่ไม่สามารถประชุมก่อนได้ต่อเนื่อง  ตอนหลัง ต้องเปลี่ยนเป็นประชุมตอนบ่าย หลังให้บริการแล้ว  ประชุมกันเดือนละครั้งทุกอังคารแรก 

พอปรับภายในแล้ว ก็เริ่มส่งผู้ป่วยให้ รพช 7 ตค 2551  จัดให้ทีมรพชมาดูงานครั้งละ 2 โรง ทำเครือข่ายกับรพช 9 แห่ง ในปีเดียวทั้งหมด

ทำค่ายเด็ก ไป แล้วหนึ่งครั้ง  ชื่อ ค่ายต่างวัยสร้างสรรค์ ผูกพันด้วยรัก  ขอทหารจากค่ายมาช่วยเล่นเกมส์กับเด็ก  พบว่าทหารมีทักษะ การทำกิจกรรมให้เด้กที่สนุก เด็กๆ ชอบมาก ทำฐานการเรียนรู้ถึง 6 ฐาน (เยอะไปหน่อย คราวหน้า จะทำ ลดลงกว่านี้)

ตอนนี้มีผู้ป่วยอยู่ 71 คน หลังเริ่มโครงการ ตายไป 2 คน 

ผู้ป่วยส่วนมากเป็นเด็ก อายุมากกว่า 10 ปี และได้ทำ discloseให้เด็ก ไป 13 ราย

วันที่ 30 ตค นี้   จะทำค่ายให้ เด็กครั้งที่สอง  คราวนี้ จะเน้น เพศศึกษา

ทำโครงการนี้แล้ว ดีใจ ชื่นใจ ที่เห็นผลการรักษาที่ดี ที่ หลายคนน่าจะตาย แต่ยังมีชีวิต เห็นเด็กคนที่เจ็บป่วยบ่อยๆ ตอนนี้ แข็งแรง ไป รร ได้ มา รพเพื่อรับยาเท่านั้น และมีชีวิตที่ดี มีความสุขและส่งต่อ ไป รพชุมชน ได้

 

คุณ ตุ๋ย จาก สคร เสริมคุณหมอรัชนีว่า งานเด็กของรพฉะเชิงเทรา เป็น ความภาคภูมิใจของ สคร ตั้งแต่แรก จนปัจจุบันขอบอกว่าเลือกไม่ผิด  เรื่องนี้ต้องให้ credit คุณ หม่วย นิรมล จากงานประกัน ที่ เธอไปคุยกับหมอเด็กใน PCT  เป็นการรับรู้ร่วมกัน และดำเนินการต่อมา ปลื้มมากกับผลงานของทีม จะเก็บไว้ เป็นแหล่งศึกษาดูงาน ต่อไป

แพทย์ และ พยาบาลที่มาอบรมในโครงการจาก รพ สนามชัยเขต  เล่าว่ามาดูงานที่ รพ ฉะเชิงเทราแล้วประทับใจ ผู้ป่วยที่ส่งไป อาการดี ตอนนี้ เด็กที่เมื่อก่อนเกือบๆจะเสียชีวิต ตอนนี้ มี Adherence ดีมาก ชอบมา รพชของเรา มากขึ้น(เดิมไม่อยากมา) เพราะเราจัดให้มีของเล่นที่เดิมไม่เคยมี

เหมียวน้องศอร ประจำรพ ฉะเชิงเทรา  เล่าว่า ตอนแรกเด็ก ไม่พูดกับเธอ  ตอนนี้พูดกันแล้ว ขาดอะไรจะบอก มาขอให้ซื้อหนังสือเรียน ซื้อชุดนักเรียนเธอก็จัดหาให้ และเธอจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเด็กเวลาทำกลุ่มด้วย

หนึ่งเภสัชกร รพฉะเชิงเทรา เข้ามาในโครงการ เพราะจะทำ Thesis ป โท

ตอนไปดูงาน   ทีมเชียงรายได้ให้ พลังมาเยอะมาก  หลายๆ อย่างที่ทำอยู่  ทำหลายๆคนง่ายกว่า ได้ผลดีกว่า เธอว่าเธอทำเท่าเดิมที่เคยทำ ที่ต่างไป คือตอนนี้ทำกับทีม  ทำให้ผู้ดูแล และเด็กได้ ประโยชน์มากขึ้น โดยเฉพาะศอร ช่วยได้มากจริงๆ  เล่นกับน้อง ค้นหาปัญหา ทำให้ เราผูกเรื่องราวได้ เยอะ

 

รวิวรรณ สรุปคืนและร่วมแจมให้ทีม ฉะเชิงเทราทราบว่า

มีข้อดีมากๆ ที่ หัวหน้าทีม คุณหมอ รัชนีย์ทราบจุดอ่อนจุดแข็งของทีม

คุณหมอบอกว่า ไม่ชอบตรวจ ใช้เวลาเยอะ กว่าตรวจโรคอื่นๆ แต่ด้วยสิ่งศักดิ์ สิทธ์ ดลใจเธอเปลี่ยนความคิด

เราลองนึกว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้า คุณหมอคิดว่าโดนหลอก กลับมาจาก กทม จาก เชียงราย แล้วบอกว่า นี่ยากกว่าเดิมอีก เดิมก็ ไม่ชอบอยู่แล้ว ไม่เอาดีกว่า

เราคงจำได้ ว่า มีรายงานเอดส์ รายแรก ประมาณปี 2528 แต่เหมือนระเบิดที่ทรงอานุภาพ ที่ทำให้ คนไทย ตาย  ป่วย  ติดเชื้อ เป็นหมื่น แสน เป็นล้านคน 

 ตอนนี้เราต้องการการดูแลเด็กๆ ไม่ให้ ชีวิตเขาสร้างปัญหาให้คนที่เขารัก ระเบิดดลูกเล็กลูกน้อยเหล่านี้ ก็สามารถบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้ เป็นคนดีของสังคมต่อไป

ความรู้ในการทำงานอยู่ในตัวเขาตัวคนทำงาน  เราเอามาทั้งหมดที่เราเห็นมาดูมา มาวางลงในที่ทำงานเราเลยไม่ได้ แต่เอามาปรับมาแต่งให้ เข้ากับ บริบทของเรา เกิดเป็น ความรู้ใหม่ได้

เป็นโชคดีของเด็กป่วยที่ คุณหมอรัชนีย์ เธอทำ เธอเอามาเป็นธุระ และลุยงานต่อ อย่างน่าทึ่ง  มีทีมงานที่เต็มพลังช่วยเสริมกัน ให้งานสมบูรณ์ เต็มที่ และมีท่านผอ เป็นกำลังใจ(ท่านมาให้กำลังใจ ตั้งแต่เปิดงาน และนั่งฟังอยู่จนนำเสนอเสร็จ)

ที่ทีมฉะเชิงเทราทำ เป็น Tertiary prevention ของการรักษาโรคยุ่งยาก  คนที่ป่วยแล้ว ไม่ให้ ตาย ไม่ให้ พิการ ไม่ให้ นอน รพ  เป็น Proactive management  ของการจัดการระบบด้วย

ยุทธศาสตร์ สำคัญ อีกประการมีแต่ความรัก ความหวังดี ไม่พอ    ความรู้ ต้องมี เพราะเรื่องนี้เรามั่วไม่ได้ มีอีก ยังมีอีกสารพันปัญหา ที่ต้องจัดการ เรื่องเพศศึกษา เรื่อง ดื้อยา เรื่องความร่วมใจในการกินยา แต่เป็น เรื่องที่ต้องลงทุน

สรุป ว่า ต้ององค์กรใหญ่ ต้ององค์กรระดับสูง จึงจะเป็นเลิศไหม ไม่จริง ไม่ต้องโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยใหญ่ระดับสูง   เพียงโรงพยาบาลประจำจังหวัดเช่นฉะเชิงเทราก็ ดูแลผู้ป่วยดีเยี่ยมได้  ไม่ต้องอยู่สูง เป็น เพียงรพในชุมชน อย่างโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ก็เป็นเลิศได้

17 สค 52 ห้องประชุม รพ ฉะเชิงเทราค่ะ

หมายเลขบันทึก: 290516เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาชื่นชมคุณหมอรัชนีย์และทีมงานฉะเชิงเทราด้วยอีกคนค่ะ ได้เห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมากของโรงพยาบาลฉะเชิงเทราในการดูแลเด็กติดเชื้อแล้วรู้สึกดีใจ ขอให้มีกำลังใจในการพัฒนางานต่อนะคะ

ยินดีและชื่นชมด้วยคนค่ะ ขอปรบมือดังๆให้ทีมงานทุกท่าน ตั้งแต่รพ. สสจ ศคร และสอวพ. รวมทั้งทีมเชียงรายผู้ถ่ายทอดวิทยายุทธและทีสำคัญคือ "พลังบันดาลใจ" ให้ทุกทีมที่ไปดูงานได้กลับมาทำงานดีๆ ในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศต่อไป

งานนี้ทีมฉะเชิงเทราเตรียมตัว "งานเข้า" ได้เลยค่ะ เพราะคิดอยู่มานานพอควรว่าในรพ.ที่จำนวนผป.ไม่มากมาย เราจะมีรูปแบบอย่างไร ที่จะพอเหมาะพอดี ทุกแห่งไม่ได้มีแต่คนไข้เอชไอวี ถ้าจำนวนผป.ไม่มากแต่ต้องลงสรรพกำลังเหมือนรพ.ขนาดใหญ่ก็อาจไม่คุ้มนัก แต่ได้ฟังเรื่องของฉะเชิงเทราแล้วเห็นทางสว่างเลยค่ะ คุยกับพี่โหน่งว่าน่าจะเป็นต้นแบบที่ดีของรพ.ขนาดเล็กพริกขี้หนูได้ (แต่เด็ก 70 คนก็ไม่เล็กเท่าไหร่เนาะ)

ขอบคุณ อ พญ รังสิมา และคุณ บิ๋นห์ ธนันดา ดีใจที่เธอมาร่วมให้ ความเห็น

เพราะเธอ เป็นกำลังสำคัญ ของงานนี้ มาตั้งแต่ต้น ช่วยคิด ช่วยทำ ช่วยวิเคราะห์ ช่วย ต่อ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ และช่วยเติม เสริมพลัง

ตอนนี้ งานออกดอก ออกผล สวยงามปรากฏ แก่ ตา สาธารณชน

ตอนนั่งชม นั่งฟัง ที่ฉะเชิงเทรา แล้วคิดถึงทั้งสองท่าน อีกทั้งคุณโหน่ง Dr Micheleและทีมงานที่ TUC มากๆเลยค่ะ

ได้อ่านความคิดเห็นทั้งหมด รวมทั้งเรียนแจ้งต่อท่าน ผอ.วีรพงษ์ เพ่งวาณิชย์ แล้วเพื่อเป็นกำลังใจให้คุณหมอรัชนี ค่ะ

ถึงแม้เป็นทีมงานของฉะเชิงเทรา หากทุกคนไม่ร่วมมือกันงานก็คงสำเร็จยาก ขอบคุณทุกกำลังใจ และความคิดเห็นที่ส่งมาให้ ฉะเชิงเทรา

ส่วนตัวแล้ว กำลังประยุกต์แนวคิดนี้เข้ากับการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ใช้บริการ CAPD เริ่มประชุมร่วมกันกับเครือข่าย โรงพยาบาลชุมชน มีการประเมินผู้ป่วยและครอบครัวร่วมกันระหว่างเวชกรรมสังคม(ผู้ดูแลผู้ป่วยในเขตเมือง) โรงพยาบาลชุมชน(ผู้ดูแลผู้ป่วยเขตอำเภอต่างๆ) ก่อนเข้าโครงการ CAPD หน่วยไตเทียม รพ.ฉะเชิงเทราประเมินและสอนญาติเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย CAPD copy CAN ยังไงยังงั้นค่ะ

เข้าใจว่าน่าจะไปได้ดีเช่น โครงการเด็กสามารถ

ขอบคุณ คุณ หม่วยมาก ค่ะ

ที่จังหวัด และโรงพยาบาลอื่น อิจฉา ก็ ตรงงานประกัน หางบให้

ให้ ความสะดวกในการทำงาน ทำงานยากแล้ว อย่าให้ ต้องลำบาก หางบมาสนับสนุนอีก

ทำโคลนนิ่ง ตัวเธอ เพิ่มให้จังหวัด อื่นๆ ด้วยถ้าจะดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท