การตั้งเมืองขุขันธ์ : เมืองขุขันธ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ตอนที่6)


ปี  ..  ๒๔๖๒   เป็นสมัยที่  ..  พระวิเศษชัยชาญ  (ชอุ่ม  อมัตติรัตน์ )  ดำรงตำแหน่งผู้ว่า

ราชการจังหวัดขุขันธ์  ได้ขอประกาศเปลี่ยนชื่อ  อำเภอท่าช้าง  เป็นอำเภอกันทรารมย์  เพื่อรักษานามเมืองกันทรารมย์เดิมที่ถูกยุบไปและใน  ปี  ..  ๒๔๖๕ ได้มีการย้ายที่ตั้งอำเภอกันทรารมย์  มาตั้งที่บ้านคำมวล  ตำบลคูน  ให้ทางรถไฟ 

ปี  ..  ๒๔๖๕  มีการปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาคใหม่  โดยรวมมณฑลหลายมณฑลเข้าเป็นภาค  และโปรดเกล้าฯ  ให้รวมมณฑลอุดร  มณฑลอุบลราชธานี  และมณฑลร้อยเอ็ด  ขึ้นเป็นภาคอีสาน  โดยมีอุปราชทำหน้าที่  ตรวจการบริหาราชการ  มีอำนาจเหนือสมุหเทศาภิบาล  ประจำมณฑล    ที่ทำการภาคตั้งอยู่ด้วย  ทั้งนี้ให้ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์  โดยไม่ต้องอยู่ในการปกครองของมหาดไทย  เพื่อความรวดเร็วในการบริหารราชการแผ่นดิน 

ปี  ..  ๒๔๖๘  สมัยที่มี  ..  พระยามหานครพระราม ( สวัสดิ์  มหากายี )  ดำรงตำแหน่ง          ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์  ได้มีการปรับปรุง  โดยยกเลิกมณฑลอุบลราชธานี  และมณฑลร้อยเอ็ด   ไปขึ้นกับมณฑลราชสีมา  ดังนั้นจังหวัดขุขันธ์จึงได้ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา  แต่นั้นมา 

ปี  .ศ๒๔๗๐  จึงได้มีคำสั่งออกประกาศทั่วประเทศมีการยุบหน่วยปกครองที่เรียกมณฑล       ทั่วประเทศ  โดยให้ทุกจังหวัดขึ้นต่อส่วนกลาง  จังหวัดขุขันธ์จึงขึ้นกับส่วนกลางตั้งแต่นั้นมา 

 ปี  ..  ๒๔๗๐ หลังจากที่ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ปัญญา ขุขันธิน )สิ้นสุดจากตำแหน่งในราชการตำแหน่งสุดท้าย  คือ  กรมการพิเศษจังหวัดขุขันธ์ ( ..  ๒๔๖๐ ) ก็ได้กลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่ขุขันธ์จนถึงแก่อนิจกรรม  ในวันที่    มกราคม  ..  ๒๔๗๐  รวมสิริอายุได้  ๗๐  ปี 

ในปี  .ศ๒๔๗๐  นี้เช่นกัน  ได้มีการปรับโอนพื้นที่จังหวัดเขตติดต่อ  โดยได้โอนตำบลต่าง ๆ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี  ไปขึ้นในการปกครองของจังหวัดขุขันธ์   คือ

.โอนพื้นที่ส่วนหนึ่งของตำบลโพนค้อ  อำเภอวารินชำราบ  ไปขึ้นกับอำเภอน้ำอ้อม  ต่อมาเป็นตำบลเสียว  ตำบลหนองหว้า  ตำบลท่าคล้อ  และตำบลหนองงูเหลือม  อำเภอเบญจลักษ์ 

.โอนพื้นที่ส่วนหนึ่งของตำบลโพนค้อ  อำเภอวารินชำราบ  ไปขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์  ต่อมาเป็นตำบลโพนค้อ  และตำบลหนองกุง  ขึ้นกับอำเภอโนนคูน 

.โอนพื้นที่ส่วนหนึ่งของตำบลหนองแก้ว  ตำบลทาม  ตำบลละทายตำบลเมืองน้อย  ไปขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์ 

ต่อมาในปี  ..  ๒๔๗๑  ได้โอนพื้นที่อำเภอเดชอุดม  และกิ่งอำเภอโพนงาม จากจังหวัดขุขันธ์ ไปขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี 

ในปี  ..  ๒๔๗๒  นับเป็นความก้าวหน้าอีกก้าวหนึ่งของชาวอีสานที่ทางการเปิดบริการเส้นทางรถไฟจากสถานีกรุงเทพฯ  ถึงสถานีห้วยทับทัน  ในวันที่    พฤษภาคม  ..  ๒๔๗๐  และทำการเปิดบริการเดินรถไฟต่อไปอีกถึงสถานีศรีสะเกษ  ในวันที่    สิงหาคม  ..  ๒๔๗๑  จนมาถึงวันที่    เมษายน  ..  ๒๔๗๑  จึงได้ทำการเปิดบริการเดินรถไฟต่อไปถึงสถานีอุบลราชธานี 

ปี  ..  ๒๔๗๕  เป็นสมัยที่จังหวัดขุขันธ์  มี  .  พระศรีพิชัยบริบาล  ( สวัสดิ์      ปัตมดิลก  )  เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์  ประเทศไทยมีประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช  มาเป็นปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ประกาศ    วันที่  ๒๔  มิถุนายน  ..  ๒๔๗๕  ทำให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาจนถึงปัจจุบัน        ซึ่งเป็นระบอบปกครองที่ถือว่า  เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุดในขณะนั้น 

ปี  ..  ๒๔๗๖  ในรัชสมัย  รัชกาลที่  ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม  โดยจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาค  ออกเป็น  จังหวัด  อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  ให้จังหวัดมีฐานะเป็น  หน่วยบริหารราชการแผ่นดิน  มีตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัด  และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร  เป็นผลให้ภาคและมณฑลถูกยุบเลิกไป  ในปีเดียวกันนี้ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีก  โดยแก้ไขส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด  ให้เจ้าหน้าที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลให้อำนาจการบริหารที่อยู่กับกรมการจังหวัด  ให้เปลี่ยนมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด  มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว  โดยให้กรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น 

ปี  ..  ๒๔๗๖  เป็นประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยอีกครั้งหนึ่ง  ที่ในปีนี้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  โดยทางอ้อม  คือ ให้มีการเลือกตั้งผู้แทนตำบล  ไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกทอดหนึ่ง  ( ไม่ได้เลือกโดยตรงอย่างในปัจจุบัน )  ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น  คือ    วันที่    ธันวาคม  ..  ๒๔๗๖ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดขุขันธ์ 

ขุนพิเคราะห์คดี     ( อินทร์  อินตะนัย ) 

 


 

หมายเลขบันทึก: 290486เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท