การตั้งเมืองขุขันธ์ : เมืองขุขันธ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ตอนที่4)


 ปี  ..  ๒๔๓๗   สมัยพระวิเศษภักดี ( โท )  เป็นเจ้าเมืองศรีสะเกษ  ได้มีผู้กระทำตนเป็นเสือออกปล้นทรัพย์สินของชาวบ้าน  บางครั้งถึงกับฆ่าเจ้าทรัพย์   ซึ่งชาวบ้านเรียกบุคคลผู้นี้ว่า  "เสือยง "  ต่อมาถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต  แต่ได้รูดโซ่แหกคุกหนีออกมาได้  แล้วรวบรวมพรรคพวกออกเที่ยวปล้น

ชาวบ้านหนักขึ้น  สร้างความหวาดกลัวแก่ชาวบ้านอย่างยิ่ง จนเจ้าเมืองศรีสะเกษคือ พระยาวิเศษภักดี(โท) ต้องขอความช่วยเหลือไปยังเมืองขุขันธ์ คือ  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  (ท้าวปัญญา ขุขันธิน )  ได้ส่งกองกำลังพร้อมด้วยพระอาจารย์ของเสือยงที่อยู่ทางเมืองขุขันธ์  ช่วยปราบปรามด้วย  จนสามารถจับ เสือยงได้  ที่บ้านตาเกษ  อำเภออุทุมพรพิสัย  กองกำลังเมืองขุขันธ์ได้นำตัวมอบให้เมืองศรีสะเกษทำการประหารชีวิตเสือยงแล้วตัดเอาศีรษะประจานไว้ที่สี่แยกไปเมืองขุขันธ์ 

 ปี  ..  ๒๔๓๗  นี้เช่นเดียวกัน   โปรดเกล้าฯให้ย้ายที่ตั้งเมืองราษีไศลเดิมจากบ้านโนนหินกองมาตั้ง    ที่บ้านท่าโพธิ์  เป็นที่ตั้งอำเภอราษีไศลในปัจจุบัน  และต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ   บ้านเมืองเก่า  ในเขตอำเภอศิลาลาดในปัจจุบันนี้ 

ในปี  ..  ๒๔๔๐  ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่    แห่งกรุง

รัตนโกสินทร์ เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของไทยอีกครั้งหนึ่ง  โดยพระองค์ได้โปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖   ยกเลิกการปกครองแบบอาชญาสี่  และแบบจตุสดมภ์  รูปแบบคณะอาชญาสิทธิ์  คือ

.รูปแบบการปกครองแบบอาชญาสี่หรือเรียกว่า  คณะอาชญาสี่  ประกอบด้วย  ตำแหน่ง 

-          เจ้าเมือง

-          อุปฮาด

-          ราชวงศ์

-          ราชบุตร

.รูปแบบจตุสดมภ์  หรือเรียกว่า  คณะอาชญาสิทธิ์  ประกอบด้วยตำแหน่ง 

-          เจ้าเมือง

-          ปลัดเมือง

-          ยกบัตรเมือง

-          ผู้ช่วยราชการเมือง

พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่  ..๑๑๖ นี้ให้ยกเลิกตำแหน่ง  ทั้ง ๒  ระบบดังกล่าว  ข้างต้น  ให้แบ่งการปกครอง  ออกเป็น  หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง  และมณฑล   เรียกตำแหน่งใหม่ ดังนี้  ตำแหน่งเจ้าเมือง เรียกว่า  " ผู้ว่าราชการเมือง "  ตำแหน่งอุปฮาด เรียกว่า " ปลัดเมือง " ตำแหน่งราชวงศ์  เรียกว่า ยกบัตรเมือง  และตำแหน่งราชบุตร  เรียนกว่า ผู้ช่วยราชการเมือง    ทั้งนี้ตำแหน่งต่างๆ ที่เจ้าเมืองแต่งตั้ง ให้หมดไปด้วย

นอกจากนี้  ผู้ปกครองเมืองเล็กๆ ที่ถึงยุบเป็นอำเภอ หรือตำบล บางเมืองยุบรวมเป็นเมืองเดียวกัน  และเป็นที่แน่นอนจะต้องมีนักปกครองบางกลุ่ม ไม่อาจที่จะหาตำแหน่งในระบบปกครองใหม่ได้ ประการสำคัญมีการยกเลิกการปกครองโดยการแต่งตั้งจากผู้สืบสายสกุลเจ้าเมืองด้วย  อีกทั้งบางตำแหน่งหน้าที่ถูกลดความสำคัญลงด้วย ทั้งนี้พระองค์ก็ยังมองการณ์ไกล และเห็นใจผู้ที่เคยมีตำแหน่ง มีอำนาจหน้าที่บางกลุ่ม ที่เคยสร้างคุณงามความดี  รับใช้บ้านเมืองมาโดยตลอด เพื่อเป็นการชดเชย และรักษาเกียรติยศ ชื่อเสียง  วงศ์ตระกูล  ของผู้ปกครองเดิม จึงได้โปรดเกล้า พระราชทาน ศักดินา  เจ้านาย  พระยา  ท้าวแสน  เมืองประเทศราช ในเดือนกรกฎาคม  ..  ๒๔๔๒

จากผลการ เปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติดังกล่าว    ทำให้เมืองขุขันธ์   มีทำเนียบผู้รับราชการที่สำคัญ  ในปี  ๒๔๔๐  เป็น ดังนี้

.พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญา  ขุขันธิน)   ตำแหน่ง  ผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์

.พระสุนทรบริรักษ์ (ท้าว)  ตำแหน่ง ปลัดเมืองขุขันธ์

.หลวงสุระรัตนมัย  (บุญมี  ขุขันธิน)  ตำแหน่ง  ยกบัตรเมืองขุขันธ์

.พระพิชัย (บุญมี)   ตำแหน่ง  ผู้ช่วยราชการเมืองขุขันธ์

ปี พ.. ๒๔๔๓  ในรัชกาลที่    พระองค์ยังโปรดเกล้าฯให้  ปรับปรุงแก้ไข  มณฑลลาวกาวให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล  โดยกำหนดจัดหน่วยปกครอง  ตามลำดับ  คือ  บริเวณ  เมือง อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน

ในมณฑลลาวกาว   เปลี่ยนเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ  และต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาน แบ่งเป็น    บริเวณ ประกอบด้วยบริเวณจำปาศักดิ์ บริเวณอุบลราชธานี  บริเวณสุรินทร์  บริเวณร้อยเอ็ด  และบริเวณขุขันธ์

สำหรับเขตพื้นที่ บริเวณขุขันธ์ มี  ๓ เมือง ได้แก่  เมืองขุขันธ์  เมืองศรีสะเกษ  และเมืองเดชอุดม โดย ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาบำรุงบุระประจันต์ ( จันดี )  เป็นข้าหลวงกำกับบริเวณขุขันธ์   

เมือง ขุขันธ์ระยะเริ่มแรก  มี ๕  อำเภอ คือ อ.เมืองขุขันธ์  .กันทรลักษ์   .กันทรารมย์              .อุทุมพรพิสัย   และ อ.มโนไพร  โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ปัญญา  ขุขันธิน )  เป็นผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์  ( ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์คนแรก)

เมืองศรีสะเกษ  มี    อำเภอ  อำเภอกลางศรีสะเกษ  อำเภอปจิมศรีสะเกษ  และอำเภอราษีไศล    มีพระภักดีโยธา  ( เหง้า )  เป็นผู้ว่าราชการเมือง 

เมืองเดชอุดม  มี    อำเภอ  คือ  อำเภอกลางเดชอุดม  อำเภออุทัยอุดม  อำเภอ ปจิมเดชเดชอุดม  มีพระสุรเดชอุตมานุรักษ์  ( ทอง )  เป็นผู้ว่าราชการเมือง

ในระยะการปรับปรุง  มณฑลอีสานเป็นรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล  การเปลี่ยนแปลงทำให้มีผู้ได้ตำแหน่งได้อำนาจ  และผู้ไม่ได้ตำแหน่ง  และเสียอำนาจ  จึงได้เกิดมีกลุ่มนักบุญ  ถูกกล่าวหาว่ากบฎเกิดขึ้นทั่วไปในแถบหัวเมืองภาคอีสาน  สร้างความไม่สบายใจต่อรัฐบาลสยามเป็นอย่างยิ่ง 

กลุ่มนักบุญที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎแยกเป็นกลุ่ม ๆ คือ 

.   กลุ่มองค์เหล็ก  ตั้งอยู่บ้านหนองซำ  อำเภอเสลภูมิ  ภายหลังยกไปรวมกับองค์มั่น 

.  กลุ่มองค์บุญจันทร์  ตั้งอยู่ภูเขาฝ้ายและภูเขาซำปิต  อำเภอกันทรลักษ์ในขณะนั้น (ศรีสะเกษ ) 

.  กลุ่มองค์มั่น  ตั้งอยู่เขตอำเภอโขงเจียม  เขตเมืองเขมราชแล้วยกมาตั้งที่หมู่บ้านสะพือ  อำเภอตระการพืชผล  เตรียมจะยกเข้ามาตีเมืองอุบลราชธานี 

                ปี  ..  ๒๔๔๓  นี้ยังอยู่ในระยะปรับปรุงและปฏิรูปการปกครองอย่างต่อเนื่อง  ได้ โปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ให้ตรากฎกระทรวงว่าด้วยการเปลี่ยนชื่อมณฑล  เช่น  มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นมณฑลอีสาน  มณฑลฝ้ายเหนือ  เป็นมณฑลอุดร   และได้มีการยุบเมืองราษีไศลเป็นอำเภอราษีไศล  ขึ้นกับเมืองศรีสะเกษ  ยุบเมืองอุทุมพรพิสัย  เป็นอำเภออุทุมพรพิสัย  ยุบเมืองกันทรลักษ์  เป็นอำเภอกันทรลักษ์  และยุบเมืองมโนไพร  เป็นอำเภอมโนไพร  ทั้ง  ๓ อำเภอนี้ให้ขึ้นกับเมืองขุขันธ์

                ในปีเดียวกันนี้  ได้แบ่งเมืองศรีสะเกษออกเป็น    อำเภอ  คือ  อำเภอกลางศรีสะเกษ  อำเภออุทัยศรีสะเกษ  และอำเภอปจิมศรีสะเกษ 

                ส่วนเมืองเดชอุดม  แบ่งออกเป็น    อำเภอ  เช่นกัน  คือ  อำเภอกลางเดชอุดม  อำเภออุทัยเดชอุดม  และอำเภอปจิมเดชอุดม  ตั้งเมืองศรีสะเกษและเมืองเดชอุดมให้มีที่ทำการขึ้นอยู่ในการปกครองของเมืองขุขันธ์  ในปี  ..  ๒๔๔๓  เพื่อให้เห็นสภาพการบริหารบ้านเมืองในสมัยนั้น    จึงขอคัดรายงาน  

ประจำปี  ๒๔๔๓  ของเมืองขุขันธ์  ดังนี้ 

.  ตำแหน่งลักษณะปกครอง  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ในปี ร..  ๑๑๙  ชายฉกรรจ์ให้ส่งส่วยพระราชทรัพย์ของหลวง  ๑๕๑๐  คน  หญิงฉกรรจ์  ๑๒๕๐๐  คนและเป็นคนพิการอีกรวมทั้งสิ้น  ๕๐๐๐๓   คน  ตำบลบ้าน  ๕๔  ตำบล  หลังคา  ๓๙๙๐   ผู้ร้ายย่องเบา    ราย  ตัวผู้ร้ายทั้งของกลางทั้ง    ราย  ได้รับเป็นสัจ   ผู้ร้ายปล้น    ราย  ได้ตัวผู้ร้ายทั้ง    ราย  ให้การเป็นสัจ 

.  ปี  ๑๑๙  นี้  ได้แต่งตั้งให้ พระพิไชยสุนทรสงคราม  เป็นปลัด  พระพิไชยราชวงษา  เป็นผู้ช่วยราชการ  กรมการเมืองขุขันธ์  ออกจับโจรผู้ร้าย  บริเวณ      ขุขันธ์  การโจรผู้ร้ายก็สงบเรียบร้อยลง

.  คนในโรงศาล  ปี  ๑๑๙   ความในศาลอำเภอเปรียบเทียบแล้ว  ๒๐  เรื่อง  ค้างอยู่  ๑๓๑         เรื่อง  ศาลในเมืองชำระความไปแล้ว  ความอาญา    เรื่อง  ค้างอยู่  ๒๕  เรื่อง 

.การทำนา  ในปี  ๑๑๙  ปกติเดิม  (๑๑๘ )  นาได้ผลเมล็ดข้าว    ใน    ส่วนราคาขาย  ๑๐๐ สาดเป็นเงิน    ๒๐   บาท 

.การค้าเกิดในเมืองขุขันธ์จำหน่ายขายไปต่างเมืองเป็นหนัง เขาสัตว์ ประมาณราคา 7,642 บาท  สินค้าต่างเมืองเข้ามาจำหน่ายประมาณ  ๒๔,๘๐๐  บาท 

.ผลประโยชน์แผ่นดิน  ในปี  ๑๑๙  เก็บเงินได้  ๕๓,๑๑๘  บาท  ๔๘  อัฐ

.การศึกษา  ๑๑๙  พระปลัดวัดจันทร์นครเป็นอาจารย์สอนนักเรียนที่โรงเรียนบำรุงนิมิตรวิทยาคม  มีนักเรียน  ๕๐  คน  ระเบียบวิชาสอน  พระญาณรักขิตผู้อำนวยการศึกษา  มณฑลอีสาน  ส่งแบบเรียนเร็วบทบวกมาให้สอน 

๘ การศาสนา  ในปี  ๑๑๙  มีพระอาราม  ๑๒๔  แห่ง  มีส่ง  ๑๑๑  แห่ง  ร้าง  ๑๓  แห่ง  จำนวนสงฆ์  ๕๘๕  รูป  สามเณร  ๖๘๐ รูป  ในปี  ๑๑๙  สร้างวัดขึ้น    อาราม  วัดร้างไม่มี  จำนวนสงฆ์เพิ่ม  ๑๒๙  รูป  สามเณร  ๑๙๖  รูป  รวมสงฆ์เก่าใหม่  ๘๑๔  รูป  สามเณร  ๘๑๖  รูป  วัดโรงสวดศาสนาอื่นไม่มี  สร้างโรงเรียนขึ้น    แห่ง 

.การโยธา  ทำถนนสี่กั๊ก  ยาว  ๒๐  เส้น 

๑๐.การโทรเลขได้ทำที่ออฟฟิศ  โทรเลขโดยเรียบร้อย 

                           ประทับตรารูปเทวดามาเป็นสำคัญ

                                      พระยาขุขันธ์ ฯ

ปี  ..  ๒๔๔๓   เป็นระยะที่อยู่ในยุคกำลังปฏิรูปการปกครองให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล       ทำให้ผู้เคยมีตำแหน่งมีอำนาจบางกลุ่มบางคนต้องหมดอำนาจไป  กอร์ปกับเป็นช่วงระยะเวลาที่รัฐบริหารบ้านเมืองที่ประชาชนไม่สู้จะพอใจนัก  เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง  ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อน  ทำให้บุคคลที่ทำตัวเป็นผู้มีบุญช่วยเหลือและอยู่ข้างประชาชนส่วนใหญ่  ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ  กล่าวหาเป็นกบฎ  ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว  โดยเฉพาะเมืองขุขันธ์  มีท้าวบุญจันทร์  บุตรพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าววัง )  เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่     และเป็นน้องชายของ  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวปัญญา  )  ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์  ในขณะนั้น  เกิดความไม่พอใจ   เพราะไม่ได้รับตำแหน่ง  อีกทั้งได้เคยเสนอให้ย้ายอำเภอกันทรลักษ์จากบ้านบักดอง มาตั้งที่บ้านสิ  หรือขอแยกบ้านสิ เป็นอำเภอ  และขอเป็นนายอำเภอด้วยตนเอง  แต่พระยาบำรุงบุระประจันต์  ( จันดี )  ข้าหลวงเมือง ขุขันธ์  ในขณะนั้นไม่เห็นด้วย  ทำให้ท้าวบุญจันทร์ไม่พอใจ      จึงนัดหมายประชาชนให้ไปชุมนุมทำบุญกันที่ภูฝ้าย  เนื่องจากท้าวบุญจันทร์มีเชื้อสายลูกเจ้าเมืองเก่า      ทำให้ประชาชนมีความรักและศรัทธาเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก  ได้ซ่องสุมผู้คนฝึกอาวุธที่ภูฝ้าย  ต่อมาได้เคลื่อนย้ายไปตั้ง    ที่ใหม่  คือ  ที่เขาซำปีกา  ซึ่งมีพื้นที่สมรภูมิที่ดีกว่า  ทำให้มีผู้สมัครเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ในความไม่พอใจของท้าวบุญจันทร์ในครั้งนี้ ทำให้พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ท้าวปัญญาขุขันธิน)  พี่ชายซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองขุขันธ์  ไม่สบายใจอย่างยิ่ง  เพราะแม้ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการเมืองเมืองขุขันธ์ก็จริง  แต่อำนาจเด็ดขาดมิได้อยู่ที่ผู้ว่าราชการเมืองเพียงผู้เดียวดังแต่ก่อนแล้ว  แต่ยังมี  พระยาบำรุงบุระประจันต์  ( จันดี )  ตำแหน่งข้าหลวงกำกับบริเวณอีกชั้นหนึ่ง  เป็นผู้ใช้อำนาจควบคู่กัน  และ ท้าวบุญจันทร์ก็เคยอยู่ในราชการเป็นกรมการเมืองและเป็นน้องชายของ  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  ส่วนพระยาบำรุงบุระประจันต์  ( จันดี )  ใช้อำนาจหน้าที่ความเป็นข้าหลวงกำกับบริเวณขุขันธ์  แล้วยังมีศักดิ์ในฐานะเป็นพ่อตาของพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวปัญญา ขุขันธิน )อีกด้วย  บางครั้ง พระยาบำรุงบุระประจันต์  ( จันดี )ได้สั่งการใด ๆ  โดยไม่ปรึกษาและพยายามปิดบังไม่ให้พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวปัญญา ขุขันธิน) ผู้เป็นผู้ว่าราชการล่วงรู้ก็เคยมี  การตัดสินใจของพระยาบำรุงบุระ-ประจันต์  ( จันดี )หลายครั้งที่ พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวปัญญา ขุขันธิน)ในฐานะผู้ว่าราชการเมืองไม่เห็นด้วย   กับ  พระยาบำรุงบุระประจันต์  ( จันดี )  ในฐานะข้าหลวงบริเวณขุขันธ์ที่ส่วนกลางมอบหมายโปรดเกล้าฯ  ให้มากำกับดูแล  แม้บางครั้งจะเห็นว่าการตัดสินใจของ  พระยาบำรุงบุระประจันต์      ( จันดี )  ข้าหลวงบริเวณผิดพลาดไม่ชอบด้วยหลักการ  แต่  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวปัญญา ขุขันธิน)ในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง  ก็ไม่อาจขัดขวางได้ เพราะเห็นว่าถ้าขัดขวางแล้วจะก่อให้เกิดความแตกแยกร้าวฉาน  ขาดความสามัคคี  ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองต้องตัดสินใจเอาราชการบ้านเมืองไว้ก่อน   

 

หมายเลขบันทึก: 290482เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท