การตั้งเมืองขุขันธ์ : เมืองขุขันธ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ตอนที่3)


.หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ  ตั้งที่ทำการข้าหลวงอยู่ที่เมือง  หนองคาย  มีเมืองในสังกัดเป็นเมืองเอก  ๑๖  เมือง  คือ  เมืองหนองคาย  เมืองเชียงขวาง  เมืองบริภัณฑ์นิคม  เมืองโพนพิสัย  เมืองชัยบุรี  เมืองท่าอุเทน  เมืองนครพนม  เมืองสกลนคร  เมืองมุกดาหาร  เมือกุมทาลัย  เมืองหนองหาร  เมืองขอนแก่น  เมืองคำเกิด  เมืองคำม่วน  เมืองหล่มสัก  และเมืองบุรีรัมย์  นอกจากนี้ยังมีเมืองขึ้นที่เป็นเมืองโท  เมืองตรี  เมืองจัตวา  อีก  ๓๖  เมือง  รวม ๕๒  เมือง  โดยมีพระสุรเดชวิเศษฤทธิ์ ( จัน  อินทรกำแหง )  เป็นข้าหลวง

.หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ  ตั้งที่ทำการข้าหลวงกำกับอยู่ที่  เมืองอุบลราชธานี  มี   เมืองในสังกัดที่เป็นเมืองเอก  ๑๒ เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี  เมืองกาฬสินธุ์ เมืองสุวรรณภูมิ  เมืองมหาสารคาม  เมืองร้อยเอ็ด  เมืองภูแล่นช้าง  เมืองกมลาไสย  เมืองเขมราฐ  เมืองยโสธร  เมืองสองดอนดง  เมืองนางรอง  และเมืองศรีสะเกษ  นอกจากนี้ยังมีเมืองขึ้นที่เป็นเมืองโท  เมืองตรี  เมืองจัตวา  อีก  ๒๙  เมือง  รวม  ๔๑  เมือง  โดยมีพระยารชเสนา (  ทัด  ไกรฤกษ์ )  เป็นข้าหลวง 

.หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง  ตั้งที่ทำการข้าหลวงกำกับราชการอยู่ที่เมือง  นครราชสีมา  มีเมืองในสังกัดเป็นเมืองเอก    เมือง   คือ  เมืองนครราชสีมา  เมืองชนบท  และเมืองภูเขียว  นอกจากนี้ยังมีเมืองขึ้นที่เป็นเมืองโท  เมืองตรี  เมืองจัตวา  อีก  ๑๖  เมือง  รวม  ๑๙  เมือง 

       มีพระพิเรนทรเทพ (ทองคำ  สีหอุไร)  เป็นข้าหลวง

ในระยะเริ่มการปฏิรูปครั้งนี้  เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม,เมืองสังขะ และเมืองสุรินทร์ อยู่ในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก ส่วนเมืองศรีสะเกษ อยู่ในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ และในปีเดียวกันนี้  ได้โปรดเกล้าฯใหย้ายพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น  ศรีเพ็ญ)  ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่มณฑลเขมร

                   ปี  ..  ๒๔๓๔  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่    ทรงมีพระราชดำริว่า  กรุงสยาม  ได้มีพระราชไมตรีกับนานาประเทศมาช้านาน  บ้านเมืองก็ลุความเจริญโดยลำดับ และฝรั่งเศสได้เขมรเป็นอาณานิคมแล้วได้จัดทะนุบำรุงเขตแดนไกล้ชิดกับชายพระราชอาณาเขตด้านทิศใต้โอบไปทางทิศเหนือ   อังกฤษได้จัดเขตแดนพม่า ติดต่อกับเขตแดนไทยทางทิศใต้โอบไปทางทิศตะวันตก  ผู้คนเขมรป่าดง ญวณ ลาว เงี้ยว ซึ่งเป็นข้าขอบขันฑสีมากรุงเทพมหานคร ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ปลายราชอาณาเขตก็ สับสนปะปนกันกับผู้คนที่อาศัยอยู่นอกพระราชอาณาเขต  รัฐบาลฝรั่งเศสและอังกฤษได้ทะนุบำรุงอยู่นั้น จำเป็นที่รัฐบาลไทย ฝรั่งเศและอังกฤษต้องปรึกษาหารือกันเพื่อแบ่งปันเขตแขวงบ้านเมืองให้เป็นที่ตกลงกัน  แต่หัวเมืองในพระราชอาณาเขตที่กำหนดแบ่งปันไว้แต่ก่อนนั้น  ยังหาสมควรแก่กาลไม่  

ควรจัดข้าหลวงที่มีคุณวุฒปรีชาสามารถ ออกไปประจำรักษาพระราชอาณาเขตซึ่งติดต่อกับหัวเมืองต่างประเทศ  กำกับดูแลรักษาด่าน ปราบปรามโจรผู้ร้าย  และจัดการบ้านเมืองให้เป็นที่เรียบร้อย  อีกทั้งรักษาพระราชไมตรีกับต่าสงประเทศให้เจริญยิ่งขึ้น     จึงทรงโปรดเกล้าฯ  ให้กำหนดหัวเมืองต่าง ๆ  ใหม่  ดังนี้ 

.  หัวเมืองลาวพวน  ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้น้องยาเธอ  กรมหมื่นประจักรศิลปคม  เป็นข้าหลวงต่างพระองค์  สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพวน  ตั้งกองบัญชาการ    เมืองหนองคาย  มีเมือง  16  เมือง เมืองหนองคาย  เมืองหล่มสัก  เมืองชัยบุรี  เมืองท่าอุเทน  เมืองนครพนม  เมืองมุกดาหาร  เมืองสกลนคร       เมืองกุมุทาลัย  ( หนองบัวลำภู )  เมืองโพนพิสัย  เมืองขอนแก่น   เมืองเชียงรอง  เมืองคำม่วง  เมืองวานรนิวาส  รวมทั้งเมืองขึ้นกับเมืองเหล่านี้ 

.   หัวเมืองลาวกาว  โปรดเกล้าฯ  ให้น้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร  เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการหัวเมืองลาวกาว  ตั้งกองบัญชาการอยู่    เมืองจำปาศักดิ์  ( ประทับอยู่    เมืองอุบลราชธานี  )  มีเมืองใหม่  23  เมือง  เมืองจำปาศักดิ์  เมืองขุขันธ์  เมืองสังขะ  เมืองสุรินทร์  เมืองศรีสะเกษ  เมืองยโสธร  เมืองกาฬสินธุ์  เมืองภูแล่นช้าง  เมืองกมลาสัย  เมืองเขมราฐ  เมืองสุวรรณภูมิ  เมืองเดชอุดม  เมืองร้อยเอ็ด  เมืองมหาสารคาม  เมืองสีทันดร  เมืองสาละวัน  เมืองอัตปือ  เมืองทองคำใหญ่  รวมทั้งเมืองที่เป็นเมืองขึ้นกับเมืองเหล่านี้ด้วย 

.เมืองลาวพุงขาว  พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้พระน้องยาเธอ  กรมหมื่นหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์  เป็นข้าหลวงต่างพระองค์  สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพุงขาว  ตั้งกองบัญชาการอยู่  ณ เมืองหลวงพระบางราชธานี  (ประทับอยู่    เมืองนครราชสีมา เพราะมีราชการติดพันอยู่)  โดยโปรดเกล้าฯ  ให้พระยาฤทธิรณเฉท ( สุข  ชูโต )  ซึ้งอยู่ปฏิบัติราชการอยู่ก่อนแล้ว  ปฏิบัติราชการแทน  มีเมืองหลวงพระบางราชธานี  เมืองสิบสองปันนา  เมืองสิบสองจุไทย เมืองหัวพันทั้งห้า  เมืองหัวพันทั้งหก  และเมืองขึ้นต่อเมืองเหล่านี้ 

.หัวเมืองลาวกาว  มีเมืองใหญ่  อยู่    เมือง    คือ  เมืองนครราชสีมา  เมืองบุรีรัมย์  เมืองภูเขียว  และเมืองขึ้นต่อเมืองเหล่านี้  โดยให้ตั้งกองบัญชาการอยู่    เมืองนครราชสีมา 

.หัวเมืองลาวเฉียง  มีเมืองใหญ่อยู่    เมือง  คือ  เมืองนครเชียงใหม่  เมืองแพร่  เมืองนครลำปาง  เมืองเถิน  และที่เป็นเมืองขึ้นกับเมืองเหล่านี้ 

ในการปรับปรุงการปกครองครั้งครั้งที่ ๒ นี้  เมืองขุขันธ์  เมืองเดชอุดม  และเมืองศรีสะเกษ  พร้อมทั้งเมืองขึ้นที่อยู่ในหัวเมืองลาวกาว  อยู่ในกลุ่มเดียวกัน  ซึ่งเป็นช่วงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญแห่งการปฏิรูป  ครั้นปรับปรุงหัวเมืองทั้งสองครั้งในระยะติดต่อกัน   ส่งผลให้ความมั่นคงของบ้านเมืองดีขึ้น  และทรงมองเห็นว่า  ควรเร่งปรับปรุงพื้นที่ที่จำเป็นเกี่ยวกับปัญหาทางการเมือง  และปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ต้องเร่งปรับปรุงอย่างยิ่ง  ก่อนตั้งมนฑลเทศาภิบาล   ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกลุ่มหัวเมืองชั้นนอก เป็นมณฑลไว้แล้ว     มณฑล  คือ

.  มณฑลลาวเฉียง  คือ  บริเวณหัวเมืองลาวเฉียง  มีพระยาพลเทพ ( พุ่ม  ศรีชัยยันต์ )  เป็นข้าหลวงใหญ่    เมืองเฉียงใหม่  ต่อมาเปลี่ยนเป็น  มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ  แล้วเปลี่ยนเป็นมณฑลพายัพ  แล้วแบ่งออกเป็นมณฑลมหาราษฎร์อีกมณฑลหนึ่ง 

 

. มณฑลลาวพวน  คือบริเวณหัวเมืองลาวพวน  มีพระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นศรจักร์ศิลปาคม  เป็นข้าหลวงใหญ่  ตั้งกองบัญชาการอยู่    เมืองหนองคาย  ต่อมาเปลี่ยนมณฑลฝ่ายเหนือแล้วเปลี่ยนเป็นมณฑลอุดร  แล้วย้ายกองบัญชาการมาอยู่ที่บ้านหมากเข้ง  คือ  จังหวัดอุดร  ธานีในปัจจุบัน

.มณฑลลาวกาว  คือ  บริเวณหัวเมืองลาวกาว  มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่    ตั้งกองบัญชาการอยู่    เมืองอุบลราชธานี  ต่อมาเปลี่ยนเป็น  มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ  และเปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาน  แล้วแยกออกเป็น  ๒ มณฑล  คือ  มณฑลอุบลราชธานี  และมณฑลร้อยเอ็ด 

.มณฑลลาวกลาง  คือบริเวณเมืองลาวกลาง  มีพระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์  เป็นข้าหลวงใหญ่  ตั้งกองบัญชาการอยู่เมืองนครราชสีมา  ต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑลราชสีมา 

. มณฑลเขมร  มีพระยามหาอำมาตยาธิบดี  ( หรุ่น  ศรีเพ็ญ )  เป็นข้าหลวงใหญ่  ตั้งกอง

      บัญชาการอยู่    เมืองพระตะบอง  มี    เมือง  คือ  เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราช 

      เมืองศรีโสภณ  เมืองพนมศก  และเมืองขึ้นต่อเมืองเหล่านี้  ต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑล

       ตะวันออก  และเปลี่ยนเป็นมณฑลบูรพา 

. มณฑลหัวเมืองฝ่ายตะวันตก  มีพระทิพย์โกษา ( โก  โชตเสถียร )  เป็นข้าหลวงใหญ่   ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต 

ในการปรับปรุงการปกครองแบบมณฑลในครั้งนี้  เมืองขุขันธ์  เมืองศรีสะเกษ  และเมืองเดชอุดม  อยู่ในมณฑลลาวกาว 

ในการปรับปรุงในครั้งนี้  มีพระราชประสงค์ทรงต้องการโปรดเกล้าฯ  ให้รวมกลุ่มเมืองชั้นนอก  ตั้งเป็นมณฑลและทรงแต่งตั้งข้าราชการส่วนกลางไปเป็นข้าหลวงใหญ่  หรือข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการมณฑล  ตามความเหมาะสมและความไว้วางพระราชหฤทัย  อันเป็นการมุ่งต่อความมั่นคงต่อสยามประเทศเป็นสำคัญ 

 ปี  ..  ๒๔๓๕  ฝ่ายเมืองสุรินทร์  หลังจากได้โปรดเกล้าฯ  ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร  ข้าหลวงใหญ่  ซึ่งย้ายมาแทนพระมหาอำมาตยาธิบดี ( หรุ่น   ศรีเพ็ญ)  ได้ทรงแต่งตั้งให้  พระยาไชยณรงค์ภักดี ( บุญนาค )  น้องชายพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมบัติ ( ม่วง )  ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ 

ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี  ( บุญนาก )  ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์  เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่  ข้างหลวงใหญ่  ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสาน  ได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการส่วนกลางมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง  สำหรับเมืองสุรินทร์  หลวงธนสารสุทธารักษ์ ( หว่าง )  เป็นข้าหลวงกำกับราชการ  มีอำนาจเด็ดขาดทัดเทียมเจ้าเมือง  หรือ

ผู้ว่าราชการเมือง  นับเป็นครั้งแรกที่มิใช่เชื้อสายจากบรรพบุรุษเมืองสุรินทร์  ด้วยความไม่เข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี  และวิถีความเป็นอยู่ของชาวเมืองดีพอ  ทำให้การบริหารบางอย่างเกิดการผิดพลาดมิชอบด้วยหลักการและเหตุผล  แต่ด้วยความที่เห็นแก่บ้านเมือง  และเพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกร้าวฉานขึ้น  พระไชยณรงค์ภักดี ( บุญนาก )  จึงมิอาจจะขัดขวางได้  อันแสดงถึงความสามัคคีในชนชั้นปกครองให้ปรากฏ

   ..  ๒๔๓๕  เป็นช่วงระยะเวลาที่พระองค์ทรงมีความประสงค์ที่จะทรงโปรดเกล้าฯ  ให้ส่ง

ข้าราชการจากส่วนกลางไปเป็นข้าหลวงประจำตามหัวเมืองต่าง ๆ  อย่างเช่น  ได้ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้พระศรีพิทักษ์เป็นข้าหลวงใหญ่ว่าราชการหัวเมืองที่เรียกว่า  "เขมรป่าดง"  เพราะราษฎรพูดภาษาส่วยและภาษาเขมร  ประกอบด้วย  เมืองสุรินทร์  เมือง        ขุขันธ์  เมืองสังขะ  และเมืองศรีสะเกษ  และยังได้แต่งตั้งข้าหลวงผู้ช่วยให้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง  คือ  ให้หลวงจำนง  ยุทธกิจ (อิ่ม )  ขุนไผทไทยพิทักษ์  ( เกลื่อน )  เป็นข้าหลวงอยู่ในเมืองศรีสะเกษ 

ปี  ..  ๒๔๓๖  โปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งหลวงยกบัตรเมืองอุทุมพรพิสัย  ( วัง )  เป็นพระอุทุมพรเทศานุวัตร์  เจ้าเมืองอุทุมพรขึ้นต่อเมืองขุขันธ์  ส่วนปลัดและยกบัตรเมืองให้เจ้าเมืองเป็นผู้แต่งตั้งให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง )  เป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์  เมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ  ให้ตั้งที่ทำการข้าหลวง    เมือง     ขุขันธ์ 

 ปี  ..  ๒๔๓๖  เช่นเดียวกัน กรมไปรษณีย์โทรเลข  ได้ส่งให้มิสเตอร์โทมัสบาเบอร์  มิสเตอร์แมกสมูลเลอร์  และมิสเตอร์วิลเลี่ยม  ไปจัดตั้งไปรษณีย์ในเขตหัวเมืองลาวกาว  รวมทั้งเมืองขุขันธ์  เมืองศรีสะเกษด้วย  มาถึงกรุงเทพฯ  กำหนดเดินอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น 

ปี  ..    ๒๔๓๖ พระกันทรานุรักษ์  เจ้าเมืองกันทรารมย์ถึงแก่กรรม  หลวงสุนทรพิทักษ์  เป็นบุตรกรมการเมือง  ได้ขึ้นรักษาราชการเป็นเจ้าเมืองสืบต่อมาจนเข้าสู่การยุบเมืองเป็นอำเภอ  แล้วโอนจากเมืองสังขะมาขึ้นกับเมืองขุขันธ์ 

 ปี  ..  ๒๔๓๗ ในรัชสมัยรัชกาลที่  5  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ  ให้มีการจัดตั้ง  มณฑลเทศาภิบาลขึ้น    มณฑล  เป็นมณฑลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    มณฑล  คือ  มณฑลนครราชสีมา  ซึ่งได้ปรับปรุงมาจากมณฑลเดิม  และทรงโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งข้าราชการจากส่วนกลางไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล  ปกครองมณฑล  ซึ่งมณฑลนครราชสีมาแบ่งออกเป็น    บริเวณ  บริเวณนครราชสีมา บริเวณนางรอง  และบริเวณชัย ภูมิ  มีข้าหลวงบริเวณเป็นผู้ปกครองขึ้นกับข้าหลวงเทศาภิบาล  ( การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ไม่ได้ตั้งพร้อมกันทุกมณฑล  เป็นการจัดตั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปตามหลักการปฏิรูป )

 ปี  ..  ๒๔๓๗   เป็นช่วงระยะเวลที่สยามประเทศตกอยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจในเหตุการณ์บ้านเมืองนัก  โดยเฉพาะหัวเมืองแถบอีสาน  เพราะเป็นยุคสมัยที่ประเทศข้างเคียงอย่างเช่น  ญวน  เขมร ลาว ตกอยู่ในบำรุงของฝรั่งเศสและพยายามทีจะเรียกร้องขอดินแดนบางส่วนมาจากสยามประเทศ  แม้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่    ทรงพยายาม  ให้ข้าหลวงกำกับราชการเมืองต่าง ๆ  ให้พยายามหลีกเลี่ยงการ เผชิญหน้ากับฝรั่งเศสโดยให้ใช้หลักประนีประนอมแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย  เพราะเราอยู่ในสถานะเสียเปรียบถึงแม้จะระมัดระวังเพียงใดก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดย เมื่อวันที่  ๓๑  มีนาคม  ..  ๒๔๓๗  รัฐบาลฝรั่งเศส 

ได้แต่งตั้งให้เรสิดองปัสถา เป็นแม่ทัพ  พร้อมด้วยนายร้อยเอกโทเรอ  และนายร้อยตรี  โมโซและมองซิเออร์บรุโซ  คุมทหารญวนเมืองไซ่ง่อนจำนวน  ๒๐๐  นาย  และกำลังจากเมืองเขมร  พนมเป็ญสมทบมาอีกเป็นจำนวนมาก  ลงเรือพร้อมด้วยศาสตราวุธยกเป็นกระบวนกองทัพขึ้นมาตามลำน้ำโขงเข้ามาในพระราชอาณาเขต  เข้าขับไล่ทหารที่รักษาด่านบงขลา  แขวงเมืองเซียงแตง  และด่านสามโบก  โดยสามารถยึดเอาด่านทั้งสองได้  และต่อมาสามารถยึดเอาเมืองเชียงแตงได้อีก  เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายสยามคงไม่มีทางเลือกอื่น  จึงต้องเกิดสงครามขึ้น  ทั้งนี้โดยมีพระประชาคดีกิจ ( แช่ม )  ข้าหลวงฝ่ายไทยได้คุมกำลังเมืองสีทันดร  คอยปะทะคุมสถานการณ์ไว้  ในขณะเดียวกันนั้นพระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว  ซึ่งประทับอยู่    เมืองอุบลราชธานี  ได้เกณฑ์กำลังจากเมืองขุขันธ์  เมืองสุรินทร์  เมืองศรีสะเกษ  เมืองมหาสารคาม  และเมืองร้อยเอ็ด  เมืองละ  800  คน  และเมืองสุวรรณภูมิ  เมืองยโสธร  เมืองละ  ๕๐๐  คน  จัดเป็นกองทัพออกสู้กับฝรั่งเศส

นอกจากนี้ยังได้เกณฑ์ไพร่พลเมืองขุขันธ์จำนวน  ๕๐๐  คน ให้พระศรีพิทักษ์  ( หว่าง)  ข้าหลวงเมืองขุขันธ์คุมพลไปตั้งรับรักษาอยู่    เมืองมโนไพรและเมืองเซลำเภา  และโปรดเกล้าฯ            ให้หลวงเทพนรินทร์ ( อ้น )  ซึ่งกลับจากหน้าที่เมืองตะโมน  ไปเป็นข้าหลวงแทนพระพิทักษ์อยู่เมืองขุขันธ์  พร้อมทั้งให้เมืองใหม่ทุกเมืองในมณฑลลาวกาว  เตรียมกำลังพลให้พร้อมอีกเมืองละ  ๑๐๐๐  คน 

ในวันที่  ๒๙  เมษายน  .. ๒๔๓๗ นี้  ได้โปรดเกล้าฯให้ราชวงศ์  ราชบุตร เมืองยโสธร คุมไพร่พลเมืองยโสธร  ๕๐๐  คน  และโปรดเกล้าฯ  ให้อุปราช ( บัว )  แห่งเมืองกมลาสัย คุมไพร่พลเมืองศรีสะเกษ  ๕๐๐  คน  เป็น  ๑๐๐๐  คน  พร้อมด้วยศาสตราวุธโดยพร้อมไปสมทบกับพระประชาคดีกิจ  และนายสุดจินดา  ตีเมืองสีทันดร  และให้พระไชยผู้ช่วยเมืองศรีสะเกษ  คุมไพร่พลเมืองศรีสะเกษ  ๕๐๐  คน  พร้อมด้วยศาตราวุธ  ยกไปตั้งรักษาอยู่    ช่องโพย  และด่านพระประสบ  แขวงเมืองขุขันธ์  ต่างก็เสริมกำลังจึงเกิดการต่อสู้กัน  จนเกิดการบาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่าย 

วันที่  ๒๐  พฤษภาคม  ..  ๒๔๓๗  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงพิชิตปรีชากร  โปรดเกล้าฯ     ให้ยกกองทัพเมืองสุวรรณภูมิจำนวน  500  เมืองร้อยเอ็ด  จำนวน  ๓๐๐  คน  รวม  ๘๐๐  คน  โดยยกจากเมืองอุบลราชธานีอีกให้ไปช่วยพระประชาคดีกิจ    ค่ายดอนสาคร  และนำกองกำลังเมืองจัตุรพัตร  105  คน  เมืองร้อยเอ็ด  ๒๑๐  คน  เมืองมหาสารคาม  ๒๑๐  คน  รวม  ๕๒๕  คน  ยกไปตั้งรักษาอยู่    เมืองมโนไพรและธาราบริวัตรและด่านลำจาก  เปลี่ยนเอาพระศรีพิทักษ์ ( หว่าง )  กลับมาตั้งรักษาอยู่    ช่องโพย  และให้นายร้อยตรีวาด  ไประดมคนเมืองขุขันธ์  อีก  ๕๐๐  คน  สำหรับส่งไปเพิ่มเติมยังกองพระศรีพิทักษ์          ( หว่าง )  ให้ขุนไผทพิทักษ์ ( เกลื่อน )  ข้าหลวงเมืองศรีสะเกษ  มีหน้าที่ส่งเสบียงอาหารไปยังกอง         พระศรีพิทักษ์  ส่วนกองกำลังที่ตั้งประจันกันบริเวณลำน้ำโขงได้มีการต่อสู้กันด้วยอาวุธปืนเล็ก  ปืนใหญ่หลายครั้ง  จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่ายและในที่สุดก็สามารถยุติศึกลงได้  โดยการเจรจาสงบศึก  ฝ่ายสยามไทยเรียกกำลังพลทุกกองทัพกลับหมด  และมีการตกลงเซ็นสัญญากันเมือวันที่    ตุลาคม  ..  ๒๔๓๗   การศึกสงครามครั้งนี้กินเวลาครึ่งปี  เมืองขุขันธ์และเมืองศรีสะเกษ  ได้มีบทบาทสำคัญ  ในการ รักษาชาติบ้านเมืองอย่างเต็มกำลัง  โดยเฉพาะเกิดศึกสงครามนอกราชอาณาจักรไพร่พลและกองกำลังจากเมืองขุขันธ์  จะมีบทบาทในการทำศึกสงครามป้องกันประเทศชาติด้วยเสมอ  โดยเฉพาะเมืองขุขันธ์  เป็นเมืองใหญ่และสำคัญทางยุทธศาสตร์ทางการปกครอง  จึงต้องมีที่ทำการหลายหน่วยในเวลาเดียวกันเช่นที่ทำการข้าหลวงบริเวณเมืองที่ทำการข้าหลวงประจำเมือง  ที่ทำการเจ้าเมือง  ตำแหน่งเจ้าเมืองในระยะปฏิรูปปรับปรุงการปกครองจะโปรดเกล้าฯ  ข้าราชการที่วางพระทัยได้จากส่วนกลางออกไปประจำตามภูมิภาค 

 

หมายเลขบันทึก: 290480เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท