อบรมเบาหวาน


“ไม่มีอาหารเฉพาะเจาะจงสำหรับคนเบาหวานอีกต่อไป”

                 ศก.ที่ 13 17  กรกฎาคม 2552 สิได้รับโอกาสไปอบรมโรคเบาหวานหลักสูตรพื้นฐาน ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ณ.รพ.เทพธารินทร์ เนื้อหาของเขาแน่นปึ้กจริง ๆ เจ็บจริงและเสียวจริง..!!!พบว่าคนทางเอเชียมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนแถบยุโรปและอเมริกา เพราะว่าคนของเขามีความรู้ที่จะดูแลตัวเองมากกว่าแถบบ้านเรา การให้คความรู้ต้องทำกันเป็นแก๊งภายใต้คอนเส็บที่ว่า ไม่มีอาหารเฉพาะเจาะจงสำหรับคนเบาหวานอีกต่อไป คนใหนต้องการมีสุขภาพดีก็ต้องทำมาหากินกันอย่างนี้ ไม่ใช่การอดอาหาร ต้องเป็นการปรับเปลี่ยนนิสัยการกินที่สั่งสมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเลยทีเดียวต้องเป็นการร่วมมือทั้งครอบครัว ไม่ใช่ลูกเต้าเมียรักไม่เป็นแต่พ่อเป็น ข้าจะกินอย่างนี้เอ็งก็หากินเอาเองเถอะพี่น้อง เวลาให้คำแนะนำกับคนหวาน ๆ ต้องมีวิธีบอกให้ได้ว่า

1.นอกจากอาหารที่สัมผัสลิ้นแล้วหวานควรระมัดระวังที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงแล้ว ในอาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรทนั้นมันจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสได้ 100 เปอร์เซนต์เลยทีเดียว ข้อมูลการวิจัยพบว่า ผลไม้และนมมีผลต่อการขึ้นของระดับน้ำตาล (Glycemic response) น้อยกว่าแป้ง ส่วนน้ำตาลทรายมีผลต่อระดับน้ำตาลใกล้เคียงกับขนมปัง ข้าวและมันฝรั่ง (รวมทั้งเผือก มันด้วยหรือเปล่าแหล่งข่าวไม่ได้แจ้ง) ถ้ารับประทานมากเกินควรในแต่ละครั้งจะทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นได้ แต่ก็ไม่ควรอด แต่ให้เลือกประเภทเป็นข้าวกล้อง ขนมปังไม่ขัดสีเพราะมันจะปลดปล่อยเป็นน้ำตาลอย่างช้า ๆและให้พลังงานอย่างสม่ำเสมอ ส่วนน้ำตาลในผลไม้เป็นฟรุคโตส (C6-H12-O6) ที่มีความหวานมากที่สุดในบรรดาน้ำตาลและจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์มากกว่าที่จะเปลี่ยนเป็นกลูโคสในเลือด จึงเพิ่มระดับน้ำตาลหลังอาหารได้น้อย...และพวกเราต้องมีความรู้ในอาหารแลกเปลี่ยนด้วย(เดี๋ยวจะค่อย ๆ นำมาโพสต์ให้อ่าน)

2.น้ำตาลเทียมก็เป็นทางเลือกหนึ่งในผู้ที่ชื่นชอบชมนิยมหวาน อันอ้อยตาลหวานลิ้นยังสิ้นซากอันลมปากหวานหูมิรู้หาย อย.ของทั้งพี่ไทยและพี่มะกันกำหนดระดับความปลอดภัยไว้ที่ 100 เท่า แต่จะไม่อร่อยถ้าแอสปาร์เทมส์ถูกความร้อน แต่ก็มีการทดลองในหนูพบว่าอาจทำให้เกิดสมองเสื่อมจำลูกจำเมียไม่ได้(คิดเอาเอง:ผู้เขียน)

3.Pioglitazone ยาตัวใหม่ที่ รพ.เรานำเข้ามานั้นมีฤทธิ์เด่นคือต้านภาวะดื้อต่ออินสุลินที่กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อไขมัน และช่วยเพิ่ม HDL แต่ต้องใจเย็น ๆ อย่ารีบร้อน เพราะมันออกฤทธิ์เริ่มที่ 3 -6 สัปดาห์ ได้ผลเต็มที่ 12 -14 สัปดาห์ อาจทำให้หน้าบวมดั่งดวงจันทร์ได้(Moonface)

4.การฉีดอิสุลินเข็มจะยาว 0.5 0.7 mm. ต้องปักตรงเท่านั้น หน้าท้องจะเหมาะสมที่สุดไม่ค่อยเจ็บด้วยอันนี้คนเขียนรับรองเพราะลองปักของตัวเองมาแล้ว ถ้าคนผอม ๆ ก็ต้องจับเนื้อขยุ้มขึ้นมา(แต่ของเรามีต้องสองชั้นปักสบายเลย)

5.การออกกำลังกายเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของอินสุลินต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพิ่มอัตรากำจัดกลูโคสจากกระแสเลือดโดยตับ และลดอัตราการสร้างกลูโคสจากตับ เพราะฉนั้นการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคนจริง ๆ

6.การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน เราควรตรวจดูตาปลา ดูแผล จับชีพจรบริเวณ Dorsalis pedis, posteria tebial ตรวจวัดค่า ABI เป็นการวัดชีพจรของแขนและขาทั้ง2ข้าง แต่เรายังไม่มี Loop ฟังเสียงชีพจรที่ข้อเท้า...(ทำไงดีล่ะ) ส่วนการทำแผลต้องตัดเนื้อตายเพื่อเพิ่มออกซิเจนในเนื้อเยื่อ มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการทำแผลมากมายให้ศึกษา อย่างของเราใช้น้ำเชื่อม กับ EM อีกหน่อยเราลองใช้หนอนแมลงวันบ้างนะหมอ เห็นเค้าบอกว่ากินเนื้อตายสะอาดเกลี้ยงดีจริง ๆ

หมายเลขบันทึก: 290458เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 06:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นบันทึกที่สนุกสนานและได้เนื้อหามากครับ ตรงกับบริบทของเราด้วย แสดงว่าไม่ได้ลอกมา มีอะไรเพิ่มเติม เข้าไปเขียนในเก็บเครดิตได้ครับ/ boss

อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ

โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีจริงๆ

เอ้า... มาออกกำลังกายกันนะครับ

อนุเทพ

ได้สาระและไม่เครียด ชอบมากๆ By Jan

ตอนนี้กลุ่มเวชโดยพี่อุ้มได้ลองทำนวตกรรมดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านภายใต้ concept "คนค้นครัว" คือบุกเข้าไปดูในครัว ดูว่ากินอะไร อย่างไร แล้วนำมาพูดคุย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร ชูประเด็น กินข้าวกล้อง คารดว่าคงมีรายงานสรุปผลการดำเนินงานมาเล่าสู่กันฟัง

ฉันทนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท