Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

แนวคิดและวิธีวิจัยในการทำรายงานการศึกษาปัญหาสิทธิมนุษยชนของคนชายขอบตาม ICCPR


๑.           แนวคิดพื้นฐานในการทำรายงาน

๑.๑.  เป็นการทำรายงานที่เริ่มต้องจากการฟังข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย อันนี้ ทำในปีแรกไปเยอะแล้ว

๑.๒.  เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาได้ร่วมอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กล่าวคือ สาเหตุแห่งปัญหาสิทธิมนุษยชน อันนี้ ทำในปีแรกไปเยอะแล้ว ขาดบางเรื่อง

๑.๓.  เป็นการทำรายงานที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาความเป็นไปได้การจัดการปัญหาที่หยิบยกร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เป็นขั้นตอนที่กระทำปีนี้

๑.๔.  มีการบันทึกถึงความสำเร็จและความไม่สำเร็จของการจัดการปัญหา เป็นขั้นตอนที่กระทำปีนี้

๒.           วิธีวิจัยที่ใช้ในการทำรายงาน

๒.๑.    มีการตอบคำถามของ UNHRC ในประเด็นที่เกี่ยวกับคนชายขอบ

๒.๒.   มีการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตาม ICCPR ในแต่ละข้อบท

๓.           ประเด็นสำคัญที่จะเขียน

๓.๑.    กระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับคนชายขอบ

๓.๑.๑.          คดีคนแม่อาย ๑๒๔๓ คนถูกถอนชื่ออกจากทะเบียนราษฎร

๓.๑.๒.    คดีจอบิ ชาวเขาดั้งเดิมที่ร้องขอเพิ่มชื่อให้ตนเองและครอบครัว อันนี้ ต้องไปที่แก่งกระจาน ซึ่งรอเตือนจัดการให้

๓.๑.๓.          คดีคนไทยพลัดถิ่นถูกจับ

๓.๑.๔.          คดีปางแดงแน่นอน

๓.๑.๕.          คดีแม่แตงแน่นอน

๓.๑.๖.          คดีแรงงานต่างชาติที่สำคัญ อาทิ คดีนางหนุ่ม ไหมแสง นายทุน

๓.๑.๗.        คดีจดทะเบียนสมรส

๓.๒.    สิทธิที่จะไม่ถูกทรมานของคนชายขอบหรือไม่ ?

๓.๒.๑.    คงเขียนกรณีชาวลาหู่ที่แม่อายเท่าที่มีข้อมูล แต่ไม่ได้คำตอบจากภาคราชการที่เกี่ยวข้อง เตือนคะ อาจต้องทำจดหมายถามไปอีกครั้งที่อำเภอแม่อาย

๓.๓.    ม้งเพชรบูรณ์หรือไม่ ?

๓.๓.๑.          คงต้องเขียน เพราะ UNHRC ถาม และเขียนไว้บางส่วนแล้ว

๓.๓.๒.    ม้งที่เพชรบูรณ์นำไปสู่ปัญหาสิทธิมนุษยชนหลายประการ จึงเกี่ยวข้องกับหลายข้อบท

๓.๓.๓.          คงไปคุยกับ สมช.และทหารที่เกี่ยวข้อง เพราะเรายังไม่ได้ฟังเขาจริงๆ จังๆ

๓.๓.๔.    ไม่ได้ปฏิเสธที่จะไปเพชรบูรณ์ แต่อยากให้ได้ประเด็นเสียก่อนว่า จะไปดูอะไรที่เพชรบูรณ์

๓.๔.   การตอบ Concluding Observation ที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย (การทำงานของคณะกรรมการบริหารจังหวัดด้านการรับผู้ลี้ภัย ซึ่ง ...ขาดกระบวนการพิจารณาด้านผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ ..... พิจารณาว่า ชาวม้งที่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้นไม่ใช่ผู้ลี้ภัย และกำลังจะเผชิญกับการถูกผลักดันไปสู่ความตาย .... แผนการเคลื่อนย้ายผู้อพยพเมื่อเดือน มีนาคม 2548)

๓.๔.๑.    ต้องหารือกับอนุกรรมการศึกษาคนชายขอบฯ หลายท่านแล้ว โดยเฉพาะ อ.ด๋าว ดรุณี และคุณฉัตรชัย ซึ่งการประชุมในครั้งหน้า ก็คงได้ข้อยุติร่วมกันทั้งหมด

๓.๔.๒.         ประเด็นว่า เตือนจะจัดประชุมให้ได้เมื่อไหร่คะ ?

๓.๔.๓.          เราคงจะได้คำตอบในที่ประชุมนี้ว่า ควรไปถึงเพชรบูรณ์หรือไม่ ??

๓.๕.    ประเด็นการช่วยกันเขียน

๓.๕.๑.    ในกรณีที่พี่อังจะเขียนเรื่องคนชายขอบในรายงานของพี่อัง ก็ดีค่ะ จะได้มีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องนี้

๔.           คำถามของพี่อังและเตือนเกี่ยวกับการสื่อสารและการร่วมงาน

๔.๑.    ประเด็นการเข้าร่วม Focus Group เรื่องคนชายขอบ

๔.๑.๑.    เรื่องพี่เล็ก (อนุฯเขียน) ที่จะรับผิดชอบการเขียนรายงานในส่วนคนชายขอบ ก็เห็นด้วยว่า ควรเชิญพี่เล็กเข้าร่วมด้วยทุกครั้ง

๔.๑.๒.   รวมถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่เราตรวจสอบ ก็ควรเชิญเข้าร่วม อย่างจะไปคุยเรื่องคณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น ก็ควรเชิญองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานด้านคนชายขอบทุกองค์กร

๔.๒.   ประเด็นการสื่อสารระหว่างกัน

๔.๒.๑.   ในความเป็นจริง เราก็อีเมลล์สื่อสารการทำงานของคณะอนุชายขอบกันแทบทุกวัน ควรจะ add พี่อังเข้ามาด้วย  จะได้แก้ไขประเด็นการสื่อสารได้บ้าง

๔.๒.๒.   นัดคุยกันสักรอบก็ได้ค่ะ กับอ.แหวว อ.ณรงค์ พี่อัง พี่เล็ก ฯลฯ โดยเฉพาะพี่แจ๊ สุขภาพดีขึ้นแล้วยังคะ ? ไปเยี่ยมพี่แจ๊กันไหม ?

คำสำคัญ (Tags): #iccpr reporting
หมายเลขบันทึก: 290373เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พูดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พอแล้วมั่ง ข้อยว่า โพนทนาก็สูญเปล่า

การ "โพนทนา" ก็น่าจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคมได้มังคะ ต้องการจะบอกอะไรมากกว่านั้นหรือเปล่าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท