ความรู้สึกเชิงจำนวน


กิจกรรมในห้องเรียนเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน

 

     คำว่า Number Sense นี้ในภาษาไทยมีผู้ใช้คำต่าง ๆ กัน เช่น ความรู้สึกเชิงจำนวน สำนึกเกี่ยวกับจำนวน การหยั่งรู้เกี่ยวกับจำนวน ในที่นี้จะขอใช้คำว่า ความรู้สึกเชิงจำนวนและในเอกสารนี้จะกล่าวถึงความหมายและแนวทางพัฒนาให้เกิดความรู้สึกเชิงจำนวน

     ในระยะหลังนี้จะมีการกล่าวถึงความรู้สึกเชิงจำนวนมากขึ้น ในการประเมินผลวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ร่วมกับนานาชาติครั้งที่ 3 (The Third International Mathematics and Science Study หรือ TIMSS) มีการประเมินผลทางด้านนี้ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษานอกจากนั้นในประเทศไทยคำนี้ปรากฏในมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

        แนวคิดเรื่องความรู้สึกเชิงจำนวนไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่จริงในการสอนคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องจำนวน ก็มีการพัฒนาให้เกิดความรู้สึกเชิงจำนวนอยู่แล้ว เป็นแต่เพียงในบางครั้งอาจให้ความสำคัญน้อย หรือในบางแง่มุมครูก็ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ในการสอนเรื่องจำนวนโดยใช้สิ่งของแสดงจำนวน ให้เข้าใจความหมาย ให้ตระหนักว่าจำนวนที่กล่าวถึงมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด ให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องค่าประจำหลัก สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนให้แก่ ผู้เรียนทั้งสิ้น

        ความรู้สึกเชิงจำนวนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ถ้านักเรียนได้รับการพัฒนาด้านนี้อย่างเต็มที่จะทำให้นักเรียนนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนมาใช้อย่างได้ผลดีในชีวิตประจำวัน ทำให้เข้าใจสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับจำนวนได้ดีได้ลึกซึ้งกว่า และนำมาใช้ในการตัดสินใจได้ดีกว่า

        ความรู้สึกเชิงจำนวนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจของบุคคลในด้านความลึกซึ้งเกี่ยวกับความหมายของจำนวน การใช้จำนวนในบริบทต่าง ๆ รู้ความสัมพันธ์ของจำนวน เข้าใจขนาดสัมพัทธ์ (เปรียบเทียบขนาด) ของจำนวน เข้าใจความหมายของการบวก ลบ คูณ หารจำนวน มีความรู้สึกเชิงจำนวนของผลของการบวก ลบ คูณ หารจำนวน รวมทั้งรู้ผลสัมพัทธ์ คิดคำนวณในใจได้อย่างดีและหลากหลาย รู้จักใช้ประสบการณ์เกี่ยวกับจำนวนมาเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ตลอดไปถึงการนำไปใช้เกี่ยวกับการวัดด้วย

        การที่นักเรียนหาผลคูณของ 64 กับ 0.5 โดยตระหนักว่า ผลคูณก็คือครึ่งหนึ่งของ 64 ซึ่ง ก็คือ 32 นักเรียนสามารถหาคำตอบโดยไม่ต้องคูณ 64 ด้วย 0.5 ก็ถือว่าเป็นการใช้ความรู้สึก เชิงจำนวน

        ในการหาผลบวกของ 45 + 39 นักเรียน 2 คน มีวิธีคิดดังนี้ ก้อย "5 บวก 9 ได้ 14 4 บวก 3 ได้ 7 กับที่ทดมาอีก 1 เป็น 8 ได้คำตอบ 84" แก้ว "45 บวก 40 ได้ 85 แล้วลบ 1 เหลือ 84"

         เมื่อพิจารณาวิธีคิดของก้อยและแก้ว จะเห็นได้ชัดว่าแก้ว มีความรู้สึกเชิงจำนวนดีกว่า บุคคลที่มีความรู้สึกเชิงจำนวนที่ดีจะผสมผสานความรู้ เชื่อมโยงกับภาพในใจ นำมาเป็นแนวทางในการเลือกวิธีการ

         ความรู้สึกเชิงจำนวนไม่ใช่อะไรที่จะบอกกันได้ หรือบอกว่าคนนั้นมีหรือไม่มีความรู้สึก เชิงจำนวนได้แน่นอนลงไป หรือไม่ใช่อะไรที่สามารถเรียนได้จบ แต่ความรู้สึกเชิงจำนวนนี้ค่อย ๆ เกิดขึ้นเป็นกระบวนการที่พัฒนาไปได้ตลอดชีวิต

http://www.ipst.ac.th/PriMath/ebook/index_numbersense.asp

 

หมายเลขบันทึก: 289996เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีคะ คุณครู
  • แวะมาขอบพระคุณนะคะ ที่มาทักทายกัน
  • อ่านบทความดีมากคะ
  • เดี๋ยวว่างๆ จะมาลับความรู้ดีดีจากคุณครูนะคะ

ครูขาช่วยอธิบายเกร็ดความรู้คณิตศาสตร์เกี่ยวกับจำนวนเฉพาะหน่อยนะค่ะ

จ๊ะเอ๋น้องดาว

 

เข้าบ้าน Gotoknow  มา 1 ปี เพิ่งจะได้เจอกัน โชคดีจังที่พี่เปิดไปหน้า home เอ๊ะ!  หน้าคุ้นๆ นะ...จ้องดูอีกที ดูดี  ว๊าวนางทัดดาวจริงด้วย...

พี่อ่อนด้อยคณิตศาสตร์ (ฮา) ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แวะมาทักทายก็แล้วกันนะจ๊ะ  อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ไม่ค่อยได้เจอ  ดีๆ  จะได้แลกเปลี่ยนกันบ่อยๆ เน๊าะ

จะบอกนักเรียนลับแลให้เข้ามาหาความรู้จากบล็อกคุณครูทัดดาวค่ะ

อ้อ ยัยครูป้อม ไม่ยอมทำบล็อกเลย กำลังกระตุ้นอยู่ค่ะ เดี๋ยวจะไปคุยให้ครูป้อมฟัง เผื่อจะมีแรงจูงใจขึ้นมาบ้าง  ฮา..

สุขกายสบายใจนะจ๊ะ

ไปละ  บาย..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท