จากการอบรม “2549
ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน” จุดอบรมที่ 13สพท.ชุมพร
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ณ
ห้องประกายเพชร 2 โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า
สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
( ชมวีดีทัศน์นโยบายรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
1.1
องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสอน มีวิธีมีรูปแบบอย่างไร
แตกต่างกันอย่งไร
1.2
การหาความรู้ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน
มีตัวอย่างมากมาย มีการแลกเปลี่ยน วิเคราะห์
สังเคราะห์ การแลกเปลี่ยนสามารถทำได้ในระดับโรงเรียน
สพท.
1.3
ส่วนที่เป็นความเข้าใจสำคัญ ๆ ของการจัดการศึกษา
อยากให้มีการแลกเปลี่ยนกันอย่างจริงจัง
แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนกันกับมหาวิทยาลัย
ที่อยู่ใกล้ ๆ เล่าสู่กันฟัง
ถ่ายทอดกันฟังในแต่ละกลุ่มสาระ เช่น
การใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง ต้องมอบหมายลงไปที่
โรงเรียน การเรียนรูปแบบบูรณาการ
เรื่องหลักสูตรมีความหมายของหลักสูตร สถานศึกษา
หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรของประเทศ
หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
หลักสูตรของประเทศ เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเรียน
เราต้องทำความเข้าใจและมาแลกเปลี่ยนกัน ช่วยกันแสดง
ความคิดเห็น วิพากวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
ทั้งส่วนกลาง สพท. และโรงเรียน
สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นคือ
การหาผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ทุกระดับ ใครทำได้ทำไปเลย
เพื่อนำความรู้มาป้อนครู และเกิดผลต่อเด็ก
ให้ใช้ช่วงเวลาตอนปิดเทอมเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิรูปการเรียนการสอน
และหวังว่าในปี 2549
นี้เราจะบรรลุการปฏิรูปการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
( ผอ.สพท.สฎ.1 (นายอุทิศ ภูมิชัย) กล่าวรายงานต่อ
รองเลขาธิการ สพฐ. (ซินนะพัด พูมิรัด) ดังนี้
ปี 2549
จะมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม
พัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
เพื่อให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรม ผู้เข้าประชุม
คือบุคลากรจาก 5 สพท. ต้องกลับไปวางแผนปฏิรูปในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป
( รองเลขาฯ กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ ดังนี้
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเจตนารมณ์ ให้ปี
2549 เป็นปีปฏิรูปการเรียนการสอน
โดยให้น้ำหนักกับการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเป็นคนดี
คนเก่ง มีคุณธรรม มีการคิด วิเคราะห์
ส่งเสริมคุณธรรม – จริยธรรม ส่งเสริมรักการอ่าน
คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ให้ สพท.
ช่วยกันขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียน ให้ผู้ปกครอง
ชุมชนสัมผัสได้
การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน
วิจัยหลักสูตรให้เหมาะสม หลายประเด็นดังนี้
1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(จากคู่มือเล่มสีฟ้า บทที่ 2)
เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนา
ผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา อีกทั้งมีความรู้และทักษะที่จำเป็น
สำหรับการดำรงชีวิต
2. หลักสูตรสถานศึกษา
คือแผนหรือแนวทางในการจัดประมวลความรู้ และประสบการณ์
ซึ่งจัดทำในระดับสถานศึกษา
3. มาตรฐานการเรียนรู้ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นการระบุถึงองค์ความรู้ความสามารถ ทักษะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับผู้เรียนต้องรู้
และปฏิบัติได้เมื่อจบการศึกษา
4. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
คือระดับคุณภาพที่ระบุถึงองค์ความรู้ ทักษะ
คุณลักษณะสำคัญที่ผู้เรียนต้องรู้และปฏิบัติได้
เมื่อเรียนจบแต่ละช่วงชั้น
5. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย
ตามสภาพของผู้เรียนแต่ละครู
ต้องมีเทคนิควิธีการที่หลากหลายในการสอน
เพื่อพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
และออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนตามศักยภาพ
6. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
เป็นการสอนที่มุ่งเชื่อมโยงความรู้ ความคิด ทักษะ
และประสบการณ์ที่มีความหลากหลาย
สัมพันธ์กันเป็นองค์รวมครูต้องชัดเจนว่า
เมื่อจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ แล้วเด็กได้อะไร
ครูต้องปักธงไว้ก่อน
7. การพัฒนาการคิด วิเคราะห์ ลดการท่องจำ
ครูจะมีบทบาทอย่างไร
โดยเลือกเทคนิควิธีการสอนที่พัฒนาการคิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ความรู้
ครูต้องให้ความสำคัญของการคิดวิเคราะห์ให้มาก
เพราะเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนรู้
8. การใช้ ICT มาพัฒนาการเรียนการสอน
จะช่วยลดช่องว่างของการเรียนการสอน
โดยมีการผลิตสื่อทางไกล สอนโดยครูเก่า ๆ
ในโรงเรียนห่างไกล ก็จะสอนได้
นโยบายต่าง ๆ ที่รัฐมนตรีฯ ให้ไว้
เราต้องนำมาพิจารณาและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด สพท.
ต้องเริ่มต้นจัดปฏิรูปการศึกษาใน 8 หัวข้อ
โดยจัดทำเป็นคู่มือปฏิบัติตามแนวปฏิรูปการเรียน การสอน
จะมีการอบรมวิทยากรแกนนำ ระดับ สพท. ประมาณเมษายน
บทบาทของ สพท. ต้องนำการประชุมครั้งนี้ไปขยายผลแก่โรงเรียน
ครูทุกคน ในเดือนมีนาคม 8 เรื่อง
และดำเนินการนิเทศติดตามผลการสอนใน 8 ประเด็น
( พบหัวหน้าสถาบันการแปร สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
(อ.สุณีย์ วัฒนพันธ์) และคณะ เรื่อง
การขับเคลื่อนแนวปฏิรูปการเรียนการสอนสู่การปฏิบัติ โดย
4.1 ปรับการเรียน
4.2 เปลี่ยนการสอน
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเจตนารมณ์ “ปี 2549
จะเป็นปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”
1. พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์
เพื่อลดการท่องจำ
2. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
3. ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
บทบาท ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. จัดทำเอกสารแนวทางการปฏิบัติการเรียนการสอน
2. ชี้แจงบุคลากรใน สพท.
3. จัดให้มีการสาธิต
4. สร้างวิทยากรแกนนำระดับ สพท.
5. วิจัย พัฒนา จัดทำ
จัดหาตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนแนวใหม่
6. เป็นคลังความรู้ นวัตกรรมสื่อต่าง ๆ
7. จัดเวทีสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้
8. สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม
เผยแพร่
บทบาทภารกิจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1. ประชุมชี้แจงผู้บริหาร ครู
2. ประชุมปฏิบัติการร่วมกับครู
3. ประชุมสัมมนา กำหนดกรอบ
“สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น”
4. กระตุ้น สนับสนุน ส่งเสริมครู
5. นิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือ
ประเมินผล
6. รวบรวม รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
เพื่อเผยแพร่
7.
ประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นเพื่อสนับสนุนการปฏิรูป.
8. จัดให้มีเวทีสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้
บทบาทภารกิจของสถานศึกษา
1. ทำความเข้าใจกับครูเกี่ยวกับนโยบายปฏิรูป
2. จัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
3. จัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูป
4. ศึกษา วิจัยรูปแบบการจัดกิจกรรมการสอน
5. จัดระบบนิเทศภายใน
6. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ
7. ประสานงานผู้ปกครอง ชุมชน
ให้เข้ามามีส่วนร่วม
8. ประเมินและรายงานคุณภาพ
เงื่อนไขความสำเร็จ
1. ผู้บริหารสถานศึกษา
1.1 เป็นผู้นำในการพัฒนา
1.2 สร้างและประสานความร่วมมือ
1.3 จัดให้มีข้อมูลสารสนเทศ
1.4 นิเทศ ช่วยเหลือ
1.5 กำกับ ติดตาม ประเมินผล
1.6 สนับสนุน ส่งเสริมครู
2. ครู
2.1 จัดการเรียนการสอน คิด
วิเคราะห์
2.2 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยมที่พึงประสงค์
2.3 ใช้เทคโนโลยี
2.4 ส่งเสริมรักการอ่าน
2.5 มีการวิจัยในชั้นเรียน
3. นักเรียน
3.1 กำหนดเป้าหมายการเรียนของตนเอง
3.2 วางแผนการเรียนรู้ของตนเอง
3.3 ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียน
3.4 แสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ
4. ผู้ปกครอง
4.1 รับรู้
และมีส่วนร่วมกำหนดแผนการเรียนของลูก
4.2 ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษา
4.3 เป็นเครือข่ายการเรียนรู้
4.4 อบรม เลี้ยงดู เอาใจใส่ลูก
4.5 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
(นายสุทธิพงษ์ ทองสร้าง)
ศึกษานิเทศก์
สพท.สฎ.1
ไม่มีความเห็น