คำสอนคนเมืองเหนือ


คำสอนเป็นตำนานวิถีชีวิตที่เห็นเด่นชัด

 

ผมว่าคำสอนเป็นตำนานที่บอกถึงวิถีชีวิตได้เป็นอย่างดี มีการเปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสีย อย่างชัดเจน  ตั้งแต่ผมจำความได้ ก็จดจำคำสอนของผู้เฒ่าผู้แก่และปฏิบัติมาโดยอัตโนมัติจนเป็นผมเช่นทุกวันนี้    จึงอยากรวบรวมนำมาเก็บไว้เผื่อลูกหลานจะได้จดจำต่อไป ท่านใดมีที่แตกต่างสามารถแลกเปลี่ยนได้นะครับ

สุภาษิตทางเหนือ                                          

·      เฒ่าแก่แล้วบ่ต้องได้สอน จี้หี้ด แมงจอน ไผสอนมันเต้น

คนเราโตแล้วไม่ต้องสอนกัน ทำได้อยู่แล้ว ขนาดจิ้งหรีดแมงกระชอนไม่ต้องมีใครสอนมันยังกระโดดได้

·      จิ๊กปิ๊กในก็ป้อ  ก้อว้อไหนก็ควัก

คนมั่งมีก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ  ส่วนคนที่จน(กลวง)ก็ต้องได้หมดเปลืองเรื่อยๆ

·      อู้บ่จ้าง ย่างบ่งาม

ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับผู้อื่นไม่เป็น

·      ของกิ๋นลำ อยู่ตี้คนมัก

การที่จะบอกว่าสิ่งไหนอร่อยอยู่ที่คนชอบสิ่งนั้น

·      ของบ่มักบ่จ้างขนาบจ๋ำ  ของบ่ลำบ่จ้างก๋ำป้อน

สิ่งที่เขาไม่ชอบไม่อยากบังคับให้ทำ สิ่งไหนที่เขาว่าไม่อร่อยก็ไม่อยากป้อนให้กิน

·      ปล๋าตั๋วเดียวเหม็นตึงข้อง

ทำผิดคนเดียวเสียหายทั้งกลุ่ม

·      อย่าหื้อคนง่าวได้จ๋า  อย่าหื้อหม้อแก๋งหนาได้เดือด

อย่าให้คนโง่(คนประสาท)ได้พูด อย่าให้หม้อแกงหนาๆได้เดือด จะเสียเวลานาน ไร้ประโยชน์ 

·      เฒ่าแก่แล้ว บ่ต้องไปสอน  ไม้ขอนนอนมันตึงบ่ตั้ง

แก่ตัวแล้วไม่ต้องสอน อย่างไรก็ไม่เป็นผล เหมือนไม้ที่นอนอยู่ก็ไม่สามารถตั้งได้เอง(ไม้แก่ดัดยาก)

·      ตุ๊กบ่ได้กิ๋น บ่มีไผต๋ามไฟส่องต้อง ตุ๊กบ่ได้ย้องปี้น้องดูถูกดูแคลน

ทุกข์แบบไม่มีอะไรกิน ไม่มีใครรู้ แต่ถ้าไม่ได้แต่งตัวประดับประดา ด้วยเครื่องประดับอันมีค่าญาติพี่น้องดูแคลน

·      อู้หื้อเปิ้นฮักยากนักจักหวัง อู้หื้อเปิ้นจังกำเดียวก็ได้

ถ้าพูดจะให้คนร้อยพันคำก็ยังยาก  ถ้าพูดจะให้คนเกลียด คำเดียวก็ทำได้

  • ต๊กต๋าเปิ้นหน้าดีไขหัว ต๊กต๋าตั๋วหน้าดีไข่ไห้ 

 เรื่องของคนอื่นน่าหัวเราะ พอเรื่องนี้เกิดกับตัวเองอยากร้องไห้

  • จับใจ๋แฮ้ง บ่แน่นใจ๋ก๋า   จับใจ๋ครูบา บ่เปิงใจ๋พระน้อย                                           ถูกใจแร้ง ไม่ถูกใจกา ถูกใจพระ ไม่ถูกใจเณร (ทำอะไรจะให้ถูกใจทุกคนเป็นไปไม่ได้)                                                           

   (แล้วจะมาเพิ่มเติมอีกครับ)

หมายเลขบันทึก: 289135เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ต๋าเปิ้นไข่หัว ต๋าตั๋วไข่ไห้

ฮาๆๆๆๆๆ

ชอบมาก เหมือนเรียนกับ หนาน เลย

กานโบรำ แปล๋ ว่า กำโบราณ ฮ่าๆๆๆๆ

กำเมืองโบราณ ชอบขนาด

อย่าหื้อคนง่าวได้จ๋า อย่าหื้อหม้อแก๋งหนาได้เดือด

อย่าให้คนโง่(คนประสาท)ได้พูด อย่าให้หม้อแกงหนาๆได้เดือด จะเสียเวลานาน ไร้ประโยชน์
............................................

กำนี้...ในความหมายหนึ่ง ก็คือว่า..." บ่ดีหื้อคนบ่ไค่ปากได้อู้ ....ตี้เขาบ่อู้ บ่ใจ๊ว่าเขาบ่ฮู้ ....เขาฮู้ แต่เขาบ่ปาก...แล้วหม้อแก๋งหนา ก็เหมือนกั๋น...มันเดือดจ้า(ร้อนช้า เดือดช้า)...แต่ถ้าได้เดือดแล้ว...มันเดือดเมิน(นาน)...เพราะว่ามันบ่มเก็บความฮ้อนเอาไว้เมิน "...บ้านผม เมืองน่าน เปิ้นว่าจาอี้ ครับ...

พฤหัสบดี/๐๙/๐๖/๒๕๕๙ ๐๙:๓๑:๔๙ น.



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท