แอดมิชชั่นส์ทำร้ายการศึกษาไทยอย่างไร


แอดมิชชั่น

แอดมิชชั่นส์ทำร้ายการศึกษาไทยอย่างไร




ใช้มาแล้ว2ปีสร้างความวุ่นวายมากมาย ละเมิดสิทธินักเรียนนับแสน และทำให้คุณภาพการศึกษาไทยทั้งในระดับมัธยมตกต่ำลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน


จากเดิมตั้งแต่ปี2504-2548ที่ประเทศไทยมีระบบการคัดเลือกคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยด้วยระบบเดียวกันทั้งประเทศที่เรียกว่าระบบเอ็นทรานซ์ ซึ่งเป็นระบบที่ใช้การสอบอย่างเดียวเท่านั้นที่เรียกว่าการสอบเอ็นทรานซ์ การสอบเอ็นทรานซ์นี้จัดให้มีขึ้นปีละหนึ่งครั้งในราวเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งถ้านักเรียนคนใดสอบไม่ได้ในปีที่จบและมีความต้องการจะสอบแก้ตัวใหม่ก้สามารถเข้าสอบในปีถัดไปได้จนกว่าจะได้คณะที่ต้องการ


ในช่วงท้ายๆของการใช้ระบบเอ็นทรานซ์นั้นมีการจัดให้สอบปีละสองครั้งคือในเดือนตค.และมีค.และให้นักเรียนเลือกคะแนนในครั้งที่ได้มากที่สุดไปสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และถ้าไม่พอใจก็สอบใหม่ในปีต่อไปได้อีก


แต่ข้อเสียของระบบเอ็นทรานซ์ก็คือข้อสอบเอ็นทรานซ์นั้นมีระดับความยากมากกว่าเนื้อหาที่นักเรียนเรียนในห้องเรียน หมายความว่าแม้ว่านักเรียนจะเข้าใจเนื้อหาในห้องเรียนได้อย่างแจ่มแจ้งและทำแบบฝึกหัดในแบบเรียนได้ทุกข้อก็ตาม นักเรียนก็ไม่สามารถทำข้อสอบเอ็นทรานซ์ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้นักเรียนส่วนหนึ่งจึงไม่สนใจเรียนในห้องเรียน และต้องไปกวดวิชากัน


ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็น่าจะเป็นการปรับระดับความยากง่ายของหลักสูตรที่เรียนในห้องเรียนและข้อสอบเอ็นทรานซ์ให้มีระดับความยากง่ายเท่ากัน


แต่มหาวิทยาลัยเขาไม่แก้ปัญหาแบบนั้น เขากลับโยนระบบเอ็นทรานซ์ทิ้งไปเลย แล้วไปสร้างระบบใหม่ขึ้นมาเรียนว่าระบบแอดมิชชั่นส์ ซึ่งระบบแอดมิชชั่นส์นี้จะใช้สัดส่วนคะแนนในการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ดังนี้


1. คะแนนจากการสอบโอเน็ตร้อยละ 40 หรือ 4000 คะแนน


2. คะแนนจากการเกรดเฉลี่ยที่เรียนในชั้นม.ปลาย อีกร้อยละ 30 หรือ 3000 คะแนน


3. คะแนนจากการสอบเอเน็ตอีกร้อยละ30 หรือ 3000 คะแนน


รวมคะแนนเต็ม 10000 คะแนน


เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วลองมาดูว่าแอดมิชชั่นส์นั้นละเมิดสิทธินักเรียนนับแสนคนได้อย่างไร และทำลายคุณภาพการศึกษาชองชาติได้อย่างไร


1. ปัญหาจากโอเน็ต


เนื่องจากโอเน็ตเป็นการสอบเพื่อวัดคุณภาพของโรงเรียนและนักเรียนในการเรียนชั้นม.ปลาย ไม้ช่ได้มีไว้สำหรับการคัดเลือกคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ฉะนั้นโอเน็ตจึงกำหนดให้นักเรียนทุกคนสอบได้ครั้งเดียวในชีวิต และต้องสอบทันทีที่จบเท่านั้น คนที่จบไปในปีก่อนหน้านั้นแต่ไม่ได้เข้าสอบโอเน็ตด้วยเหตุผลใดๆไม่สามารถเข้าสอบในปีถัดไปเหมือนการสอบเอ็นทรานซ์ได้ หรือคนที่เคยเข้าสอบแล้วแต่ไม่พอใจผลการสอบอยากจะแก้ตัวใหม่ก้ไม่สามารถเข้าสอบใหม่ในปีถัดไปได้


เมื่อเป็นเช่นนี้ โอเน็ตจึงเป็นผลเสียและละเมิดคน ดังนี้


1.1 คนที่ป่วยหรือประสบอุบัติเหตุไม่สามารถเข้าสอบในปีที่จบได้ ก็จะเสียโอกาสไปตลอดชีวิตโดยไม่มีความผิดใดๆ เพราะการป่วยไม่ใช่ความผิด


1.2 คนที่ติดภาระกิจจำเป็นจริงๆเช่นไปเรียนเอเอฟเอสหรือไปแข่งกีฬา ไม่สามรถเข้าสอบตรงปีที่จบก็จะเสียโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยไปเลย


แม้สทศ.จะแจ้งว่าในปี2551นี้จะจัดสอบซ่อมให้กับผู้ที่ไม่สามรถเข้าสอบได้ด้วยเหตุจำเป็น แต่การจัดสอบซ่อมก็จะทำหลังจากการสอบครั้งแรกภายใน2อาทิตยืเท่านั้น ซึ่งถ้าใครป่วยเกินสองอาทิตย์หรือติดภาระกิจเกินสองอาทิตย์ก็จะไม่ได้เข้าสอบอยู่ดี รวมถึงคนที่ไม่ได้เข้าสอบก่อนปี2551ด้วยซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่มีการเยียวยาแต่อย่างใด


1.3 โอเน็ตนั้นไม่ได้มีวัตถุเพื่อการคัดเลือกคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เมื่อไม่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการคัดคน ทำให้คนที่คัดเข้าไปมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่คณะนั้นๆต้องการ


1.4 แอดมิชชั่นส์ทำให้คนที่สอบครั้งแรกได้คะแนนไม่ดีไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งประเด็นนี้ขัดกับรํฐธรรมนูญปี2550มาตรา49วรรค2 และพรบ.การศึกษาปี2542 ว่ารัฐต้องส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาทางเลือกและการเรียนรู้ด้วยตนเอง


ประเด็นเรื่องความไม่เหมาะสมของโอเน็ตนี้ท่านรศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและท่านศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ไม่เห็นด้วยกับโอเน็ตในปัจจุบันและได้มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่มหาวิทยาลัยต่างๆกลับไม่เห็นด้วย และยืนยันแนวทางเดิม




2.ปัญหาของจีแพกซ์และจีพีเอ


การที่แอดมิชชั่นส์นำเกรดมาคิดคำนวณเป็นสัดส่วนคะแนนร้อยละ30หรือ3000คะแนน โดยแยกเป็นจีแพกซ์หรือเกรดเฉลี่ยทุกวิชาตลอดการเรียนม.ปลายเท่ากับร้อยละ10 และจีพีเอหรือเกรดเฉลี่ยเฉพาะรายวิชาที่คณะนั้นๆระบุเท่ากับร้อยละ20 นั้นทำให้เกิดการละเมิด ดังนี้


2.1 แต่ละโรงเรียนให้เกรดไม่เท่ากัน มาตรฐานไม่เหมือนกัน บางโรงเรียนปล่อยเกรด บางโรงเรียนกดเกรด ฉะนั้นเมื่อเกรดแต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานไม่เท่ากันแล้ว การนำเกรดมาตัดสินนักเรียนทุกคนในอัตราส่วนร้อยละ30 น้อยจึงเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง ใครที่มาจากโรงเรียนที่กดเกรดก็จะซวยไป แม้จะอ้างว่าสามารถเอาคะแนนโอเน็ตมาถ่วงดุลได้นั้นก็เป็นแนวคิดที่ผิดหลักการโดยสิ้นเชิง


เพราะถ้าต้องการจะถ่วงดุลจริงจะต้องนำคะแนนโอเน็ตไปปรับเกรดให้สูงขึ้นสำหรับโรงเรียนที่กดเกรด และไปปรับเกรดให้ต่ำลงสำหรับโรงเรียนที่ปล่อยเกรด แต่การเอาคะแนนโอเน็ตเฉยๆไปรวมนั้นไม่สามารถถ่วงดุลได้ เช่น


ถ้า ก. กับ ข. เก่งเท่ากัน, มีความประพฤติเหมือนกันแต่ ก. มาจากโรงเรียนที่กดเกรด ส่วน ข. มาจากโรงเรียนที่ปล่อยเกรด ฉะนั้น ก. กับ ข. ก็จะได้คะแนนโอเน็ตเท่ากัน แต่ ก. จะได้เกรดน้อยกว่า ข. ทำให้ ก. แข่งกับ ข. ไม่ได้ ซึ่งไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง


ดังตัวอย่าง


นักเรียน เกรดเฉลี่ย จีแพกซ์ จีพีเอ คะแนนโอเน็ต คะแนนเอเน็ต รวม


3.00 750 1500 3000 2000 7250


4.00 1000 2000 3000 2000 8000


ข. ได้มากกว่า ก. 750


2.2 การนำเกรดมาใช้ร้อยละ 30 นั้น ทำให้นักเรียนที่ผิดพลาดในช่วงต้นๆ ของการเรียนไม่สามารถแก้ไขอนาคตของตนเองได้ และเมื่อแก้ไขไม่ได้คนกลุ่มนี้จะทิ้งการเรียนไปเลย เป็นการสร้างปัญหาให้กับห้องเรียนและโรงเรียน แล้วท้ายที่สุดโรงเรียนก็ปล่อยให้พวกเขาจบออกมาโดยไร้คุณภาพ เป็นการสร้างปัญหาให้สังคมต่อไป

2.3 การใช้เกรดมาคิดเป็นจีพีเอนั้นจะทำให้เด็กที่เรียนม.ปลาย เปลี่ยนเส้นทางการเรียนไม่ได้เพราะถ้าเด็กคนใดคนหนึ่งเลือกเรียนสายศิลป์ตอนเรียนม.4 แล้วถ้าเรียนไปสักพักหนึ่งแล้วเขารู้สึกอยากเป็นวิศวกรขึ้นมาเขาก็จะไม่สามารถเลือกได้เพราะการสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นจะต้องใช้คะแนนจีพีเอของวิชาที่เป็นสายวิทย์ แต่ในระบบเอ็นทรานซ์เดิมเด็กคนนี้สามารถที่จะไปศึกษาวิชาทางด้านสายวิทย์ด้วยตนเองแล้วถ้ามีความถนัดและมีความพยายามจริงเด็กคนนี้ก็จะสามารถสอบเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้

เพราะการเลือกสายเรียนนั้นกระทำตอนเด็กขึ้นม.4 ซึ่งมีอายุแค่ 14-15 ปีเท่านั้น การที่เขาจะต้องเลือกอนาคตในวัยเช่นนี้จะทำให้มีโอกาสผิดพลาดสูง แล้วถ้าระบบไม่เปิดโอกาสให้เขาแก้ตัว เขาจะต้องขมขื่นไปตลอดชีวิต และประเทศชาติก็เสียโอกาสที่จะได้คนที่ถูกต้องมาพัฒนาประเทศ


2.4 สูตรในการคิดคำนวณจีพีเอและจีแพกซ์ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการละเมิดอย่างรุนแรง ดังนี้


สูตรที่ใช้ในการคิดคำนวณคะแนนจีแพกซ์และจีพีเอคือ


ร้อยละของคะแนนจีแพกซ์และจีพีเอ = เกรดที่นักเรียนได้ X100/4


คะแนนจีแพกซ์ที่นักเรียนจะได้ก็คือ = เกรดที่นักเรียนได้ X 1000/4


คะแนนจีพีเอที่นักเรียนจะได้ก็คือ = เกรดรายวิชาที่คณะนั้นๆระบุ X 2000/4


ด้วยวิธีคิดเช่นนี้ นักเรียนที่ได้คะแนนร้อยละ 50-54 ที่โรงเรียนจะได้เกรด 1 แต่พอมาแปลงเป็นจีพีเอและจีแพกซ์จะได้แค่ร้อยละ 25 คะแนนจะหายไปสูงสุดร้อยละ 29 คิดเป็นคะแนนดิบเท่ากับ 870 คะแนน ซึ่งถือเป็นคะแนนที่สูงมากและเป็นการละเมิดอย่างชัดเจน


แต่ถ้านักเรียนได้คะแนนที่โรงเรียนร้อยละ 80-100 จะได้เกรด 4 แต่พอมาแปลงเป็นจีพีเอและจีแพกซ์จะได้ถึงร้อยละ 100 คะแนนจะเพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 20 คิดเป็นคะแนนดิบเท่ากับ 600 คะแนน ซึ่งถือเป็นคะแนนที่สูงมากและเป็นลาภมิควรได้ ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ ช่วงคะแนนที่ได้ เกรดที่ได้ จีแพกซ์และ จีแพกซ์และ ช่วงจีแพกซ์และ ช่วงคะแนนที่ ช่วงคะแนนที่

จากโรงเรียน จากโรงเรียน จีพีเอ ที่ได้ จีพีเอ ที่ได้ จีพีเอ ที่ควรได้ หายไป ได้เพิ่มขึ้น


(ร้อยละ) (ร้อยละ) (คะแนน) (คะแนน) (คะแนน) (คะแนน)


50-54 1.00 25.00 750 1500-1620 750-870 -


55-59 1.50 37.50 1125 1650-1770 525-645 -


60-64 2.00 50.00 1500 1800-1920 300-420 -


65-69 2.50 62.50 1875 1950-2070 75-195


70-74 3.00 75.00 2250 2100-2220 150-30


75-79 3.50 87.50 2625 2250-2370 375-255


80-100 4.00 100.00 3000 2400-3000 600-0





การคิดคำนวณด้วยหลักการแบบนี้ไม่ได้คำนึงถึงที่มาของเกรดและวิธีการนำเอาเกรดไปใช้ เพราะหลักการนำเกรดไปใช้ในแอดมิชชั่นนั้น เกรดไม่ได้เป็นตัวแทนของการเรียงลำดับของนักเรียน แต่เกรดเป็นตัวพาคะแนนไปรวมกับคะแนนโอเน็ตและเอเน็ตแล้วค่อยเอาคะแนนทั้งหมดมาจัดลำดับนักเรียน ฉะนั้นเมื่อเกรดเป็นตัวพาคะแนนไปจึงต้องคำนึงถึงคะแนนที่เป็นที่มาของเกรดเป็นสิ่งสำคัญ มิใช่อันดับของเกรดเป็นสิ่งสำคัญ


ด้วยวิธีคิดคำนวณแบบนี้จะทำให้เด็กที่เกรดต่ำกว่า 2.5 ทุกคนโดนละเมิดด้วยการลดคะแนนลง และเด็กกลุ่มนี้นั้นไม่สามารถสมัครตรงกับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้ เพราะการรับตรงนั้นส่วนใหญ่จะระบุเกรดขั้นต่ำ 2.5 หรือ 2.75 ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่กดขี่เด็กเกรดต่ำอย่างชัดเจน และเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมกันของนักเรียนที่ได้เกรดมากกว่า2.5เพราะบางคนได้บวกคะแนนมากในขณะที่บางคนนั้นได้บวกน้อย


3.การใช้หลักเกณฑ์ในระบบแอดมิชชั่นส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนอกจากจะเป็นการกระทำ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อคนจำนวนมากนับแสนคนแล้วยังทำให้คุณภาพการศึกษาของประเทศตกต่ำลงทั้งในระดับมัธยมและระดับอุดมศึกษา ในระดับมัธยมนั้นมีตัวชี้วัดความตกต่ำในคุณภาพการศึกษาคือกรณีที่เด็กจบม.6ทั้งประเทศมีคะแนนเฉลี่ยในการสอบโอเน็ตต่ำกว่าร้อยละ 50เกือบทุกวิชายกเว้นวิชาภาษาไทยดังนี้ ผลการสอบโอเน็ตในเดือนกุมภาพันธ์ปี2550


วิชา คะแนนเฉลี่ย


ภาษไทย 50.33


สังคม 37.94


ภาษาอังกฤษ 32.37


คณิตศาสตร์ 29.56


วิทยาศาสตร์ 34.88





ซึ่งคะแนนที่ต่ำนี้ยังไม่เป็นคะแนนที่แท้จริงเพราะยังมีผู้ไม่เข้าสอบโอเน็ตอีกประมาณ21000คน ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้มีผลการเรียนไม่ดีขณะที่มีการจัดสอบโอเน็ต ซึ่งถ้าคนกลุ่มนี้เข้าสอบด้วยก็จะทำให้คะแนนที่ได้ต่ำกว่านี้มาก


และจากเหตุผลหนึ่งในการเปลี่ยนจากระบบเอ็นทรานซ์มาเป็นแอดมิชชั่นส์นั้นเพื่อต้องการให้นักเรียนลดการกวดวิชาลง กลับกลายเป็นว่าหลังจากใช้ระบบแอดมิชชั่นส์แล้วนักเรียนกลับไปกวดวิชามากขึ้น ทั้งจำนวนชั่วโมงที่แต่ละคนไปกวดวิชาก็มากขึ้นและทั้งจำนวนวิชาที่แต่ละคนไปกวดก็มากขึ้นด้วย ส่วนเรื่องความเครียดของนักเรียนมัธยมนั้นเด็กนักเรียนส่วนใหญ่จะเครียดครั้งเดียวตอนช่วงสอบเอ็นทรานซ์ แต่พอมาเปลี่ยนเป็นระบบแอดมิชชั่นส์นักเรียนต้องเครียดตลอดสามปีเพราะการเรียนระบบแอดมิชชั่นส์นี้นักเรียนจะพลาดช่วงใดไม่ได้เลย เพราะระบบไม่เปิดโอกาสให้แก้ตัว





ส่วนคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นพบว่านักศึกษาที่เข้าไปเรียนจากระบบแอดมิชชั่นส์มีคุณภาพต่ำกว่านักศึกษาที่รับเข้าไปด้วยระบบเอ็นทรานซ์ นักศึกษาที่รับเข้าไปด้วยระบบแอดมิชชั่นส์ส่วนหนึ่งนั้นต้องได้รับการปรับระดับความรู้พื้นฐานเป็นเวลานานพอสมควรก่อนที่จะเริ่มเรียนเนื้อหาสำหรับมหาวิทยาลัยได้ อัตราการเรียนไม่ผ่านในวิชาสำคัญๆสูงขึ้นกว่าระบบเอ็นทรานซ์ 4 เท่า


จากวัตถุประสงค์ในการคัดเลือกคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อให้สามารถรับนักศึกษาที่มีความสามารถและความถนัดตรงกับคณะที่เรียน และเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมนั้น ถือว่าระบบแอดมิชชั่นส์ที่ใช้มา 2 ปีนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

แล้วคุณล่ะคิดอย่างไรกับแอดมิชชั่นส์?

 

 ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.vcharkarn.com/

 

หมายเลขบันทึก: 289044เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 06:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ คุณบวรกิติ

ที่ผ่านมา ไม่ค่อยเข้าใจระบบ แอดมิชชั่นส์ ที่ว่านี้ คุณบวรกิติ อธิบายและยกตัวอย่างตัวเลขให้เห็นอย่างชัดเจน ขอบคุณมากเลยค่ะ

ไม่เห็นด้วยกับระบบแอดมิชชั่นส์ นี้เป็นอย่างยิ่ง ผลกระทบและผลพวงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบก็มีให้เห็นกันชัดๆ ไม่ทราบว่า กระทรวงเขาจะทบทวนเพื่อแก้ไขกันบ้างหรือยัง

ขอเวลาแปปนึงนะครับจะอธิบายให้ฟัง

โทษทีนะครับพอดีที่โพสลงไป ตารางมันหายเดี๋ยวผมจะเมล์ให้ละกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท