"การเงิน การคลัง" หนึ่งในปัจจัยบริหารทางสุขภาพ


“บุคคลย่อมมี สิทธิเสมอกัน ในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน"..“เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข”

สรุปการเรียนรู้ครั้งที่ 10 Financial Management In Health Care
     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 52 ระบุไว้ว่า “บุคคลย่อมมี สิทธิเสมอกัน ในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน" รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2544และเกิด“พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2545” ซึ่งรัฐเป็นผู้ดำเนินการให้เกิดกลไกลการมีหลักประกันสุขภาพเกิดขึ้นแก่ประชาชนในการที่จะได้อยู่ในระบบสุขภาพที่พึงปรารถนา สามารถใช้ชีวิตได้เต็มตามศักยภาพทางสุขภาพของตนเอง ตามวัยและสถานะทางร่างกาย โดยไม่ถูกจำกัดด้วยฐานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจใดๆ ให้ครอบคลุมในด้าน 1) ความเสมอภาค(Equity) 2)ประสิทธิภาพ(Efficiency) และ 3)คุณภาพ(Quality) โดยมีการจัดระบบการเงินการคลังสุขภาพรวมหมู่ เพื่อให้มีการกำกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศให้มีประสิทธิภาพแทนที่ประชาชนจะต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง ขณะคนที่ไม่มีเงินก็ขาดโอกาสที่จะได้รับการรักษา ก็เปลี่ยนมาเป็นว่า แต่ละคนจ่ายตามฐานะของตัวเอง ก็คือจ่ายผ่านระบบภาษีแล้วนำเงินมารวมกันเป็นกองทุนขนาดใหญ่ อาจเรียกง่ายๆ ว่า “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข”  เน้นพัฒนาสถานพยาบาลใกล้บ้านให้มีความเข้มแข็ง พร้อมกับกระจายเทคโนโลยีระดับสูงหรือการแพทย์เฉพาะทางออกไปอย่างทั่วถึง เพื่อให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพทัดเทียมกับคนในเมืองใหญ่ และประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านเทคโนโลยีสุขภาพ การปรับระบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับวิชาชีพ จากระบบที่มักพูดกันว่า “รักษาแต่โรคไม่รักษาคน” ปฏิรูประบบกำลังคนสาธารณสุขเพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพใหม่ ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องจำนวนบุคลากร ทักษะความรู้ความสามารถที่จำเป็น และระบบสร้างแรงจูงใจต่างๆ และมีกระบวนการทางสังคมให้เกิดการตระหนักรู้ร่วมกันในวงกว้าง

      การบริหารคลังเพื่อสุขภาพจึงมีจุดประสงค์เพื่อ 1)การกระจายทรัพยากรสุขภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 2)บริหารจัดการด้านการเงินการคลังประกันสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3)บริหารจัดการเครือข่ายสถานบริการได้เหมาะสม และ 4)เกิดกลไกการประเมินผลและการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางการเงินการคลัง
     การบริหารการคลังเพื่อสุขภาพที่ดีต้องสามารถดำเนินการให้นำไปสู่ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ คือ 1)มีพอเพียง เข้าถึงได้สะดวก 2)มีความเป็นธรรม เสมอภาค เท่าเทียมกัน 3.)มีคุณภาพ มาตรฐาน 4.)มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ 5)ประหยัด จ่ายได้ 6)เรียบง่าย 7)มีทางเลือกให้ผู้ใช้บริการ 8)พึงพอใจ เคารพไว้วางใจ เชื่อถือศรัทธา 9)มีการจัดการเปิดเผยโปร่งใสตรวจสอบได้ 10)มีการพัฒนาโดยใช้ความรู้เป็นฐาน 10)มีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน สังคม 11)มีความรับผิดชอบ และ 12)พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
     สรุปเรื่องราวครั้งนี้ผ่านการถ่ายทอดจากท่านอาจารย์ ผศ.สุชาดา ภัยหลีกลี้

หมายเลขบันทึก: 288763เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท