ครูวัฒ
นายธวัฒชัย เจริญวิเชียรฉาย

e - Report


การเขียนรายงาน

หลักการเขียนรายงาน ( e – Report )  เพื่อการรายงานผลการดำเนินโครงงาน ของผู้เรียน

หน้าปก เป็นหน้าแรกจะประกอบไปด้วย ชื่อโครงงาน ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน ชื่อผู้สอน เป็นรายงานประกอบวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ง 43102 ภาคเรียนที่ 1 / 2 ปีการศึกษา 255... ชื่อโรงเรียน ซึ่งจะมีรูปภาพประกอบด้วยก็ได้   

บทที่ 1  บทนำ  (ทำไมจึงทำ จะทำอะไร ทำเพื่ออะไร ความแปลกใหม่ ) จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

-       หลักการและเหตุผล / ปัญหา / ความต้องการ  เป็นการเริ่มต้นศึกษาปัญหา หรือคำถาม หรือความต้องการที่จะค้นหา วิธีการที่จะแก้ปัญหาที่ศึกษา พร้อมทั้งกล่าวถึงหลักการ และความจำเป็นที่จะต้องศึกษา ที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้เรียนสนใจที่จะทำโครงงานเรื่องนี้

-       ความสำคัญและจุดมุ่งหมาย  เป็นการกล่าวถึงผลของการศึกษาค้นคว้าว่าผู้เรียนจะทำโครงงานอะไร เมื่อได้ทำโครงงานไปแล้ว จะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ทำให้ทราบอะไรบ้าง และจะนำไปใช้แก้ปัญหาหรือปรับปรุงอะไรได้บ้าง

บทที่ 2 หลักการ  เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  (หลักการ ทฤษฎี การทำงาน การใช้งาน) ในบทนี้จะกล่าวถึง การค้นหา การสร้างทางเลือก เพื่อจะนำไปเป็นวิธีการแก้ปัญหา โดยการศึกษาเอกสารและหลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จะทำให้ผู้อ่านได้ทราบว่าเรื่องที่ทำนั้นมีทฤษฎีหรือหลักการใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ

บทที่ 3  วิธีดำเนินการ  ในบทนี้เป็นการกล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการดำเนินงาน ซึ่งเหมือนกับการนำเสนอในแบบนำเสนอโครงงาน โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบ กำหนดรูปแบบพร้อมขนาด ขั้นตอนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น รวมทั้งรายการวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

บทที่  4  สรุปผล อภิปรายผลการศึกษา  (ผลที่ได้ การใช้เทคโนโลยี) ในบทนี้จะวิเคราะห์ผล หรืออภิปรายผล โดยการสรุปรายงานผลการดำเนินงาน ที่ได้กระทำมา ว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ และมีผลสอดคล้องหรือขัดแย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ไม่ว่าผลงานจากการดำเนินงานจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม จากนั้นบทสรุปที่สำคัญ ผู้เรียนจะต้องระบุถึงแนวความคิดในการประยุกต์เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการคิด ออกแบบ สร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการใหม่ๆ และคุณค่าของโครงงานที่ผู้เรียนดำเนินการนี้ จะเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพของผู้เรียนได้อย่างไร

บทที่ 5 บทส่งท้าย  จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

 1  บรรณานุกรม   เป็นส่วนที่รวบรวมหลักฐานของ แหล่งเรียนรู้  ข้อมูล เอกสารที่ใช้อ้างอิง ที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้ามาทั้งหมด ในการเขียนบรรณานุกรมนิยมเขียนเรียงตามลำดับตัวอักษร โดยเรียบเรียงจากเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วจึงเรียงภาษาอังกฤษ(ถ้ามี)โดยเรียงแยกออกจากกัน

 2 ภาคผนวก  เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากบรรณานุกรม เป็นที่รวบรวมรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงานของผู้เรียน ที่ยังไม่ได้นำเสนอได้แก่ข้อมูลบางอย่าง เช่น ภาพประกอบเกี่ยวกับดำเนินงาน ตารางบันทึกการทำงาน แบบสอบถาม แบบประเมินผล ฯ ประกาศคุณูปการ ประวัติผู้ทำโครงงาน แบบเสนอโครงงาน และอื่นๆ

 

แหล่งการเรียนรู้

1.      http://webindex.sanook.com

2.      http://directory.truehits.net

3.      http://www2.se-ed.net/sittichai14619/home.htm

4.      http://www2.se-ed.net/seraght/

5.      http://www.geocities.com/aya_ploy/index.htm  (ดูตัวอย่าง)

6.   http://belspout.tripod.com/  (ดูตัวอย่าง)

อ่านเพิ่มเติม ใบความรู้

หมายเลขบันทึก: 288674เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท